งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เอกสารประกอบการบรรยาย วิ.แพ่ง 1 ชุดที่2 ยุทธนา คุ้มมี ผู้พิพากษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เอกสารประกอบการบรรยาย วิ.แพ่ง 1 ชุดที่2 ยุทธนา คุ้มมี ผู้พิพากษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เอกสารประกอบการบรรยาย วิ.แพ่ง 1 ชุดที่2 ยุทธนา คุ้มมี ผู้พิพากษา
เอกสารประกอบการบรรยาย วิ.แพ่ง ชุดที่ ยุทธนา คุ้มมี ผู้พิพากษา

2 การเข้าเป็นคู่ความแทนที่
คู่ความผู้มรณะ

3 ความเข้าใจเบื้องต้น การนั่งพิจารณาคดีจะต้องกระทำใน ศาลที่คดีนั้นยื่นไว้ใน วันที่ศาลเปิดทำการและตามเวลาทำงาน ที่ศาลได้กำหนดไว้ และจะต้องกระทำต่อหน้าคู่ความด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวน พิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยเที่ยง ธรรมและคู่ความที่มา ศาลจะได้รักษาผลประโยชน์ของตน ถ้าในระหว่างพิจารณา

4 คดี ปรากฏว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้มรณะเสียก่อนศาล พิพากษาคดี ศาลจะดำเนินการ พิจารณาคดีต่อไปต่อหน้า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ย่อมไม่ยุติธรรมสำหรับ คู่ความฝ่ายที่มรณะ

5 ศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา
มาตรา 42 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ใน ศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา ไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการ ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้จะ ได้เข้ามาเป็นคู่ความ แทนที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเอง หรือ โดยที่ศาลหมายเรียกให้ เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมี คำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่น

6 ว่านี้จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ ถ้าไม่มีคำขอของบุคคลดังกล่าวมาแล้ว หรือไม่มีคำขอของ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ภายในเวลาที่ กำหนดไว้ ให้ศาลมีคำสั่งจำ หน่ายคดีเรื่องนั้นเสียจากสารบบความ

7 มาตรา 43 ถ้าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์ มรดกประสงค์จะขอเข้ามา เป็นคู่ความแทน ก็ให้ยื่นคำขอโดยทำเป็น คำร้องต่อศาลเพื่อการนั้น ในกรณีเช่นนี้ เมื่อศาลเห็นสมควร หรือ เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมี คำขอศาลอาจสั่งให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นคู่ความ แทนนั้น แสดงพยาน

8 หลักฐานสนับสนุนคำขอเช่นว่านั้นได้ เมื่อได้แสดงพยานหลักฐาน ดังกล่าวนั้นแล้วให้ศาลมีคำสั่งอนุญาต หรือไม่อนุญาตในการที่จะเข้า มาเป็นคู่ความแทน

9 มาตรา 44 คำสั่งให้หมายเรียกบุคคลใด เข้ามาแทนผู้มรณะนั้น จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรเพื่อให้ บุคคลนั้นมีโอกาสคัดค้าน ในศาลว่าตนมิได้เป็นทายาทของผู้มรณะ หรือมิได้เป็นผู้จัดการทรัพย์ มรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกนั้น ทายาท ผู้จัดการทรัพย์มรดก หรือบุคคลผู้ถูกเรียกไม่จำต้อง ปฏิบัติตามหมายเช่นว่านั้นก่อนระยะเวลาที่ กฎหมายกำหนดไว้เพื่อ การยอมรับฐานะนั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว

10 แทนผู้มรณะให้ศาลจดรายงานพิสดารไว้ และดำเนินคดีต่อไป
ถ้าบุคคลที่ถูกศาลหมายเรียกนั้น ยินยอมรับเข้ามาเป็นคู่ความ แทนผู้มรณะให้ศาลจดรายงานพิสดารไว้ และดำเนินคดีต่อไป ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือไม่มา ศาล ให้ศาลทำการไต่สวนตาม ที่เห็นสมควร ถ้าศาลเห็นว่าหมายเรียกนั้นมี เหตุผลฟังได้ ก็ให้ออก คำสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเป็นคู่ความแทนผู้ มรณะแล้วดำเนินคดีต่อไป ถ้าศาลเห็นว่าข้อคัดค้านของบุคคลผู้ถูกเรียก มีเหตุผลฟังได้ ก็ให้ศาล

11 สั่งเพิกถอนหมายเรียกนั้นเสีย และถ้า คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ สามารถเรียกทายาทอันแท้จริงหรือผู้จัดการ ทรัพย์มรดก หรือบุคคล ที่ปกครองทรัพย์มรดกของผู้มรณะเข้ามา เป็นคู่ความแทนผู้มรณะได้ ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี ก็ให้ศาลมีคำสั่ง ตามที่เห็นสมควรเพื่อ ประโยชน์แห่งความยุติธรรม

12 หลักเกณฑ์และข้อพิจารณา
1. หลักเกณฑ์ที่ศาลจะต้องเลื่อนการนั่ง พิจารณาไปเมื่อคู่ความมรณะ 2. การเข้าแทนที่คู่ความมรณะ 3. อำนาจศาลในการออกหมายเรียก 4. อำนาจศาลในการไต่สวนและมีคำสั่ง 5. ผลของการเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะ

13 1. หลักเกณฑ์ที่ศาลจะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาไปเมื่อคู่ความมรณะ
1. มีคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลใด ศาลหนึ่ง จะเป็นศาลชั้น ต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ได้ 2. คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะก่อนศาล พิพากษาคดี คำว่า “คู่ความ” ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (1) ให้คำจำกัดความไว้ว่า หมาย ถึง “บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้อง ต่อศาล และเพื่อประโยชน์ แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึง บุคคลผู้มีสิทธิกระทำการ

14 แทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือใน ฐานะทนายความ” แต่ในเรื่อง เข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42 นี้ จำกัดเฉพาะ กรณีตัวความตายเท่านั้น มิได้หมายรวมไป ถึงผู้แทน ผู้รับมอบอำนาจ หรือทนายความของตัวความด้วย

15 ข้อสังเกต คำว่า “มรณะ” นอกจากความตาย แบบธรรมดาแล้ว น่าจะ หมายรวมถึงกรณีที่ตัวความถูกศาลสั่ง ให้เป็นผู้สาบสูญด้วย ทั้งนี้ ป.พ.พ. ได้บัญญัติถึงการตายไว้ 2 ประการคือ การตาย ธรรมดาและการตายโดยผลของ กฎหมาย (ป.พ.พ.มาตรา 61)

16 ความได้มรณะในชั้นบังคับคดี กรณีนี้ไม่ใช่ มรณะในระหว่างพิจารณาคดีของ
2. ในกรณีศาลพิพากษาคดีไปแล้วจนถึงชั้น บังคับคดี หากปรากฏว่าคู่ ความได้มรณะในชั้นบังคับคดี กรณีนี้ไม่ใช่ มรณะในระหว่างพิจารณาคดีของ ศาลนั้นอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาตรา 42 เพราะในชั้นบังคับคดีนั้นได้กำหนดถึงสิทธิ และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามคำ พิพากษาหรือคำสั่ง สิทธิและหน้าที่นี้ย่อมตกทอด ทายาทตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 และ มาตรา 1600 (สิทธิในการบังคับ คดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมิใช่สิทธิ เฉพาะตัวจึงตกทอดแก่ทายาท)

