งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Biochemical Oxygen Demand

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Biochemical Oxygen Demand"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Biochemical Oxygen Demand
การวิเคราะห์ทดสอบ Biochemical Oxygen Demand (BOD)

2 วิธีทดสอบหาปริมาณออกซิเจนละลาย วิธีทดสอบหาค่าบีโอดี
หัวข้อศึกษา หลักการ การเก็บตัวอย่าง วิธีทดสอบหาปริมาณออกซิเจนละลาย วิธีทดสอบหาค่าบีโอดี การคำนวณ การควบคุมคุณภาพ ออก

3 หลักการ บีโอดี ( Biochemical Oxygen Demand ) หมายถึง ปริมาณของออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ชนิดที่ย่อยสลายได้ในน้ำภายใต้สภาวะที่มีอากาศ การทดสอบหาค่าบีโอดีโดยทั่วไปเป็นการวัดปริมาณออกซิเจนที่ถูกใช้ในเวลา 5 วัน ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 20 องศาเซลเซียส และเนื่องจากออกซิเจนในอากาศสามารถละลายได้ในจำนวนจำกัด คือ ประมาณ 9 มิลลิกรัมต่อลิตร ในน้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิที่ 20 องศาเซลเซียส ดังนั้นในการทดสอบค่า บีโอดีในน้ำเสียซึ่งมีความสกปรกมากจึงจำเป็นต้องทำให้ปริมาณความสกปรกเจือจางอยู่ในระดับสมมูลพอดีกับปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ และเนื่องจาการทดสอบค่าบีโอดีนี้ เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในน้ำจึงจำเป็นต้องทำให้มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ กล่าวคือ ไม่มีสารพิษ แต่มีอาหารเสริมเพียงพอสำหรับจุลินทรีย์ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส เป็นต้น นอกจากนี้การย่อยสลายสารอินทรีย์ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำจะกระทำโดยจุลินทรีย์หลายชนิด จึงจำเป็นต้องมีปริมาณจุลินทรีย์ต่างๆเหล่านี้อย่างเพียงพออยู่ในน้ำตัวอย่างที่จะทำการทดสอบ ถ้าไม่มีหรือมีปริมาณน้อยเกินไปควรเติมจุลินทรีย์ ซึ่งเรียกว่า หัวเชื้อ (Seed) ลงไปด้วย กลับเมนู

4 การเก็บตัวอย่าง ภาชนะเก็บตัวอย่าง
ขวดพลาสติกชนิดโพลีเอทีลีน หรือเทียบเท่า ขวดแก้ว การเก็บรักษาตัวอย่าง เก็บตัวอย่างที่อุณหภูมิ 0 ถึง 6 องศาเซลเซียส ในที่มืด กลับเมนู

5 วิธีทดสอบหาปริมาณออกซิเจนละลาย
มี 2 วิธี ดังนี้ Azide Modification Method Membrane Electrode Method กลับเมนู

6 การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง เครื่องมือและอุปกรณ์
Azide Modification Method สภาวะการทดสอบ การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง เครื่องมือและอุปกรณ์ สารเคมี ขั้นตอนการดำเนินงาน การคำนวณ กลับ

7 สภาวะการทดสอบ ควบคุมอุณหภูมิของตัวอย่างที่อุณหภูมิ 20 + 3 องศาเซลเซียส
Azide Modification Method สภาวะการทดสอบ ควบคุมอุณหภูมิของตัวอย่างที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียส กลับ

8 การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง
Azide Modification Method การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง เก็บตัวอย่างในขวดแก้วที่มีฝาปิด ขนาด มิลลิลิตร ให้ทำการทดสอบภายใน 15 นาที กลับ

9 เครื่องมือและอุปกรณ์
Azide Modification Method เครื่องมือและอุปกรณ์ ขวดบีโอดี (BOD Bottle) ขนาด 300 มิลลิลิตร และมีจุกแบบ Ground – Glass พร้อมฝาครอบพลาสติก (BOD Cap) ขวดวัดปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 200 มิลลิลิตร ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer Flask) ขนาด 500 มิลลิลิตร บิวเรต (Buret) ขนาด 50 มิลลิลตร ปิเปตแบบปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 5, 10 และ 25 มิลลิลิตร กลับ

