ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน (ต่อ)
กำไร-ขาดทุน การบริหารจัดการห้าง
2
กำไร-ขาดทุน กำไร ขาดทุนถือเป็นเรื่องปกติที่ ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ในการ ประกอบธุรกิจใด อย่างไรก็ตามสิทธิหน้าที่เกี่ยวกับ “กำไร ขาดทุน” ระหว่างหุ้นส่วน ด้วยกันมีเงื่อนไขทางกฎหมายซึ่ง พิจารณาได้ดังนี้
3
พิจารณาได้ดังนี้ หากเป็นกรณีมีการตกลง เรื่องกำไรขาดทุนไว้ใน สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน การพิจารณาแบ่งกำไร ขาดทุนให้เป็นไปตาม เงื่อนไขในสัญญา
4
คำอธิบาย การแบ่งกำไรขาดทุนกันอย่างไรระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นตกลงกันได้เสมอ แม้ว่า สัดส่วนของการแบ่งกำไรจะไม่สัมพันธ์ กับสัดส่วนการลงหุ้นเลยก็ตาม เพราะฉะนั้นตกลงกันไว้อย่างไรก็เป็นไป ตามนั้น ข้อตกลงจะมาเปลี่ยนแปลงที่หลังไม่ได้ เว้นแต่ข้อตกลงนั้นจะขัดต่อกฎหมาย หรือแก้ไขโดยมติตามที่ตกลงกันไว้เป็น อย่างอื่น
5
หากไม่ได้มีการตกลงกันไว้ใน สัญญา และไม่อาจตกลงกันได้ ในภายหลัง กรณีเช่นนี้ให้นำ บทบัญญัติในมาตรา มาบังคับใช้
6
มาตรา 1044 อันส่วนกำไรก็ดี ส่วน ขาดทุนก็ดี ของผู้เป็น หุ้นส่วนทุก ๆ คนนั้น ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ ลงหุ้น
7
คำอธิบาย หมายความว่า หุ้นส่วนแต่ละ คนในห้างหุ้นส่วนสามัญจะมี สิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไรมาก น้อยเท่าใด ก็สุดแล้วแต่ว่าตน ลงทุนมากน้อยเท่าใด เป็นไป ตามอัตราส่วนการลงทุน นั้นเอง
8
ข้อสังเกต การแบ่งกำไร-ขาดทุนให้แก่ผู้เป็น หุ้นส่วนให้ถือตามทุนที่ผู้เป็นหุ้นส่วน ได้ตกลงไว้ในสัญญา โดยไม่ถือตาม จำนวนเงิน ทรัพย์สิน แรงงานที่ส่งใช้ แล้วแต่ประการใด แม้จะส่งใช้ไม่ครบ จำนวนที่สัญญาจะลงหุ้น หรือยังไม่ ชำระเลยก็ต้องถือเอาทุนตามที่สัญญา เป็นฐานในการคิดแบ่งกำไร
9
(ต่อ) สำหรับประเด็นนี้จะไม่เหมือนกับกรณี การแบ่งกำไรในเรื่อง “บริษัท จำกัด” ที่ บัญญัติในมาตรา 1200 ให้การแบ่งเงินปัน ผลเป็นไปตามส่วนที่ผู้ถือหุ้นได้ส่งเงินค่า หุ้นแล้วเป็นฐานในการคิดแบ่งปันผล ดังนั้นหากผู้ถือหุ้นในบริษัทหนึ่ง ยังส่งเงินค่า หุ้นได้เพียงครึ่งหนึ่งของที่สัญญาว่าจะลงหุ้น เมื่อคราวมีการแบ่งกำไรก็จะได้รับเพียง ครึ่งหนึ่งของกำไรส่วนที่ตนจะได้รับหากส่งค่า หุ้นครบถ้วน
10
มาตรา 1045 ถ้าหุ้นส่วนของผู้ใดได้กำหนดไว้แต่ เพียงข้างฝ่ายกำไรว่าจะแบ่งเอา เท่าไหร่ หรือกำหนดแต่เพียงข้าง ขาดทุนว่าจะยอมขาดเท่าไรฉะนี้ไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า หุ้นส่วน ผู้นั้นมีส่วนกำไรและส่วนขาดทุน เป็นอย่างเดียวกัน
11
คำอธิบาย กรณีเป็นเรื่องที่มีสัญญาตกลงกำหนดกันไว้ ในเรื่องกำไร ขาดทุน หากแต่ผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งหมด หรือแต่บางคนตกลงไว้แต่เพียงเรื่อง กำไร หรือขาดทุนเพียงเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เท่านั้น ปัญหาคือ หากตกลงไว้แต่เพียงกำไรจะได้รับเท่าใด แต่ ไม่ทราบว่าถ้าขาดทุนจะยอมขาดทุนเท่าใด? หรือ ตกลงไว้แต่เพียงขาดทุนจะยอมเท่าใด แต่ ไม่ได้ตกลงเรื่องกำไรจะได้รับส่วนแบ่งเท่าใด?