17 คำพิพากษาฎีกาที่ 347/2503 ในชั้น บังคับคดี โจทก์ผู้ชนะคดีถึง แก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม เต็มเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิ พากษาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 โดยไม่คำนึงว่าจะต้องเข้ามา ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่าย นั้นมรณะหรือไม่เพราะ ไม่ใช่เรื่องคู่ความมรณะตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 42

18 ในระหว่างการบังคับคดี หน้าที่และความ รับผิดชอบย่อมตกทอดทายาทตาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 2532/2523 เมื่อคดีถึง ที่สุดแล้วและจำเลยถึงแก่กรรม ในระหว่างการบังคับคดี หน้าที่และความ รับผิดชอบย่อมตกทอดทายาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา และ 1600 ไม่ใช่เป็นเรื่อง คดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตาม มาตรา 42, 44 แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงอาจ ออกคำบังคับแก่ผู้จัดการ มรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก หรือมีคำสั่งให้ผู้จัดการมรดก ของจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยเสียก่อน แต่อย่างใด

19 ความฝ่ายที่มรณะมีทนายความดำเนินคดีแทนอยู่ ก่อนแล้ว ทนายความย่อม
คำพิพากษาฎีกาที่ 2115/2517 คู่ความมรณะ ภายหลังศาลมีคำพิพากษา แล้ว แต่ยังมิได้บังคับคดีและมิใช่คดีที่ค้างอยู่ ระหว่างพิจารณา กรณีนี้ถ้าคู่ ความฝ่ายที่มรณะมีทนายความดำเนินคดีแทนอยู่ ก่อนแล้ว ทนายความย่อม ยื่นอุทธรณ์ได้ เมื่อทนายความยื่นอุทธรณ์คดีจึง อยู่ในระหว่างพิจารณา ทายาท หรือผู้จัดการ หรือผู้ปกครองทรัพย์ มรดกของคู่ความ ผู้มรณะร้องขอ เข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42

20 3. ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่า ทายาทของผู้มรณะ หรือ ผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือ บุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์ มรดกไว้จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ มรณะ

21 ข้อสังเกต 1. เมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะใน ระหว่างที่คดีค้างพิจารณา อยู่ในศาล ศาลต้องเลื่อนการนั่งพิจารณา ไปจนกว่าจะมีผู้เข้ามาเป็น คู่ความแทนที่ผู้มรณะ ซึ่งเป็นบทบังคับที่ บัญญัติไว้ให้ศาลต้องเลื่อน จะใช้ดุลพินิจไม่ได้

22 เลื่อนไปจนกว่า (1) ทายาทของผู้มรณะ หรือ (2) ผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้
2. ระยะเวลาที่ศาลสั่งเลื่อนการนั่งพิจารณากรณี คู่ความมรณะ ศาลจะสั่ง เลื่อนไปจนกว่า (1) ทายาทของผู้มรณะ หรือ (2) ผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ มรณะ หรือ(3) บุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์ มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความ แทนที่ผู้มรณะ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ มีคำขอเข้ามา เอง หรือโดยที่ศาลมีหมายเรียก ให้เข้ามาเนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้ จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความ ฝ่ายนั้นมรณะ

23 4. ต้องเป็นคดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือ สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน การพิจารณาคดีเกี่ยวกับคู่ความ มรณะ คดีนั้นจะต้องเป็นคดีที่ฟ้องร้อง เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน ซึ่งทายาทอาจรับมรดกความ ได้ เพราะสิทธิดังกล่าวย่อมเป็นมรดกตกทอดไป ยังทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1600 ถ้าตามกฎหมายและ โดยสภาพสิทธินั้นเป็นการเฉพาะ ตัวผู้มรณะโดยแท้แล้วไม่เป็นมรดกของผู้มรณะ ทายาทจะเข้ารับมรดกความ ไม่ได้

24 คำพิพากษาฎีกาที่ 48/2519 คดี เรื่องแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัด การมรดก ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดก ความได้ เพราะไม่เป็น มรดก

25 การเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะ
การเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะมีพิจารณา 3 ประการ คือ 1) ผู้มีสิทธิร้องขอเข้ามาแทนที่คู่ความผู้ มรณะ 2) วิธีการขอเข้ามาแทนที่คู่ความผู้ มรณะ 3) กำหนดเวลาขอเข้ามาแทนที่คู่ความผู้ มรณะ

26 ผู้มีสิทธิร้องขอเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ
1. ทายาทของผู้มรณะ ได้แก่ ทายาทโดย ธรรมและผู้รับพินัยกรรม แต่มี เงื่อนไขว่าว่าจะต้องอยู่ในฐานะผู้ที่มีสิทธิรับมรดก ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมี ทรัพย์มรดกตกทอดหรือไม่ เพราะตาม ป.วิ. แพ่ง มาตรา 42 ไม่มีบทบัญญัติ บังคับไว้ว่าทายาทที่จะเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูก หมายเรียกเข้าเป็นคู่ความ แทนจะต้องเป็นทายาทที่เข้ามารับเอาทรัพย์มรดก

27 แล้วย่อมเป็นผู้สืบสันดานของบิดาเหมือนกับ บุตรที่ชอบด้วยกฎ
คำพิพากษาฎีกาที่ 365/2509 บุตรนอก กฎหมายที่บิดาได้รับรอง แล้วย่อมเป็นผู้สืบสันดานของบิดาเหมือนกับ บุตรที่ชอบด้วยกฎ หมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมี สิทธิขอเข้ามาเป็นคู่ความหรือถูกหมายเรียก ให้เข้ามาเป็นคู่ความ แทนที่บิดาได้ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาตรา 42

28 (ป.พ.พ. มาตรา 1712 และผู้จัดการมรดก ตามคำสั่งศาล (ป.พ.พ. มาตรา )
2. ผู้จัดการทรัพย์มรดก ได้แก่เป็น ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (ป.พ.พ. มาตรา 1712 และผู้จัดการมรดก ตามคำสั่งศาล (ป.พ.พ. มาตรา ) 3. บุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดก เช่น ผู้ปกครองทรัพย์มรดกตาม พินัยกรรมแทนผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1687

29 วิธีการขอเข้ามาแทนที่คู่ความผู้มรณะ
มี 2 วิธีคือ 1. โดยทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการ ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ ร้องขอเข้ามาเองโดยยื่นคำ ขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล คำขอนี้ มิใช่คำขอฝ่ายเดียว ศาลต้องส่ง สำเนาคำขอให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและ สอบถามคู่ความฝ่ายนั้นก่อน ว่าจะคัดค้านคำขอนั้นประการใดหรือไม่