10 สารเคมี สารละลายแมงกานีสซัลเฟต (Manganese Sulfate Solution)
Azide Modification Method สารเคมี สารละลายแมงกานีสซัลเฟต (Manganese Sulfate Solution) อัลคาไล-ไอโอไดด์-เอไซด์ (Alkali-Iodide-Azide Reagent) กรดซัลฟิวริกเข้มข้น (Sulfuric Acid Conc, H2SO4) น้ำแป้ง (Starch Solution) สารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต (Standard Sodium Thiosulfate Solution) ความเข้มข้น M หรือ N สารละลายมาตรฐานไบไอโอเดต (Standard Bi-Iodate Solution) ความ เข้มข้น M หรือ N กลับ

11 Azide Modification Method
ขั้นตอนการดำเนินงาน เติมสารละลายแมงกานีส (II ) ซัลเฟต ปริมาตร 1 มิลลิลิตร และอัลคาไล-ไอโอไดด์-เอไซด์รีเอเจนต์ ปริมาตร 1 มิลลิลิตร ลงในขวดแก้วที่ใส่ตัวอย่างน้ำ โดยให้ปลายปิเปตอยู่ใต้ผิวของตัวอย่างน้ำปิดจุกระวังอย่าให้มีฟองอากาศและผสมให้เข้ากันโดยคว่ำขวดขึ้นลงอย่างน้อย 15 ครั้ง ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนจนได้ปริมาตรน้ำใส ประมาณครึ่งหนึ่งของขวด ไป 2/5

12 Azide Modification Method
ขั้นตอนการดำเนินงาน เมื่อตั้งทิ้งไว้จนสารละลายใสข้างบน ประมาณครึ่งหนึ่งของขวดแล้ว เติมกรดซัลฟิวริกเข้มข้นปริมาตร 1 มิลลิลิตร ลงไปในขวดแก้วโดยให้กรดค่อยๆไหลลงข้างๆคอขวด ปิดจุกผสมให้เข้ากัน โดยคว่ำขวดขึ้นลงจนตะกอนละลายหมด ไป 3/5

13 Azide Modification Method
ขั้นตอนการดำเนินงาน ถ้าใช้ขวดแก้วที่มีฝาปิดที่มีความจุ 300 มิลลิลิตร จะใช้ตัวอย่างน้ำจากขวด เท่ากับ 201 มิลลิลิตร เพื่อนำไปไตเตรท ทั้งนี้เพื่อให้ปริมาณตัวอย่างนี้มีค่าเท่ากับปริมาตรน้ำตัวอย่างเริ่มต้น 200 มิลลิลิตร จะเป็นการง่ายต่อการคำนวณ เหตุที่ใช้น้ำตัวอย่างในขวดแก้วปริมาตร 201 มิลลิลิตร เนื่องจากมีการสูญเสียตัวอย่างน้ำจากขวดแก้วโดยการแทนที่ของสารละลายเคมีที่เติมลงไปทั้งสิ้น 2 มิลลิลิตร สารละลายแมงกานีส (II) ซัลเฟตปริมาตร 1 มิลลิลิตร และอัลคาไล-ไอโอไดด์-เอไซด์รีเอเจนต์ปริมาตร 1 มิลลิลิตร รวมเป็น 2 มิลลิลิตร) ดังนั้นปริมาตรน้ำตัวอย่างในขวดแก้วซึ่งจะต้องใช้ในการไตเตรทเพื่อให้เป็นการใช้ตัวอย่างน้ำจริงจำนวน 200 มิลลิลิตร จึงควรเท่ากับ (200 × 300)/(300-2) = มิลลิลิตร ไป 4/5

