งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานเชื่อมและโลหะแผ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "งานเชื่อมและโลหะแผ่น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 งานเชื่อมและโลหะแผ่น
หน่วยเรียนที่ 1

2 การทำให้โลหะติดกัน กระทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง 4 วิธี. 1. เชื่อม 2
การทำให้โลหะติดกัน กระทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง 4 วิธี เชื่อม ย้ำหมุด ตะเข็บ บัดกรี

3 การต่อโลหะหรือการทำให้โลหะติดกันโดยการเชื่อม แบ่งออกเป็นกี่ชนิด ได้แก่อะไรบ้าง 2 ชนิด ได้แก่ การเชื่อมไฟฟ้าและการเชื่อมโดยการใช้แก๊ส ต้องแน่ใจว่าการเชื่อมมีความปลอดภัยก่อนการเชื่อม OVERLAY

4 ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยหมายถึง
ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยหมายถึง ความปลอดภัยในการทำงานโดยคำนึงถึงสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานโดยให้ปลอดภัยจากมลพิษต่าง ๆ มลพิษสิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ ได้แก่ - การติดเชื้อโรค - การเกิดระคายเคือง - ภูมิแพ้ - ผื่นคัน

5 มลพิษสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ได้แก่
มลพิษสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ได้แก่ อันตรายจากเสียงดัง อันตรายจากแสง การระบายอากาศ มลพิษสิ่งแวดล้อมด้าน เคมี ได้แก่ ไอระเหยของแก๊ส ไอระเหยของลวดเชื่อม

6 มลพิษสิ่งแวดล้อมด้าน
การยศาสตร์ ได้แก่ เกิดจากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ชำรุดไม่พร้อมใช้งานหรืออริยาบทในการทำงานที่อาจต้องทำเป็นเวลานาน

7 เครื่องหมาย-สัญลักษณ์ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย แบ่งออกเป็น ประเภท คือ 1.เครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์ เช่น เครื่องหมายห้าม เครื่องหมายบังคับ 2.เครื่องหมายที่เป็นข้อความ เช่น………… ตัวอย่างเครื่องหมาย ตัวอย่างเครื่องหมาย

8 ตัวอย่างเครื่องหมายความปลอดภัย

9 ความปลอดภัยในการเชื่อมแก๊ส
1.พื้นที่เชื่อมแก๊สต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกแสงสว่างเพียงพอไม่มีวัสดุไวไฟ 2.ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงที่หยิบง่ายและมีอุปกรณ์-ยาในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3.ทำเส้นแสดงขอบเขตพื้นที่อันตราย ป้ายเตือนให้ชัดเจน 4.ห้ามใช้น้ำมัน จาระบีในระบบข้อต่อ

10 5.ไม่ควรกลิ้งถังแก๊สในแนวนอนควรกลิ้งโดยเอียงท่อแล้วหมุนท่อหรือใช้รถเข็น
6.การตรวจสอบรอยรั่วควรใช้น้ำสบู่หรือน้ำผงซักฟอกเท่านั้น 7.ติดตั้งถังแก๊สให้มั่นคงแข็งแรง 8.ห้ามจุดเปลวไฟจากโลหะที่ร้อนไม่ขีดหรือจุดจากผู้ปฎิบัติงานคนอื่น ควรใช้ที่จุดเปลวไฟเท่านั้น 9.ปฏิบัติตามกฎโรงงานอย่างเคร่งครัด

11 กฎโรงงาน มีดังต่อไปนี้
1.การปฏิบัติงานต้องได้รับอนุญาตจากครูผู้ควบคุมทุกครั้ง 2.สวมใส่ชุดปฏิบัติงานทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน 3.ขณะปฏิบัติงานห้ามหยอกล้อเล่นกัน 4.ห้ามรับประทานอาหารในโรงงาน 5.ใส่แว่นตานิรภัยทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย 6.สวมแว่นตาหรือหน้ากากทุกครั้งเมื่อปฏิบัติการเชื่อม 7.ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงทุกครั้งที่ปฏิบัติงานเสียงดัง เช่น ตัดด้วยไฟเบอร์ 8.หากเกิดอุบัติเหตุรีบแจ้งครูผู้ควบคุมทันที 9.ใช้เครื่องมือให้ถูกประเภท 10.หลังปฏิบัติงานต้องเก็บกวาดทำความสะอาดเครื่องจักรและพื้นที่ปฏิบัติงาน

