ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ
การประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
2
การประเมินสารสนเทศ การประเมิน ตรวจสอบ สารสนเทศที่จะนำไปใช้เพื่อให้มั่นใจ ว่าสารสนเทศนั้นตรงกับความต้องการ ครอบคลุมประเด็น อย่างครบถ้วน และมีความน่าเชื่อถือ ยังเพื่อตรวจสอบ ความสำคัญ และคุณค่าของสารสนเทศด้วย เช่น เนื้อหาเก่า เกินไปหรือไม่ มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการหรือไม่ เพื่อให้ ได้สารสนเทศที่มีคุณค่า และนำไปใช้งานได้อย่างแท้จริง
3
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ
ความเกี่ยวข้อง (Relevance) ความถูกต้อง (Accuracy) ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทำ (Authority) ความทันสมัย (Currency) ความครอบคลุม (Coverage) พิจารณาเนื้อหาของสารสนเทศว่าอยู่ในระดับใด
4
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ
1. ความเกี่ยวข้อง (Relevance) สารสนเทศที่ได้รับนั้นมีความเกี่ยวข้อง ความเหมาะสม ความเกี่ยวพันกัน หรือตรงกับหัวข้อที่ต้องการหรือไม่ พิจารณาจากขอบเขตว่าตรงกับที่ต้องการหรือไม่
5
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ
2. ความถูกต้อง (Accuracy) มีลักษณะการเสนอข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็น เป็นกลาง หรือมีอคติ มีหลักฐานอ้างอิงหรือไม่ สารสนเทศที่ได้นั้นประกอบไปด้วยสารสนเทศจากแหล่ง ใดบ้าง น่าเชื่อถือหรือไม่
6
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ
3. ความน่าเชื่อถือของผู้จัดทำ (Authority) ผู้จัดทำหรือผู้เขียนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมี ประสบการณ์ และมีชื่อเสียง ตลอดจนมีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น พิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของสถาบัน หรือหน่วยงานที่ ผลิตสารสนเทศ หรือหน่วยงานของเอกชนที่ผลิต
7
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ
4. ความทันสมัย (Currency) พิจารณาถึงความทันสมัย ความทันต่อเวลา หรือการ ปรับปรุงครั้งล่าสุด พิจารณาความทันสมัยของสารสนเทศให้เหมาะสมกับ ลักษณะเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการ
8
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ
5. ความครอบคลุม (Coverage) มีความครอบคลุมในหัวข้อที่ต้องการค้นหามากน้อยเพียงใด ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ ลักษณะการเขียนหรือนำเสนอเป็นแบบวิชาการ หรือทั่วไป
9
หลักเกณฑ์การประเมินสารสนเทศ
6. พิจารณาเนื้อหาของสารสนเทศว่าอยู่ในระดับใด ปฐมภูมิ (Primary Information) ทุติยภูมิ (Secondary Information) ตติยภูมิ (Tertiary Information)
10
การประเมินแหล่งสารสนเทศ
การประเมิน ตรวจสอบ พิจารณาแหล่งสารสนเทศที่จะ เข้าไปใช้เพื่อให้มั่นใจว่าแหล่งสารสนเทศนั้นตรงกับ ความต้องการ ครอบคลุมประเด็น และมีความน่าเชื่อถือ สามารถเข้าใช้หรือเข้าไปสืบค้นสารสนเทศนั้นๆ อย่าง มั่นใจ
11
การประเมินแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศสถาบัน ความน่าเชื่อถือของสถาบัน องค์กร ข้อมูลการติดต่อ
12
การประเมินแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศบุคคล ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ได้รับการยอมรับในวงวิชาการ วิชาชีพ ได้รับการยอมรับในสังคม ชุมชน การเข้าถึง(access) พูดคุย ถาม-ตอบ สัมภาษณ์ ด้วยช่องทางต่างๆ
13
การประเมินแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน มีสถานที่ตั้งชัดเจน ติดต่อได้อย่างเป็นทางการ มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ทำงานตามจริยธรรมสื่อมวลชน
14
การประเมินแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศเว็บไซต์ ความน่าเชื่อถือ มีข้อมูลการติดต่อ ผู้จัดทำมีความน่าเชื่อถือ วัตถุประสงค์ในการ จัดทำ มีการอ้างอิงและเชื่อมโยงกับเว็บอื่นๆ การเข้าถึงสารสนเทศ เข้าถึงได้ง่าย URL คงที่
15
การประเมินแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศเว็บไซต์ คุณค่าของเนื้อหา เนื้อหาเป็นข้อเท็จจริง มีที่มาและตรวจสอบได้ เนื้อหาเข้าใจ ง่าย ไม่มีการแสดงความคิดเห็นหรือแสดงอคติ วิธีการนำเสนอเนื้อหา จัดเรียงเนื้อหาเป็นระบบ ใช้รูปหรือสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่าย
17
การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ
1. หลักการประเมินทั่วไปเบื้องต้น ผู้แต่ง ปีพิมพ์ ครั้งที่พิมพ์ สำนักพิมพ์หรือผู้จัดทำ ชื่อหนังสือหรือวารสาร
18
การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ
2. หลักการประเมินเนื้อหา เนื้อหาที่นำเสนอ กลุ่มผู้ใช้ วัตถุประสงค์ในการนำเสนอ ขอบเขตของเนื้อหา ลักษณะของการเขียน บทวิจารณ์
19
การประเมินหนังสือ ความน่าเชื่อถือของผู้เขียน ความทันสมัยของเนื้อหา
เป้าหมายในการเขียน ผู้จัดพิมพ์
20
หน้าปกใน (Title Page)
21
การประเมินวารสารและบทความวารสาร
เป็นวารสารที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมวิชาชีพ หน่วยงานที่จัดทำมีความน่าเชื่อถือ มีความต่อเนื่องในการจัดพิมพ์ บทความที่ตีพิมพ์เกี่ยวข้องกับวารสารนั้น สำหรับวารสารหรือนิตยสารต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ และผู้เขียน เนื้อหา
22
บทบรรณาธิการ
23
TCI : Thai-Journal Citation Index Centre (ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย)
24
การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ และการกำหนดแนวคิดการสืบค้น
25
ความต้องการสารสนเทศ (Information Needs)
ความต้องการสารสนเทศเป็นภาวะที่เกิดช่องว่าง หรือความไม่รู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วทำให้เกิด กระบวนการในการแสวงหาหรือค้นหาสารสนเทศ ที่ต้องการเพื่อตอบสนองความไม่รู้นั้น
26
ระดับความต้องการสารสนเทศ
1. ความต้องการที่เกิดจากสัญชาติญาณ (Visceral Needs) 2. ความต้องการที่ตระหนักได้ (Conscious Needs) 3. ความต้องการที่แสดงออก (Formalized/Expressed/Articulated Needs) 4. ความต้องการที่ปรับตามระบบสารสนเทศ (Compromised needs)
27
ระดับความต้องการสารสนเทศ
1. ความต้องการที่เกิดจากสัญชาติญาณ (Visceral Needs) ความต้องการที่อยู่ในจิตใต้สานึก (Subconscious Needs) เป็นความต้องการสารสนเทศที่มีอยู่จริงในตัวตนแต่บุคคลนั้นๆ ยัง ไม่ได้ตระหนักว่าสารสนเทศต่างๆ จะช่วยแก้ปัญหา (รู้อยู่ในใจ) ไม่สามารถแสดงความต้องการสารสนเทศประเภทนี้ของตน ออกมาเป็นภาษาหรือคำพูด
28
ระดับความต้องการสารสนเทศ
2. ความต้องการที่ตระหนักได้ (Conscious Needs) ความต้องการที่ไม่แสดงออก (Unexpressed Needs) อาจจะยังไม่สามารถแสดงความต้องการสารสนเทศของตนเอง ออกมา หรือยังไม่ต้องการแสดงออกมา เป็นความต้องการที่ยังไม่ชัดเจน (ลังเล)
29
ระดับความต้องการสารสนเทศ
3. ความต้องการที่แสดงออก (Formalized/Expressed/Articulated Needs) ความต้องการสารสนเทศที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นๆ มีข้อข้องใจหรือ สนองความต้องการสารสนเทศ สามารถรวบรวมความคิด ระบุความต้องการของตนเองและ สามารถสื่อสารออกมาได้