14 Azide Modification Method
ขั้นตอนการดำเนินงาน ไตเตรทตัวอย่างน้ำที่ปิเปต จากข้อ 4 กับสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอ-ซัลเฟตความเข้มข้น M จนกระทั่งสารละลายมีสีเหลืองอ่อนจาง เติมน้ำแป้งจำนวน 2-3 หยด จะได้สารละลายสีน้ำเงินเข้มไตเตรทต่อไปจนกระทั่งสีน้ำเงินจางหายไป บันทึกปริมาตรของสารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ กลับ

15 การคำนวณ DO = 40 × M × V Azide Modification Method
(โมลต่อลิตร) กลับ

16 การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง
Membrane Electrode Method สภาวะการทดสอบ การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง เครื่องมือและอุปกรณ์ สารเคมี ขั้นตอนการดำเนินงาน การควบคุมคุณภาพการทดสอบ กลับ

17 สภาวะการทดสอบ ควบคุมอุณหภูมิของตัวอย่างที่อุณหภูมิ 20 + 3 องศาเซลเซียส
Membrane Electrode Method สภาวะการทดสอบ ควบคุมอุณหภูมิของตัวอย่างที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียส กลับ

18 การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง
Membrane Electrode Method การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง เก็บตัวอย่างในขวดแก้วที่มีฝาปิด ขนาด มิลลิลิตร ให้ทำการทดสอบภายใน 15 นาที กลับ

19 เครื่องมือและอุปกรณ์
Membrane Electrode Method เครื่องมือและอุปกรณ์ ขวดบีโอดี (BOD Bottle) ขนาด 300 มิลลิลิตร และมีจุกแบบ Ground – Glass เครื่องวัดค่าออกซิเจนละลาย (DO Meter) กลับ

20 สารเคมี สารละลายปรับเทียบศูนย์ ( Zero Oxygen Solution)
Membrane Electrode Method สารเคมี สารละลายปรับเทียบศูนย์ ( Zero Oxygen Solution) กลับ

21 Membrane Electrode Method
ขั้นตอนการดำเนินงาน ปรับเทียบ (Calibration) เครื่องวัดค่าออกซิเจนละลาย (DO Meter ) ตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำตัวอย่างให้มีค่าใกล้เคียงกับสภาวะอุณหภูมิที่ทำการ Calibration เครื่อง DO Meter เพื่อให้การวัดมีความถูกต้องมากที่สุด เก็บน้ำตัวอย่างใส่ขวดแก้วที่มีฝาปิด ขนาด มิลลิลิตรให้เต็มขวด จุ่มอิเล็คโทรด ลงไปบนปากขวดบีโอดีโดยให้อิเล็คโทรด แนบสนิทกับ ปากขวด บันทึกค่าออกซิเจนละลายที่แสดงบนหน้าจอเมื่อตัวเลขแสดงค่าคงที่ค่าที่ได้ คือค่าดีโอ (Dissolved Oxygen) ในหน่วยมิลลิกรัมต่อลิตร กลับ

22 การควบคุมคุณภาพการทดสอบ
Membrane Electrode Method การควบคุมคุณภาพการทดสอบ การทวนสอบด้วยสารละลายปรับเทียบศูนย์ (Zero Oxygen Solution) ควรมีค่าออกซิเจนละลายไม่เกิน 0.2 mg/L กลับ

23 วิธีทดสอบหาค่าบีโอดี เครื่องมือและอุปกรณ์
สภาวะการทดสอบ เครื่องมือและอุปกรณ์ สารเคมี ขั้นตอนการดำเนินงาน กลับเมนู

24 วิธีทดสอบหาค่าบีโอดี
สภาวะการทดสอบ เตรียมและทดสอบตัวอย่าง ที่ควบคุมอุณหภูมิ องศาเซลเซียส หรือควบคุมอุณหภูมิของตัวอย่างที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียส อินคิวเบท (Incubate) ตัวอย่างเป็นเวลา 5 วัน + 6 ชั่วโมง ในที่มืด ณ อุณหภูมิ องศาเซลเซียส กลับ