30 เป็นคำร้องให้ศาลหมายเรียกทายาทของผู้ มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์
2. โดยคู่ความฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ในคดีนั้น มีคำขอฝ่ายเดียวโดยทำ เป็นคำร้องให้ศาลหมายเรียกทายาทของผู้ มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์ มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ ปกครองทรัพย์มรดกไว้เข้ามา แทนที่คู่ความผู้มรณะ

31 กำหนดเวลาขอเข้าแทนที่คู่ความผู้มรณะ
ไม่ว่าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการ ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์ไว้จะขอ เข้าแทนที่คู่ความมรณะเอง หรือโดยศาลมีหมายเรียกให้เข้ามาเนื่องจาก คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมี คำขอฝ่ายเดียวก็ตาม คำขอเช่นว่านี้จะต้อง ยื่นภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ

32 ข้อสังเกต คำว่า “หนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้น มรณะ” นั้น หมายความว่า นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้มรณะ มิใช่ นับวันที่ได้รู้ถึงการมรณะ

33 อำนาจศาลในการออกหมายเรียก
อำนาจศาลในการออกหมายเรียก บุคคลใดเข้ามาแทนผู้มรณะ มีข้อ พิจารณา 3 กรณีคือ 1) ผู้มีสิทธิร้องขอ 2) อำนาจในการออกหมายเรียก 3) กำหนดระยะเวลาให้ผู้ถูกหมายเรียก คัดค้าน

34 ผู้มีสิทธิร้องขอ ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลออก หมายเรียกทายาทของผู้มรณะ หรือ ผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือ บุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์ ไว้ เข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความที่มรณะ คือ คู่ความฝ่ายที่มีชีวิตอยู่ โดยทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียวยื่นต่อศาลที่คดี นั้นค้างพิจารณาอยู่ และ ต้องร้องขอภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความ ฝ่ายนั้นมรณะ

35 อำนาจศาลในการออกหมายเรียก
การแทนที่คู่ความผู้มรณะนั้น ทำได้ 2 วิธี คือ โดยผู้ที่จะเข้ามา แทนร้องขอเข้ามาเองวิธีหนึ่ง หรือโดย คู่ความฝ่ายที่มีชีวิตอยู่ร้องขอ ให้ศาลออกหมายเรียกเข้ามา สำหรับ อำนาจศาลในการออกหมาย เรียกมีได้เฉพาะแต่กรณีคู่ความฝ่ายที่มีชีวิต อยู่ร้องขอโดยทำเป็นคำ ร้องยื่นต่อศาลให้ออกหมายเรียกเท่านั้น ถ้าไม่มีคำขอยื่นต่อศาลโดย ทำเป็นคำร้องฝ่ายเดียวแล้ว ศาลจะออก หมายเรียกเองไม่ได้

36 การไต่สวนและมีคำสั่ง
อำนาจศาลในการไต่สวนและมีคำสั่ง มี 4 กรณี คือ 1. ทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการ ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือ บุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ มีคำ ขอเข้ามาเอง จะต้องยื่นคำ ขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ศาลได้รับคำ ร้องแล้วจะส่งสำเนาคำร้อง ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง และสอบถามคู่ความ ฝ่ายนั้นก่อนว่าจะคัดค้าน คำขอนั้นประการใดหรือไม่ หากคู่ความ ฝ่ายนั้นไม่คัดค้าน ศาลอาจมี คำสั่งอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร

37 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ เมื่อศาลออก หมายเรียกไปยังทายาทของผู้
2. คู่ความฝ่ายที่มีชีวิตมีคำขอฝ่ายเดียว ให้ ศาลออกหมายเรียกบุคคลนั้น เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ เมื่อศาลออก หมายเรียกไปยังทายาทของผู้ มรณะ หรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครอง ทรัพย์มรดกไว้ และบุคคลเหล่านี้ยินยอมเข้ามา เป็นคู่ความแทนผู้มรณะตาม หมายเรียก ศาลก็เพียงแต่จดในรายงาน พิจารณาและดำเนินคดีต่อไปได้เลย แต่ถ้าบุคคลที่ถูกหมายเรียกไม่ยินยอมหรือไม่มา ศาล ศาลต้องทำการไต่สวน ว่าเพราะเหตุใดบุคคลนั้นจึงไม่ยอมเข้ามา และมี เหตุผลสมควรหรือไม่

38 ทายาทของผู้มรณะจริง หรือเป็นผู้จัดการ ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ
1. ถ้าเห็นว่าหมายเรียกมีเหตุผล กล่าวคือ ผู้ที่รับหมายเรียกเป็น ทายาทของผู้มรณะจริง หรือเป็นผู้จัดการ ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ จริง หรือเป็นผู้ปกครองทรัพย์มรดกจริง ศาลจะมีคำสั่งตั้งบุคคลนั้น เป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ ทั้ง ๆ ที่บุคคล นั้นไม่ยินยอมหรือไม่มาศาล

39 ผู้ที่ได้รับหมายเรียกมีเหตุผลเพียงพอว่าตน มิได้เป็นทายาทของผู้
2 ถ้าเห็นว่าคำคัดค้านของบุคคลที่รับ หมายเรียกมีเหตุผล กล่าวคือ ผู้ที่ได้รับหมายเรียกมีเหตุผลเพียงพอว่าตน มิได้เป็นทายาทของผู้ มรณะ หรือมิได้เป็นผู้จัดการทรัพย์มรดก ของผู้มรณะ หรือมิได้เป็น ผู้ปกครองทรัพย์มรดกไว้ศาลจะมีคำสั่งเพิก ถอนหมายเรียกนั้นเสีย

40 กรณีไม่มีคำขอภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ
ถ้าทายาทของผู้มรณะ หรือผู้จัดการ ทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือ บุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ ไม่มี คำขอเข้าแทนที่คู่ความผู้ มรณะ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่าย เดียวขอให้ศาลหมายเรียก บุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ มรณะภายในหนึ่งปีนับแต่ วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะให้ศาลสั่งจำหน่าย คดีเรื่องนั้นเสียจาก สารบบความ

41 ข้อสังเกต คดีบางประเภทศาลไม่ต้องรอให้พ้นหนึ่งปีก็ สามารถสั่งจำหน่ายคดี ได้ 1. คดีที่การมรณะของคู่ความทำให้ไม่มี ประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไป เช่น คดีฟ้องหย่าเมื่อคู่ความฝ่ายใดถึงแก่ความ ตาย กรณีเป็นเรื่องความมรณะ ของคู่ความยังให้คดีไม่มีประโยชน์ต่อไป ศาล ต้องสั่งจำหน่ายคดี (คำพิพากษา ฎีกาที่ 168/2492

42 ถอนผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะ รับมรดกได้ เพราะไม่เป็น
2. คดีที่ทายาทไม่อาจรับมรดกได้ ได้แก่ คดีเรื่องแต่งตั้งหรือถอด ถอนผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะ รับมรดกได้ เพราะไม่เป็น มรดก (คำพิพากษาฎีกาที่ 131/2506, 96/2516, 48/2519) และ คดีเรื่องถอดถอนผู้พิทักษ์ไม่เป็นคดีที่ทายาท จะรับมรดกความได้ (คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 2102/2517)

