ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ระเบียบวาระการประชุม
ของคณะกรรมการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน จังหวัดร้อยเอ็ดและคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงตามประกาศคณะกรรมการ โคนมและผลิตภัณฑ์นม ตามคำสั่งจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ ๑๔๘๑/๒๕๕๙ วันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ. ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดร้อยเอ็ด
2
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งให้ทราบ
ระเบียบวาระที่ ๑ : ประธานแจ้งให้ทราบ ระเบียบวาระที่ ๒ : รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
3
ระเบียบวาระที่ ๓ : เรื่องเพื่อทราบ - เรื่องที่ ๑ คำสั่งจังหวัดร้อยเอ็ดที่ ๑๔๘๑/๒๕๕๙ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการอาหารเสรอม (นม) โรงเรียน จังหวัดร้อยเอ็ด - เรื่องที่ ๒ ประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นท เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๙
4
ระเบียบวาระที่ ๔ : เรื่องเพื่อพิจารณา - เรื่องที่ ๑ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต ๑๐ และเขต ๑๒ ให้แนวทางการปฎิบัติงาน - เรื่องที่ ๒ ระเบียบวาระที่ ๕ : เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
5
ประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด
เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด
6
๑. ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๘ ๒. ประกาศ คำสั่งหรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่กำหนดไว้ ซึ่งขัดแย้งกับประกาศให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ๓. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ๔. ในกรณีที่มีปัญหาใดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ให้ประธานกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
7
หมวดที่ ๑ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ
อาหารเสริม (นม) โรงเรียน ๕.๑ มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ๕.๒ มีใบอนุญาตผลิตอาหาร ๕.๓ มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร (นมฟลูออไรด์) ๕.๔ มีใบรับรองการผ่านเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดี (GMP) ๕.๕ มีผลผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพนมโรงเรียน ๕.๖ มีหนังสือยืนยันจากศูนย์รวบรวมนำนมโค และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม UHT ไม่มีหนี้สินค้างชำระค่านมโค ๕. คุณสมบัติของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม
8
๕.๗ ใช้น้ำนมโคจากศูนย์รวบรวมน้ำนมโคที่ผ่านเกณฑ์(GMP) หรือใช้น้ำนมโคจากฟาร์มโคนมที่ผ่านเกณฑ์ (GAP) โดยน้ำนมโคมีคุณภาพตามมาตรฐาน ดังนี้ - (Somatic Cell Count) ไม่เกิน ๖๕๐,๐๐๐ เซลล์/ลบ.ซม - (Total Solid) ไม่ต่ำกว่า ๑๒.๑๕ % ผลวิเคราะห์ เป็นค่าเฉลี่ยของผลตรวจในรอบ ๖ เดือนจากกรมปศุสัตว์ ๕.๘ ไม่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียนในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๘
9
๖. เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการฯ ให้เสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ต่อ (อ.ส.ค) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ๖.๑ ผู้ประกอบการต้องจัดทำคำเสนอขอเข้าร่วมโครงการฯ ตามแบบ นร.๑ ให้ครบถ้วนและความเป็นจริง ๖.๒ ผู้ประกอบการต้องใช้น้ำนมโคจากศูนย์รวมนมที่ได้(GMP)หรือใช้น้ำนมจากฟาร์มโคนมที่ได้(GAP) ตาม MOU ที่กำหนดไว้ - หนังสือรับรองการใช้น้ำนมโคจากศูนย์รวมนมของตน/รับ - สัญญาการจะซื้อจะขายน้ำนมโคของศูนย์รวมนมให้กับผู้ประกอบการฯ - แผนและคำรับรองในการบริหารจัดการโคนม ๖.๓ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ จัดสรรพื้นที่การจำหน่ายนม ๖.๔ ผู้ประกอบการฯไม่จ้างผู้ประกอบการอื่นผลิต ยกเว้นนม UHT