12
ข้อสังเกต มาตรานี้เป็นเรื่องของกฎหมาย สันนิษฐานไว้ก่อนเท่านั้นเอง ย่อมไม่ ถือเป็นเด็ดขาด ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถูก โต้แย้งสิทธิ เพราะสิทธิในส่วนกำไร ขาดทุนแท้จริงแล้วเป็นอย่างอื่น ก็ สามารถนำพยานหลักฐานเข้าพิสูจน์ หักล้างได้
13
ข้อสังเกต สำหรับการลงหุ้นด้วยแรงงาน และไม่ได้ตีราคา ค่าแรงไว้ ตามมาตรา 1028 ส่วนลงหุ้นจะเสมอ ด้วยส่วนถัวเฉลี่ยของหุ้นส่วนผู้ลงด้วยเงิน ทรัพย์สินฯ เพื่อมุ่งในการคิดส่วนแบ่งกำไร แต่ กรณีจะเป็นเช่นไร เมื่อมาตรา 1028 ไม่ได้บัญญัติ ให้ส่วนถัวเฉลี่ยที่คิดได้ให้นำมาคิดส่วนขาดทุน ด้วย ส่วนขาดทุนของหุ้นส่วนที่ลงด้วยแรงงานจะ พิจารณาอย่างไร? (กรณีใช้ มาตรา 1045 ได้เพราะถือว่ามีการ กำหนดส่วนกำไรไว้แล้ว แต่ไม่ได้กำหนดส่วน ขาดทุน ต้องสันนิษฐานว่าส่วนขาดทุนก็เท่ากับ ส่วนกำไรนั้นเอง)
14
ข้อสังเกต ข้อตกลงในสัญญาจัดตั้งห้างฯ ที่กำหนดว่า ให้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใด คนหนึ่ง หรือหลายคนมี สิทธิได้รับกำไรอย่างเดียว (กำหนดจำนวน แล้วหรือไม่ก็ตาม) แต่ไม่ต้องรับผิดในกรณี ขาดทุนแต่อย่างใด โดยหุ้นส่วนคนอื่น (ระบุ ตัว) จะเป็นผู้รับผิดในส่วนขาดทุนแทน ข้อตกลงเช่นนี้ใช้ยันกันเองระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนได้ แต่ไม่อาจยกข้อตกลงนี้ไปใช้ยัน กับเจ้าหนี้บุคคลภายนอกได้
15
ความเกี่ยวพันระหว่าง ผู้เป็นหุ้นส่วนเกี่ยวกับ
Why? Who? When? How? What? การจัดการงานของ ห้างหุ้นส่วนสามัญ
16
ขอบเขตของการจัดการของห้างหุ้นส่วน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน
การจัดการงานของห้างหุ้นส่วนมิใช่เพียงแค่ การซื้อ ขายสินค้า บริการเท่านั้น หากแต่มี ความหมายครอบคลุมกิจกรรมอื่น ๆ ที่ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน ด้วย เช่น การทำสัญญาซื้อขายสินค้า บริการ การตัดสินใจเกี่ยวกับบำรุงรักษาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วน การจัดหาบุคลากรเข้ามาช่วยงาน การจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน การตัดสินใจขึ้นเงินเดือน สวัสดิการพนักงาน การฟ้องร้องดำเนินคดี
17
ประเด็นเหล่านี้สามารถพิจารณาหา แนวทางได้ ดังนี้
ในการจัดการห้างหุ้นส่วนนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วน ทุกคนย่อมมีความสงสัยว่าตนเองแต่ละคน จะมีอำนาจในการจัดการงานของห้าง หุ้นส่วนได้อย่างไร หรือตามกฎหมายให้ อำนาจมากน้อย และมีเงื่อนไขเพียงใด หรือ ในกรณีที่แต่ละคนมีความคิดเห็นในการ จัดการงานของห้างไม่เป็นไปในแนวทาง เดียวกันจะมีทางออกอย่างไรบ้าง ประเด็นเหล่านี้สามารถพิจารณาหา แนวทางได้ ดังนี้
18
ประเด็นเรื่อง ผู้มีอำนาจจัดการงานของห้างฯ
โดยสัญญา ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ฯ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนสามารถตกลงให้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง หรือหลายคนมา เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ รวมถึงกำหนด สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดไว้พร้อมเลยก็ ย่อมได้ โดยกฎหมาย ในกรณีที่ไม่มีการตกลง เรื่องผู้มีอำนาจจัดการงานของห้าง หุ้นส่วน (ดู มาตรา 1033)
19
กรณีไม่มีการตกลงในเรื่อง การจัดการงาน ของห้างหุ้นส่วน