43 ฐานผิดสัญญาหมั้นนั้นทายาทจะฟ้องหรือรับ มรดกความต่อไปมิได้
3. คดีที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้มรณะ เช่น (ก) ป.พ.พ. มาตรา 1447 บัญญัติว่า การร้องเรียกค่าทดแทน ฐานผิดสัญญาหมั้นนั้นทายาทจะฟ้องหรือรับ มรดกความต่อไปมิได้ เว้นแต่ค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา (2) (ข) สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ อาศัย (ป.พ.พ. 1404) (ค) สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ผู้เช่าเว้นแต่เป็นการเช่า ต่างตอบแทนพิเศษกว่าสัญญาเช่าธรรมดา

44 (จ) ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้
(ง) สิทธิเก็บกิน เป็นสิทธิเฉพาะตัว ของผู้ทรงสิทธิ (ป.พ.พ. มาตรา 2418) (จ) ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ ทรงสิทธิ (ป.พ.พ. มาตรา 1431)

45 ผลของการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
1. ถ้าศาลสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้ามาเป็น คู่ความแทนที่ผู้มรณะ ถือว่า บุคคลนั้นเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตั้งแต่ศาลมี คำสั่งเป็นต้นไป เพราะการ เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะนั้นไม่ใช่เป็นการ เริ่มคดี แต่เป็นการดำเนิน คดีต่อจากที่คู่ความ ผู้มรณะได้ดำเนินไว้แล้ว บุคคลผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ ผู้มรณะ จึงไม่มีสิทธิหรือตั้งต้นเริ่มคดีกันใหม่ นอกจากนั้นเมื่อศาลมีคำสั่ง อนุญาตให้บุคคลใดเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ ผู้ มรณะแล้ว สิทธิในการดำเนิน คดีของบุคคลนั้นย่อมมีเพียงเท่าสิทธิของคู่ความผู้ มรณะเท่านั้น

46 2. ผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะมี สิทธิเท่ากับคู่ความเดิมผู้ มรณะ เพราะการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ มรณะมิใช่เข้ามาในฐานะ ส่วนตัว แต่เข้ามาแทนที่คู่ความเดิมใน ฐานะเดียวกัน จึงมิต้องรับผิด เป็นส่วนตัว และเกินกว่าทรัพย์สินที่ตกทอด เป็นมรดกแก่ตน

47 และคู่ความอีกฝ่ายที่มีชีวิตอยู่เป็นบุพการี ของผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความ
3. ถ้าผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ และคู่ความอีกฝ่ายที่มีชีวิตอยู่เป็นบุพการี ของผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความ แทนที่ผู้มรณะ เท่ากับว่าฟ้องบุพการีของ ตน จึงต้องห้ามเป็นอุทลุม (คำพิพากษาฎีกาที่ 1551/2494 ประชุม ใหญ่)

48 จบหัวข้อการเข้าที่ที่คู่ความผู้ มรณะ

49 การถอนฟ้อง

50 บอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล
มาตรา 175 ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์ อาจถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำ บอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจ ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ต่อศาลชั้นต้น เพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟัง จำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน (2) ในกรณีที่โจทก์ถอนฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลง หรือประนีประนอมยอม ความกับจำเลย ให้ศาลอนุญาตไปตามคำขอนั้น

51 ผู้มีสิทธิขอถอนคำฟ้อง
การถอนคำฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ ผู้ฟ้องคดี ดังนั้นผู้ที่ จะถอนคำฟ้องได้จึงต้องเป็นโจทก์ในคดี นั้น หรือจำเลยที่ฟ้อง แย้ง โจทก์เดิมตกเป็นจำเลย ก็ อยู่ในฐานะโจทก์ในคดีนั้น เช่นกัน

52 ข้อพิจารณา อำนาจถอนฟ้องได้ ถ้านิติบุคคลนั้น เป็นบริษัท กรรมการผู้มี
1. ในคดีที่นิติบุคคลเป็นโจทก์ ผู้แทนของนิติบุคคลย่อมมี อำนาจถอนฟ้องได้ ถ้านิติบุคคลนั้น เป็นบริษัท กรรมการผู้มี อำนาจกระทำการแทนบริษัทก็มีอำนาจ ถอนคำฟ้องในคดีที่ บริษัทเป็นโจทก์ได้ โดยไม่จำต้อง ได้รับความเห็นชอบจากผู้ ถือหุ้นก่อน เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัท จะมีข้อกำหนดไว้ (ฎีกา 1328/2535)

53 ในใบมอบอำนาจได้ให้อำนาจในการถอน คำฟ้องได้ด้วย
2. ผู้ที่ฟ้องคดีในฐานะผู้รับมอบอำนาจ จะต้องปรากฏด้วยว่า ในใบมอบอำนาจได้ให้อำนาจในการถอน คำฟ้องได้ด้วย 3. ทนายความโจทก์ที่ยื่นคำบอกกล่าว หรือคำร้องขอถอนฟ้อง มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำบอกกล่าวหรือ คำร้องนั้นได้ แต่จะต้อง ปรากฏว่าในใบแต่งทนายความให้มีอำนาจ ดังกล่าวด้วย มิฉะนั้น ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องไม่ได้ (ฎีกา 6750/2539)

54 ระยะเวลาที่จะขอถอนคำฟ้องได้
1. การถอนคำฟ้องจะทำได้ใน ขณะที่คดีอยู่ในระหว่าง พิจารณาของศาลชั้นต้น ตั้งแต่ โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาล ไป จนกระทั่งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าคดี เสร็จไปจากศาลชั้นต้นแล้ว (ไม่ว่า ผลของคดีจะพิพากษาให้ ตามที่โจทก์ฟ้องหรือพิพากษายกฟ้อง) โจทก์จะขอถอนคำ ฟ้องไม่ได้

55 แล้ว จะขอถอนคำฟ้องในขณะที่คดี อยู่ระหว่างการพิจารณา
2. เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือ คำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แล้ว จะขอถอนคำฟ้องในขณะที่คดี อยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาไม่ได้ โจทก์อุทธรณ์หรือโจทก์ ฎีกาจะขอถอนได้ก็แต่เพียงขอถอน อุทธรณ์หรือถอนฎีกา (คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ 282/2525)

56 แต่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้น พิจารณาพิพากษา
3. แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ ขาดตัดสินคดีแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้น พิจารณาพิพากษา ใหม่ ถือว่าคดียังอยู่ในระหว่าง พิจารณาของศาลชั้นต้น ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอถอนคำฟ้องได้

57 ขอให้พิจารณาคดีใหม่ และศาลอนุญาต ให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำ
4. คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาด ตัดสินคดีแล้ว หากมีการ ขอให้พิจารณาคดีใหม่ และศาลอนุญาต ให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำ ขอ กระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินไปก่อน หน้านั้นเป็นอันถูกยกเลิก ไป คดีจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ในศาล ชั้นต้น (มาตรา 199 เบญจ หรือ มาตรา 207) ถือว่าคดีอยู่ในระหว่าง พิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ จึงมีสิทธิขอถอนคำฟ้องได้