25 วิธีทดสอบหาค่าบีโอดี เครื่องมือและอุปกรณ์
ขวดบีโอดี (BOD Bottle) ขนาด 300 มิลลิลิตร และมีจุกแบบ Ground – Glass พร้อมฝาครอบพลาสติก (BOD Cap) ตู้ควบคุมอุณหภูมิ (Incubator) ที่สามารถป้องกันไม่ให้แสงผ่านเข้าไปได้และสามารถควบคุมอุณหภูมิ องศาเซลเซียส โดยมีค่าความคาดเคลื่อนไม่เกิน + 1 องศาเซลเซียส ตู้อบ (Oven) กระบอกตวง (Cylinder) ขนาด 1,000 มิลลิลิตร ปิเปตแบบปริมาตร (Volumetric Pipet) ขนาด 0.1, 1.0, 10, 25, 50, 100 มิลลิลิตร ไป 2/2

26 วิธีทดสอบหาค่าบีโอดี เครื่องมือและอุปกรณ์
โหลแก้วสำหรับเตรียมน้ำเจือจาง เครื่องจ่ายลม และหัวลูกฟู่ (หัวจ่ายลม) เครื่องชั่งละเอียด (Analytical Balance) ที่มีขีดความสามารถในการชั่งน้ำหนักที่ 0.1 มิลลิกรัม ลูกยาง กระดาษวัดค่าความเป็นกรดและด่าง (pH Paper) บีกเกอร์ (Beaker) พลาสติก แท่งแก้วคนสาร เครื่องกวนแม่เหล็ก (Magnetic Stirrer) และแท่งแม่เหล็ก (Magnetic Bar) ขวดสำหรับฉีดล้าง (Washing Bottle) ชนิดพลาสติก กลับ

27 วิธีทดสอบหาค่าบีโอดี
สารเคมี น้ำที่ใช้ในการเตรียมน้ำเจือจาง (Dilution Water) สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ (Phosphate Buffer Solution) สารละลายแมกนีเซียมซัลเฟต (Magnesium Sulfate Solution) สารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride Solution) สารละลายไอร์รอน (III) คลอไรด์ (Iron (III) Chloride Solution) สารละลายกรดและด่าง (Acid and Alkali Solution) ความเข้มข้น 1 N สารละลายโซเดียมซัลไฟต์ (Sodium Sulfite Solution) ความเข้มข้น N หัวเชื้อจุลชีพ (Seed Suspension) Quality Control Standard (QCS) สารละลายกลูโคสและกรดกลูตามิก (Glucose-Glutamic Acid Solution) ที่มีค่าบีโอดี 198 มิลลิกรัมต่อลิตร กลับ

28 วิธีทดสอบหาค่าบีโอดี ขั้นตอนการดำเนินงาน
การเตรียมตัวอย่าง วิธีการหาโดยตรง (Direct Method) วิธีการเจือจาง (Direct Method) การบ่ม (Incubator) กลับ

29 การเตรียมตัวอย่าง ตรวจวัด pH ของน้ำ ถ้ามีค่าอยู่ในช่วง ให้นำไปทดสอบได้เลย ถ้า pH ไม่อยู่ในช่วง ให้ปรับ pH ให้อยู่ ระหว่าง 7.0 ถึง 7.2 โดยปริมาตรของกรดหรือด่างที่ใช้ปรับไม่ทำให้ปริมาตรของตัวอย่างน้ำเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 0.5 ตัวอย่างที่มีสารประกอบคลอรีนตกค้าง ให้ตั้งทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมงในที่ที่มีแสงสว่างคลอรีนตกค้างจะสลายตัวไป ในกรณีที่มีคลอรีนตกค้างจำนวนมากในตัวอย่าง ต้องกำจัดโดยการใช้โซเดียมซัลไฟต์ การหาปริมาณคร่าว ๆ ของโซเดียมซัลไฟต์ที่จะเติมทำได้โดยใช้ตัวอย่างน้ำ 100 – 1,000 มิลลิลิตร เติมกรดอะซิติก (1+1) หรือกรดซัลฟิวริก (1+50) ปริมาตร 10 มิลลิลิตร ตามด้วยสารละลายโปแตสเซียมไอโอไดด์ 10 มิลลิลิตร (10 กรัมในน้ำ 100 มิลลิลิตร) แล้วไตเตรทด้วยโซเดียมซัลไฟต์ N (จากข้อ 8.7) ใช้น้ำแป้งเป็นอินดิเคเตอร์ จนถึงจุดยุติ ก็จะทราบปริมาณของโซเดียมซัลไฟต์ที่จะต้องใช้ แล้วจึงเติมลงไปในตัวอย่างน้ำที่จะหาค่าบีโอดี เขย่าตั้งทิ้งไว้ 10 –20 นาที ไป 2/2