10
๖.๕. ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องผลิตนมโรงเรียนที่มีคุณภาพ
๖.๖ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องดำเนินการขนส่ง และเก็บรักษานมโรงเรียน ดังนี้ - นมพาสเจอร์ไรส์ ขนส่งด้วยรถห้องเย็น T ไม่เกิน ๔ องศา - นม UHT ต้องขนส่งด้วยรถบรรทุกที่มีตู้หรือหลังคา หรือผ้าใบปิดมิดชิด โดยบรรจุในลังกระดาษและไม่ควรซ้อนลังสูงเกิน ๑๐ ชั้น - การขนส่งนมไปยังโรงเรียนในวันและเวลาราชการ กรณีนม UHT ต้องส่งครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน นมพาสเจอร์ไรส์ต้องส่งทุกวัน โดยจัดหาน้ำแข็งให้กับทางโรงเรียนให้เพียงพอ
11
- ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องแจ้งรายชื่อผู้รับจ้างขนส่งนมโรงเรียนให้กับ อ.ส.ค. และรับผิดชอบกำกับดูแลคุณภาพ/อสค. แสดงบน website - ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมต้องเป็นผู้จัดหาตู้เย็น หรือถังแช่นมพาสเจอร์ไรส์/น้ำแข็งสะอาด/เทอร์โมมิเตอร์ชนิดก้านเหล็ก T ๘ องศา และจัดหาคู่มือนมโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้กับโรงเรียนด้วย - ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมและผู้รับจ้างขนส่งดำเนินการจำหน่ายและขนส่งผลิตภัณฑ์นมเพื่อจำหน่ายเฉพาะภายในโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียน ภายในประเทศไทยเท่านั้น
12
หมวดที่ ๒ หลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิ์ และพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียน
๑. มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ๒. มีใบอนุญาตผลิตอาหาร ๗.๑ กำหนดปริมาณน้ำนมโคที่จะจัดสรรสิทธิการจำหน่ายให้คำนวณปริมาตรจาก จำนวนนักเรียนในรอบปีที่ผ่านมา ในวันเรียนคนละ ๑ ถุง-กล่อง/วัน (๒๐๐ มล.) ทั้งนี้ ให้ปรับเพิ่มสองกรณี ดังนี้ - ปรับเพิ่มเพื่อชดเชยการสูญเสียจากกระบวนการแปรรูป ๒ % - ปรับเพิ่มค่าบริหารความเสี่ยง ๕% ๗. ให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติและการจัดสรรพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียน(คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ) จัดสรรสิทธิการจำหน่ายตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
13
๗.๒ การจัดสรรสิทธิการจำหน่ายให้เป็นไปตาม ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ ดังนี้
- ให้ลำดับความสำคัญกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เป็นภาคสหกรณ์ ที่มีน้ำนมโคเป็นของตัวเอง - ให้ผู้ประกอบการฯแจ้งปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำ MOU การซื้อขายน้ำนมโค กับศูนย์รวบรวมน้ำนมโค/ฟาร์มโคนม เพื่อแปรรูปจำหน่าย โดยแจ้งไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์ - คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ จะรวบรวมปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำ MOU ดังกล่าว เพื่อแปรรูปจำหน่ายของผู้ประกอบการทุกราย จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาใช้ในการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียน ปี ๒๕๕๙
14
๗.๓ การจัดสรรสิทธิการจำหน่ายให้เป็นไปตาม ขั้นตอนและหลักเกณฑ์ ดังนี้
- ให้ลำดับความสำคัญกับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เป็นภาคสหกรณ์ ที่มีน้ำนมโคเป็นของตัวเอง - ให้ผู้ประกอบการฯแจ้งปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำ MOU การซื้อขายน้ำนมโค กับศูนย์รวบรวมน้ำนมโค/ฟาร์มโคนม เพื่อแปรรูปจำหน่าย โดยแจ้งไปยังกรมส่งเสริมสหกรณ์ - คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ จะรวบรวมปริมาณน้ำนมโคที่จัดทำ MOU ดังกล่าว จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ มาใช้ในการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียน ปี ๒๕๕๙