12 1.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อมแก๊ส

13 1.2.1.1ภาพท่อบรรจุแก๊สออกซิเจน
คุณลักษณะ - เป็นท่อไม่มีตะเข็บหนาไม่น้อยกว่า 9 มม. - ทนความดันน้ำได้ PSI โดยไม่ได้รับความ เสียหาย - ลักษณะเกลียวเป็นเกลียวขวา (ข้อต่อ) - ความดันเมื่อบรรจุแก๊สเต็มถัง 2200 PSI - ขนาดของท่อปริมาตร 6 ลูกบาศก์เมตร - เป็นท่อความดันสูงทำด้วยเหล็กกล้าคาร์บอนสูง

14 1.2.2 มาตรวัดความดัน ประกอบด้วยเกจวัด 2 เกจ คือ
1.เกจวัดความดันสูง สำหรับวัดความดันภายในท่อบรรจุแก๊ส 2.เกจวัดความดันต่ำ สำหรับวัดปรับความดันที่ใช้งาน

15 1.2.3 ทอร์ชเชื่อม มีหน้าที่เป็นที่จับสำหรับเชื่อมและเป็นห้องผสมแก๊สให้ได้อัตรา ส่วนผสมที่เหมาะกับการใช้งาน

16 1.2.4 หัวทิพ เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบส่วนปลายทอร์ชเชื่อมมีหน้าที่ให้แก๊สที่ปรับส่วนผสมแล้วไหลผ่านเพื่อเกิดเป็นเปลวไฟสำหรับเชื่อมถอดเปลี่ยนได้ตามความหนาของโลหะ

17 1.2.5 เข็มแยงหัวทิพ ใช้ทำความสะอาดหัวทิพ โดยการแยงเข้าไปทำความสะอาดเข็มแยงซึ่งมีลักษณะคล้ายตะไบกลมเล็ก ๆ มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความโตของหัวทิพ

18 1.2.6 ที่จุดเปลวไฟ 1.2.7 แว่นตาเชื่อมแก๊ส
เลนซ์เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากแสงขณะเชื่อม เลนซ์ที่เหมาะกับการเชื่อมแก๊สควรใช้เบอร์ 4 – 6

19 1.2.8สายยางและข้อต่อ สายยางเป็นอุปกรณ์ส่งแก๊สจากท่อบรรจุไปยังทอร์ชเชื่อม ประกอบด้วยชั้นยาง 3 ชั้น มีเส้นใยในลอนแทรกกั้นอยู่ทุกชั้น ข้อต่อเป็นอุปกรณ์ที่ติดส่วนปลายสายยางเพื่อประกอบเข้าอุปกรณ์อื่น ข้อต่อสายออกซิเจนเกลียวขวามีอักษร “OX”ติดอยู่ ข้อต่อสายอะเซตทิลีนเกลียวซ้ายมีอักษร “AC” พร้อมทำรอยบาก

20 1.3 การประกอบและติดตั้ง ขั้นที่ 1 ประกอบมาตรวัดกับท่อบรรจุแก๊สโดยเปิดวาล์วเพื่อไล่สิ่งสกปรกออกไปเสียก่อนจึงติดตั้งมาตรวัด ขั้นที่ 2 ประกอบสายเชื่อมกับหัวทอร์ช สังเกต สายสีเขียวต่อกับท่ออกซิเจนต่อกับทอร์ชเชื่อม(เกลียวขวา) สายสีแดงต่อกับท่ออะเซตทิลีนและปลายด้านหนึ่งต่อกับทอร์ชเชื่อม (เกลียวซ้าย) ข้อต่อจะมีรอยบาก ขั้นที่ 3 เปิดวาล์วท่อบรรจุแก๊สโดยการหมุนมาตรวัดความดันทวนเข็มนาฬิกา -ท่อออกซิเจนหมุนมาตรวัดเปิดหมด -ท่ออะเซตทิลีนหมุนเปิดเพียง ¼-1/2 รอบเท่านั้น ขั้นที่ 4 ปรับมาตรวัดความดัน ใช้งานโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาแก๊ส-ออกซิเจนความดันอยู่ระหว่าง PSI และอะเซตทิลีนอยู่ระหว่าง 6-10 PSI