30 การเตรียมตัวอย่าง น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น โรงงานชุบโลหะจะมีโลหะที่เป็นสารพิษอยู่ ตัวอย่างประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับการศึกษาและบำบัดเป็นกรณีพิเศษ ตัวอย่างที่มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำเกินจุดอิ่มตัว (ค่าออกซิเจนละลายน้ำมากกว่า 9 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส) ให้ลดปริมาณออกซิเจนลงมาจนถึง จุดอิ่มตัวโดยการนำตัวอย่างน้ำที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียส ไม่ต้องเต็มขวดและเขย่า หรือโดยการเติมอากาศที่สะอาด อุณหภูมิของตัวอย่างต้องอยู่ในช่วง องศาเซลเซียสก่อนทำการทดสอบ กลับ

31 วิธีการหาโดยตรง (Direct Method)
วิธีนี้ใช้กับตัวอย่างที่มีค่าบีโอดี ไม่เกิน 7 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่จำเป็นต้องเจือจางตัวอย่างส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำจากแม่น้ำลำคลอง ให้ทดสอบตัวอย่างตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ นำตัวอย่างน้ำที่มีการปรับอุณหภูมิให้ได้ องศาเซลเซียส เติมอากาศให้ตัวอย่างมีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำใกล้จุดอิ่มตัว รินตัวอย่างน้ำลงในขวดบีโอดีจนเต็มอย่างน้อย 3 ขวด (กรณีทดสอบหาปริมาณออกซิเจนละลายโดยวิธี Azide Modification) หรืออย่างน้อย 2 ขวด (กรณีหาปริมาณออกซิเจนละลายโดยวิธี Membrane Electrode) ระวังอย่าให้มีฟองอากาศ ปิดจุกให้สนิทและเติมน้ำเจือจางหล่อที่ปากขวด นำขวดหนึ่งมาหาค่าออกซิเจนละลาย โดยวิธี Azide Modification หรือวิธี Membrane Electrode บันทึกค่าออกซิเจนละลายวันแรก ให้เป็น DO0 ไป 2/2

32 วิธีการหาโดยตรง (Direct Method)
นำอีกขวดบีโอดี 2 ขวด ใส่ในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน หลังจาก 5 วันแล้ว นำตัวอย่างน้ำนั้นมาหาปริมาณออกซิเจนละลายที่เหลืออยู่ โดยวิธี Azide Modification หรือวิธี Membrane Electrode ให้เป็น DO5 กลับ

33 วิธีการเจือจาง (Direct Method)
วิธีนี้ใช้กับตัวอย่างที่มีความสกปรกสูงโดยมีค่าบีโอดีมากกว่า 7.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งถ้าไม่เจือจางตัวอย่าง แบคทีเรียจะใช้ออกซิเจนหมดก่อนเวลา 5 วัน ทำให้ปริมาณออกซิเจน ที่ละลายน้ำมีค่าเท่ากับศูนย์ จึงไม่สามารถหาค่าบีโอดีได้ การเตรียมน้ำเจือจาง (Dilution Water) น้ำเจือจาง (ตามข้อ 8.1) ที่ปราศจากสารพิษ ปรับอุณหภูมิให้อยู่ในระหว่าง องศาเซลเซียส ปรับคุณภาพน้ำเจือจางโดยเติมสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ แมกนี-เซียมซัลเฟต แคลเซียมคลอไรด์ และไอร์รอน (III) คลอไรด์อย่างละ 1 มิลลิลิตรต่อน้ำเจือจาง ,000 มิลลิลิตร เติมอากาศให้มีออกซิเจนละลายอิ่มตัว อย่างน้อย 1 ชั่วโมง ไป 2/7