15
๘. ให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ มีอำนาจสงวนไว้ซึ่งสิทธิในการจัดสรรสิทธิการจำหน่ายนมโรงเรียนให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ๙. การจัดสรรสิทธิพื้นที่การจำหน่าย ให้เป็นไปตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริงในแต่ละภาค โดยให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นผู้ตัดสินชี้ขาด โดยมีหลักเกณฑ์ในการจัดสรร ดังนี้ ๙.๑. จัดสรรให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่มีสถานที่การผลิต และพื้นที่จำหน่ายในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงก่อน ๙.๒ จัดสรรให้กับผู้ประกอบการฯ ที่ได้รับสิทธิน้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ กล่อง-ถุง/วัน ให้จำหน่ายในพื้นทีนั้นๆ หากมีผู้ประกอบการมากกว่า ๑ แห่ง ให้จัดสรรโดยเฉลี่ย ๙.๓ กรณีพื้นที่ในโครงการนมฟลูออไรส์ ให้ใช้ข้อมูลของกรมอนามัยประกอบการพิจารณา
16
๙.๔.จัดสรรพื้นที่จำหน่ายที่มีชนิดของการบริโภคนม UHT และนมพาสเจอร์ไรส์ ให้สอดคล้องกับชนิดนมที่ผู้ประกอบการผลิต ๙.๕ หากการจัดสรรเกินสิทธิในภาคใด ให้ผู้ประกอบการทุกราย มีส่วนร่วมในการพิจารณาจัดสรรพื้นที่จำหน่าย ในกรณีที่หาข้อยุติไม่ได้ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ๙.๖ หากมีสิทธิการจำหน่ายเหลือใน ๔ จังหวัดชายแดนใต้ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
17
หมวดที่ ๓ มาตรการตรวจสอบ และควบคุม การผลิตและจำหน่ายนมโรงเรียนของผู้ประกอบการ ตามที่ได้รับการจัดสรรสิทธิ ข้อ ๑๐. ทุกวันที่ ๕ ของเดือน ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมจะต้องรายงานยอดการใช้น้ำนมโคจากศูนย์ฯตนเอง/หรือซื้อจากศูนย์อื่นรายเดือน,ยอดการผลิตรายเดือน ยอดการส่งมอบไปยังโรงเรียน ตามแบบที่ อ.ส.ค.กำหนด พร้อมทั้งสำเนาสัญญาซื้อขาย ให้กองเลขาฯคณะกรรมการโคนมฯ ข้อ ๑๑. ข้อมูลที่รายงานต้องถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ สามารถเรียกเอกสารตรวจสอบได้ ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมและศูนย์รับน้ำนมโคที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องยินยอมในการตรวจสอบโรงงาน หรือสถานประกอบการฯ
18
หมวดที่ ๔ แนวปฏิบัติในการจัดซื้อนมโรงเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงเรียนเอกชน
๑๓. เมื่อดำเนินการจัดสรรสิทธิและพื้นที่จำหน่าย หรือส่งนมให้เด็กนักเรียนครบถ้วนแล้ว ให้ อ.ส.ค.จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการฯ แจ้ง อปท. และโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศทราบ ๑๔. อ.ส.ค.มีหนังสือมอบอำนาจให้ผู้ประกอบการฯ เพื่อติดต่อทำสัญญาซื้อขายกับ อปท. และโรงเรียนเอกชนในนาม อ.ส.ค.ตามหนังสือที่ได้รับมอบอำนาจแล้วเท่านั้น ๑๕. อปท. และโรงเรียนเอกชนทำสัญญาซื้อขายกับ อ.ส.ค.หรือผู้ประกอบการฯ โดยใช้ขบวนการจัดซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษ ซึ่งขยายสิทธิพิเศษในการจำหน่ายนมโรงเรียนให้แก่ อ.ส.ค ออกไป ๒ ปี (ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๕๘ – ๓๐ กันยายน ๖๐)
19
๑๖. ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ดำเนินการจัดส่งนมโรงเรียนให้กับ อปท
๑๖. ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ดำเนินการจัดส่งนมโรงเรียนให้กับ อปท. และโรงเรียนเอกชน โดยสัญญาซื้อขายให้ระบุงวดการชำระเงินค่านมโรงเรียนเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ในสัญญาซื้อขายให้ อปท. และโรงเรียนเอกชนให้ระบุประเภท ว่าเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ หรือนม UHT พร้อมทั้งจำนวนและราคาไว้อย่างชัดเจน โดยทำสัญญาเป็นช่วงเปิดภาคเรียน (นามพาสฯหรือ UHT เป็นระยะเวลา ๑๐๐ วัน) และช่วงก่อนปิดภาคเรียน (เฉพาะนม UHT ระยะเวลา ๓๐ วัน) /จัดทำปฏิทินการส่งมอบ และให้เด็กได้ดื้มนมตั้งแต่วันแรกของการเปิดภาคเรียน