21 งานเชื่อมและโลหะแผ่น
หน่วยเรียนที่ 2

22 การเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส เชื้อเพลิงที่ใช้ในการเชื่อมชนิดใดให้ความร้อนมากที่สุด
ก.ออกซิเจนผสมอะเซทิลีน ข.ออกซิเจนผสมบิวเทน ตอบ ก.เป็นแก๊สที่ผสมระหว่าง แก๊สออกซิเจนผสมกับแก๊สอะเซต ทิลีนที่ให้ความร้อนถึง 3400 C เรื่องที่จะเรียนวันนี้ การเชื่อมด้วยแก๊สออกซิอะเซตทิลีน

23 ความหมายของการเชื่อมแก๊ส
การเชื่อมแก๊ส หมายถึง การทำให้โลหะหลอมละลายติดกันโดยอาศัยความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของแก๊สเชื้อเพลิง และ ออกซิเจน เป็นเปลวไฟหลอมให้โลหะติดกัน โดยอาจเติมโลหะหรือไม่เติมก็ได้

24 ชนิดเปลวไฟในการเชื่อม มี 3 เปลว คือ
ชนิดเปลวไฟในการเชื่อม มี 3 เปลว คือ 1.เปลวคาร์บูไรซิ่ง มีปริมาณแก๊ส อะเซตทิลีน มากกว่าแก๊สออกซิเจน อัตรา 2:1 ให้ความร้อนประมาณ 3000 C

25 2.เปลวนิวตรัล มีรูปมีปริมาณแก๊สอะเซตทิลีนและแก๊สออกซิเจนในอัตราเท่ากัน

26 3.เปลวออกซิไดซิ่ง มีรูปมีปริมาณแก๊สอะเซตทิลีนน้อยกว่าแก๊สออกซิเจนในอัตรา 2:1ให้ความร้อนประมาณ 3400 C

27 3. ลวดเชื่อมแก๊ส แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.ประเภทลวดเชื่อมเหล็ก จะใช้ในการเชื่อมโลหะที่เป็นเหล็กแผ่นหรือท่อ ถ้าเป็นเหล็กหล่อสีเทาจะใช้ลวดเชื่อมเหล็กหล่อและใช้ฟลั๊กซ์ช่วย 2.ลวดเชื่อมไม่เหล็ก ได้แก่ ลวดเชื่อมทองเหลือง ลวดเชื่อมอลูมิเนียม ลวดเชื่อมเงิน 4.ฟลั๊กซ์ เป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้ออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับแนวเชื่อม ทำให้แนวเชื่อมมีคุณภาพสูงและการเชื่อมง่ายขึ้น

28 รูปนี้ไม่เกี่ยวกับงานเชื่อมแก๊ส

29 ให้นักเรียนเขียนชื่อจังหวัดให้ได้มากที่สุด
ภายในเวลา 1 นาที

30 งานเชื่อมและโลหะแผ่น
หน่วยเรียนที่ 3

31 แก๊ส O2 ที่ใช้ในการเชื่อมได้มาจากไหน?
มีวิธีการเตรียมการนำมาใช้อย่างไร? ตอบ แก๊ส O2 ได้จากบรรยากาศนำมาใช้โดยผ่านกระบวนการซึ่งวันนี้เราจะเรียนกันถึงเรื่อง “การผลิตแก๊สออกซิเจนและการผลิตอะเซตทิลีน”