34 วิธีการเจือจาง (Direct Method)
ขั้นตอนการเจือจางตัวอย่าง เนื่องจากการทดสอบค่าบีโอดี อาศัยปฏิกิริยาทางชีวเคมีโดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวกลางในการย่อยสลาย สภาวะแวดล้อมจะมีผลต่อการทดสอบมาก ทำให้ค่าบีโอดีที่ได้มีความผันแปรสูง การทดสอบตัวอย่างหนึ่ง ๆ จึงควรเจือจางอย่างน้อยจำนวน 3 ความเข้มข้นให้ครอบคลุมค่าบีโอดีที่ประเมินไว้ ผู้วิเคราะห์อาจใช้ข้อมูลใน ตารางเจือจางตัวอย่าง เป็นแนวทางในการเลือกอัตราการเจือจาง (%การเจือจาง) ที่เหมาะสม ไป 3/7

35 วิธีการเจือจาง (Direct Method)
ตารางเจือจางตัวอย่าง กรณีการเจือจางในขวดบีโอดีขนาด 300 มิลลิลิตร กรณีเจือจางใน Volumetric Glassware อื่นๆ ปริมาตรตัวอย่างที่เติมลงไป ในขวดบีโอดี (mL) % การเจือจาง ช่วงบีโอดี (mg/L) 5 mL of 1% dilution 12,000 – 42,000 10 mL of 1% dilution 6,000 – 21,000 20 mL of 1% dilution 3,000 – 105,000 50 mL of 1% dilution 0.1667 1,200 – 4,200 10 mL of 10% dilution 0.3333 600 – 2,100 20 mL of 10% dilution 0.6667 300 – 1,050 50 mL of 10% dilution 1.667 120 – 420 10.0 3.333 60 – 210 20.0 6.667 30 – 105 50.0 16.67 12 – 42 100 33.33 6 – 21 300 100 (ไม่เจือจาง) 0 – 7 % การเจือจาง ช่วงค่าบีโอดี (mg/L) 0.01 20,000 – 70,000 0.02 10,000 – 35,000 0.05 4,000 – 14,000 0.1 2,000 – 7,000 0.2 1,000 – 3,500 0.5 400 – 1,400 1 200 – 700 2 100 – 350 5 40 – 140 10 20 – 70 20 10 – 35 50 4 – 14 100 (ไม่เจือจาง) 0 – 7 ไป 4/7

36 วิธีการเจือจาง (Direct Method)
การเจือจางในขวดบีโอดี เติมน้ำผสมเจือจางลงในขวดบีโอดีขนาด 300 มิลลิลิตร ประมาณ 100 มิลลิลิตร จำนวนอย่างน้อย 2 ขวดต่อชุดการเจือจาง โดยให้น้ำค่อยๆไหลลงตามข้างขวดบีโอดี (ในกรณีที่วัดออกซิเจนละลายด้วยเครื่อง DO Meter อาจเจือจางตัวอย่างลงในขวดบีโอดี จำนวน 1 ขวดต่อชุดการเจือจางก็ได้) เติมหัวเชื้อจุลชีพในกรณีที่จำเป็น เติมตัวอย่างตามที่คำนวณไว้ เติมน้ำผสมเจือจางลงจนเต็มคอขวดพอดี ระวังอย่าให้เกิดฟองอากาศ ปิดฝาจุกให้แน่นอย่าให้มีฟองอากาศ คว่ำขวดไปมาหลายๆครั้งเพื่อให้ตัวอย่างในขวดผสมกันดี แล้วนำขวดที่ 1ไปหาค่าออกซิเจนละลายวันแรก (DO0) ไป 5/7