มาตรา 1033 กรณีไม่มีการตกลงในเรื่อง การจัดการงาน ของห้างหุ้นส่วน “ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันใน กระบวนการจัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ ท่าน ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วน นั้นได้ทุกคน แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคน ใดจะเข้าทำสัญญาอันใดซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน อีกคนหนึ่งทักท้วงไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ท่านให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วน ย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุกคน”
20
แต่หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะทำ “สัญญา” โดยหุ้นส่วนอีกคนหนึ่ง ทักท้วงไม่ได้
ข้อสังเกต แต่หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะทำ “สัญญา” โดยหุ้นส่วนอีกคนหนึ่ง ทักท้วงไม่ได้ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดจะทำสัญญา โดยหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งทักท้วงไม่ได้ เพราะเมื่อหุ้นส่วนคนใดไปตกลงทำ สัญญาอะไรไว้แล้วก็ย่อมผูกพันผู้เป็น หุ้นส่วนให้ร่วมกันรับผิดอย่างไม่จำกัด จำนวน ดังนั้น หุ้นส่วนคนอื่น ๆ ก็ย่อมมี สิทธิที่จะทักท้วงได้ อย่างน้อยก็เพื่อ ปกป้องส่วนได้เสียของตน และต้องการ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนดำเนินกิจการด้วยความ ระมัดระวังร่วมกัน
21
ข้อสังเกต ข้อจำกัดอำนาจนี้แม้จะกำหนดไว้ เฉพาะเรื่องสัญญา ไม่รวมถึงการ จัดการงานในเรื่องอื่น ๆ ก็ตาม แต่ก็เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน น่าจะไม่มีสิทธิจัดการงานของห้าง โดยลำพังเสมือนกิจการของตน เพียงคนเดียว
22
เพราะหุ้นส่วนเป็นกิจการที่ร่วมกันที่อาศัย ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นแม้เป็นเรื่องการจัดการกิจการ ห้างฯทั่วไป ถ้าเสียงส่วนใหญ่ของผู้เป็น หุ้นส่วนคนอื่นเห็นว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนคน นั้นไม่ควรกระทำกิจการใด หรือไม่ควร จัดการงานในทางใด ๆ แล้ว แม้จะ ไม่ใช่เรื่องสัญญาก็ตาม ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น ก็น่าจะไม่มีสิทธิจะทำได้
23
เว้นแต่จะเป็นการกระทำเพื่อรักษา ทรัพย์สิน หรือเพื่อเป็นการใช้สิทธิอัน เกิดแต่กรรมสิทธิ์เพื่อต่อสู้ บุคคลภายนอก ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ ละคนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม มีสิทธิทำได้โดยลำพังตามมาตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์
24
ข้อสังเกต อำนาจที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนสามารถ จัดการห้างหุ้นส่วนได้นั้นน่าจะหมายถึง เฉพาะอำนาจในการจัดการงานตามปกติ การค้าขายของห้างเท่านั้น ในกรณีที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขการใช้ อำนาจในกิจการบางอย่างของห้างหุ้นส่วน ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีก็ต้องเป็นไป ตามที่กฎหมายกำหนดจะกระทำไปลำพัง โดยอ้างสิทธิตามมาตรา 1033 ไม่ได้ เช่น
25
การเอาผู้เป็นหุ้นส่วนออก (มาตรา 1031)
การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมหรือ ประเภทแห่งกิจการ (มาตรา 1032) การชักนำผู้อื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วน (มาตรา 1040) การโอนหุ้นในหุ้นส่วนให้บุคคลภายนอก (มาตรา 1041) การควบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (มาตรา 1073)
