งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Taxation อาจารย์ ดร. หุดา วงษ์ยิ้ม ACC2101 การภาษีอากร1

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Taxation อาจารย์ ดร. หุดา วงษ์ยิ้ม ACC2101 การภาษีอากร1"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Taxation อาจารย์ ดร. หุดา วงษ์ยิ้ม ACC2101 การภาษีอากร1

2 Agenda ความหมาย และ ลักษณะของภาษีอากร วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
สถิติการจัดเก็บภาษีอากรในประเทศไทย หลักการจัดเก็บภาษีอากร ลักษณะของภาษีอากรที่ดี โครงสร้างภาษีอากร การจำแนกประเภทภาษีอากรตามเกณฑ์ต่างๆ

3 ความหมายของภาษีอากร หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎร เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษี วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินภาษีคือ นำไปใช้เพื่อสาธารณะหรือสังคมโดยรวม

4 ลักษณะของภาษีอากร การบังคับเรียกเก็บ
การเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากผู้เสียภาษี(ภาคเอกชน) ไปยังภาครัฐ(ผู้จัดเก็บภาษีอากร) การไม่มีสิ่งตอบแทนโดยตรงต่อผู้เสียภาษีอากร การไม่ชำระคืนของภาครัฐ การเรียกเก็บภาษีอากรในรูปอื่นที่มิใช่เงิน เช่น การเวนคืนที่ดิน การเกณฑ์ทหาร

5 วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
1) เพื่อหารายรับของรัฐบาล สามารถใช้จ่ายให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นในด้านความผาสุกของประชาชน วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี 1. เพื่อหารายได้ให้เพียงพอมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล 2. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ 3. เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

6 วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
2) ควบคุมและส่งเสริมพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ สามารถใช้ระบบภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น เก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในอัตราที่สูง วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี 1. เพื่อหารายได้ให้เพียงพอมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล 2. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ 3. เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

7 วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
3) เพื่อกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม เช่น อัตราภาษีก้าวหน้าสำหรับบุคคลธรรมดา ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี 1. เพื่อหารายได้ให้เพียงพอมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล 2. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ 3. เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

8 วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
4) รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น รัฐบาลแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ โดยเพิ่มภาษีให้สูงขึ้น หรือ ออกมาตรการยกเว้นภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี 1. เพื่อหารายได้ให้เพียงพอมาใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาล 2. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ 3. เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

9 GDP = C + I + G + ( X-M ) SBT 3% to 0.1% LTF , RMF
PIT exemption 150,000 LTF , RMF 1. ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะจากร้อยละ 3.0 คงเหลือร้อยละ 0.1 สำหรับการขาย อสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร ที่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมภายใน 1 ปี นับแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ 2. ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 6.3 สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือ การนำเข้าทุกกรณี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2553 นอกจากนี้ได้สนับสนุนการออมภายในประเทศทางอ้อม ทำให้ประชาชนมีเงินสดในมือมากขึ้น กรมสรรพากรได้มีมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนด้วยการแบ่งเบาภาระประชาชนหรือ ผู้มีเงินได้ โดยการ 3. ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทในปีภาษี (ใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป ซึ่งแต่เดิมได้รับยกเว้นภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน100,000 บาท) 4. ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้เท่าที่ครูใหญ่หรือครูเอกชนได้จ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น (ใช้บังคับ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งแต่เดิมใช้สิทธิได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี) 5. ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (GPF)เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น (ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไปซึ่งแต่เดิมใช้สิทธิได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี) 6. ลดหย่อน 10,000 บาท และยกเว้นภาษี 490,000 บาท สำหรับเงินได้ที่ลูกจ้างจ่ายป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น (ใช้บังคับตั้งแต่1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งแต่เดิมใช้สิทธิรวมกันได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี) 7. ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (LTF) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น (ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งแต่เดิมใช้สิทธิได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี) สำหรับในปีภาษี 2551 หากผู้มีเงินได้

10 GDP = C + I + G + ( X-M ) SMEs MAI , SET LTF , RMF
PIT exemption 150,000 LTF , RMF ด้วยมาตรการลดอัตราภาษีและเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้มีการตัดสินใจลงทุน และสร้างงานภายในประเทศ เป็นผลผลิตเพื่อการส่งออก ดังนี้ 1. ยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิสำหรับกิจการ SMEs เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท (เดิม เสียภาษีในอัตราร้อยละ 15) และลดอัตราภาษีสำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 150,000 บาท ร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ร้อยละ 25 ของ กำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท (ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะ เวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป) 2. ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 (ซึ่งเป็นกรณีให้สิทธิบริษัทที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก่อน 1 มกราคม 2550 สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป จะต้องไม่ใช้สิทธิตามกฎหมายฉบับเดิม) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับบริษัทที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SET) (ทั้งนี้ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ กฎหมายมีผลใช้บังคับ และบริษัทที่ได้รับสิทธิตามกฎหมายฉบับเดิมแล้ว ไม่ได้รับสิทธินี้) 3. ขยายเวลาการยื่นขอจดทะเบียนหลักทรัพย์ส่งผลให้ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ที่ยื่นขอจดตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 ถึง 31 ธันวาคม 2551 และได้รับ

