ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง (มาตรา ๑๓๖-๑๖๖) ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม (มาตรา ๑๖๗-๒๐๕)
2
กลุ่มมาตราที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๑๓๗ แจ้งความเท็จ มาตรา ๑๖๒ เจ้าพนักงานทำเอกสารเท็จ มาตรา ๒๖๕ ปลอมเอกสารสิทธิ / ราชการ มาตรา ๒๖๗ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จในเอกสารมหาชน มาตรา ๒๖๘ ใช้เอกสารปลอม / เท็จ
3
ฎ.๑๐๐๑/๒๕๔๕ ลงลายมือชื่อปลอมในแบบผู้ยื่นคำขอมีบัตรประชาชนใหม่ เป็นการปลอมเอกสารราชการตามมาตรา ๒๖๕ แจ้งความเท็จมาตรา ๑๓๗ และเมื่อนำไปใช้ผิดมาตรา ๒๖๘ ฎ.๒๑๕๙/๒๕๔๕ มาตรา ๒ มาตรา ๑๓๗ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๗ และมาตรา ๒๖๘ - ปลอมบัตรประชาชน
4
มาตรา ๑๗๒ แจ้งเท็จคดีอาญา / ๑๗๓
มาตรา ๑๗๕ ฟ้องเท็จคดีอาญา มาตรา ๑๗๗ เบิกความเท็จ มาตรา ๑๗๔ แจ้งเท็จเพื่อแกล้งให้รับโทษ มาตรา ๑๗๙ ทำพยานหลักฐานเท็จ
5
แต่งตั้งเป็น ข้าราชการ มีกฎหมายระบุไว้ โดยเฉพาะ ปฏิบัติราชการ
6
ฎ.๕๒๓/๒๔๙๙ โดยปกติจะถือว่าผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ผู้นั้นจะต้องเป็นข้าราชการตามกฎหมาย เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นเจ้าพนักงาน
7
ฎ.๒๕๓/๒๕๐๓ จำเลยทั้งสี่คนได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้ปฏิบัติงานในโรงงานสุราตามระเบียบของโรงงานสุรา ได้รับเงินเดือนจากรายได้ของโรงงานสุรา ไม่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน ก็หามีผลทำให้ฐานะของจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายไม่ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของโรงงานสุราเท่านั้น
8
ฎ. ๒๕๘๔/๒๕๒๔ บริษัทเงินทุนถูกควบคุมโดย พรบ
ฎ.๒๕๘๔/๒๕๒๔ บริษัทเงินทุนถูกควบคุมโดย พรบ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ รัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการเข้าดำเนินการ กรรมการส่วนใหญ่มิใช่ข้าราชการ ถือไม่ได้ว่าการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเป็นการปฏิบัติราชการ ทั้งกฎหมายมิได้ระบุไว้โดยเฉพาะให้คณะกรรมการเป็นเจ้าพนักงาน การขัดขวางไม่ผิดมาตรา ๑๓๘
9
ฎ.๑๔๗๘/๒๕๒๕ ข้าราชการได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการจัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ ข้าราชการเหล่านั้นไม่เป็นเจ้าพนักงานตามมาตรา ๑๕๗
10
ฎ.๒๖๕/๒๕๔๓ จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้รับแต่งตั้งจากอธิบดี กรมตำรวจ (ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ) ให้เป็นกรรมการตรวจข้อสอบและรวบรวมคะแนนในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ถือเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
11
ควบคุม คุ้มครอง ทุจริต ดูหมิ่น ม.๑๔๗- ๑๕๖ แจ้งเท็จ ๑๕๗ ต่อสู้ขัดขวาง
มิชอบ ม.๑๕๘- ๑๖๖ ข่มขืนใจ ให้สินบน
12
คุ้มครอง ควบคุม ให้สินบน ช่วยไม่ให้ ต้องโทษ ขัดขืนคำสั่ง, หมาย
สืบสวน สอบสวน อัยการ ตุลาการ ให้สินบน ช่วยไม่ให้ ต้องโทษ ขัดขืนคำสั่ง, หมาย ทำให้หลุดพ้น จากการคุมขัง เท็จ แจ้ง, ฟ้อง เบิกความ รับสินบน
13
ทุจริตต่อ ตำแหน่งหน้าที่ ราชการ
ยักยอกทรัพย์ ม.๑๔๗ ใช้อำนาจมิชอบ ข่มขืนใจ ม.๑๔๘ ทุจริตต่อ ตำแหน่งหน้าที่ ราชการ เรียก รับสินบน ม.๑๔๙
14
ทำลายเอกสาร ม.๑๕๘ โดยมิชอบ ปลอมเอกสาร ม.๑๖๑ กรอกข้อความเท็จ ม.๑๖๒
15
ปฏิบัติหรือละเว้น ปฏิบัติหรือละเว้น
การปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ โดยทุจริต เพื่อให้เกิดความ เสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด
16
ฏ.๓๔๗๐/๒๕๔๓ จำเลยทั้งสามร่วมกันขู่เข็ญเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อที่จะละเว้นไม่จับกุมผู้เสียหายไปดำเนินคดี จนผู้เสียหายกลัวว่าจะถูกจับกุม อันจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพของตน จึงยอมจะให้เงินแก่จำเลยทั้งสาม ถือเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย
17
ทุจริตตาม ป. อ. มาตรา ๑๕๗ ซึ่งเป็นบททั่วไปและฐานกรรโชกตาม ป. อ
ทุจริตตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ ซึ่งเป็นบททั่วไปและฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา ๓๓๗ วรรคแรกด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่เมื่อเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๙ แล้วจะไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ และมาตรา ๓๓๗ ด้วยไม่ เพียงแต่เมื่อเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๙ ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
18
ฎ.๑๕๓๒/๒๕๔๓ จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๙ จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับ ป.อ. มาตรา ๑๕๗ เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๙ อันเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ อันเป็นบททั่วไปอีก
19
ฎ. ๔๔๓๖/๒๕๓๑ เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ได้รับแจ้งความว่ามีคนร้ายลักเรือและเครื่องยนต์ของผู้เสียหายไป แต่ไม่ยอมลงรับแจ้งความในประจำวันเป็นหลักฐาน และเมื่อจับคนร้ายได้แล้วจำเลยกลับปล่อยตัวไปเสีย
20
ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตามมาตรา ๑๕๗ และยังเป็นการกระทำการใน ตำแหน่งโดยมิชอบเพื่อช่วยคนร้ายมิให้ต้องโทษตามมาตรา ๒๐๐ วรรคแรก เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา ๑๕๗ อันเป็นบทหนัก
21
ฎ.๙๓๑/๒๕๓๒ พนักงานสอบสวนปลอมลายมือชื่อผู้ขอประกันตัว แล้วเสนอขอประกันตัว อ. โดยได้รับเงินจาก อ. เป็นค่าตอบแทน เป็นความผิดตามมาตรา ๑๕๗ และมาตรา ๒๐๑ ลงโทษตามมาตรา ๒๐๑ ซึ่งเป็นบทหนัก
22
นายนพเป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานที่ดินแห่งหนึ่ง มีหน้าที่รับเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้รับเรื่องราวขอจดทะเบียนซื้อที่ดินระหว่างนายรินผู้ซื้อกับนายโสผู้ขาย นายนพได้ดำเนินการประกาศตามขั้นตอน แล้วถือโอกาสคำนวณค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนให้เกินความเป็นจริง แล้วเอาเงินส่วนที่เกินเป็นของตนเอง
23
แต่เนื่องจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น. ส
แต่เนื่องจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓) ฉบับเจ้าของที่ดินชำรุด นายนพมีหน้าที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการออกใบแทนด้วย นายนพได้กรอกข้อความลงในใบแทน โดยมีรายการจดทะเบียนด้านหลังว่านายรินรับโอนที่ดินจากนายโส แล้วประทับตราของกระทรวงมหาดไทยถูกต้อง
24
เพียงแต่ยังไม่มีลายมือชื่อของเจ้าพนักงานที่ดินและวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนมอบให้นายรินไป ต่อมาปรากฏว่า นายนพไม่ได้เสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินรายนี้ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเพื่อดำเนินการตามหน้าที่ ทั้งที่สามารถทำได้ในวันดังกล่าว ให้วินิจฉัยว่านายนพมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฐานใดหรือไม่