26
มาตรา 1034 กรณีมีการตกลงให้จัดการงานตามเสียงข้างมาก
กรณีนี้คือ มีการตกลงกันในระหว่างผู้เป็น หุ้นส่วนทั้งหลายว่า ในการจัดการงาน ของห้างหุ้นส่วนนี้ให้ใช้วิธีการลงมติ โดย ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม นั้นเอง ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่า การงานของห้าง หุ้นส่วนนั้นจัดให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก แห่งผู้เป็นหุ้นส่วนไซร้ ท่านให้ผู้เป็น หุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้นด้วย มากหรือน้อย “One Man One Vote”
27
กรณีจะแตกต่างจากบริษัท จำกัดที่สิทธิ ในการเข้าประชุมและออกเสียงได้มาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทการออกเสียง เช่น ถ้าเป็นการลงคะแนนลับให้ถือจำนวน หุ้นข้างมากเป็นหลัก หากเป็นการลงคะแนนแบบชูมือ ให้ถือ ว่า หนึ่งคนหนึ่งเสียง หรือ One Man One Vote
28
คำพิพากษาฎีกาที่ 482/2518 เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วน(ทั้งหลาย)ได้มอบหมายให้ หุ้นส่วนคนหนึ่งฟ้องคดี หรือถอนฟ้องแล้ว การ ถอดถอนเรื่องมอบอำนาจจะต้องทำโดยทุกคน หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นเสียงข้างมาก (แล้วแต่ กรณี) การที่หุ้นส่วนบางคนถอนการมอบอำนาจ ถือว่า ไม่มีผลโดยชอบ การมอบอำนาจเดิมยังมีผลอยู่ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับมอบอำนาจจึงยังมีสิทธิไปฟ้อง คดี และหรือถอนฟ้องคดีได้อยู่ ดังนั้นการที่ผู้ เป็นหุ้นส่วนผู้นี้ไปถอนฟ้องคดีจึงมีอำนาจ แม้จะ มีหุ้นส่วนบางคนถอนการมอบอำนาจก็ตาม แต่ การถอนอำนาจไม่มีผล เพราะไม่ได้ถอนโดย เสียงข้างมาก
29
กรณีการแต่งตั้งและถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการ (มาตรา 1036)
กรณีการแต่งตั้งและถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการ (มาตรา 1036) อันหุ้นส่วนผู้จัดการนั้น จะเอาออก จากตำแหน่งได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งหลายอื่นยินยอมพร้อมกัน เว้น แต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
30
แม้มาตรา 1036 จะบัญญัติไว้เฉพาะวิธีการถอด ถอนหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น แต่ก็สามารถนำไป พิจารณาใช้กับการแต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการได้ด้วย ดังนั้น การพิจารณาว่าจะแต่งตั้ง หรือถอดถอน หุ้นส่วนผู้จัดการได้อย่างไร จึงต้องพิจารณาดังนี้ คือ สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนกำหนดหลักเกณฑ์ในการ แต่งตั้ง ถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการไว้หรือไม่ หากมีให้ใช้ หลักเกณฑ์ดังกล่าว เช่น การแต่งตั้ง ถอดถอนให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก การแต่งตั้งให้ใช้เสียงข้างมาก แต่การถอดถอนให้ใช้มติ เอกฉันท์ หากไม่มีการตกลงไว้แต่อย่างใด ให้ใช้บทบัญญัติใน มาตรา 1036 คือ ต้องอาศัยผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่น ยินยอมพร้อมกัน (เอกฉันท์)
31
ข้อสังเกต การถอดถอน มีประเด็นว่า ผู้ เป็นหุ้นส่วนสามารถลงมติถอดถอนโดย ที่หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ได้ทำอะไรผิดเลย เพียงแต่ปีนั้นอาจบริหารกิจการได้กำไร น้อยไป หรือแม้แต่ดำเนินกิจการได้ เป็นอย่างดี แต่ไม่พอใจหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ถอดถอนได้หรือไม่?