11 รายรับของรัฐบาล รายได้รัฐพาณิชย์ การขายหลักทรัพย์ สินทรัพย์ และบริการ
เงินกู้ รายได้อื่น รายได้รัฐพาณิชย์ การขายหลักทรัพย์ สินทรัพย์ และบริการ ภาษีทางตรง เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีทรัพย์สิน ภาษีการขายทั่วไป เช่น vat , special business tax , อากรแสตมป์ ภาษีเฉพาะ เช่น ภาษีสรรพสามิต ศุลกากร ค่าใบอนุญาต ค่าจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ รายได้โรงงานยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล เงินคงคลัง ภาษีทางตรง ภาษีการขายทั่วไป ภาษีเฉพาะ

12 หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี
กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร กรมศุลกากร

13

14

15

16 หลักการจัดเก็บภาษีอากร
หลักแหล่งเงินได้ หลักถิ่นที่อยู่ หลักสัญชาติ หลักการบริโภค ** ประเทศไทย ไม่ได้ใช้หลักสัญชาติ **

17

18 ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
มีความยุติธรรม(Equality) มีความแน่นอนและชัดเจน(Certainty) มีความสะดวก(Convenience of payment) มีประสิทธิภาพ (Effective) มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ (Economic Stability) อำนวยรายได้ (Generate Revenue) หลักความยืดหยุ่น(Flexibility)

19 ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
1. มีความเป็นธรรม จัดเก็บภาษีโดยพิจารณาจากความสามารถในการเสียภาษีของแต่ละบุคคล เก็บจากบุคคลซึ่งแตกต่างกันตามความเหมาะสมและผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับจากรัฐบาล

20 ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
1. มีความเป็นธรรม เครื่องวัดความเท่าเทียม หรือความแตกต่าง หลักประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐบาล หลักความสามารถของผู้เสียภาษีอากร เครื่องวัดความสามารถในการเสียภาษีอากร ทรัพย์สิน รายได้ รายจ่าย

21 ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
1. มีความเป็นธรรม อัตราภาษี อัตราภาษีถอยหลัง (Regressive Tax Rates) ความสัมพันธ์แบบถอยหลัง อัตราภาษีคงที่ (Proportional Tax Rate) ความสัมพันธ์แบบตามส่วน อัตราภาษีก้าวหน้า (Progressive Tax Rates) ความสัมพันธ์แบบก้าวหน้า คสพ.ระหว่าง ฐานภาษีกับอัตราภาษี

22 ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
2. มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจง่าย

23 ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
มีความสะดวก ช่องทางและ กำหนดเวลาเสียภาษี

24 ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
4. ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากร จัดเก็บภาษีอากรให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยโดยใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด 5. ลักษณะความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ ให้มีผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด การจัดเก็บภาษีอากรโดยมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ ลักษณะของกฎหมายภาษีอากร บรรยากาศที่ชวนให้ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร ประสิทธิภาพของพนักงานผู้จัดเก็บภาษีอากร

25 ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
6. ลักษณะอำนวยรายได้ สามารถจัดเก็บรายได้ได้เป็นกอบเป็นกำ มีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย เพื่อดำเนินกิจการตามหน้าที่ของรัฐบาล 7. มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุง เพิ่มลด อัตราได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเหมาะกับสถานการณ์ นอกจากอัตราภาษีแล้วขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ดังนี้ ลักษณะของฐาน และผู้เสียภาษี ขนาดของฐาน และผู้เสียภาษี ความยืดหยุ่นของฐาน และผู้เสียภาษี

26 โครงสร้างของภาษีอากร
1) ผู้เสียภาษีอากร 2) ฐานภาษี 3) อัตราภาษี 4) การประเมินจัดเก็บภาษี 5) การยุติความขัดแย้งเกี่ยวกับภาษีอากร 6) การบังคับบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากร

27 1) ผู้เสียภาษีอากร บุคคลหรือสิ่งที่มีภาระที่ต้องเสียภาษีอากร
แยกประเภทตามสถานะบุคคลทางกฎหมาย บุคคลธรรมดา นาย A นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัท มูลนิธิ สมาคม

