งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ....

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ...."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ....
เอกสารหมายเลข 2 ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.... นางจินตนา พัฒนพงศ์ธร กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก

2 เหตุผลและอุปสรรคของแม่ไทย 2. แม่คิดว่านมแม่มีน้อย กินไม่พอ 1. แม่ต้องกลับไปทำงาน การตัดสินใจของแม่ สิทธิลาคลอด มุมนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์ การให้ความรู้และดูแล 3. แม่เชื่อว่านมแม่ไม่มีคุณค่าพอ Slide นี้จะสื่อว่า ข้อมูลจากการสำรวจและวิจัยพบว่า เหตุผลสำคัญซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย สัมพันธ์กับมาตรการที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก คือ 1. แม่ต้องกลับไปทำงานก่อน 6 เดือน 2. แม่คิดว่าน้ำนมตัวเองไม่พอ ทำให้ต้องเสริมนมผสมและสุดท้ายกลายเป็นใช้นมผสม 3. แม่เข้าใจผิดว่าน้ำนมตัวเองไม่มีคุณค่า หรือนมผสมดีเทียบเท่าหรือดีกว่านมแม่ (ทำ animation ให้ ทั้ง 3 เหตุผลลอยเข้ามาก่อน) ซึ่งตอนนี้สิ่งที่รัฐบาลพยามทำคือ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่ทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่หน่วยงานรัฐพยามส่งเสริมให้ลาคลอดให้ครบตามสิทธิคือ 3 เดือน และส่งเสริมให้สถานประกอบการจัดมุมนมแม่พร้อมกับให้เวลาเบรกแก่พนักงาน การให้ความรู้ คำแนะนำและการช่วยแก้ปัญหาโดยบุคลากรสาธารณสุข ตั้งแต่เริ่มมาฝากครรภ์ จนกระทั่งหลังคลอด เพื่อให้แม่มีความรู้ที่ถูกต้อง และมีความมั่นใจว่าตนจะมี่น้ำนมเพียงพอเลี้ยงลูกได้ รวมทั้งนมแม่เป็นนมที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับเด็ก ทั้งในช่วง 6 เดือนแรกและหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม เรื่องของความเชื่อว่านมแม่มีคุณค่าไม่พอ ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ทำให้แม่เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า นมผงดีกว่าหรือดีเทียบเท่านมแม่ ซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลจำเป็นต้องควบคุมการส่งเสริมการตลาดดังกล่าว ตามมาตรฐานสากล ซึ่งก็คือ BMS Code ขององค์การอนามัยโลก แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถดำเนินการได้ ขาดการควบคุม ด้วยกฎหมาย การส่งเสริมการตลาด การโฆษณา การติดต่อกับแม่

3 ทำไมต้องควบคุมการส่งเสริมการตลาด การส่งเสริมการตลาด การรับรู้และความคิดของแม่ ความลังเลใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตัดสินใจเลือกนมสำหรับลูก หลักการของร่าง พรบ นี้คือ ต้องการควบคุมการส่งเสริมการตลาดที่ไม่เหมาะสม เพื่อสร้างความมั่นใจว่าแม่และเด็กทุกคนจะได้รับการปกป้องสิทธิให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง จากช่องทางที่เหมาะสม งานวิจัยทั่วโลก รวมทั้งงานวิจัยล่าสุดจาก Lancet ยืนยันว่า การควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กเป็นสิ่งจำเป็นที่เมื่อนำมาบังคับใช้ร่วมกับมาตรการอื่นๆแล้วจะช่วยส่งเสริมให้คนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น เพราะ อิทธิผลของการส่งเสริมการตลาดสร้างวาทกรรมและมายาคติที่ส่งผลต่อความคิด และความเชื่อแก่แม่ว่าสารอาหารในนมผงดีทียบเท่ากับนมแม่ผ่านการใช้ภาษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น การกล่าวถึง alpha lactabumin , DHA การใช้ภาษาโฆษณายังสร้างความกังวลใจให้กับแม่ว่านมแม่อาจมีสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความลังเลใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก รวมทั้งการให้นมแม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเป็นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วใช้นมผงร่วม หรือจะใช้นมผงอย่างเดียว ซึ่งหากแม่เริ่มใช้นมผงร่วมก็จะทำให้นมแม่น้อยลงและหยุดให้นมแม่ไปในที่สุด Ref: Breastfeeding and BMS code communication project Dr.Bavonsan Chiadamrong

4 “The International Code of Marketing of Breast-Milk Substitutes”
ที่มาของร่าง พ.ร.บ “The International Code of Marketing of Breast-Milk Substitutes” มาตรฐานสากลขั้นต่ำสำหรับควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างการมีกฎหมายกับ EBF rate ที่มาของร่าง พรบ. เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่ ปกป้องสุขภาพแม่และเด็ก โดยต้องสร้างความมั่นใจว่าแม่และครอบครัวจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและปราศจากอิทธิพลของการโฆษณาชวนเชื่อ ในการเลือกอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กทุกคน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดมาตรฐานสากลขั้นต่ำไว้ตั้งแต่ ปี 1981 หรือเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้วให้ประเทศสมาชิกนำไปปฏิบัติเรียกว่า BMS CODE หรือเรียกย่อๆ ว่า Milk Code ประเทศไทยได้ผลักดันมาตรฐานดังกล่าว โดยได้ออกเป็นแนวทางแบบสมัครใจเมื่อปี 2551 ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข แต่จากการสำรวจและวิจัยพบว่า บริษัทผู้ผลิต ผู้นำเข้า นมผสมมีการละเมิดแนวทางดังกล่าว โดยการทำการส่งเสริมการตลาดอย่างไม่เหมาะสมและรุนแรงมากขึ้น ที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี 2553 และมติค.ร.ม. ปี 2554 จึงมีมติให้กระทรวงสาธารณสุขต้องออกกฎหมาย เพื่อควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ตามมาตรฐานสากลขององค์การอนามัยโลก ‘BMS CODE’ ซึ่งมาตรการนี้ถือเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยให้ประเทศที่นำไปบังคับใช้ มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น ประชาพิจารณ์เมื่อ 14 พ.ย และค.ร.ม อนุมัติหลักการ. 1 ธ.ค. 2558