32
ข้อสังเกต ตามมาตรา 1036 นี้เป็นเพียงการถอดถอน หุ้นส่วนผู้จัดการ และมีผลให้ฐานะการเป็น หุ้นส่วนผู้จัดการสิ้นสุดลงเท่านั้น แต่ไม่ได้ทำ ให้ฐานะความเป็นหุ้นส่วนสิ้นสุดไปด้วยไม่ (คนละกรณีกับการลงมติกำจัดหุ้นส่วนออก จากห้าง) นอกจากนี้แล้ว การพ้นจากฐานะหุ้นส่วน ผู้จัดการอาจมีได้จากสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น การสมัครใจลาออก การตาย หรือพ้นจาก การเป็นหุ้นส่วน
33
กรณีมีการตก ลง ตั้งหุ้นส่วน ผู้จัดการ
กรณีมีการตก ลง ตั้งหุ้นส่วน ผู้จัดการ
34
กรณีมีการตกลงตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ
การตกลงตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการอาจกระทำได้โดยผู้ เป็นหุ้นส่วนทุกคนหรือโดยเสียงข้างมาก (แล้วแต่ กรณี) ลงมติแต่งตั้งผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งหรือ หลายคนขึ้นมาทำหน้าที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้ และ ถือว่าการจัดการงานไปในทางใดของบุคคลที่ได้รับ การแต่งตั้งเป็นการจัดการในฐานะ “ผู้แทน”ผู้ เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ทุกคน ดังนั้น หากบุคคลนั้นไปทำความตกลง หรือ สัญญา หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการก่อนิติ สัมพันธ์ขึ้นกับบุคคลภายนอก หากมิได้มีกฎหมาย บัญญัติเป็นอย่างอื่น การนั้น ๆ ย่อมจะมีผล ผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันหมดทุกคน
35
ข้อสังเกต การจัดการงานของหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นจะ กระทำได้มากน้อยเพียงใด ภายใต้ขอบเขต อย่างไรให้พิจารณาดังนี้ หากในการแต่งตั้ง ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนยังได้ ลงมติเกี่ยวกับอำนาจ สิทธิ หน้าที่ ความ รับผิดชอบของการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ก็ ให้ปฏิบัติตามได้ เช่น การอนุมัติเบิก จ่ายเงิน การตัดสินใจจ้าง หรือเลิกจ้าง การตัดสินใจขยายสาขาของกิจการ อื่น ๆ
36
ข้อสังเกต กรณีมีการตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการเพียงคนเดียว และไม่ได้กำหนดอำนาจ สิทธิ หน้าที ความรับ ผิดไว้จะอาศัยแนวทางอย่างไรได้ กรณีจะเป็นไปตามบทบัญญัติของห้างหุ้นส่วน สามัญที่เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด เช่น ต้องจัดกิจการงานของห้างหุ้นส่วนด้วยความ ระมัดระวังให้มากเสมือนกับการจัดกิจการ งานของตนเอง (มาตรา 1039)
37
ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จจากการได้จัด กิจการงานของห้างหุ้นส่วน เว้นแต่จะได้ ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 1042) ความสัมพันธ์ระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการ กับผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นให้บังคับตาม บทบัญญัติเรื่องตัวแทน (มาตรา 1042) ต้องจัดการกิจการงานภายในขอบ อำนาจ
38
กรณีมีการตั้ง หุ้นส่วน ผู้จัดการ หลายคน
กรณีมีการตั้ง หุ้นส่วน ผู้จัดการ หลายคน
39
กรณีมีการตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการหลายคน
การตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการจะคนเดียว (มีอำนาจ เต็ม) หรือหลายคนก็ตาม จะไม่มีปัญหาให้ ต้องวินิจฉัยในข้อกฎหมายเท่าใด หากได้มี การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้อำนาจ หรือหน้าที่ สิทธิ ความรับผิดไว้โดยชัดแจ้ง แล้ว สำหรับกรณีตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการหลายคน แต่มิได้กำหนดสิทธิ อำนาจในการจัดการ ห้างไว้อย่างชัดเจนในแต่ละคน ปัญหานี้มี แนวทางที่กฎหมายกำหนดในมาตรา 1035