25
ม.๑๖๑ การคำนวณค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน ม.๑๔๙ นำส่วนเกินเป็นของตน ม.๑๕๗
ไม่เสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนต่อไป ออกใบแทนน.ส. ๓ แต่กรอกข้อความไม่ครบถ้วน ม.๑๖๑
26
ฎ.๗๘๓๖-๗๘๓๗/๒๕๔๔ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิด แต่จำเลยกลับเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยการร่วมเล่นการพนันไพ่รัมมี่ แล้วจำเลยไม่จับกุมผู้ร่วมเล่นไพ่รัมมี่ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่
27
ผู้ร่วมเล่นการพนันหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม ป.อ. มาตรา ๑๕๗ (เทียบ ฎ.๒๕๗/๒๕๒๖)
28
นายแดงและนายดำเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งมาสอนนักศึกษาตามวิชาที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นวิชาที่ได้รับค่าสอนพิเศษ แต่ทั้งนายแดงและนายดำไม่ได้ลงเวลาที่มาสอนในใบลงเวลาตามระเบียบ ปรากฏว่านายเหลือง หัวหน้าภาควิชาที่มีหน้าที่รับรองการลงเวลาเพื่ออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ ได้ทำการรับรองการมาสอน
29
และทำเรื่องขออนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้นายดำ แต่ไม่รับรองการมาสอนและไม่ทำเรื่องขออนุมัติเบิกค่าตอบแทนพิเศษให้นายแดง ทั้งยังขีดฆ่าชื่อนายแดงออกจากแบบฟอร์มการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ อันเป็นผลให้นายแดงไม่ได้รับค่าสอนพิเศษ ให้วินิจฉัยว่า นายเหลืองมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการฐานใดหรือไม่
30
ฎ.๗๗๒๘-๗๗๓๑/๒๕๔๔ แม้โจทก์จะไม่ลงเวลาทำงานตามระเบียบ ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปดำเนินการตามระเบียบราชการต่างหาก หาได้กระทบถึงสิทธิอันมีอยู่โดยชอบในการรับเงินค่าตอบแทนพิเศษแต่อย่างใดไม่ จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชามีหน้าที่รับรองการปฏิบัติราชการและทำเรื่องเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ จะต้องปฏิบัติการอย่าง
31
เคร่งครัดตามหลักเกณฑ์ด้วยความเที่ยงธรรมและเสมอภาค แต่จำเลยกลับรับรองการปฏิบัติราชการและทำเรื่องขอเบิกจ่ายแก่ผู้อื่นที่ไม่ได้ลงชื่อ แสดงว่าจำเลยไม่ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเช่นเดียวกับโจทก์ จึงเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในการที่จะได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับ ถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา ๑๕๗
32
ฎ๕๖๗๔/๒๕๔๔ จำเลยลักเอาไปเสียซึ่งเอกสารเช็คธนาคารของผู้เสียหาย แล้วนำไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารใดของผู้อื่นนั้น แต่แบบพิมพ์เช็คของผู้เสียหายที่จำเลยเอาไปนั้นยังไม่ได้กรอกรายการ เท่ากับยังมิได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยอักษร
33
ตัวเลขอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น จึงไม่เป็นเอกสารตามมาตรา ๑(๗) ดังนั้น แม้จำเลยเอาแบบพิมพ์เช็คของผู้เสียหายไปตามฟ้องก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๘๘ (แต่ผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๓๕(๑๑), มาตรา ๒๖๖(๔) และมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก) เทียบเคียง ฎ.๓๐/๒๕๓๘
34
law.bu.ac.th
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.