งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง 9/16/2018

2 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ม. 253 - 270
ลักษณะ 1 วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ม วัตถุประสงค์  เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความ ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ประเภทของวิธีการชั่วคราว 1. คุ้มครองประโยชน์ของจำเลย ม. 253, 253 ทวิ 2. คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ ม. 254, 255 3. คุ้มครองประโยชน์ของคู่ความทุกฝ่าย ม. 264 9/16/2018

3 วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ ของจำเลย (ในศาลชั้นต้น) ม
วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ ของจำเลย (ในศาลชั้นต้น) ม. 253 กฎหมายให้สิทธิหรือให้ความคุ้มครองแก่ 1. จำเลย 2. คู่ความที่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย หลักเกณฑ์ที่จะขอคุ้มครอง หรือขอให้ศาลสั่งกำหนด วิธีการชั่วคราว 1. โจทก์มิได้มีภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานอยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับได้อยู่ในราชอาณาจักร 2. เป็นที่เชื่อได้ว่าเมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 9/16/2018

4 วิธีการในการขอคุ้มครอง
จำเลยยื่นคำร้อง  ระบุหรือกล่าวข้อความตาม หลักเกณฑ์ในการขอคุ้มครอง  ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ วางเงิน หรือหาประกันมาวาง ต่อศาลเพื่อชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการยื่น  ยื่นต่อศาลในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลมีคำพิพากษา 9/16/2018

5 การไต่สวนคำร้องของศาล ปฏิบัติตาม ม. 21 กรณีมิใช่
คำร้องที่ทำได้ฝ่ายเดียว ถ้าศาลจะสั่งอนุญาตต้องส่งสำเนา ให้โจทก์ได้มีโอกาสโต้แย้งคัดค้าน และทำการไต่สวน การส่งคำร้องของศาล กรณีที่ศาลจะมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินหรืออนุญาต ตามคำร้องของจำเลย การไต่สวนต้องได้ความว่า 1. กรณีมีเหตุอันสมควร (หลักเกณฑ์ข้อ 1) หรือ 2. กรณีมีเหตุเป็นที่เชื่อได้ (หลักเกณฑ์ข้อ 2) ถ้าไม่ได้ความ  สั่งยกคำร้อง เงื่อนไข กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติ 9/16/2018

6 กรณีที่โจทก์ฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของศาล
ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เว้นแต่ 1. จำเลยขอให้พิจารณาคดีต่อไป หรือ 2. มีการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว 9/16/2018

7 วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ม
วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ม. 253 ทวิ กฎหมายให้สิทธิแก่จำเลย หรือคู่ความที่อยู่ในฐานะ จำเลยมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น จำเลยจะขอคุ้มครองหรือยื่นคำร้อง ให้โจทก์ วางเงินหรือหาประกันมาวางในชั้นอุทธรณ์ – ฎีกา ได้ เมื่อกรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์ 1. โจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา 2. กรณีมีเหตุหรือเข้าหลักเกณฑ์ตาม ม. 253 9/16/2018

8 คำร้องของจำเลยต้องยื่นต่อศาล
โดยหลักทั่วไปคือศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา ยกเว้น  กรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำนวนความ ไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ต้องยื่นต่อ ศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวน เสร็จแล้วส่งไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง ระยะเวลาในการยื่นคำร้อง  ยื่นเมื่อใดก็ได้ก่อนศาลมีคำพิพากษา ศาลที่มีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้อง  ได้แก่ ศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา 9/16/2018

9 การพิจารณาและสั่งคำร้องของศาลอุทธรณ์ – ฎีกา
ให้นำมาตรา 253 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลจะสั่งอนุญาตได้ต้องปฏิบัติตาม ม. 21 ต้องเข้าหลักเกณฑ์ตาม ม. 253, 253 ทวิ การกำหนดเงื่อนไข  ระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติ ตามคำสั่ง กรณีโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง 9/16/2018

10 วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ ม. 254
กฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ หรือคู่ความที่อยู่ในฐานะเป็นโจทก์ วิธีการชั่วคราวที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครอง ที่พิพาท 1. ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ไว้ชั่วคราว ทรัพย์สินของจำเลย กระทำซ้ำซึ่งเป็นการละเมิด, ผิดสัญญา 2. ห้ามจำเลยชั่วคราวมิให้ จำหน่าย โอน ขาย ยักย้ายทรัพย์สิน ที่พิพาท ของจำเลย 3. ห้ามนายทะเบียนชั่วคราวมิให้รับจดทะเบียน  ทรัพย์สิน  ในเรื่องที่โจทก์ฟ้อง ที่พิพาท ของจำเลย 4. จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว 9/16/2018

11 วิธีการในการขอคุ้มครอง ยื่นคำขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง
ระยะเวลาในการยื่น ยื่นต่อศาลใด และศาลใดมีอำนาจพิจารณาสั่ง โดยหลักทั่วไป  ศาลที่คดีอยู่ในระหว่าง การพิจารณาให้พิจารณาสั่ง ในระหว่างศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา  ยื่นต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้น มีอำนาจพิจารณาสั่งอนุญาตหรือยกคำขอได้ 9/16/2018

12 การพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ ม. 256
การพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ ม. 256 คำขอของโจทก์เป็นคำขอฝ่ายเดียว  พิจารณาตาม ม.21 กรณีคำขอให้ยึดหรืออายัด ม. 254 (1) และคำขอให้จับกุมกักขัง ม. 254 (4) เป็นคำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัด ศาลจะส่งสำเนาให้ จำเลยไม่ได้ กรณีคำขอห้ามจำเลยชั่วคราว ม. 254 (2) และห้ามนายทะเบียน ชั่วคราว ม. 254 (3) เป็นคำขอฝ่ายเดียวที่ไม่เคร่งครัด ศาลมี ดุลยพินิจส่งสำเนาให้จำเลยได้ กรณีศาลจะใช้ดุลพินิจส่งสำเนาคำขอให้จำเลยมีโอกาสโต้แย้ง คัดค้าน ม ได้ต่อเมื่อศาลเห็นว่าจะไม่เสียหายแก่โจทก์ 9/16/2018

13 การพิจารณาสั่งอนุญาตตามคำขอของโจทก์ ม.255
โจทก์ต้องนำพยานให้ศาลไต่สวนให้เป็นที่พอใจศาลว่า คำฟ้องมีมูล และ มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองที่ขอมาใช้ได้ ตามหลักเกณฑ์ 1. กรณีที่ขอให้ยึดอายัด ม. 254 (1) ก. จำเลยตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินไปให้พ้นอำนาจศาล ข. มีเหตุจำเป็นที่ศาลเห็นเป็นการยุติธรรม 2. กรณีที่ขอให้ห้ามจำเลย ม. 254 (2) ก. จำเลยตั้งใจทำซ้ำ ข. โจทก์ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของจำเลย ค. ทรัพย์สิน มีพฤติการณ์เปรื่องไปเปล่า ยุบสลาย 9/16/2018