37 วิธีการเจือจาง (Direct Method)
การเจือจางในขวดบีโอดี ขวดที่สอง ให้เติมน้ำเจือจางหรือน้ำกลั่นที่ปากขวดแล้วครอบด้วยฝาพลาสติกอีกครั้งเพื่อป้องกันการระเหยของตัวอย่าง นำไปอินคิวเบท (Incubate) ที่อุณหภูมิ 20  1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน + 6 ชั่วโมง แล้วหาค่าออกซิเจนละลายวันที่ห้า (DO5) ในกรณีที่วัดค่าออกซิเจนละลายด้วยเครื่อง DO Meter และเจือจางตัวอย่างในขวดบีโอดี จำนวน 1 ขวดต่อชุดการเจือจาง หลังจากที่วัดค่าออกซิเจนละลายวันแรก (DO0) แล้ว ให้ปิดฝาจุกให้แน่นอย่าให้มีฟองอากาศ (อาจเติมน้ำเจือจางลงไปได้อีกเล็กน้อยหากตัวอย่างที่เจือจางแล้วไม่เพียงพอที่จะสามารถปิดฝาจุกได้โดยมีฟองอากาศ) เติมน้ำเจือจางหรือน้ำกลั่นที่ปากขวดแล้วครอบด้วยฝาพลาสติกอีกครั้งเพื่อป้องกันการระเหยของตัวอย่าง นำไปอินคิวเบท (Incubate) ที่อุณหภูมิ 20  1 องศา-เซลเซียส เป็นเวลา 5 วัน + 6 ชั่วโมง แล้วหาค่าออกซิเจนละลายวันที่ห้า (DO5) ไป 6/7

38 วิธีการเจือจาง (Direct Method)
การเจือจางใน Volumetric Glassware ในที่นี้ จะกล่าวถึงการเจือจางในกระบอกตวงขนาด 1,000 มิลลิลิตร โดยดำเนินการ ดังนี้ เติมน้ำผสมเจือจางลงในกระบอกตวงขนาด 1,000 มิลลิลิตรประมาณ 500 มิลลิลิตรโดยให้น้ำค่อยๆไหลลงตามข้างกระบอกตวง เติมหัวเชื้อจุลชีพลงในกระบอกตวงในกรณีที่จำเป็น เติมตัวอย่างตามที่คำนวณไว้ เติมน้ำผสมเจือจางลงจนครบ 1,000 มิลลิลิตร กวนให้เข้ากันโดยใช้แท่งแก้วเสียบจุกยางไว้ที่ปลายชักขึ้นลงเบาๆ อย่าให้เกิดฟองอากาศ ดูดตัวอย่างที่ผสมเข้ากันดีแล้ว ลงในขวดบีโอดีที่แห้งและสะอาด จำนวน 1 ขวด เพียงเล็กน้อยก่อนเพื่อใช้ทำความสะอาดขวดและจุกขวด แล้วเททิ้ง ไป 7/7

39 วิธีการเจือจาง (Direct Method)
การเจือจางใน Volumetric Glassware ค่อยๆรินตัวอย่างใส่ขวดบีโอดีอย่างน้อย 3 ขวดต่อ 1 ชุดการเจือจางจนล้นระวังอย่าให้เกิดฟองอากาศ และปิดฝาจุกให้แน่นแล้วครอบด้วยฝาพลาสติกอีกครั้งเพื่อป้องกันการระเหยของตัวอย่าง (ในกรณีที่วัดออกซิเจนละลายด้วยเครื่อง DO Meter อาจเจือจางตัวอย่างลงในขวดบีโอดี จำนวน 1 ขวดต่อชุดการเจือจาง ก็ได้) นำขวดที่ 1ไปหาค่าออกซิเจนละลายวันแรก (DO0) อีก 2 ขวดนำไปอินคิวเบท (Incubate) ที่อุณหภูมิ 20  1 องศาเซลเซียส หล่อด้วยน้ำกลั่นเป็นเวลา 5 วัน + 6 ชั่วโมง แล้วหาค่าออกซิเจนละลายวันที่ห้า (DO5) ในกรณีที่วัดค่าออกซิเจนละลายด้วยเครื่อง DO Meter และเจือจางตัวอย่างในขวดบีโอดี จำนวน 1 ขวดต่อชุดการเจือจาง ให้ดำเนินการตามรายละเอียดของวิธีการเจือจางในขวดบีโอดี กลับ