20
หมวดที่ ๕ แนวปฏิบัติในการเก็บรักษานมโรงเรียน
๑๗. นมพาสเจอร์ไรส์ ต้องเก็บในตู้เย็น หรือถังแช่และน้ำแข็งที่สะอาด อุณหภูมิไม่เกิน ๘ องศาเซลเซียส ๑๘. นม UHT ต้องมีสถานที่จัดเก็บที่สะอาด ป้องกันสัตว์พาหนะ โดยบรรจุในลังกระดาษ ไม่ควรซ้อนลังสูงเกิน ๘ ชั้น กรณีห่อฟิล์มพลาสติกไม่ควรซ้อนสูงเกิน ๕ ชั้น ยกสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๐ ซ.ม เก็บรักษาอุณหภูมิไม่เกิน ๔๕ องศา ในสภาพไม่เปียกชื้น ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง
21
หมวดที่ ๖ ราคาจัดซื้อนมโรงเรียน
๑๙. ให้ อปท. และโรงเรียนเอกชนจัดซื้อนมตามราคากลางที่รัฐมนตรีกำหนด (มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๕๗) เป็นราคาในการจัดซื้อ ดังนี้ - นมพาสเจอร์ไรส์ชนิดถุง ถุงละ ๖.๕๘ บาท - นม UHT ชนิดกล่องๆละ ๗.๘๒ บาท ชนิดซองๆละ ๗.๗๒ บาท ทั้งนี้ ราคาดังกล่าวเป็นราคาจำหน่ายเท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศ และเปลี่ยนแปลงได้ตามมติคณะรัฐมนตรี
22
หมวดที่ ๗ มาตรการควบคุมกำกับดูแลการบริหารจัดการ
และคุณภาพนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ๒๐. ให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยแต่งตั้งคณะทำงานติดตามและแก้ไขปัญหาการจำหน่ายนมโรงเรียน ๒๑. ให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลคุณภาพนมโรงเรียน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ติดตามกำกับดูแลคุณภาพนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ๒๒. ให้คณะกรรมการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ระดับจังหวัด ติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการคุณภาพนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ในระดับพื้นที่
23
๒๓. หากโรงเรียนหรือหน่วยงานที่จัดซื้อตรวจพบปัญหาคุณภาพนมโรงเรียน และไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา หรือไม่ได้รับการเปลี่ยนนมใหม่ชดเชยนมที่มีปัญหาคุณภาพจากผู้ประกอบการหรือผู้รับจ้างขนส่งนมในโรงเรียน ให้แจ้งมายัง อ.ส.ค. ในฐานะเลขานุการฯ ๒๔. ในกรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมถูกร้องเรียนเรื่องคุณภาพและบริการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ในพื้นที่จังหวัดที่มีการส่งมอบนมโรงเรียน ให้มีคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ปกด. ปศุสัตว์จังหวัด เป็นประธานกรรมการ ๒๕. ในกรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ไม่สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์นม ตามที่ได้รับจัดสรรสิทธิ เนื่องจากถูกตัดสิทธิ ให้ผู้ประกอบการแต่ละภาค คัดเลือก ภาคละ ๕ ราย เสนอให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณา
24
๒๖. ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษและพิจารณาเบี้ยปรับ พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดทำข้อเสนอ เพื่อให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมใช้ประกอบการพิจารณาดำเนินการ กรณีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมเรื่องหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๙ - ลดสิทธิหรือตัดสิทธิการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม ในโครงการอาหารเสริม(นม) โรงเรียนโดยทันทีต่อไป - หากมีความผิดตามกฎหมายอื่น ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือหน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.