14 3. กรณีที่ขอให้ห้ามนายทะเบียน ม. 254 (3)
3. กรณีที่ขอให้ห้ามนายทะเบียน ม. 254 (3) ก. เกรงว่าจำเลยจะให้มีการจดทะเบียน ข. มีเหตุจำเป็นอื่นใด 4. กรณีที่ขอให้จับกุมกักขังจำเลย ม. 254 (4) ก. จำเลยซ่อนตัวไม่รับหมายเรียกหรือคำสั่งของศาล ข. ยักย้ายพยานหลักฐาน หรือทรัพย์สิน ค. หลีกหนีไปให้พ้นอำนาจศาล 9/16/2018

15 ขอบเขตหรือเงื่อนไขที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาต ม. 257
ศาลสั่งอนุญาตภายใต้ขอบเขตหรือเงื่อนไขใด ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควร กรณีศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยตาม ม. 254 (2) ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ กรณีศาลมีคำสั่งห้ามจำหน่าย โอน ขาย ยักย้าย จำหน่ายทรัพย์ ม.254 (2) หรือห้ามนายทะเบียนจดทะเบียนทรัพย์สิน ให้แจ้งคำสั่ง ให้นายทะเบียนทราบเพื่อให้บันทึกคำสั่งไว้ในทะเบียน ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งยึดอายัด ม. 254 (1) ห้ามจำเลย ม. 254 (2) ห้ามนายทะเบียน ม. 254 (3) หมายจับ ม. 254 (4)  สั่งให้ผู้ขอนำเงินหรือหาประกันมาวางเพื่อชำระ ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจำเลยอาจได้รับตาม ม. 263 ก็ได้ 9/16/2018

16 การบังคับใช้คำสั่งในวิธีการชั่วคราว ม. 258
การบังคับใช้คำสั่งในวิธีการชั่วคราว ม. 258 คำสั่งยึดอายัด ม. 254 (1) บังคับจำเลยได้ทันที  แล้วแจ้งจำเลยทราบ คำสั่งห้ามจำเลย ม. 254 (2) ใช้บังคับจำเลยได้ทันที เว้นแต่ศาล เห็นสมควรให้มีผลบังคับเมื่อจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งแล้ว คำสั่งห้ามนายทะเบียน ม. 254 (3) กรณีห้ามจดทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์ ใช้บังคับนายทะเบียนได้ทันที เว้นแต่ศาลเห็นสมควรให้มีผลเมื่อแจ้งคำสั่งให้นายทะเบียนทราบแล้ว กรณีห้ามจดทะเบียนในเรื่องที่ฟ้องบังคับนายทะเบียนได้ต่อเมื่อ แจ้งคำสั่งให้นายทะเบียนทราบแล้ว หมายจับ ม.254 (4) ใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร ส่วนการกักขัง ห้ามกักขังเกิน 6 เดือน นับแต่วันจับ 9/16/2018

17 ผลของคำสั่งในวิธีการชั่วคราวเมื่อมีการฝ่าฝืน ม.258 ทวิ
เมื่อคำสั่งในวิธีการชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้ว 1. กรณีคำสั่งยึดอายัด จะใช้บังคับภายนอก ซึ่งพิสูจน์ได้ว่า รับโอนมา โดยสุจริต มีค่าตอบแทน ก่อนแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ ม.258 วรรคแรก 2. กรณีคำสั่งห้ามจำเลย กรณีจำเลยฝ่าฝืน ไม่อาจใช้ยันโจทก์หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ 3. กรณีคำสั่งห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียน  เกี่ยวกับทรัพย์ กรณีฝ่าฝืนไม่อาจใช้ยันโจทก์หรือ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ เว้นแต่ผู้รับโอนพิสูจน์ได้ว่า รับโอนมา  เกี่ยวกับเรื่องที่ฟ้อง  ไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย โดยสุจริต มีค่าตอบแทน ก่อนแจ้งคำสั่งให้นายทะเบียนทราบ

18 การนำบทบัญญัติในลักษณะ 2 มาใช้บังคับ ม. 259
การนำบทบัญญัติในลักษณะ 2 มาใช้บังคับ ม. 259 กรณีให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดี ตามคำพิพากษา หรือคำสั่ง มาใช้บังคับแก่วิธีการ ชั่วคราวโดยอนุโลม 9/16/2018

19 ผลบังคับของคำสั่งในวิธีการชั่วคราว ม.260
กรณีศาลได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวไว้ในคำพิพากษาหรือ คำสั่งชี้ขาดคดีอย่างไร จะเป็นตามที่กล่าว กรณีคำพิพากษาไม่กล่าวไว้ ผลบังคับจะเป็น ดังนี้ 1. กรณีศาลตัดสินให้จำเลยชนะคดี คำสั่งยกเลิกเมื่อพ้น 7 วัน นับแต่วันพิพากษา แต่ถ้าโจทก์ยื่นคำขอฝ่ายเดียวภายใน 7 วัน นั้นว่าประสงค์อุทธรณ์ ฎีกา และมีเหตุอันควรให้คำสั่งมีผลต่อไป  ถ้าศาลชั้นต้นอนุญาต จะมีผลต่อไปจนกว่า จะครบกำหนดอุทธรณ์ ฎีกา เว้นแต่ศาลไม่รับอุทธรณ์ ฎีกา จะส่งผลเมื่อมีคำสั่งไม่รับ ถ้ารับอุทธรณ์ ฎีกา ผลจะมีต่อไป จนกว่าศาลอุทธรณ์ ฎีกา จะสั่งเป็นอย่างอื่น 2. กรณีศาลตัดสินให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งมีผลต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา 9/16/2018

20 การคุ้มครองสิทธิของจำเลย ซึ่งถูกบังคับจากผลของวิธีการชั่วคราว
ม ให้สิทธิจำเลยหรือบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย มีคำขอให้ศาลเพิกถอน เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ในกรณีที่ ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ม ให้สิทธิจำเลยหรือบุคคลภายนอที่ได้รับความเสียหาย มีคำขอให้ศาลแก้ไข หรือยกเลิกวิธีการชั่วคราว กรณีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลัก ในการสั่งเปลี่ยนแปลงไป ม ให้สิทธิจำเลยยื่นคำขอให้ศาลสั่งให้โจทก์ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่จำเลย 9/16/2018