58 วิธีการขอถอนคำฟ้อง 1. ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ซึ่ง อาจเป็นกรณีที่ยังไม่
แบ่งเป็น 2 กรณีคือ 1. ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ซึ่ง อาจเป็นกรณีที่ยังไม่ พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยจะมีสิทธิยื่น คำให้การ หรือครบกำ หนดแล้วแต่จำเลยไม่ยื่นคำให้การ โจทก์ต้องยื่นคำขอถอน ฟ้องโดยทำเป็นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือ

59 คำขอถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้อง
2. จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ถ้า โจทก์จะถอนฟ้อง ต้องยื่น คำขอถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้อง ข้อสังเกต : ในคดีที่โจทก์ฟ้อง จำเลยหลายคน จำเลยบาง คนยื่นคำให้การ บางคนไม่ยื่น คำให้การ ถ้าโจทก์จะถอนฟ้อง จำเลยทุกคนอาจทำเป็นคำร้องฉบับ เดียวก็พอ (ฎีกา 3443/2545)

60 การสั่งคำร้องขอถอนฟ้อง
1. ถ้าเป็นการถอนคำฟ้องก่อนจำเลย ยื่นคำให้การ ศาลไม่ จำต้องสอบถามจำเลยก่อนว่าจะคัดค้าน หรือไม่ 2. คำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ศาล จะต้องอนุญาตให้ถอน ฟ้องเสมอ จะใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้ ถอนคำฟ้องไม่ได้ (ฎีกา 4769/2540) 3. ถ้าเป็นการถอนคำฟ้องหลังจำเลยยื่น คำให้การแล้ว ศาล จะต้องสอบถามจำเลยก่อนว่าจะคัดค้าน หรือไม่

61 ของโจทก์ ศาลก็มีดุลพินิจที่จะ อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ถอน
4. แม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ คัดค้านการขอถอนคำฟ้อง ของโจทก์ ศาลก็มีดุลพินิจที่จะ อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ถอน คำฟ้องหรือไม่ก็ได้ (ฎีกา 1572/2534) เพียงแต่ศาลจะนำคำ คัดค้านดังกล่าวมาใช้ประกอบดุลพินิจ ในการมีคำสั่งเท่านั้น

62 คนไม่ได้ยื่นคำให้การ ศาลจะสอบถาม จำเลยเฉพาะที่ยื่นคำให้การ
5. ในคดีที่มีจำเลยหลายคน จำเลย บางคนยื่นคำให้การ บาง คนไม่ได้ยื่นคำให้การ ศาลจะสอบถาม จำเลยเฉพาะที่ยื่นคำให้การ เท่านั้น (ฎีกา 3443/2545) 6. การใช้ดุลพินิจของศาลว่าจะ อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ ถอนคำฟ้อง จะพิจารณาข้อเท็จจริงใน สำนวน ความสุจริตของ โจทก์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา การทำให้จำเลยเสียเปรียบ ในเชิงคดีหรือไม่ รวมตลอดถึงผลได้ เสียของคู่ความทุกฝ่าย (ฎีกา 2930/2544)

63 คดีที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ศาล ชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มี
คำพิพากษาฎีกา 3962/2535 โจทก์ บกพร่องในการดำเนิน คดีที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ศาล ชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มี สิทธินำพยานเข้าสืบให้งดสืบพยานและ เลื่อนไปฟังคำพิพากษา โจทก์รู้ดีว่าจะต้องแพ้คดี การที่โจทก์ ถอนฟ้องเพื่อนำคดีมา ฟ้องจำเลยใหม่จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริต และทำให้จำเลยเสีย เปรียบ ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ถอน ฟ้อง

64 คำพิพากษาฎีกา 3369/2535 การที่ศาลจะอนุญาตให้ โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งได้หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะ ใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอน ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลย เสียเปรียบในเชิงคดี เพราะ หากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่ก็ อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

65 ประนอมยอมความ ซึ่งอาจเป็นการ ประนีประนอมยอมความ
7. การถอนคำฟ้องที่เนื่องมาจากมี ข้อตกลงหรือการประนี ประนอมยอมความ ซึ่งอาจเป็นการ ประนีประนอมยอมความ นอกศาล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 หรือประนีประนอมยอม ความในศาลและขอให้ศาลพิพากษา ตามยอม ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 138 ก็ตาม ศาลจะต้อง อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้อง เสมอจะไม่อนุญาตไม่ได้

66 คำฟ้องก็ได้ ศาลจะอนุญาตให้ถอน คำฟ้องและจำหน่ายคดี
8. ในคดีที่มีโจทก์หลายคน เฉพาะ โจทก์บางคนอาจถอน คำฟ้องก็ได้ ศาลจะอนุญาตให้ถอน คำฟ้องและจำหน่ายคดี จากสารบบความเฉพาะโจทก์คนที่ถอน ฟ้องเท่านั้น 9. คดีที่มีจำเลยหลายคน ถ้าโจทก์ขอ ถอนฟ้องจำเลยบาง คน ถ้าศาลอนุญาตก็จะสั่งจำหน่ายคดี จากสารบบความ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยคนนั้น

67 บางข้อหาก็ได้ (ฎีกา 1878/2542)
10. ในคดีที่มีหลายข้อหา โจทก์ อาจถอนคำฟ้องเฉพาะ บางข้อหาก็ได้ (ฎีกา 1878/2542) 11. แม้คดีจะมีการสืบพยานไปบ้าง แล้ว ศาลก็มีอำนาจ อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ (ฎีกา 1883/2514)

68 ผลของการถอนคำฟ้อง มาตรา 176 การทิ้งคำฟ้องหรือ ถอนคำฟ้อง ย่อมลบล้าง ผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้ง กระบวนพิจารณาอื่น ๆ อัน มีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำ ให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้อง เลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้ว อาจยื่นใหม่ได้ ภายใต้บังคับแห่งบท บัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

69 ข้อพิจารณา 1. การที่โจทก์ฟ้องจำเลยภายใน กำหนดอายุความ แล้วโจทก์ขอถอนคำฟ้อง ไม่มีผลทำ ให้อายุความสะดุดหยุด ลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ดังนั้นหากโจทก์จะฟ้องจำ เลยเดิมเป็นคดีใหม่แม้คดีจะขาดอายุ ความไปแล้ว ก็สามารถ ฟ้องได้ เพียวแต่เป็นเหตุให้จำเลย ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป. พ.พ.มาตรา 193/29

70 เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 เพราะศาลยังไม่ได้
2. การที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยและ นำคดีมาฟ้องใหม่ไม่ถือ เป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 148 เพราะศาลยังไม่ได้ มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาท แห่งคดี (ฎีกา 3998/2540) และไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) เพราะไม่มีคดีก่อน สำหรับจำเลยที่ถอนฟ้องค้าง พิจารณาอยู่ในศาล