30
ระดับความต้องการสารสนเทศ
4. ความต้องการที่ปรับตามระบบสารสนเทศ (Compromised needs) ความต้องการสารสนเทศที่บุคคลนั้นสามารถเข้าใจ ตีความเอกสาร ตลอดจนทรัพยากรของระบบสารสนเทศได้ เข้าใจและปรับความต้องการสารสนเทศให้สอดคล้องกับระบบหรือแหล่ง สารสนเทศได้
31
วัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศ
1. เพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น 2. เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ 3. เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน 4. เพื่อการศึกษาและพัฒนาทั้งในส่วนตนและสังคม 5. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานหรือบริหารงาน 6. เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย
32
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
1. กำหนดความต้องการสารสนเทศ 1.1 หัวข้อ หัวเรื่อง ชื่อเรื่อง (Topic) แทนความหมายเป็นคำสำคัญที่สั้นๆ เข้าใจง่าย 1.2 ขอบเขต กำหนดหรือสร้างขอบเขต โดยการเชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับ (Topic)
33
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
2. กำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ 2.1 ลักษณะของสารสนเทศ เป็น ข้อความ ภาพประกอบ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวเลข เป็นต้น 2.2 ปริมาณ สารสนเทศที่ใช้ประกอบ ต้องใช้มากหรือน้อย ถ้ามากจำนวน เท่าไร น้อยจำนวนเท่าไร 2.3 คุณภาพ แม้ว่าสารสนเทศนั้นจะต้องมีคุณภาพอยู่แล้ว แต่วัตถุประสงค์จะ ทำให้การคัดสรรคุณภาพเข้มข้นมากขึ้น คุณภาพสารสนเทศ หมายถึง ความถูกต้อง ของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เป็นต้น
34
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3. กำหนดแหล่งสารสนเทศและประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น แหล่งสารสนเทศที่เป็นห้องสมุด แหล่งสารสนเทศบุคคล หรือกำหนด ประเภททรัพยากรสารสนเทศที่จะค้น เช่น บทความวารสาร สารานุกรม หนังสือพิมพ์ โดยต้องเข้าใจธรรมชาติของสารสนเทศที่ต้องการด้วย
35
การกำหนดแนวคิดสำหรับการสืบค้น
กระบวนการคิดประเด็น คำ หรือวลี เพื่อใช้ค้นเอกสาร ข้อมูล สารสนเทศ เพื่อให้ได้เอกสารหรือสารสนเทศที่ เกี่ยวข้องเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยใช้กลยุทธ์ เทคนิคการสืบค้น ต่างๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับ ความต้องการ และนำส่งผู้ใช้อย่างรวดเร็วทันการณ์
36
ขั้นตอนการวางแผนการค้นหรือ การกำหนดแนวคิดสำหรับการสืบค้น
1. กำหนดประเด็นเรื่องที่สนใจ เช่น นครปฐมศึกษา 2. รู้ขอบเขตเนื้อหา หรือประเภททรัพยากรสารสนเทศ เช่น ระยะเวลาของเนื้อหา ค้นจากหนังสือ เป็นต้น 3. กำหนดคำค้น คำสำคัญและหัวเรื่อง ที่จะใช้ค้น
37
ขั้นตอนการวางแผนการค้นหรือ การกำหนดแนวคิดสำหรับการสืบค้น
4. ใช้ทักษะหรือเทคนิคการสืบค้น เช่น การใช้บูลีน 5. เลือกเครื่องมือช่วยค้น และวิธีการค้น เช่น ฐานข้อมูล ทรัพยากรสารสนเทศ 6. วิเคราะห์และประเมินผลการสืบค้นที่ได้
38
ลักษณะการสืบค้นสารสนเทศ
1. Known item search รู้บางส่วนของเรื่องที่จะสืบค้น เช่น ผู้แต่ง 2. Unknown item search ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับ ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง จึงต้องกำหนดคำสำคัญหรือประเด็นใน การค้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.