32 การผลิตแก๊สออกซิเจน -สัญลักษณ์ทางเคมี O2 -คุณสมบัติทั่วไป ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสมีอยู่ในบรรยากาศประมาณ 21% ของปริมาตรอากาศช่วยในการเผาไหม้และช่วยในการหายใจของมนุษย์ -การใช้งาน ในอุตสาหกรรมหลอมโลหะหลอมแก้ว ใช้ร่วมกับแก๊สเชื้อเพลิงในการเชื่อม-ตัดโลหะออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์สูงใช้ในวงการแพทย์รวมถึงช่วยหายใจใต้น้ำในเหมือง

33 การผลิตแก๊ส O2 ทำได้ 2 วิธี คือ
1.การผลิตจากน้ำ เป็นกรรมวิธีที่แยก O2 ด้วยไฟฟ้าหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กรรมวิธีแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis Process) แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันไม่คุ้มกับการลงทุน 2.ผลิตจากอากาศ ปกติบรรยากาศหรืออากาศรอบตัวประกอบด้วยไนโตรเจน 78%ออกซิเจน21% นอกนั้นเป็นแก๊สอื่น ๆ วิธีการผลิตออกซิเจนจากอากาศวิธีนี้โดยการนำอากาศเหล่านี้ไปอัดภายใต้ความดัน

34 กระบวนการผลิต อากาศจะถูกอัดภายใต้ความดันสูง จนกลายเป็นของเหลวในอุณหภูมิที่ต่ำมาก ณ อุณหภูมิที่ –195.7 C ไนโตรเจนเหลวจะระเหยกลายเป็นแก๊สซึ่งจะถูกจัดเก็บก่อน จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น ความดันจะต่ำลงจนถึง –182.9 C ออกซิเจนเหลวจะระเหยกลายเป็นแก๊สจะถูกจัดเก็บ

35 การผลิตแก๊สอะเซตทิลีน
-สัญลักษณ์ทางเคมี C2H2 -คุณสมบัติทั่วไป เป็นแก๊สที่ไวไฟมาก ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน น้ำหนักเบากว่าอากาศสามารถละลายใน อะซิโตนได้ในอัตรา 300:1 โดยปริมาตรที่ PSI (หมายความว่าสารละลายอะซิโตน 1 ส่วนเก็บแก๊สได้ 300 ส่วนในสภาพสารละลาย)ด้วยเหตุผลนี้ท่อบรรจุแก๊สจะมีวัสดุซึมซับที่สามารถจับสารละลายอะซิโตนไว้ภายในได้ -การนำไปใช้ เป็นแก๊สเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเชื่อมด้วยแก๊สออกซิอะเซตทิลีนใช้ในการตัดโลหะ และชุบแข็งผิวโลหะ

36 กระบวนการผลิตแก๊สอะเซตทิลีนผลิตได้ 2 วิธีคือ
การทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมคาร์ไบด์กับน้ำ และกระบวนการแตกตัวทางเคมี 1.การผลิตโดยการทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซี่ยมคาร์ไบด์กับน้ำ ซึ่งแยกเป็น 2 วิธีคือ - ปล่อยแคลเซียมคาร์ไบด์ลงในน้ำ - ปล่อยน้ำลงบนแคลเซียมคาร์ไบด์

37 การผลิตแก๊สอะเซตทิลีนแบบปล่อยแคลเซียมคาร์ไบด์ลงในน้ำ
ก้อนแคลเซี่ยมคาร์ไบด์จะถูกบรรจุในถังบรรจุ และถูกปล่อยให้ตกน้ำในถังผลิต น้ำและก้อนแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ จะทำปฏิกิริยาเกิดแก๊สอะเซตทิลีนออกไปตามท่อผ่านถังป้องกันไฟย้อนกลับโดยก่อนจะออกสู่ระบบแมนนิโพลด์เพื่อใช้งานจะต้องผ่านน้ำในถังป้องกันไฟย้อนกลับก่อน