71 และจำเลยคัดค้านการขอถอนฟ้อง แต่ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้
3. ถ้าโจทก์ถอนฟ้องหลังจากจำเลย ยื่นคำให้การแล้ว และจำเลยคัดค้านการขอถอนฟ้อง แต่ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยอุทธรณ์คัดค้าน คำสั่งดังกล่าว ถือว่าคดี อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล อุทธรณ์ โจทก์ย่อมฟ้อง ใหม่ไม่ได้ เพราะเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) (ฎีกา 3522/2539)

72 เป็นคดีใหม่ คำแถลงดังกล่าวย่อม ผูกพันโจทก์ แม้ว่าจะเป็น
4. ในกรณีที่โจทก์ถอนฟ้องโดย แถลงต่อศาลว่าจะไม่ฟ้อง เป็นคดีใหม่ คำแถลงดังกล่าวย่อม ผูกพันโจทก์ แม้ว่าจะเป็น คำแถลงฝ่ายเดียวมิใช่ข้อตกลงระหว่าง โจทก์จำเลยก็ตาม เท่ากับโจทก์สละสิทธิที่จะฟ้องใหม่ที่มี อยู่ตามมาตรา 176 นั้น เสีย โจทก์จึงฟ้องคดีใหม่ไม่ได้

73 ที่ดินพาทของโจทก์ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคย ฟ้องจำเลยในประเด็นและที่
คำพิพากษาฎีกา 2002/2511 โจทก์ฟ้อง จำเลยว่า จำเลยละเมิดบุกรุก ที่ดินพาทของโจทก์ แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคย ฟ้องจำเลยในประเด็นและที่ พิพาทรายเดียวกันนี้มาก่อนแล้วและได้ถอนฟ้อง ไป โดยแถลงต่อศาลไว้ว่าจะ ไม่นำคดีมาฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั้นอีก ดังนี้คำแถลงของโจทก์ใน คดีก่อนซึ่งยอมสละสิทธินำคดีเรื่องนี้มาฟ้องใหม่ ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 176 จึง เป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ในคดีนั้นได้ทำต่อ ศาลและต่อคู่ความอีกฝ่าย หนึ่งและย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยอีกไม่ได้

74 จบหัวข้อการถอน ฟ้อง

75 การร้องสอด

76 ความเข้าใจเบื้องต้น คดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ศาลชั้นต้นไม่ว่าจะเป็น คดีมีข้อพิพาทหรือคดีไม่มีข้อพิพาท คู่ความในคดีต้องดำเนิน กระบวนพิจารณาและผูกพันตามคำ พิพากษาหรือคำสั่งในชั้น ที่สุด แต่ในบางกรณีอาจมีคู่ความ เพิ่มขึ้นในภายหลัง โดยบุคคล ภายนอกซึ่งไม่ใช่คู่ความในคดีเข้ามาเป็น คู่ความในภายหลัง ด้วยการร้องสอด

77 ที่ไม่ใช่คู่ความเข้ามาใน คดีในภายหลัง
การร้องสอดคืออะไร ? การร้องสอด คือ การที่บุคคลภายนอก ที่ไม่ใช่คู่ความเข้ามาใน คดีในภายหลัง

78 การร้องสอดมีประโยชน์อย่างไร ?
หลวงจำรูญเนติศาสตร์ : ทำให้ผู้ ร้องสอดมีโอกาส ป้องกันสิทธิของตนได้ทันทีทันควัน และเป็นการทุ่น ค่าใช้จ่ายด้วยหากไม่ยอมให้ร้อง สอดผู้นั้นก็จะต้องฟ้อง เป็นอีกคดีหนึ่ง ซึ่งจะต้อง เสียเวลาและทำไม่ได้สะดวก เหมือนยื่นคำร้อง และเสีย ค่าใช้จ่ายมากกว่า

79 1. ด้วยความสมัครใจ (มาตรา 57 (1) , (2)
ประเภทของการร้องสอด มี 2 ประเภท คือ 1. ด้วยความสมัครใจ (มาตรา 57 (1) , (2) 2. ไม่สมัครใจ ( ศาล หมายเรียก) มาตรา 57 (3) (ดูตัวบท มาตรา 57)

80 คู่ความได้ด้วยการร้องสอด
มาตรา 57 บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่เป็น คู่ความอาจเข้ามาเป็น คู่ความได้ด้วยการร้องสอด (1) ด้วยความสมัครใจเอง เพราะเห็นว่า เป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับ ตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดย ยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่าง พิจารณา หรือเมื่อตนมี สิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตาม คำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับ คดี

81 ในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคำร้องขอต่อศาล ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำ
2. ด้วยความสมัครใจเอง เพราะตนมี ส่วนได้เสียตามกฎหมาย ในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคำร้องขอต่อศาล ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำ พิพากษาขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือ จำเลยร่วม หรือเข้าแทนที่ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับ ความยินยอมของคู่ความ ฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้า แทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความ ฝ่ายนั้นต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของ ศาลทุกประการ เสมือน หนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย

82 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ในกรณีที่ กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้า
(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตาม คำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งทำเป็นคำร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูก คู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความ เช่นว่านั้นแพ้คดี หรือ (ข) โดยคำสั่งของศาล เมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอ ในกรณีที่ กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้า (มี ต่อ)

83 มาในคดี หรือศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียก บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อ ประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่ถ้าคู่ความฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่ง จะเรียกบุคคล ภายนอกเข้ามาในคดีดังกล่าว แล้วให้เรียกด้วย วิธียื่นคำร้องเพื่อให้หมายเรียก พร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การ หรือในเวลาใด ๆ ต่อมาก่อนมีคำพิพากษาโดย ได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อศาลเป็นที่พอใจว่าคำ ร้องนั้นไม่อาจยื่นก่อนนั้นได้ (มี ต่อ)

84 คำสั่งของศาล แล้วแต่กรณี และคำฟ้องตั้งต้น คดีนั้นแนบไปด้วย
การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุมาตรา นี้ต้องมีสำเนาคำขอ หรือ คำสั่งของศาล แล้วแต่กรณี และคำฟ้องตั้งต้น คดีนั้นแนบไปด้วย บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ไม่ตัดสิทธิของ เจ้าหนี้ ในอันที่จะใช้สิทธิ เรียกร้องของลูกหนี้และที่จะเรียกลูกหนี้ให้เข้ามา ในคดีดังที่บัญญัติไว้ในประ มวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

85 หลักทั่วไปของการร้องสอด
1. ผู้ที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความใน คดีได้ต้องเป็น บุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีเดิม 2. การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความใน คดี คดีเดิมจะต้องอยู่ ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น

86 คน จำเลยอื่นอาจขอให้หมายเรียก จำเลยคนที่โจทก์ถอนฟ้อง
ฎีกา 679/2506 ศาลอนุญาตให้ โจทก์ถอนฟ้องจำเลยบาง คน จำเลยอื่นอาจขอให้หมายเรียก จำเลยคนที่โจทก์ถอนฟ้อง ไปแล้วเข้ามาเป็นคู่ความอีกได้