21 กรณีต้องด้วยเหตุหรือหลักเกณฑ์
ม  ให้สิทธิจำเลยหรือบุคคลภายนอกที่จะต้องเสียหาย จากผลบังคับของคำสั่งตาม ม. 254  ยื่นคำขอให้ศาล ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่ง แก้ไข เปลี่ยนแปลงคำสั่ง กรณีต้องด้วยเหตุหรือหลักเกณฑ์  วิธีการที่ศาลสั่งตาม ม. 254 1. ไม่มีเหตุเพียงพอ หรือ 2. มีเหตุอันสมควรประการอื่น  ศาลมีคำสั่ง 1. อนุญาตตามที่จำเลยขอ หรือ 2. สั่งอย่างอื่นตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม 9/16/2018

22  ศาลกำหนดให้จำเลยวางเงินหรือ หาประกันมาวางตามที่เห็นสมควร
 ศาลกำหนดให้จำเลยวางเงินหรือ หาประกันมาวางตามที่เห็นสมควร กรณีต้องด้วยเหตุหรือหลักเกณฑ์ดังกล่าว จำเลยที่ถูก คำสั่งจับกุม  ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่ง ถอนหมาย ปล่อย หรือปล่อยชั่วคราว คำขอของจำเลยต้องยื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลที่มีอำนาจสั่งคือศาลที่มีคำสั่งกำหนดวิธีการชั่วครา ให้แก่โจทก์ตาม ม. 254 9/16/2018

23  ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการ ชั่วคราวตาม ม. 254
ม  ให้สิทธิจำเลยหรือบุคคลภายนอกที่ต้องเสียหาย จากผลของคำสั่งตาม ม. 254 ของศาล  ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการ ชั่วคราวตาม ม. 254  กรณีต้องด้วยเหตุหรือหลักเกณฑ์ว่า กรณีข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักตาม ม. 255 (1) (2) (3) หรือ (4) อย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป  คำขอยื่นต่อศาลชั้นต้น ส่วนศาลที่มีอำนาจพิจารณาสั่ง ได้แก่ ศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณา ข้อสังเกต กรณีระหว่างศาลอ่านคำพิพากษาศาลล่างจนถึงเวลา ศาลชั้นต้นส่งสำนวนที่มีการอุทธรณ์ ฎีกา ให้ศาลสูง  ยื่นต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่ง 9/16/2018

24 ม. 263  ให้สิทธิแก่จำเลยยื่นคำขอให้โจทก์ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน
ม  ให้สิทธิแก่จำเลยยื่นคำขอให้โจทก์ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน  เหตุหรือหลักเกณฑ์ที่จำเลยจะยื่นคำขอได้ 1. กรณีศาลตัดสินให้โจทก์แพ้คดีและปรากฏ ว่าศาลมีคำสั่งโดยเห็นลงไปว่าสิทธิเรียกร้อง ของโจทก์มีมูลโดยความผิดหรือเลินเล่อ ของโจทก์ 2. กรณีศาลตัดสินให้โจทก์แพ้หรือชนะก็ตาม ปรากฏว่าศาลมีคำสั่ง โดยเห็นลงไปว่า วิธีการที่สั่งมีเหตุผลเพียงพอ (มีเหตุตาม ม. 255 (1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี) โดยความผิดหรือเลินเล่อของโจทก์ 9/16/2018

25 กรณีศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หากไม่ยอม
วิธีการในการขอ จำเลยยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีนั้น ภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการ ชั่วคราวนั้นมีคำพิพากษา การพิจารณาคำขอ ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำขอโดยอาจแยกจากคดีเดิม หรือไม่ก็ได้ ศาลที่มีอำนาจสั่งคำขอ ได้แก่ ศาลที่มีคำสั่งกำหนดวิธีการ ชั่วคราวตาม ม. 254 คำสั่งของศาลอุทธรณ์ ฎีกาต่อได้ กรณีศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หากไม่ยอม ปฏิบัติจะถูกบังคับเสมือนหนึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา 9/16/2018

26 วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ ของคู่ความ ม. 264
วิธีการชั่วคราวซึ่งเป็นการคุ้มครองประโยชน์ ของคู่ความ ม. 264 นอกจาก ม. 253 ให้ความคุ้มครองจำเลย ม. 254 ให้ความคุ้มครองโจทก์ ม. 264 ยังให้ความคุ้มครองประโยชน์คู่ความทุกฝ่าย ให้สิทธิคู่ความยื่นคำขอต่อศาล ให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับคดี ศาลมีอำนาจกำหนดวิธีการคุ้มครองอย่างใด ๆ ก็ได้ เช่น  ให้นำทรัพย์สินหรือเงินพิพาทมาวางศาล  ตั้งผู้จัดการรักษาทรัพย์ ห้างร้าน  ให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก 9/16/2018

27 การใช้วิธีการชั่วคราวต่อผู้ค้ำประกัน ม. 265
การใช้วิธีการชั่วคราวต่อผู้ค้ำประกัน ม. 265 กฎหมายให้สิทธิโจทก์ยื่นคำขอให้ศาลกำหนด วิธีการชั่วคราว เพื่อบังคับแก่กรณีศาลรับรอง บุคคลเป็นประกัน หรือผู้ค้ำประกันในศาล กรณีที่บุคคลดังกล่าวแสดงกิริยาที่ทำให้เนิ่นช้า ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของตน 9/16/2018

28 คำขอในเหตุฉุกเฉิน ม ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่ง กำหนดวิธีการชั่วคราวตาม ม. 254 ให้แก่โจทก์ ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินได้ วิธีการที่โจทก์จะขอคุ้มครองในเหตุฉุกเฉิน 1. โจทก์ต้องยื่นคำขอให้ศาลสั่งคุ้มครองตาม ม. 254 2. ยื่นคำร้องอ้างเหตุกรณีมีเหตุฉุกเฉิน 9/16/2018

29 กระบวนพิจารณาคำขอในเหตุฉุกเฉิน
ม  ให้ศาลพิจารณาคำขอของโจทก์เป็นการด่วน  การพิจารณาอาจฟังจากคำแถลงของโจทก์ หรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบก็ได้ หรือศาลอาจเรียกพยานมาสืบเอง  กรณีที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของ โจทก์ในเหตุฉุกเฉินได้ต่อเมื่อได้ความว่า 1. คดีมีเหตุฉุกเฉินตามที่โจทก์อ้างมาในคำร้อง และ 2. คำขอตาม ม. 254 ของโจทก์มีเหตุผลสมควร อันแท้จริง 9/16/2018

