ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยStella Marsh ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
บทที่ 3 ภาวะผู้ตาม ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2
ความหมายของผู้ตาม (Followers)
- บุคคลที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม คณะ หรือทีมงานที่ต้องปฏิบัติตามภารกิจตามคำสั่ง หรือคำขอร้องของผู้นำ - บุคคลที่ต้องทำตามความคิดหรือตามคำสอนของบุคคลอื่น - เป็นผู้ปฏิบัติงานและกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้การชี้นำและคำแนะนำของผู้นำ
3
ความต้องการของผู้ตาม การจัดลำดับของคุณลักษณะที่พึงปรารถนา
ผู้นำที่พึงปรารถนา เพื่อนร่วมงาน(ผู้ตาม)ที่พึงปรารถนา มีความซื่อสัตย์(Honest) มีความคิดไปข้างหน้า(กว้างไกล)(Forward-thinking) มีแรงดลใจ(Inspiring) มีความสามารถ(Competent) ให้ความร่วมมือ(Cooperative) สามารถพึ่งพาได้()
4
ความกล้าของผู้ตาม (The Courageous Follower)
นอกจากนี้บทบาทของผู้ตามยังเกี่ยวกับความกล้าในเรื่องต่อไปนี้ 1. กล้าที่จะแสดงความรับผิดชอบ (Courage to assume responsibility) เกิดความรู้สึกสำนึกในความรับผิดชอบส่วนตัวในฐานะที่ตนเป็นเจ้าขององค์การและต่อพันธกิจขององค์การที่ตนเกี่ยวข้องอยู่ กล้าแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำ
5
2. ความกล้าที่จะบริการ (Courage to serve) ผู้ตามที่มีความกล้าจะสามารถมองออกถึงความต้องการขององค์การ และจะแสดงออกอย่างกระตือรือร้นที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือตอบสนองความต้องการนั้น จะใช้จุดเด่นของตนสนับสนุนต่อการตัดสินใจของผู้นำ และสร้างผลงาน 3. ความกล้าที่จะท้าทาย (Courage to challenge) ผู้ตามที่มีความกล้าจะไม่ยินยอมที่จะเสียสละวัตถุประสงค์ขององค์การหรือจริยธรรมของตนเพื่อแลกกับการลดความขัดแย้งหรือเพื่อความสงบราบรื่น จะแสดงจุดยืนที่มั่นคงและกล้าคัดค้านการกระทำหรือการตัดสินใจของผู้นำ หากเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อผล
6
4. ความกล้าในการเข้าร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Courage to participate in transformation) เมื่อองค์การอยู่ในภาวะยุ่งยากต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ผู้ตามจะให้การสนับสนุนช่วยเหลือโดยไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคปัญหาเมื่อเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นก่อให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมในระยะยาว 5. ความกล้าที่จะไปจากองค์การ (Courage to leave) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแก่องค์การก็จะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม และจะมีความขัดแย้งตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเผชิญความขัดแย้งที่ผู้นำไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่เป็นประโยชน์ขององค์การเท่าที่ควร จะตัดสินใจจากองค์การไป
7
อุปนิสัย 7 ประการที่นำไปสู่การเป็นคนที่มีประสิทธิผลสูง
ประสิทธิผล ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพตนเองของผู้ตามดังนี้ 1. ต้องมีนิสัยเชิงรุก (Be Proactive) หมายถึงการมีพฤติกรรมหรือการคิดที่ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้น ก่อนที่จะรอให้เหตุการณ์เกิดขึ้น และต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ (Reactive) เป็นคนที่รับผิดชอบต่อวิถีชีวิตตนเอง ถือว่าตนมีความสามารถในการกำหนดทางเลือกและการกระทำด้วยตนเองอย่างมีหลักการ เมื่อไม่เป็นตามคาดหมายก็จะไม่ตำหนิหรือโยนความผิดพลาดให้ผู้อื่น หรือโทษสภาพแวดล้อมหรือโชคชะตา เชื่อว่าอะไรที่เกิดขึ้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ที่สำคัญคือจะมีวิธีการดำเนินการต่อสิ่งที่เกิดขึ้นให้มีผลมากที่สุดได้อย่างไร
8
2. เริ่มต้นในใจด้วยจุดมุ่งหมาย (Begin with the end in mind) ก่อนเริ่มต้นต้องกำหนดผลสำเร็จที่เป็นเป้าหมายปลายทางให้ชัดเจนในใจเสียก่อน รู้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับตนเอง เปรียบเหมือนการเดินทางก็คือ ก่อนออกเดินทางจำต้องกำหนดเป้าหมายและแผนการเดินทางไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี 3. ทำตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง (Put first things first) วิธีการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการควบคุมเรื่องเวลาและเหตุการณ์