87 ฎีกา 5463/2534 การเข้าเป็น คู่ความโดยการร้องสอดตามมาตรา 57 ไม่ว่าจะเป็นการขอเข้ามาเองหรือถูก หมายเรียกเข้ามา ผู้ที่เข้ามาต้องเป็น บุคคลภายนอกคดี จำเลยที่ 1 ซึ่ง จำเลยที่ 2 จะเรียกให้เข้ามาในคดีเป็น คู่ความอยู่ในคดีแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาและขาดนัดพิจารณา แต่โจทก์ยังดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 อยู่ ต่อไป ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็น บุคคลภายนอกที่ จำเลยที่ 2 จะเรียก เข้ามาโดยการร้องสอดตาม มาตรา 57(3) ได้

88 คู่ความในคดีด้วยการร้องสอดตาม (1) (2) (3) หรือไม่ เป็น ดุลพินิจของศาล
3. การที่ศาลจะอนุญาตให้ บุคคลภายนอกเข้ามาเป็น คู่ความในคดีด้วยการร้องสอดตาม (1) (2) (3) หรือไม่ เป็น ดุลพินิจของศาล 4. บทบัญญัติเรื่องการร้องสอด จะ ไม่นำไปใช้ในคดีอาญา (คดีอาญามีเฉพาะเรื่องการขอเข้าเป็น โจทก์ร่วม ตาม ป.วิ อาญา มาตรา 30 31)

89 ข้อพิจารณาและหลักเกณฑ์การร้องสอดตาม 57(1)
1. การร้องสอดตามมาตรา 57(1) เป็นการร้องสอดเข้าเป็น คู่ความฝ่ายที่ 3 เป็นการเข้ามาในคดี โดยไม่เจาะจงว่าจะเป็น คู่ความร่วมกับฝ่ายใด และเป็นการ เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ สามซึ่งพิพาทกับโจทก์หรือจำเลย หรือพิพาทกับโจทก์และ จำเลยเดิม

90 2.1 คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของศาลชั้นต้น ให้ยื่น
2. การยื่นคำร้องสอดเป็นคู่ความฝ่าย ที่ 3 มี 2 ช่วงเวลา กล่าวคือ 2.1 คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของศาลชั้นต้น ให้ยื่น ต่อศาลชั้นต้นที่คดีนั้นอยู่ในระหว่าง พิจารณา ดังนั้นจะขอเข้า เป็นผู้ร้องสอดในระหว่างการพิจารณา ของศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกาไม่ได้ (ฎีกา /2547)

91 2.2 หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว เป็นยื่นคำร้องสอดใน ระหว่างการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ว่าศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ หรือศาลฎีกา หากเห็นว่า การบังคับคดีนั้นจะกระ ทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอก

92 ฎีกาที่ 3776/2534 (ประชุมใหญ่) ศาลชั้นต้นพิพากษาและออกคำบังคับ ให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูก สร้างออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ ไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับใน ระหว่างอุทธรณ์ จำเลยจะต้องรื้อ ถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไป

93 ตามคำบังคับ ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ผู้ร้อง หากผู้ร้องเป็นเจ้าของ บ้านและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว จึงเป็นผู้ มีส่วนได้เสียและถูก โต้แย้งสิทธิ จึงชอบที่จะร้องขอเข้ามา ในชั้นบังคับคดีตาม มาตรา 57(1)ได้โดยไม่ต้องรอให้มี การบังคับเสียก่อน

94 เหตุให้ร้องสอดได้ต้องเป็นสิทธิที่ เกี่ยวข้องกับคดีนั้นด้วย
3. สิทธิที่จะขอความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับอันจะเป็น เหตุให้ร้องสอดได้ต้องเป็นสิทธิที่ เกี่ยวข้องกับคดีนั้นด้วย 4. คำร้องสอดตาม 57(1) เป็นการ ร้องสอดเข้ามาเป็น คู่ความฝ่ายที่ 3 ดังนั้นจึงต้องแสดง โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่ง ข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหาตาม มาตรา 172

95 5. คำร้องสอดตามมาตรา 57 (1) ถ้า เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าทีของ โจทก์และจำเลยเดิม ถือว่าเป็นคำ ฟ้องตามมาตรา 1 (3) ผู้ร้องสอด ต้องเสียค่าขึ้นศาล 6. คำร้องสอดตามมาตรา 57 (1) ที่ เกี่ยวเนื่องกับการ บังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง สามารถร้องสอดเข้ามาใน ชั้นบังคับคดีหลังจากศาลชั้นต้นมีคำ พิพากษาแล้ว

96 และหน้าที่ของโจทก์และจำเลยเดิม โจทก์และจำเลยเดิมต้อง
7. คำร้องสอดตามมาตรา 57(1) ถ้า เป็นการโต้แย้งสิทธิ และหน้าที่ของโจทก์และจำเลยเดิม โจทก์และจำเลยเดิมต้อง ยื่นคำให้การแก้คดีของผู้ร้องสอดเหมือน คดีทั่วไป

97 8. เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะอนุญาต ให้บุคคลภายนอก ร้องสอดเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ได้ โดย ศาลจะพิจารณาว่ามีเหตุ สมควรหรือไม่ โดยมีหลักการว่า หากอนุญาตให้มีการร้อง สอดเข้ามาแล้วจะต้องเริ่มต้นทำการ สืบพยานกันใหม่อีก (ฎีกา 595/2508) หรืออาจก่อให้เกิด ความยุ่งยากในการ ดำเนินกระบวนพิจารณา (ฎีกา /2540)

98 ข้อพิจารณาและหลักเกณฑ์การร้องสอดตาม 57(2)
1. เป็นการร้องสอดด้วยความสมัครใจ เพราะตนมีส่วนได้ เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น หมายความว่า เป็นบุคคล ที่อาจได้รับผลกระทบหรือถูกบังคับตาม คำพิพากษาโดยตรง หรือผลของคดีตามกฎหมายมีผลไปถึง บุคคลนั้น เช่น

99 ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินพร้อม ดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้อง
ฎีกา 6146/2550 โจทก์ฟ้องว่าจำเลย กู้ยืมเงินโจทก์แล้วไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินพร้อม ดอกเบี้ย จำเลยให้การและฟ้อง แย้งว่า ในการกู้ยืมเงินจำเลยจดทะเบียน จำนองที่ดินเป็นหลักประ กัน แต่โจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้และไถ่ถอน จำนอง นาย ก. ยื่นคำ ร้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่จดทะเบียนจำนอง เป็นผู้มีส่วนได้เสียใน ผลแห่งคดีในอันที่จะให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ ถอนจำนองเมื่อจำเลย ชำระหนี้ให้โจทก์ คำร้องสอดของ นาย ก. ต้องด้วยมาตรา 57(2)