38 2.การผลิตอะเซตทิลีนโดยอาศัยผลผลิตที่ได้จากกระบวนการแตกตัว
ทางเคมีจากโรงงานปิโตรเคมีเป็นวิธีการผลิตที่มีความบริสุทธิ์สูงกว่าแบบการทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมคาร์ไบด์กับน้ำ มีความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วยจึงเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

39 ระบบจ่ายแก๊สแบบหลายจุดใช้งาน (Manifold)
ระบบจ่ายแก๊สลักษณะนี้เหมาะสำหรับจ่ายแก๊สไปยังจุดใช้งานหลายจุดในเวลาเดียวกันโดยใช้ท่อบรรจุแก๊สหลายๆท่อในแถวเดียวกัน อาจใช้งานข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งสำรองก็ได้โดยมีมาสเตอร์วาล์วควบคุมและมาตรวัดแสดงความดัน

40 ความแตกต่างระบบจ่ายหลายจุดแบบ O2 และ C2H2
ระบบจ่ายของแก๊สออกซิเจนจะไม่มีระบบป้องกันไฟย้อนกลับและความดัน แต่ระบบจ่ายของแก๊สอะเซตทิลีนจะมีอุปกรณ์ป้องกันไฟและความดันย้อนกลับ

41 อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบน้ำและวาล์วกันกลับ
หากมีการย้อนกลับจากจุดใช้งาน A มาตามท่อเปลวไฟก็จะดับเพราะท่อจมอยู่ในน้ำก่อนจะเข้าสู่ถังจ่าย B

42

43 งานเชื่อมและโลหะแผ่น
หน่วยเรียนที่ 4

44 ลักษณะการเชื่อมแก๊สมี 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะการเชื่อมแก๊สมี 2 ลักษณะ คือ 1.การเชื่อมแบบ Backhand 2.การเชื่อมแบบ Forehand

45 1.การเชื่อม Backhand เป็นการเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนาตั้งแต่ 3 มม.ขึ้นไปทิศทางการเชื่อมจะเชื่อมจากขอบซ้ายของชิ้นงานไปทางขวา(ผู้เชื่อมถือหัวทิพด้วยมือขวา)

46 2.การเชื่อม Forehand เป็นการเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมงานบาง โดยมีทิศทางเดียวกัน(เชื่อมจากขวาไปซ้ายสำหรับผู้ถนัดขวาถือหัวเชื่อมด้วยมือขวา)

47 ลักษณะรอยต่อมี 5 แบบคือ
1.ต่อมุม 2.ต่อขอบ 3.ต่อชน 4.ต่อเกย 5.ต่อตัวที

48 ลักษณะแนวเชื่อมมี 2 ลักษณะ คือ
1.แนวเชื่อมแบบร่อง (Groove Weld) จะบากหน้างานเมื่องานหนาเกิน 3 มม.

49 ลักษณะแนวเชื่อมมี 2 ลักษณะ คือ
2.แนวเชื่อมแบบสามเหลี่ยม(Fillet Weld) จะเกิดกับลักษณะรอยต่อแบบตัวที ต่อเกย

50 ลักษณะท่าเชื่อม มี 4 ท่า คือ 1.ท่าราบ (Flat Position)
2.ท่าขนานนอน(Horizontal Position) 3.ท่าตั้ง(Vertical Position) 4.ท่าเหนือศรีษะ(Overhead Position)

51 1.การเชื่อมท่าราบเป็นการเชื่อมท่าที่ง่ายที่สุดโดยงานจะวางราบกับพื้น

52 2.การเชื่อมท่าขนานนอนชิ้นงานตั้งแนวดิ่งรอยเชื่อมขนานกับพื้นต้องใช้เทคนิคการควบคุมน้ำโลหะ

53 3.การเชื่อมท่าตั้ง ชิ้นงานตั้งแนวดิ่ง รอยต่อตั้งฉากกับระนาบพื้น

54 4.การเชื่อมท่าเหนือศรีษะชิ้นงานอยู่แนวระนาบแต่อยู่สูงขึ้นไปเหนือศรีษะ

55 END


ดาวน์โหลด ppt งานเชื่อมและโลหะแผ่น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google