5 เนื้อหาหลักในร่าง พ. ร. บ
เนื้อหาหลักในร่าง พ.ร.บ ห้ามโฆษณาอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กต่ำกว่า 3 ปี แก่สาธารณชน ไม่ห้ามการขายนมผสม พนักงานขายให้ข้อมูลแก่แม่ที่เลือกซื้อนมผสมได้ ไม่ห้ามตัวแทนบริษัทให้ข้อมูลแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริษัทสามารถบริจาคนมแก่เด็กกำพร้าสงเคราะห์และเด็กป่วยในโรงพยาบาล ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่และครอบครัว ห้ามแจกตัวอย่างนมผสม ห้ามการให้ข้อมูลที่กล่าวอ้างเกินจริง โอ้อวด บุคลากรสาธารณสุขมีหน้าที่ให้ข้อมูลเรื่องอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กแก่แม่และครอบครัว ทั้งครอบครัวที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่และนมผสม

6 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
โครงการส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อปกป้องสุขภาพของแม่และเด็ก ลดความเสี่ยง ของการเจ็บป่วย ให้แม่และครอบครัวได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการตัดสินใจเลือกอาหาร ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ยกร่างประกาศกระทรวงฯ 10 ฉบับ และจัดประชาพิจารณ์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิทธิ ของผู้หญิงและเด็กทุกคน เครื่องมือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กฎหมาย มาตรฐานบริการฯ มุมนมแม่สถานประกอบการ ประชุม คกก. ยกร่าง พรบ. และภาคีทุกอังคาร พุธ นำเสนอ ร่าง พรบ.ต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะ10 ทุกจันทร์ พฤหัส รวมพลคนกินนมแม่เทิดพระเกียรติสมเด็จพระราชินีและสัปดาห์นมแม่โลก วัตถุ ประสงค์ สค.- ธค.60 ประเมินผลโครงการ ประเทศสมาชิก มค.- ธค.60 วิจัยขยายลาคลอด 6 เดือน มค. กย.60 ประกาศใช้ พรบ.ควบคุมส่งเสริมการตลาด จัดทำแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แห่งชาติ ธค. 59 อบรมมิสนมแม่ประจำโรงพยาบาล /อบรมการควบคุมส่งเสริมการตลาดพนักงานระดับเขต/จังหวัด กย.- ตค 59 เสนอ ร่าง พรบ.ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และสนช. กค.- กย 59 สค. 59 สค. 59-สค.60 สสส. โฆษณา ประชาสัมพันธ์ สื่อสาธารณะ สร้างความตระหนักเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการขับเคลื่อน ร่าง พรบ. ควบคุมส่งเสริมการตลาด พลังนมแม่ สค. 59-สค.60 เมย.- กค 59 เมย.-กค 59 ปกป้อง (ร่าง) Milk code ส่งเสริม คลินิกนมแม่/ มุมนมแม่ ในสถานประกอบการ สนับสนุน มิสนมแม่ อสม.นมแม่ ตำบลนมแม่

7 ผลที่คาดหวัง แม่ไทยมีความรู้และความเชื่อมั่นที่ถูกต้องในการเลือก อาหารให้ลูก ค่านิยมของสังคมไทยที่ส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเหมาะสม เด็กไทยจะได้กินนมแม่มากขึ้น ส่งผลต่อ สุขภาพ สติปัญญาและศักยภาพในการเรียนรู้ สังคมให้ความสำคัญกับสตรีและเด็ก Slide นี้คือ ผลของการมีกฎหมาย กราฟนี้ วิเคราะห์โดยเทียบข้อมูล อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศที่นำ code ไปออกเป็นมาตรการต่างๆ (ข้อมูล code status ของประเทศต่างๆ ล่าสุดตามรายงานของ WHO/UNICEF and IFBAN 2016) จากกราฟสรุปได้ว่ายิ่งมีกฎหมายก็ยิ่งทำให้ EBF rate สูงขึ้น แต่ต้องมีกฎหมายแบบ full หรือไม่ก็ many provision เพราะการเป็น few provision ไม่ได้มีผลกับ EBF rate ดังนั้นหากจะเป็นกฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมายที่เข้มข้น และต้องมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง นอกจากการออกกฎหมาย code ต้องมีมาตรการอื่นร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น มีประเทศบางกลุ่ม ที่ไม่มีกฎหมายแต่มีมาตรการทางสังคมอื่นๆอย่างดี โดยเฉพาะมาตรการลาคลอด ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นได้เช่นกัน

8 Breastfeeding flash mob takes over Hong Kong station to protest discrimination – May 2016 -
ภาพนี้เป็นเหตุการณ์การชุมนุมให้นมลูกของแม่ๆชาวฮ่องกงกว่า 100 คนเมื่อต้นเดือน พ.ค. เพือ่เรียกร้องให้สังคมเคารพสิทธิในการให้นมลูกของผู้หญิงในที่สาธารณะ

9 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิทธิของผู้หญิงและเด็กทุกคน
มาร่วมกันส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสตรีและเด็ก ผ่านการ ปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


ดาวน์โหลด ppt ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ....

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google