100 คำพิพากษา จะขอในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ไม่ได้
2. การร้องสอดตาม มาตรา 57(2) ต้องทำก่อนศาลชั้นต้นมี คำพิพากษา จะขอในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ไม่ได้ 3. การร้องสอดตาม มาตรา 57(2) เป็นการขออนุญาตเข้า มาเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หรือ เข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียว โดยได้รับความ ยินยอมของคู่ความฝ่าย

101 นั้น แต่คู่ความฝ่ายนั้นก็ยังคงต้องผูกพน ตนโดยคำพิพากษาของศาล ทุกประการเสมือนหนึ่งมิได้มีการเข้าแทนที่ กันเลย

102 ข้อพิจารณาและหลักเกณฑ์การร้องสอดตาม 57(3)
(ก) ตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งทำเป็นคำร้อง แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความ เช่นว่านั้นฟ้องตนได้ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่า ทดแทน ถ้าศาลพิจารณา ให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดี

103 สินไหมทดแทนเพราะเหตุจำเลยขับรถ โดยประมาทเลินเล่อ
ฎีกา 2078/2523 โจทก์ฟ้องขอให้ จำเลยรับผิดชดใช้ค่า สินไหมทดแทนเพราะเหตุจำเลยขับรถ โดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บและ รถยนต์ของโจทก์เสียหาย จำเลยขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมซึ่งเป็น บริษัทประกันภัยรถ ยนต์คันเกิดเหตุเข้ามาในคดีเพื่อให้ร่วม รับผิด ตามมาตรา 57(3)

104 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอในกรณี ที่กฎหมายบังคับให้
(ข) โดยคำสั่งของศาล เมื่อศาลนั้น เห็นสมควร หรือเมื่อ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอในกรณี ที่กฎหมายบังคับให้ บุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หรือศาล เห็นจำเป็นที่จะเรียก บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อ ประโยชน์แห่งความยุติธรรม

105 สิทธิและหน้าที่ของผู้ร้องสอด
ดู ป.วิ.แพ่ง มาตรา 58

106 สิทธิของผู้ร้องสอด ตาม 57(1) , (3)
- มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือ ถูกฟ้องเป็นคดีเรื่อง ใหม่ - แม้จำเลยเดิมขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57(1) ก็หาหมดสิทธิที่จะร้องสอดเข้ามา เป็นคู่ความในคดีไม่ (ฎีกา 797/2515)

107 ตามมาตรา 57(3) ย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนถูกฟ้องเป็นคดีใหม่
ฎีกา 2527/2525 จำเลยร่วมเข้ามาในคดี โดยถูกหมายเรียกเข้ามา ตามมาตรา 57(3) ย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า ตนถูกฟ้องเป็นคดีใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก หาต้องห้ามมิ ให้ใช้สิทธินอกเหนือจาก จำเลยไม่ จำเลยร่วมมีสิทธิยกอายุความขึ้น ต่อสู้ได้ และกำหนดอายุ ความสำหรับจำเลยร่วม ต้องถือตามวนที่ โจทก์ขอให้หมายเรียกเข้า มาในคดี มิใช่ถือเอาตามคำฟ้องเริ่มต้นคดี

108 เดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ เอา ประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญ
ฎีกา 7556/2547 รถยนต์ที่เช่าซื้อและที่ เอาประกันภัยเป็นคัน เดียวกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ เอา ประกันภัยไว้แก่จำเลยร่วมสูญ หาย จำเลยจึงมีสิทธิขอให้ศาลหมายเรียก จำเลยร่วมเข้ามาเป็น คู่ความในคดี เพื่อให้จำเลยร่วมรับผิดต่อ โจทก์ตามสัญญาประกันภัย ร่วมกับจำเลย ซึ่งเป็นไปโดยผลของมาตรา 57 (3) ก โดยโจทก์ไม่ จำเป็นต้องฟ้องจำเลยร่วมเป็นจำเลยคดีนี้ และไม่จำต้องเป็นคู่ (มี ต่อ)

109 คู่สัญญาหรือมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยร่วมแต่ อย่างใด เมื่อรถยนต์ที่เอา ประกันภัยสูญหาย จำเลยร่วมต้องรับผิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

110 สิทธิของผู้ร้องสอด ตาม 57(2)
- จะใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มี อยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตน เขาเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้น พิจารณาเมื่อตนร้อง สอดไม่ได้

111 ฎีกา 3665/2538 เมื่อจำเลยเดิมมิได้ ฟ้องแย้ง ผู้ร้องสอด
ฎีกา 3665/2538 เมื่อจำเลยเดิมมิได้ ฟ้องแย้ง ผู้ร้องสอด ที่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม 57 (2) ย่อม ไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง เพราะผู้ร้องสอดจะใช้สิทธิอย่างอื่น นอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่ จำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วม ไม่ได้

112 ฎีกา 996/2549 ผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57(2) ต้องห้ามมิ
- ห้ามมิให้ใช้สิทธิในทางที่ขัดกับ สิทธิของโจทก์หรือ จำเลยเดิม ฎีกา 996/2549 ผู้ร้องสอดตาม มาตรา 57(2) ต้องห้ามมิ ให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มี อยู่แก่จำเลยที่ 1 ที่ตน เข้ามาเป็นจำเลยร่วม เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมจึงย่อมไม่มีสิทธิยื่น คำให้การ

113 จบหัวข้อการร้องสอด

114 คำพิพากษาและคำสั่ง

115 มาตรา 134 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามมิ ให้ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ ปฏิเสธ ไม่ยอมพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดย อ้างว่า ไม่มีบทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้ บังคับนั้นเคลือบคลุมหรือไม่สมบูรณ์

116 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดา กรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใด ๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่ง หมายของบทบัญญัตินั้น ๆ เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้ วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีต ประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่น ว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัย เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบท กฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

117 คำพิพากษาและคำสั่ง มาตรา 131 คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลนั้น ให้ศาล ปฏิบัติดังนี้ (1) ในเรื่องคำขอซึ่งคู่ความยื่นในระหว่างการ พิจารณาคดีนั้นโดยทำเป็น คำร้องหรือขอด้วยวาจาก็ดี ให้ศาลมีคำสั่ง อนุญาตหรือยกเสียซึ่งคำขอเช่นว่า นั้นโดยทำเป็นหนังสือหรือวาจาก็ได้ แต่ถ้าศาลมี คำสั่งด้วยวาจาให้ศาลจด คำสั่งนั้นไว้ในรายงานพิสดาร (2) ในเรื่องประเด็นแห่งคดี ให้ศาลวินิจฉัยชี้ ขาดโดยทำเป็นคำพิพากษา หรือคำสั่ง หรือให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบ ความตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ นี้

118 ห้ามมิให้พิพากษาเกินไปกว่าที่ฟ้อง
ดู มาตรา 142

119 ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม

120 ดู มาตรา 161

121 ขอให้นักศึกษาทุกท่าน โชคดี
สวัสดีครับ


ดาวน์โหลด ppt เอกสารประกอบการบรรยาย วิ.แพ่ง 1 ชุดที่2 ยุทธนา คุ้มมี ผู้พิพากษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google