30  สิทธิของจำเลยที่ถูกบังคับจากวิธีการชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน
 เมื่อคดีได้ความดังกล่าว ศาลจะมีคำสั่งหรือออกหมายตามที่โจทก์ ขอมาภายในขอบเขตและเงื่อนไขตามที่ศาลเห็นจำเป็นให้ทันที คำสั่งนี้ยังไม่เป็นที่สุด  ถ้าไม่ได้ความดังกล่าว ศาลมีคำสั่งยกคำขอ คำสั่งยกคำขอเป็นที่สุด โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้  สิทธิของจำเลยที่ถูกบังคับจากวิธีการชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน  จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลยกเลิกคำสั่งได้  จำเลยอาจขออนุญาตศาลทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวได้  คำสั่งยกเลิกตามคำขอของจำเลยเป็นที่สุด แต่ถ้ายกคำขอ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์  กรณีที่ศาลมีคำสั่งยกคำขอของโจทก์ที่ยื่นมาในเหตุฉุกเฉิน หรือยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้แก่โจทก์ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำขอตาม ม. 254 ได้ใหม่ 9/16/2018

31 ม. 268  การวินิจฉัยว่าคดีมีเหตุฉุกเฉินหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล
ม. 268  การวินิจฉัยว่าคดีมีเหตุฉุกเฉินหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล  วิธีการชั่วคราวที่ศาลจะกำหนด ตามคำขอของโจทก์ตาม ม ต้องให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลย เท่าที่จำเป็นแก่กรณีเท่านั้น 9/16/2018

32  กรณีจำเลยขอยกเลิกเพื่อรอฟัง คำชี้ขาดของศาลก่อน
ม. 269  ผลของคำสั่งอนุญาตตามคำขอ ในเหตุฉุกเฉิน จะมีผลเช่นเดียวกับ กรณีทั่วไปตาม ม. 258 และ ม. 258 ทวิ  แต่ศาลอาจให้รอการบังคับตามคำสั่งนั้น  กรณีจำเลยขอยกเลิกเพื่อรอฟัง คำชี้ขาดของศาลก่อน  กรณีโจทก์ต้องวางประกันก่อน 9/16/2018

33 ม. 270.  คำขอในเหตุฉุกเฉิน หรือกระบวน. พิจารณาในเหตุฉุกเฉินใช้บังคับ
ม. 270  คำขอในเหตุฉุกเฉิน หรือกระบวน พิจารณาในเหตุฉุกเฉินใช้บังคับ แก่คำขอ 1. คำขอตาม ม. 254 2. ป.วิ พ. หรือกฎหมายอื่นบัญญัติไว้ โดยชัดแจ้ง 9/16/2018

34 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ม. 271
ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ม. 271 คำพิพากษาที่ต้องมีการบังคับคดี คำพิพากษาหรือคำสั่งให้มีการบังคับให้บุคคลใด ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง คำพิพากษาที่ไม่มีการบังคับคดี คำพิพากษาหรือคำสั่งไม่มีการบังคับแก่บุคคลใด 9/16/2018

35 บุคคลที่มีสิทธิขอให้มีการบังคับคดี  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา  คู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดี บุคคลที่ถูกบังคับคดี  ลูกหนี้ตามคำพิพากษา  คู่ความหรือบุคคลที่เป็นฝ่ายแพ้คดี 9/16/2018

36 ระยะเวลาในการบังคับคดี
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่มีคำพิพากษา หรือคำสั่ง  เป็นระยะเวลามิใช่อายุความ  นับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะใช้สิทธิบังคับตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งได้  เมื่อร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี แล้ว การบังคับกระทำ เกิน 10 ปี ได้  การร้องขอให้บังคับคดี  ศาลออกหมายบังคับคดีตั้งเรื่อง ระบุตัวทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับให้ 9/16/2018

37 คำบังคับ ความหมาย  การแจ้งหรือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ ตามคำพิพากษาปฏิบัติตาม คำพิพากษาหรือคำสั่ง คำบังคับต้องออกเมื่อใด ม. 272 ออกเฉพาะกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งต้องมีการบังคับ ศาลมีหน้าที่ออกคำบังคับให้วันที่อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่ง 9/16/2018

38 เมื่อออกคำบังคับแล้ว
ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มาฟังการอ่าน คำพิพากษาลงลายมือชื่อทราบคำบังคับไว้ (ลูกหนี้ฯ รวมถึงทนายความและผู้รับฉันทะ จากทนายความ) ถ้าลูกหนี้ไม่มาฟังการอ่าน ศาลต้องสั่งให้ลูกหนี้ โดยทางเจ้าพนักงานศาล 9/16/2018

39 รายการที่ต้องระบุในคำบังคับ
1. วิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับ ม ได้แก่ คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติ ม. 273  ให้ใช้เงิน  ส่งมอบทรัพย์สิน  กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ 2. ระยะเวลาและเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ กรณีระยะเวลาเป็นดุลพินิจที่ศาลจะกำหนด เว้นแต่ คดีมโนสาเร่ต้องกำหนดไม่เกิน 15 วัน คดีขาดนัดต้องไม่ต่ำกว่า 7 วัน 3. กรณีไม่ปฏิบัติ  ลูกหนี้จะต้องถูกยึดทรัพย์ ถูกจับกุม และกักขังได้ตามกฎหมาย 9/16/2018

40 การบังคับแก่ผู้ค้ำประกัน ม. 274
การบังคับแก่ผู้ค้ำประกัน ม. 274 ผู้ค้ำประกัน จะต้องเป็นการค้ำประกันในศาล เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษานั้นบังคับ แก่การประกันได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาบังคับผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องฟ้อง 9/16/2018

41 หมายบังคับคดี หมายบังคับคดี  ได้แก่ คำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการบังคับคดี กรณีจะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลตั้งบังคับโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ วิธีการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ม. 275 เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอฝ่ายเดียว ให้ศาลออกหมายบังคับคดี 9/16/2018

42 คำขอให้ออกมายบังคับคดีต้องมีข้อความ
1. คำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดี 2. จำนวนหนี้ที่ยังมิได้รับชำระตามคำพิพากษา 3. วิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายนั้น คำขอนั้นต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาและ มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้น 9/16/2018

43 การออกหมายบังคับคดี ม. 276
การออกหมายบังคับคดี ม. 276 กรณีเป็นคำขอฝ่ายเดียว ศาลต้องพิจารณา ตาม ม. 21 กรณีต้องหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ศาลต้องออกหมาย บังคับคดีให้ทันที 1. มีการส่งคำบังคับให้แก่ลูกหนี้ฯ , หรือลูกหนี้ ฯ ลงลายมือชื่อทราบคำบังคับไว้แล้ว 2. ระยะเวลาที่ศาลกำหนดในคำบังคับล่วงพ้นไปแล้ว 3. คำขอให้ออกคำบังคับมีข้อความระบุไว้ครบถ้วน 9/16/2018