40
มาตรา 1035 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าจะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหลาย คนจัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ หุ้นส่วน ผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการห้างหุ้นส่วนนั้น ก็ได้ แต่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใดจะทำ การอันใดซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการอีกคน หนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้ ข้อสังเกต การทักท้วงไม่ให้หุ้นส่วนผู้จัดการกระทำกิจการนั้น ต้อง เป็นการทักท้วงจากหุ้นส่วนผู้จัดการด้วยกันเอง ถ้าเป็น การทักท้วงของหุ้นส่วนธรรมดา การทักท้วงนั้นจะไม่มี ผล
41
ข้อสังเกต มาตรา 1035 อำนาจในการทักท้วง ของหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นนั้น สามารถทักท้วง “การอันใด” ก็ได้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการทักท้วงแค่ เรื่อง “สัญญา” เหมือนเช่นที่บัญญัติใน มาตรา 1033 ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นจึงชอบที่จะทักท้วงในการอันใดเกี่ยวกับการ จัดการงานของห้างได้ แต่ “การอันใด” ที่จะทักท้วงนั้น ไม่น่าจะครอบคลุมถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย เพราะมิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดการทักท้วงมากจนกระทบต่อการประกอบ กิจการ
42
สิทธิหรือ อำนาจของผู้ เป็นหุ้นส่วนอื่น
Can I see the documents? ?? สิทธิหรือ อำนาจของผู้ เป็นหุ้นส่วนอื่น Why?
43
แม้หุ้นส่วนผู้จัดการจะมีอำนาจหน้าที่จัดการ กิจการของห้างหุ้นส่วน แต่ก็มิได้หมายความ ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นซึ่งมิได้เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการจะหมดสิทธิเกี่ยวข้องกับกิจการของห้าง ไปเสียทั้งหมด หุ้นส่วนเหล่านั้นยังมีสิทธิ ดูแล ครอบงำการจัดการเท่านั้น สิทธิในการดูแลครอบงำการจัดการ มีบัญญัติ ไว้ในมาตรา กล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วน ย่อมมีสิทธิที่จะ.... ไต่ถามถึงการงานของห้างหุ้นส่วนได้ ทุกเมื่อ และ ตรวจ และคัดสำเนา สมุด บัญชี และ เอกสารของห้างหุ้นส่วนได้ด้วย
44
ข้อสังเกต สิทธิดูแลครอบงำกิจการนั้น หุ้นส่วน ธรรมดาทุกคนชอบที่จะใช้สิทธิได้แยก ต่างหากจากกัน โดยการใช้สิทธิเข้า ตรวจสอบ สอบถามของหุ้นส่วนแต่ละคน ในแต่ละครั้งไม่ต้องขอมติ หรือลงความเห็น จากผู้เป็นหุ้นส่วนธรรมดาคนอื่น ๆ ทั้งหมด แต่อย่างใด
45
ข้อควรระวัง กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นใช้สิทธิ ตรวจสอบ ดูแลเท่านั้น หากกระทำการนอก เหนือกว่านั้นและมีลักษณะเอื้อมเข้าไป จัดการงานของห้าง อาจต้องถูกบังคับตาม บทบัญญัติว่าด้วยจัดการงานนอกสั่ง ตาม มาตรา 1043 (ซึ่งจะกล่าวถึงหลักเกณฑ์การ จัดการงานนอกสั่งและผลต่อไปในเรื่อง “การกระทำเกินขอบอำนาจ”)
46
กรณีหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำเกินขอบอำนาจ
มาตรา 1043 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนอันมิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เอื้อมเข้ามาจัดการงานของห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือ ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำล่วงขอบอำนาจ ของตนก็ดี ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติว่าด้วย จัดการงานนอกสั่ง