28 1) ผู้เสียภาษีอากร แยกประเภทตามถิ่นที่อยู่, ภูมิลำเนา หรือสัญชาติ
บุคคลธรรมดา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในประเทศ เช่น 180 วันภายในปีปฏิทิน นิติบุคคล ประเทศที่จดทะเบียน ประเทศที่ทำการดำเนินงานและควบคุม ประเทศที่ตั้งอยู่

29 2) ฐานภาษี (TAX BASE) เช่น
สิ่งที่เป็นมูลเหตุขั้นต้นที่ทำให้บุคคลต้องเสียภาษีอากร หรือ สิ่งที่ใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – เงินได้สุทธิ ภาษีเงินได้นิติบุคคล – กำไรสุทธิ ภาษีธุรกิจเฉพาะ – รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ

30 ability – to –pay ภาษีการขายทั่วไป 2. ฐานการบริโภค
2) ฐานภาษี (TAX BASE) 1. ฐานรายได้ 2. ฐานการบริโภค 3. ฐานทรัพย์สิน ability – to –pay รายได้ของบุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ ภาษีรถยนต์ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีการขายทั่วไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ฐานภาษี มี 3 ประเภท คือ 1. ฐานรายได้ เป็นฐานภาษีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดฐานหนึ่ง เพราะเชื่อว่ารายได้เป็นเครื่องวัดความสามารถในการเสียภาษี (ability – to -pay) ของบุคคลได้ดีที่สุด ภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้มีทั้งที่เรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล 2. ฐานการบริโภค หมายถึง การนำค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าหรือบริการมาเป็นฐานในการเรียกเก็บภาษีอากร เช่น ภาษีการขายทั่วไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น ภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคนี้เป็นฐานภาษีที่สำคัญอีกฐานหนึ่งของประเทศกำลังพัฒนา เพราะว่า ภาษีเก็บจากฐานการบริโภคเป็นภาษีที่เก็บค่อนข้างง่าย มีความซับซ้อนน้อยกว่าภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ และกำลังการบริโภคของประชาชนโดยทั่วไปอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับการออม 3. ฐานทรัพย์สิน เป็นภาษีที่เก็บจาก 3.1). ทรัพย์สินเฉพาะอย่าง นิยมจัดเก็บจากทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ประเภทที่ระบุหรือกำหนดมูลค่าได้ง่าย เช่น ภาษีรถยนต์ เก็บจากทรัพย์สินประเภทรถยนต์ ภาษีบำรุงท้องที่ของไทยเก็บจากทรัพย์สินประเภทที่ดินหรือภาษีโรงเรือนและที่ดิน เก็บจากทรัพย์สินประเภทโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมกับที่ดิน ซึ่งโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ เป็นต้น 3.2). ทรัพย์สินโดยรวม จะต้องนำมูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดมารวมกัน เพื่อเป็นฐานในการประเมินภาษี ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดเก็บให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยอยู่มาก ทั้งในด้านการติดตามรวบรวมทรัพย์สินของผู้เสียภาษีแต่ละรายให้ครบถ้วน และในด้านการประเมินราคาทรัพย์สินบางประเภท เช่น เพชรพลอย ศิลปวัตถุทั้งหลาย นอกจากฐานภาษีสำคัญ 3 ฐาน ที่กล่าวมานี้แล้ว ในการเรียกเก็บภาษีโดยทั่วไปยังมีฐานภาษีอย่างอื่น เช่น การจัดเก็บภาษีรัชชูปการ ซึ่งเรียกเก็บเป็นรายหัวจากชายฉกรรจ์ แท่นการเข้ารับราชการทหาร การจัดเก็บภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งเรียกเก็บจากผู้ถือสัญชาติไทย หรือจากคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเป็นรายครั้งของการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ค่าใบอนุญาตต่างด้าว ซึ่งเก็บจากคนต่างด้าวที่ได้ขออนุญาตมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เป็นต้น