44 ข้อสังเกต 1. การออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใด โดยเฉพาะ ถ้าศาลสงสัยว่าไม่สมควรยึด  สั่งให้ผู้ขอวางเงินหรือหาประกันมาวาง เพื่อป้องกันการบุบสลายหรือสูญหาย 2. การออกหมายบังคับคดีให้ลูกหนี้ ฯ ส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการงดเว้นกระทำการหรือขับไล่ ให้ศาลระบุ เงื่อนไข ป.พ.พ. มาตรา 213 เท่าที่สภาพแห่งหนี้จะ เปิดช่องให้ทำโดยทางศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดี 9/16/2018

45 เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว
1. ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ เว้นแต่ เจ้าหนี้จะนำหมายไปให้เจ้าพนักงานเอง 2. ไม่ต้องส่งสำเนาหมายให้ลูกหนี้ ฯ เว้นแต่ศาล มีคำสั่งให้เจ้าหนี้เป็นผู้จัดการส่ง (ถ้าไม่ส่ง สำเนาหมายให้ลูกหนี้ ฯ เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงาน บังคับคดีต้องแสดงหมายให้ลูกหนี้ ฯ ทราบ) 9/16/2018

46 การสั่งหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ม. 277
การสั่งหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ม. 277 เจ้าหนี้ ฯ มีหน้าที่ต้องติดตามสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ฯ ม. 277 ให้โอกาสแก่เจ้าหนี้ที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้ทำการไต่สวนลูกหนี้หรือ บุคคลอื่นที่สามารถให้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์ หลักเกณฑ์ที่เจ้าหนี้ ฯ จะยื่นคำขอนั้นได้  เจ้าหนี้ ฯ เชื่อว่า ลูกหนี้ ฯ มีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ หมายเหตุ คดีมโนสาเร่ เป็นดุลพินิจที่ศาลจะออกหมาย เรียกลูกหนี้หรือบุคคลอื่นนั้นมาไต่สวนได้ก่อน ออกหมายบังคับคดี 9/16/2018

47 อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี
เจ้าพนักงานบังคับคดี ได้แก่ ดูนิยาม ม. 1 (14) อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นเมื่อ ม. 278  วันที่ส่งหมายบังคับคดีให้แก่ลูกหนี้ ฯ  ถ้าไม่มีการส่ง  นับแต่วันออกหมาย อำนาจหน้าที่ทั่วไปของเจ้าพนักงานบังคับคดี 9/16/2018

48  อำนาจ  หน้าที่  ยึด อายัดทรัพย์สินของลูกหนี้และนำออกขายทอดตลาด
 อำนาจ  เป็นผู้แทนเจ้าหนี้รับชำระหนี้ที่ลูกหนี้วางและออกใบรับให้  ยึด อายัดทรัพย์สินของลูกหนี้และนำออกขายทอดตลาด  จำหน่ายทรัพย์สินและเงินรายได้ที่ได้จากการนั้น  ดำเนินวิธีการบังคับที่ศาลกำหนดไว้ในหมายบังคับคดี  หน้าที่ 1. รับผิดในการรักษาเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาไว้โดยปลอดภัย 2. ทำบันทึกการบังคับคดีรักษาไว้ในที่ปลอดภัย และรายงาน ศาลเป็นระยะ ๆ หมายเหตุ เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบหมายให้บุคคลอื่น ปฏิบัติการแทนได้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 9/16/2018

49 การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ม.279
ต้องดำเนินการบังคับคดี ในวันทำการปกติ ระหว่าง พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ข้อยกเว้น 1. กรณีมีเหตุฉุกเฉิน 2. ได้รับอนุญาตจากศาล ในการดำเนินการบังคับคดี  มีอำนาจ 1. ค้นสถานที่ใด ๆ ที่เป็นของลูกหนี้ ฯ หรือลูกหนี้ปกครองอยู่ 2. ยึดและตรวจสมุดบัญชีแผ่นกระดาษ 3. เปิดสถานที่บ้าน ตู้นิรภัย ตู้หรือที่เก็บของ 9/16/2018

50 ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ม. 280
ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ม. 280 ผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินหรือ สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 1. เจ้าหนี้ ฯ 2. ลูกหนี้ ฯ 3. ลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัด 4. บุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิจดทะเบียนได้ก่อน 5. บุคคลที่ยื่นคำร้องขอตาม ม. 288, 289, 290 ที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง เว้นแต่ จะถูกยกในชั้นที่สุด สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี ม. 281 1. อยู่ด้วยในการบังคับคดี 2. ร้องขอสำเนาบันทึกการบังคับคดี 9/16/2018

51 การบังคับคดีตามคำพิพากษาให้ชำระเงิน วิธีการบังคับคดีตามคำพิพากษาให้ชำระเงิน ม. 282
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจรวบรวมเงินให้พอชำระตาม คำพิพากษาโดยวิธี 1. ยึดและขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่างและ อสังหาริมทรัพย์ 2. อายัดสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างและอสังหาริมทรัพย์ที่บุคคล ภายนอกจะต้องส่งมอบหรือโอนให้แก่ลูกหนี้ เพื่อนำออกขาย หรือจำหน่ายโดยมีอำนาจยึดเอกสารสิทธิ 3. อายัดเงินที่บุคคลภายนอกต้องชำระแก่ลูกหนี้ ฯ ยึดบรรดาเอกสารสิทธิ 4. ยึดเอกสารสัญญาทำการงาน 9/16/2018

52 หน้าที่และความรับผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ม. 283
หน้าที่และความรับผิดที่มีต่อเจ้าหนี้ ฯ  หน้าที่  ต้องทำการยึด อายัดและขายบรรดาทรัพย์ที่เจ้าหนี้ ฯ อ้างว่าเป็นของลูกหนี้ ภายใต้บังคับ ม. 284 และ 288  ความรับผิด ไม่ยึดภายในเวลาอันควรต้องทำโดย  ปราศจากความระมัดระวัง  สมรู้กับลูกหนี้หรือบุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์ 2. เพิกเฉยไม่กระทำการโดยเร็วตามสมควร  สิทธิของเจ้าหนี้ ฯ ที่ต้องเสียหาย  ยื่นคำร้องให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงาน บังคับคดีรับผิด ถ้าไม่ชำระศาลออกหมายบังคับได้  ทางออกของเจ้าพนักงานบังคับคดี  กรณีสงสัยชอบที่จะงดยึดหรืออายัดและร้องต่อศาลเพื่อขอปลดเปลื้องความรับผิด 9/16/2018