9
4. คิดแบบชนะ - ชนะ (Think win - win) หมายถึงความเข้าใจและตระหนักว่า ถ้าปราศจากความร่วมมือแล้วยากที่องค์การจะประสบความสำเร็จได้ และทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ชนะ 5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek first to understand, then to be understood) เป็นหลักการสำคัญของการสื่อสารที่มีประสิทธิผล การเข้าใจคนอื่นก่อนนั้น ต้องอดทนฟัง ไม่ด่วนตัดสินใจ แต่ต้องสามารถที่จะรับฟังในสิ่งที่เป็นจุดยืนของผู้อื่นก่อน การรับฟังแบบเข้าออกเข้าใจจะช่วยทำให้เข้าใจต่อความรู้สึกของผู้อื่นได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
10
6. ประสานพลัง (Synergy) เป็นการกระทำร่วมกันที่เกิดขึ้นจากการที่คนทำงานร่วมกัน ทำให้ได้ผลงานมากกว่าการที่แต่ละคนแยกกันทำงานนั้น การทำงานร่วมกันโดยคนแต่ละคนต่างมีความคิดที่ต่างกัน ย่อมหมายถึงการช่วยกันคิด และจะได้คำตอบหรือทางเลือกที่ดีที่สุดออกมา 7. ลับเลื่อยให้คม (Sharpen the saw) เป็นวงกลมที่ล้อมรอบอุปนิสัยทั้งหกที่กล่าวมาแล้ว เป็นอุปนิสัยที่ทำให้อุปนิสัยอื่นทำงานได้อยู่ตลอดเวลา เป็นการช่วยเสริมสร้างและปรับปรุงความสดใหม่ทั้งทางร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และพื้นฐานทางสังคมต่าง ๆ ให้แก่ชีวิตอยู่เสมอ
11
กลยุทธ์ของผู้ตามที่มีประสิทธิผล
เดพ (Daft) ได้เสนอกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลที่ผู้ตามสามารถใช้ในการเกิดอิทธิพลต่อผู้นำของตน 4 ประการดังนี้ 1. การเป็นแหล่งวิทยาการแก่ผู้นำ (Be a resource for the leader) ผู้ตามที่มีประสิทธิผลจะบอกให้ผู้นำทราบถึงแนวคิด ความเชื่อ ความต้องการ และข้อจำกัดต่าง ๆ ของตน และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ 2. การช่วยเหลือผู้นำให้เป็นผู้นำที่ดี (Help the leader be a good leader) ช่วยสนับสนุนให้ผู้นำเป็นผู้นำที่ดี บอกความคิดเห็นของตน
12
3. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำ (Build a relationship with the leader) มีการพูดจาแลกเปลี่ยนวิพากษ์วิจารณ์หรือให้ข้อมูลบ่อย ๆ ทำให้เกิดความสนิทสนมและไว้วางใจต่อกัน 4. การมองผู้นำตามความเป็นจริง (View the leader realistically) หมายถึง การลบภาพในอุดมคติของผู้นำออกจากความรู้สึกนึกคิดในใจของผู้ตาม โดย มองผู้นำจากความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น พนักงานที่เชื่ออย่างฝังใจว่านายไม่ชอบตนเนื่องจากนายวางตัวเฉยไม่เคยพูดคุยกับตน ทั้ง ๆ ที่ตนยอมรับว่านายเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถและมีความรับผิดชอบสูงคนหนึ่ง เป็นต้น
13
คุณลักษณะของผู้ตาม คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับผู้ตามที่มีประสิทธิผล มี 4 ประการดังนี้ 1. สามารถบริหารจัดการตนเองได้ดี (Self - management) สามารถควบคุมตนเอง มีความอิสระ พึ่งตนเองได้ และสามารถทำงานได้ดีโดยปราศจากการตรวจตราใกล้ชิด ผู้นำสามารถไว้วางใจได้ในการมอบหมายความรับผิดชอบ 2. มีความผูกพัน (Commitment) ต่อองค์การและต่อวัตถุประสงค์ หลักการหรือบุคคลอื่น ผูกพันต่อวิธีการ ผลผลิต หรือแนวคิดที่นอกเหนือจากความเป็นอยู่และอาชีพปกติของตน
14
3. เสริมสร้างศักยภาพและทุ่มเท (Competence and focus) ความพยายามของตนเพื่อผลสุดยอดของงาน มีทักษะความชำนาญที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของตน เป็นผู้มีมาตรฐานการทำงานของตนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดขององค์การ ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการพัฒนา 4. มีความกล้าหาญ (Courage) ซื่อสัตย์และน่าเชื่อถือ (Honest and credible) เป็นนักวิเคราะห์ที่สามารถเสนอแนะความคิดและการวินิจฉัยต่าง ๆ กล้ารับผิดและให้เกียรติในความสำเร็จแก่ผู้อื่น เป็นผู้มีรูปแบบมาตรฐานทางจริยธรรมของตน
15
จบบทที่ 3 แล้วจ้า ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.