31 3) อัตราภาษี (TAX RATE) อัตราภาษีคงที่ (Proportional Tax Rate) อัตราภาษีก้าวหน้า (Progressive Tax Rates) อัตราภาษีถอยหลัง (Regressive Tax Rates) 3.อัตราภาษี(TAX RATE) ในการกำหนดภาระภาษีสำหรับภาษีอากรแต่ละประเภทแล้ว ยังมีการกำหนดขอบเขตของสิ่งที่จะใช้เป็นฐานภาษีแล้ว ยังต้องกำหนดโครงสร้างอัตราภาษี เพื่อให้ได้จำนวนหนี้ภาษี ซึ่งหมายถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำฐานภาษีไปคำนวณตามอัตราภาษีที่ผู้เสียภาษีมีหน้าที่ต้องชำระ อัตราภาษีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท: อัตราคงที่ - อัตราซึ่งคงที่โดยไม่คำนึงถึงจำนวนเงินของฐานภาษี อัตราก้าวหน้า – ฐานภาษีสูง อัตราภาษีก็ยิ่งเพิ่มขึ้น อัตราถอยหลัง – ฐานภาษีสูงขึ้น อัตราภาษีต่ำลง ดังนั้น การพิจารณาโครงสร้างอัตราภาษีว่าเป็นโครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า ถอยหลัง หรือคงที่ กระทำได้ 2 วิธี คือ 1. พิจารณาเปรียบเทียบจำนวนภาษีที่ต้องเสียกับสิ่งที่เป็นฐานภาษี 2. พิจารณาเปรียบเทียบจำนวนภาษีที่ต้องเสียกับรายได้ของผู้รับภาระภาษีที่แท้จริง

32 4) การประเมินจัดเก็บภาษีอากร
การประเมินตนเอง ผู้เสียภาษีอากรทำการประเมินตนเองและชำระเงินภาษี ยื่นแบบแสดงรายการ การหักภาษี ณ ที่จ่าย: ผู้จ่ายเงินได้หักเงินภาษีไว้และนำส่งแก่รัฐบาล ภาษีขั้นสุดท้าย การจ่ายเงินภาษีล่วงหน้า การประเมินโดยเจ้าพนักงาน ผู้เสียภาษีอาจต้องชำระเงินภาษีก่อนช่วงเวลาที่มีหน้าที่ต้องยื่นชำระภาษี

33 5) การยุติความขัดแย้งเกี่ยวกับภาษีอากร
วิธีการจัดการกับข้อขัดแย้งระหว่างผู้เสียภาษีอากรและรัฐบาล กรมสรรพากร ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงาน ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่ได้รับแจ้งการประเมินหรือคำสั่งให้เสียภาษีอากร

34 6) การบังคับบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากร
2 ประเภท โทษทางอาญา – จำคุก ปรับ หรือ ประหารชีวิต โทษทางแพ่ง – จ่ายเบี้ยปรับ (ขึ้นอยู่กับจำนวนภาษีที่ถูกต้อง) และ เงินเพิ่ม หรือ ดอกเบี้ย

35

36 การจำแนกประเภทภาษีอากร
เกณฑ์ระดับของผู้จัดเก็บภาษี เกณฑ์วิธีการประเมินภาษี เกณฑ์ฐานภาษี เกณฑ์การผลักภาระภาษี

37 1. จำแนกประเภทตามระดับของผู้จัดเก็บภาษี
1.1 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง หรือภาษีระดับประเทศ (NATIONAL TAXES) เช่น ภาษีเงินได้ 1.2 ภาษีอากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่น (LOCAL TAXES) เช่น ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน

38 2. จำแนกประเภทตามวิธีการ
ประเมินภาษี 2.1 ภาษีตามราคา หรือ ตามมูลค่า เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีที่ดิน 2.2 ภาษีตามปริมาณ หรือ ตามสภาพ เช่น ภาษีสรรพสามิต

39 3. จำแนกตามเกณฑ์ฐานภาษี
3.1) ภาษีจากฐานเงินได้ (Income) เช่น ภาษีเงินได้ 3.2) ภาษีจากฐานการบริโภค (Consumption) เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต 3.3) ภาษีจากฐานทรัพย์สิน(Property) หรือความมั่งคั่ง เช่น ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีรถยนต์ 3.4) ภาษีจากฐานสิทธิพิเศษในการประกอบกิจการ(License) เช่น ภาษีสุรา

40 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4. จำแนกประเภทของภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี : ภาษีทางตรง - ผู้เสียภาษีอากรรับภาระภาษีด้วยตนเอง ภาษีทางอ้อม - ผู้เสียภาษีอากรสามารถผลักภาระภาษีให้แก่บุคคลอื่นได้ อากรแสตมป์ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร

41 ผลักภาระภาษี : ภาระภาษี 4. จำแนกประเภทของภาษีอากรตามหลักการ
ส่วนของรายได้แท้จริงที่ลดลงอันเนื่องมาจากการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาล ภาระภาษี ภาระภาษีตามกฎหมาย (ภาระภาษีอย่างเป็นทางการ) ภาระภาษีทางเศรษฐกิจ หรือภาระภาษีที่แท้จริง 1.ภาระภาษี และการผลักภาระภาษี ภาระภาษี หมายถึง ส่วนของรายได้แท้จริงที่ลดลงอันเนื่องมาจากการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 2 นัย คือ 1) ภาระภาษีตามกฎหมาย หรือภาระภาษีอย่างเป็นทางการ หมายถึง ความมีภาระในจำนวนหนี้ภาษีอากรของผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ 2). ภาระภาษีทางเศรษฐกิจ หรือภาระภาษีที่แท้จริง หมายถึง ภาระภาษีที่ต้องตกอยู่กับบุคคลในขั้นสุดท้าย กล่าวคือ บุคคลผู้นั้นไม่สามารถผลักภาระภาษีต่อไปให้ผู้อื่นได้อีกแล้ว

42 ผู้บริโภคสินค้า เจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้ผลิตสินค้า
4. จำแนกประเภทของภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี : การที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดถ่ายเท หรือแบ่งภาระภาษีบางส่วนหรือทั้งหมดไปให้กับบุคคลอื่น การผลัก ภาระภาษี 2) การผลักภาระภาษีไปข้างหลัง(กดราคาค่าแรง/ปัจจัยการผลิต) 1) การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า(ขึ้นราคาสินค้า) การผลักภาระภาษี (TAX SHIFTING) หมายถึง การที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดถ่ายเท หรือแบ่งภาระภาษีบางส่วนหรือทั้งหมดไปให้กับบุคคลอื่น มี 2 วิธี คือ 1. การผลักภาระภาษีไปข้างหน้า เช่น ผู้ผลิตซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้า (ภาษีขาย) อาจผลักภาระภาษีไปให้ผู้บริโภคสินค้านั้นได้โดยการขึ้นราคาสินค้า หรือ กำหนดราคาขายที่รวมภาษีแล้ว 2. การผลักภาระภาษีไปข้างหลัง เช่น ผู้ผลิตซึ่งกฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าที่ขาย อาจผลักภาระภาษีไปให้เจ้าของปัจจัยการผลิต ที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นได้ โดยการลดค่าจ้างแรงงาน หรือ กดราคาปัจจัยการผลิต จากผลของการผลักภาระภาษี จะเห็นได้ว่าภาระภาษีที่แท้จริงมีโอกาสตกอยู่กับบุคคล 3 กลุ่ม คือ ผู้บริโภคสินค้า เจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้ผลิตสินค้า ผู้ใดจะรับภาระภาษีที่แท้จริงไว้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลักภาระภาษีของผู้ผลิตสินค้านั้น ผู้บริโภคสินค้า เจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้ผลิตสินค้า

43 คำถามท้ายบท

44 “ครม.ไฟเขียวยกเว้นเงินได้ให้ผู้ซื้อรถคันแรก 1แสน ไม่ต้องเสียภาษี “ จากข่าวดังกล่าว สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี ข้อใด ก. เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการของรัฐ ข. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ค. เพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมและการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ง. เพื่อกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม

45 2. “ขึ้นภาษีเหล้า-บุหรี่ รัฐบาลได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง“ จากข่าวดังกล่าว สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี ข้อใด ก. เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการของรัฐ ข. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ค. เพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมและการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ง. เพื่อกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม

46 3. รัชนก อินทนนท์ คนไทยเดินทางไปแข่งขันแบดมินตันในต่างประเทศหลายครั้ง และเดินทางกลับมาพักผ่อนในประเทศไทยรวมเวลาแล้วครบ 180 วัน และได้นำเงินรางวัลเข้ามาในประเทศไทย รัชนกต้องเสียภาษีเงินได้ เนื่องจาก หลักการใด ก. หลักแหล่งเงินได้ ข. หลักถิ่นที่อยู่ ค. หลักสัญชาติ ง. หลักการบริโภค

47 4. นายไทเกอร์วู้ด คนอเมริกันเข้ามาแข่งกอล์ฟในประเทศไทยเป็นเวลา 5 วัน ได้เงินค่าตัวจากบริษัทแกรมมี่ของไทย 50 ล้านบาท ดังนี้ นายไทเกอร์วู้ด ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เนื่องจากหลักการใด ก. หลักแหล่งเงินได้ ข. หลักถิ่นที่อยู่ ค. หลักสัญชาติ ง. หลักการบริโภค

48 การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยอัตราภาษีแบ
ก้าวหน้า สอดคล้องกับ ลักษณะของภาษีอากรที่ดี ในข้อใด ก. มีความสะดวก ข. มีความเป็นธรรม ค. อำนวยรายได้ ง. มีประสิทธิภาพ

49


ดาวน์โหลด ppt Taxation อาจารย์ ดร. หุดา วงษ์ยิ้ม ACC2101 การภาษีอากร1

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google