53 จำนวนทรัพย์สินที่จะทำการบังคับคดี ม. 284
จำนวนทรัพย์สินที่จะทำการบังคับคดี ม. 284 เว้นแต่ กฎหมายบัญญัติหรือศาลสั่งเป็นอย่างอื่น ห้ามมิให้ 1. ยึด 2. อายัด 3. ขายทอดตลาดหรือจำหน่าย ทรัพย์สินของลูกหนี้ ฯ เกินกว่าพอที่จะชำระหนี้ ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสิ้น ความรับผิด กรณียึด ขายไม่ชอบ หรือยึดเกินกว่าที่จำเป็น ต่อลูกหนี้ ฯ หรือบุคคลภายนอกที่เสียหาย  ตกอยู่แก่เจ้าหนี้ ฯ เว้นแต่ เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำฝ่าฝืน ป.วิ พ. 9/16/2018

54 ทรัพย์สินของลูกหนี้ ฯ ที่ไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดี ม. 285
1. เครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้สอยส่วนตัว ราคารวมกันไม่เกิน 50,000 บาท เว้นแต่ศาลจะกำหนด 2. เครื่องมือ เครื่องใช้ในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ ราคารวมกันไม่เกิน 100,000 บาท เว้นแต่ศาลจะกำหนดให้ลูกหนี้ ฯ ยึดหน่วงทรัพย์ที่ราคาเกิน 3. วัตถุ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ แทนหรือช่วยอวัยวะของลูกหนี้ ฯ 4. ทรัพย์สินที่โอนไม่ได้ตามกฎหมาย หรือไม่อยู่ในความรับผิด หมายเหตุ ทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ ยึดมาตรวจสอบได้แต่ห้ามนำออกขาย 9/16/2018

55 สิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ ฯ ที่ไม่อยู่ในความรับผิด ม. 286
1. เบี้ยเลี้ยงชีพ เงินรายได้เป็นคราว ๆ ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท หรือศาลกำหนด 2. เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัดหรือรายได้อื่น ในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ ลูกหนี้ 3. เงินเดือน ค่าจ้าง ของลูกจ้างที่มิใช่ราชการ รวมกันเดือนละไม่เกิน 10,000 บาท หรือศาลกำหนด 4. เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ตามจำนวนที่ศาลกำหนด 9/16/2018

56 การให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกที่มีสิทธิ เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ฯ ที่ถูกบังคับคดี
การบังคับคดีไม่กระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอก ม. 287 การร้องขัดทรัพย์  ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึด ม. 288 การร้องขอรับเงินหรือรับชำระหนี้ในทรัพย์ที่ถูกยึด หรืออายัด ม. 289 9/16/2018

57 การบังคับคดีไม่กระทบต่อสิทธิของ บุคคลภายนอก ม. 287
บุคคลภายนอกที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง - ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ - ผู้มีบุริมสิทธิ - เจ้าของรวม - บุคคลที่อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน 9/16/2018

58 วิธีการให้ความคุ้มครอง
ม. 287 ให้ความคุ้มครอง โดยสิทธิของบุคคล ภายนอกนั้น จะไม่ถูกกระทบกระทั่งจากการบังคับคดี  ไม่ต้องขอให้ศาลมีคำสั่ง ข้อสังเกต กรณีบุคคลที่อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิของตน ได้ก่อน  ต้องยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาล มีคำสั่งเพิกถอนการยึด  ยื่นต่อศาลก่อนทรัพย์นั้นถูกนำ ออกขาย 9/16/2018

59 การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด(ร้องขัดทรัพย์) ม. 288
หลักเกณฑ์ในการร้องขัดทรัพย์  ทรัพย์สินที่เจ้าพนักงาน บังคับคดียึดมามิใช่เป็นของลูกหนี้ฯ ผู้มิสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์  บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิจาก การยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี บุคคลที่เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น บุคคลที่ได้รับประโยชน์จากทรัพย์นั้น ผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ ผู้อาศัย ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ 9/16/2018

60 วิธีการยื่นคำร้องขัดทรัพย์
ต้องทำเป็นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึด มีผลเป็นคำฟ้อง ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ การบรรยายคำร้องขัดทรัพย์ต้องมีข้อความว่าลูกหนี้ฯ มิใช่เจ้าของทรัพย์ที่ถูกยึด ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดีให้มีการยึด ยื่นต่อศาลก่อนมีการนำทรัพย์นั้นออกขาย 9/16/2018

61 การพิจารณาคำร้องขัดทรัพย์
ศาลพิจารณาอย่างคดีแพ่งสามัญ ส่งสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ ให้แก่ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือโจทก์ ให้ยื่นคำให้การแก้คดี เจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่องดการขายทรัพย์ ที่ถูกร้องขัดทรัพย์ ลูกหนี้ ฯ หรือจำเลย เพื่อทราบ 9/16/2018

62 สิทธิของเจ้าหนี้ ฯ หรือโจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์
กรณีที่ผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ 1. โดยไม่มีมูล และ 2. เป็นการประวิงการบังคับคดี เจ้าหนี้ ฯ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องขัดทรัพย์ วางเงิน เพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าหนี้ ฯ  ไม่วางจำหน่ายคดี คำร้องดังกล่าวต้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน กรณีทรัพย์ที่ยึดเป็นสังหาริมทรัพย์ ศาลมีอำนาจสั่งให้นำออกขายแล้วเก็บเงินไว้แทน กรณีมีพยานหลักฐานเบื้องต้นว่าคำร้อง ขัดทรัพย์ไม่มีมูล หรือทรัพย์นั้นเก็บไว้นานไม่ได้ 9/16/2018

63 การร้องขอรับเงินหรือรับชำระหนี้ในทรัพย์ที่ถูกยึด/อายัด ม. 289
การร้องขอรับเงินหรือรับชำระหนี้ในทรัพย์ที่ถูกยึด/อายัด ม. 289 บุคคลที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินหรือรับชำระหนี้ ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้มีบุริมสิทธิ ผู้มีสิทธิยึดหน่วง เจ้าของรวม 9/16/2018

64 วิธีการยื่นคำร้องขอรับเงินหรือรับชำระหนี้
ต้องทำเป็นคำร้องขอ  มีผลเป็นคำฟ้องต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ออกหมายบังคับคดี ยื่นก่อนมีการส่งคำบอกกล่าวตาม ม. 319 เว้นแต่ ผู้รับจำนองหรือผู้มีบุริมสิทธิที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วต้องยื่นก่อนมีการนำทรัพย์นั้นออกขาย 9/16/2018

65 การพิจารณาคำร้องขอของศาล
ศาลพิจารณาอย่างการพิจารณาคำร้องทั่วไป ม. 21 หมายเหตุ กรณีผู้รับจำนองอาจยื่นคำร้องขอให้เอา ทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิตาม ป.พ.พ. ก็ได้ 9/16/2018