47
คำอธิบาย การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยจัดการ งานนอกสั่ง คือ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา มาใช้บังคับ พอสรุปหลักการได้ ดังนี้ การกระทำที่เอื้อมเข้ามาจัดการงานก็ดี หรือ เกินขอบอำนาจก็ดีนั้นต้องจัดการให้สม ประโยชน์แก่ห้างหุ้นส่วน หรือให้สมตาม ความประสงค์อันแท้จริงหรือให้สมตามที่ ประสงค์อันพึงสันนิษฐานได้
48
หากขัดต่อความประสงค์แท้จริง หรือขัดกับความ ประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ และคนที่เข้าไป จัดการเช่นนั้นก็พึงรู้สึกเช่นนั้นแล้ว ต้องใช้ค่า สินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหาย อย่างใด ๆ อันเกิดแต่การที่เข้าไปจัดการนั้น (มาตรา 396) ถ้าคนที่เข้าไปจัดการเช่นนั้นทำไปเพื่อประสงค์จะ ปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ จะเป็นภัยแก่ ตัวก็ดี แก่ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ผู้เข้าจัดการ จะต้องรับผิดชอบ(ต่อผล) เพียงกรณีที่จงใจทำ ผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงเท่านั้น (มาตรา 398)
49
ถ้าการเข้าจัดการงานนั้นเป็นการสม ประโยชน์ตัวการ และต้องตามความประสงค์ แท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์อันพึง สันนิษฐานได้ คนที่เข้าจัดการเช่นนั้นจะเรียก ให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่น อย่างตัวแทนได้ และการเรียกเงินให้เป็นไป ตาม มาตรา 816 วรรค 2 คือ เรียกเงิน ที่สำรองไป พร้อมดอกเบี้ยได้ เรียกประกัน อันสมควรได้ หรืออาจเรียกค่าสินไหมทดแทน จากตัวการได้ (มาตรา 401)
50
ตัวอย่าง ห้างหุ้นส่วนสามัญประกายเพชรและ เพื่อน ประกอบธุรกิจจำหน่ายเพชร และอัญมณี นางสาวประกายเพชร เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ นายจตุพล และนายเจตน์ เป็นหุ้นส่วน (ธรรมดา) ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนกำหนดว่า “ให้หุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกู้เงินเพื่อ ใช้ในกิจการได้แต่ ผู้เดียว”
51
ปรากฏว่า มีชาวบ้านที่ขุดเพชรพลอย ได้นำพลอยคุณภาพดีมากมาติดต่อขาย ให้นายจตุพล คิดราคาทั้งหมด 400,000 บาท (เป็นราคาที่ถูกกว่า ท้องตลาด) ซึ่งถ้านำมาเจียระไนแล้ว จำหน่ายจะขายได้ถึง 750,000 บาท นายจตุพลกลัวว่าร้านอื่นจะแย่งซื้อตัด หน้าตนเองไปก่อน ประกอบกับ นางสาวประกายเพชรก็ไปติดต่อธุรกิจ ต่างประเทศ อีกหลายวันกว่าจะกลับ จึง ตัดสินใจกู้เงินจากเพื่อนไฮโซคนหนึ่งชื่อ นางสาวแวรสนานำเงินดังกล่าวไปซื้อ พลอยนั้น ถามว่า นายจตุพลจะได้รับผลกระทบ อย่างไรหรือไม่ ตามกฎหมายเกี่ยวกับห้าง หุ้นส่วน
52
ตัวอย่าง ในกรณีที่นางสาวประกายเพชร ได้รับมอบ อำนาจให้กู้ยืมเงินสถาบันการเงินได้เพียง คราวละไม่เกิน 1.0 ล้านบาท หากเกินกว่า นั้นต้องขอมติเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งหมด หากนางสาวประกายเพชรไปกู้เงิน จากธนาคารแห่งหนึ่งในนามของห้างหุ้นส่วน นี้ถึง 1.5 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปชำระค่า เพชรที่ไปต่อรองและประมูลซื้อกับนักธุรกิจ รายอื่น ๆ จนได้ราคาเหมาะสม นางสาวประกายเพชรต้องรับผิดต่อผู้เป็น หุ้นส่วนคนอื่น หรือไม่ อย่างไร?
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.