40 การบ่ม (Incubator) หลังจากอินคิวเบทที่อุณหภูมิ 20  1 องศาเซลเซียส ในที่มืดครบ 5 วันแล้ว นำมาหาปริมาณออกซิเจนละลาย ตัวอย่างที่ใช้ได้จะต้องมีปริมาณออกซิเจนละลายเหลืออยู่อย่างน้อย 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีการใช้ออกซิเจนไปอย่างน้อย 2 มิลลิกรัมต่อลิตร แล้วนำมาหาค่าออกซิเจนละลาย (DO5) กลับ

41 การคำนวณ วิธีการหาโดยตรง (Direct Method)
บีโอดี (มิลลิกรัมต่อลิตร) = DO0−DO5 วิธีการเจือจาง (Dilution Method) บีโอดี (มิลลิกรัมต่อลิตร) = (DO0−DO5)−(S)Vs P ไป 2/2

42 การคำนวณ เมื่อ DO0 = ค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำวันแรก (มิลลิกรัมต่อลิตร)
S = ค่า Oxygen Uptake ของหัวเชื้อจุลชีพ, DO/mL ของหัวเชื้อที่เติมต่อขวด (S = 0 ถ้าตัวอย่างไม่ได้เติมหัวเชื้อจุลชีพ) V = ปริมาตรของหัวเชื้อในแต่ละขวด (มิลลิลิตร) P = ปริมาตรตัวอย่างที่ใช้ (มิลลิลิตร) ปริมาตรตัวอย่างเต็มขวดบีโอดี (300 มิลลิลิตร) กลับเมนู

43 การควบคุมคุณภาพ การทดสอบ Dilution Water Blank
ทดสอบ Dilution Water Blank อย่างน้อยร้อยละ 5 ของจำนวนตัวอย่างในชุด การทดสอบนั้น โดยใช้น้ำรีเอเจนต์แล้วดำเนินการทดสอบเช่นเดียวกับการทดสอบตัวอย่างทุกขั้นตอนผลการทดสอบ Dilution Water Blank ผลต่างของค่าออกซิเจนละลายก่อนและหลังวันที่ 5 ที่ 20 องศาเซลเซียส ไม่ควรเกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ไป 2/4

44 การควบคุมคุณภาพ การทดสอบซ้ำ (Duplicate)
ทดสอบซ้ำทุกชุดการเจือจาง เพื่อทดสอบความเที่ยงของการทดสอบ คำนวณหาค่า ความแตกต่างสัมพัทธ์ (Relative Percent Difference, RPD) ของผลการทดสอบซ้ำ ควรมีค่าความแตกต่างสัมพัทธ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 20 ไป 3/4

45 การควบคุมคุณภาพ การทดสอบ Quality Control Standard (QCS)
ทดสอบ QCS อย่างน้อยร้อยละ 5 ของจำนวนตัวอย่างในชุดการทดสอบนั้นโดยใช้ QCS ทำการทดสอบเหมือนกับตัวอย่างทุกขั้นตอน มีค่าอยู่ในช่วง มิลลิกรัมต่อลิตร ไป 4/4

46 การควบคุมคุณภาพ DO0 - DO5 ต้องมีค่าอย่างน้อย 2 มิลลิกรัมต่อลิตร และ DO5 ต้องไม่น้อยกว่า 1 มิลลิกรัมต่อลิตร กลับเมนู


ดาวน์โหลด ppt Biochemical Oxygen Demand

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google