66 การขอเฉลี่ยทรัพย์ ม. 290 บุคคลที่มีสิทธิยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์  ต้องเป็น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หลักเกณฑ์ที่จะขอเฉลี่ย  ลูกหนี้ ฯ ไม่มีทรัพย์สินอื่น ที่เจ้าหนี้ ฯ จะบังคับชำระหนี้ได้ (โดยสิ้นเชิง) ม. 290 ให้สิทธิขอเฉลี่ยในทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี  ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดซ้ำ 9/16/2018

67 วิธีการขอเฉลี่ยทรัพย์
ยื่นเป็นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ออกหมาย บังคับคดี ระยะเวลาในการยื่นขอเฉลี่ย กรณียึดทรัพย์สินที่ต้องมีการขาย (ไม่ใช่เงิน) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายหรือจำหน่าย ยึดเงิน ภายใน 14 วัน นับแต่วันยึด กรณีอายัด ทรัพย์สินรวมถึงเงิน ภายใน 14 วัน นับแต่วัน ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกอายัด 9/16/2018

68 การพิจารณาคำขอเฉลี่ยทรัพย์
พิจารณาอย่างการพิจารณาคำร้องตาม ม. 21 หลักเกณฑ์ในการที่ศาลจะสั่งอนุญาตให้เฉลี่ย 1. ผู้ขอเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา 2. ไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ ฯ เมื่อศาลส่งสำเนาคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงาน บังคับคดีต้องงดการจ่ายเงินหรือทรัพย์นั้นไว้ เพื่อรอฟังคำสั่งศาล หมายเหตุ เจ้าพนักงานภาษีอากรมีสิทธิขอเฉลี่ย - กรณีสั่งยึดอายัดไว้ก่อนแล้ว - กรณียังไม่มีการสั่งยึดอายัด 9/16/2018

69 คำขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยื่นไม่ทันกำหนด ม.291
คำขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยื่นไม่ทันกำหนด ม.291 กรณีผู้ขอเฉลี่ยตาม ม. 290 ยื่นคำขอไม่ทันกำหนด ผู้ขอยังคงมีสิทธิตาม ม โดยยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่ง 1. รับเงินส่วนที่เหลือ 2. เป็นผู้ยึดทรัพย์นั้นต่อไป กรณีผู้ยึดสละสิทธิ ในการบังคับคดี ระยะเวลาในการยื่นคำร้อง  ก่อนมีการส่งคำบอกกล่าว ตาม ม. 319 ข้อสังเกต กรณีเจ้าหนี้ที่ยึดสละสิทธิหรือเพิกเฉย ม ให้สิทธิแก่  ผู้ขอเฉลี่ยตาม ม  ผู้ยื่นคำร้องตาม ม.287 หรือ มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีต่อไป 9/16/2018

70 การงดการบังคับคดี ม. 292 การงดการบังคับคดี หมายความว่า เมื่อมีเหตุงดการบังคับคดี เกิดขึ้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจะบังคับคดีต่อไปไม่ได้ แต่การบังคับคดี ที่ดำเนินการมาแล้วยังคงมีผลใช้บังคับได้ เหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องงดการบังคับคดี ม. 292 1. ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดี เนื่องจากลูกหนี้ ฯ ขอพิจารณาคดีใหม่ในกรณีขาดนัด 2. ศาลใช้ดุลพินิจสั่งงดการบังคับคดี 3. เจ้าหนี้ ฯ มีหนังสือแจ้งให้งดการบังคับคดี 4. เจ้าหนี้ ฯ ไม่ปฏิบัติตาม ม. 154 ไม่วางเงิน เมื่อต้องงดการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวให้ ผู้มีส่วนได้เสียทราบ 9/16/2018

71 สิทธิของลูกหนี้ ฯ ขอให้ศาลสั่งงดการบังคับคดี ม. 293
สิทธิของลูกหนี้ ฯ ขอให้ศาลสั่งงดการบังคับคดี ม. 293 ลูกหนี้ ฯ มีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้งดการบังคับคดี กรณีต้องด้วยเหตุ 1. ลูกหนี้ ฯ ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ ฯ เป็นคดีเรื่องอื่น 2. ต่อศาลเดียวกัน 3. สามารถหักกลบลบหนี้ได้ถ้าลูกหนี้ชนะคดี 4. ไม่ต้องมีการขาดทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์ - การพิจารณาของศาล  พิจารณาตาม ม. 21 - สั่งงดการบังคับคดีได้เมื่อกรณีต้องด้วยหลักเกณฑ์และ ไม่น่าเสียหายแก่เจ้าหนี้ ฯ - คำสั่งเป็นที่สุด 9/16/2018

72 การบังคับคดีต่อไป ม. 294 กรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการ บังคับคดีไว้ ต่อมาถ้าเหตุแห่งการงดสิ้นสุดลง เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องบังคับคดีต่อไป กรณีเหตุจากคำสั่งให้งด  ศาลมีคำสั่งให้ บังคับคดีต่อ กรณีเหตุเกิดจากเจ้าหนี้ 9/16/2018

73 การถอนการบังคับคดี ม. 295 การถอนการบังคับคดี หมายความว่า เมื่อมีเหตุถอนการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปไม่ได้ ส่วนการบังคับคดีที่ดำเนินมาก็ต้องเพิกถอนไปทั้งหมด เหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดี 1. ลูกหนี้ ฯ วางเงินชำระหนี้ต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดี หรือหาประกันมาวางศาล 2. เจ้าหนี้ ฯ แจ้งขอสละสิทธิต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี 3. คำพิพากษาถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดี ถูกยกเลิก 4. ศาลสั่งถอนการบังคับคดี เพราะเจ้าหนี้ ฯ เพิกเฉย ม. 295 ทวิ 9/16/2018

74 การเพิกถอนการบังคับคดี ม. 296
การเพิกถอนการบังคับคดี ม. 296 การบังคับคดีที่ไม่ชอบซึ่งอยู่ในขั้นตอนของศาล ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำบังคับ หมายบังคับคดี คำสั่งในชั้นบังคับคดี ให้สิทธิ เจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี รายงานหรือยื่นคำร้องให้ศาลสั่งเพิกถอนหรือแก้ไข 9/16/2018

75 การบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไข โดยศาลเห็นเอง ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องต่อศาล ข้อสังเกต ต้องยื่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้ทราบ ก่อนการบังคับคดีเสร็จลง การบังคับคดีเสร็จลง ได้แก่ มีการปฏิบัติตามคำบังคับแล้ว มีการจ่ายเงินที่ได้จากการบังคับคดีแล้ว 9/16/2018

76 การพิจารณาคำร้องให้เพิกถอนการบังคับคดี
พิจารณาโดยอาศัย ม. 21 เจ้าหนี้ ฯ หรือผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับความเสียหาย ยื่นคำร้องให้ผู้ร้องวางเงินหรือหาประกันมาวาง ในการชำระค่าสินไหมทดแทน กรณีมีพยานหลักฐานเบื้องต้น แสดงว่า 1. คำร้องไม่มีมูล และ 2. ยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ศาลสั่งให้วาง  ถ้าไม่วางศาลยกคำร้อง คำสั่งศาลเป็นที่สุด 9/16/2018

77 กรณีศาลสั่งยกคำร้อง เจ้าหนี้ ฯ หรือผู้ที่ได้รับ
กรณีศาลสั่งยกคำร้อง เจ้าหนี้ ฯ หรือผู้ที่ได้รับ ความเสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลสั่งให้ผู้ร้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ภายใน 30 วัน นับแต่ศาลสั่งยกคำร้อง ศาลอาจแยกสำนวนพิจารณาโดยเฉพาะก็ได้ เมื่อศาลสั่งให้ชดใช้ ถ้าไม่ชดใช้ จะถูกบังคับเสมือนหนึ่ง เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา 9/16/2018

78 การบังคับคดีตามคำพิพากษาให้ขับไล่ลูกหนี้ ฯ ม
การบังคับคดีตามคำพิพากษาให้ขับไล่ลูกหนี้ ฯ ม. 296 ทวิ, 296 ตรี, 296 จัตวา เจ้าหนี้ต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการบังคับ ม. 296 ทวิ วิธีการขับไล่  เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบการครอบครอง อสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าหนี้ ฯ เข้าครอบครอง วิธีการส่งมอบการครอบครอง กรณีไม่มีบุคคลใดอาศัยอยู่ ส่งมอบการครอบครองได้ ทำลายสิ่งกีดขวางได้  สำหรับสิ่งของขนย้าย  ขออนุญาตศาลนำออกขายทอดตลาด เว้นแต่ เป็นของสดของเสียได้ ถ้าสิ่งของนั้นถูกยึดอายัด ย้ายสถานทีเก็บรักษา ม. 296 ตรี 9/16/2018

79 กรณีมีผู้อยู่อาศัย – และได้ปฏิเสธ ถ้าไม่ยอมออกไป
กรณีมีผู้อยู่อาศัย – และได้ปฏิเสธ ถ้าไม่ยอมออกไป เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขัง ตาม ม. 296 จัตวา (1) และส่งมอบการครอบครองตาม ม. 296 จัตวา (2) โดยดำเนินการตาม ม. 296 ตรี โดยอนุโลม กรณีผู้อยู่อาศัยปฏิเสธ  ปิดประกาศให้ยื่นคำร้องแสดง อำนาจพิเศษต่อศาล ภายใน 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศ ถ้าไม่ยื่นคำร้องให้สันนิษฐานว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ บุคคลที่เข้ามาอยู่อาศัยในระหว่างการดำเนินการของ เจ้าพนักงานบังคับคดีให้ถือว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ ฯ 9/16/2018

80 การบังคับคดีให้ลูกหนี้ ฯ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
เจ้าหนี้ ฯ ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ม. 296 ทวิ เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอน ขนย้ายสิ่งของ ค่าใช้จ่ายให้ลูกหนี้เป็นผู้เสีย ม. 296 เบญจ วิธีการจัดการรื้อถอน ปิดประกาศกำหนดวันรื้อถอนไม่น้อยกว่า 7 วัน ต้องทำการรื้อถอนด้วยความระมัดระวัง เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ เจตนาร้าย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง 9/16/2018

81 เจ้าหนี้ ฯ มีหน้าที่ช่วยเหลือ  ทดรองเงินค่าใช้จ่าย
วัสดุก่อสร้างและสิ่งของ  ขนย้ายมาเก็บรักษา หรือขายเก็บเงินไว้แทน ไม่มีผู้ใดรับภายใน 5 ปี ตกเป็นของแผ่นดิน  ถ้าถูกยึด ให้ขายทอดตลาด เก็บเงินสุทธิไว้แทน เจ้าหนี้ ฯ มีหน้าที่ช่วยเหลือ  ทดรองเงินค่าใช้จ่าย หมายเหตุ ในการขับไล่ – รื้อถอน ถ้ามีผู้ขัดขวาง ขอให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับกุมและ ควบคุมตัวได้ ม. 296 สัตต 9/16/2018

82 การบังคับคดีโดยวิธีขอให้ศาลจับกุมกักขังลูกหนี้
กรณีที่จะบังคับโดยวิธีขอให้ศาลจับกุมกักขัง ม. 297 หลักเกณฑ์ 1. ลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ ถ้าได้กระทำโดยสุจริต 2. ไม่มีวิธีอื่นใดที่จะใช้บังคับได้ วิธีการขอบังคับ  เจ้าหนี้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้อง  ยื่นต่อศาลในเวลาใดก็ได้ เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามคำบังคับ  ศาลจะอนุญาตได้ถ้าเป็นที่พอใจจากพยานหลักฐานว่าต้องด้วย หลักเกณฑ์ในการขอ 9/16/2018

83 การพิจารณาคำขอของเจ้าหนี้ ฯ ม. 298
ศาลต้องออกหมายเรียกลูกหนี้ ฯ มาศาล ถ้าไม่มาและศาลเห็นว่าลูกหนี้ได้รับหมายแล้ว ทั้งไม่แจ้งเหตุที่ไม่มา  ศาลออกหมายจับได้ ถ้าลูกหนี้ไม่ได้รับหมายเรียกหรือแจ้งเหตุที่ไม่มา ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา กรณีลูกหนี้มาศาล มาเองหรือถูกจับตัวมา ถ้าแสดงเหตุอันควรที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษามิได้ ศาลสั่งกักขัง แสดงเหตุอันสมควรได้  สั่งยกคำขอ การไต่สวนลูกหนี้นำพยานมาสืบแก้ได้ 9/16/2018

84 กรณีศาลจับกุมลูกหนี้ ฯ ห้ามขังเกิน 6 เดือน นับแต่วันจับ
ม. 300 ศาลอาจให้ประกันได้ การจับกุมกักขังลูกหนี้ ฯ หรือผู้ขัดขวาง ไม่ตัดสิทธิในการ ดำเนินคดีในความผิดอาญา ม. 299 กรณีผิดสัญญาประกันที่ให้ประกันตัว  บังคับให้ชำระเงิน โดยไม่ต้องฟ้อง กรณีผู้ค้ำประกันในศาลจงใจขัดขวางการบังคับคดี หรือ ร่วมกับลูกหนี้ ฯ ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา ถูกบังคับ ตาม ม. 297, 298, 299 และ 300 โดยอนุโลม 9/16/2018


ดาวน์โหลด ppt ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google