งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน: ปัญหาและทางออก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน: ปัญหาและทางออก"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน: ปัญหาและทางออก
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน: ปัญหาและทางออก อารยะ ปรีชาเมตตา

2 ปัญหา : ปัจจัยเสี่ยง(ลำดับต้นๆ) ที่มีผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก ความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และปัญหาเงินเฟ้อ ความเสี่ยงเรื่องภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลก ปัจจัยเสี่ยงจากภายใน ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง อื่นๆ ฯลฯ 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3 สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลก เกิดมีความผันผวนอย่างมาก
ทางด้านอุปสงค์: การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมา ทำให้ความต้องการใช้พลังงานของโลกเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากจีน และอินเดีย ทางด้านอุปทาน: กลุ่มประเทศ OPEC ไม่ยอมลงทุนเพิ่มเท่าที่ควรในการขยายความสามารถในการขุดเจาะน้ำมันเพิ่มมากขึ้น แม้ว่า verified recoverable petroleum reserve ของโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.6% ต่อปี ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราเพิ่มของความต้องการน้ำมันของโลก ในระหว่าง ค.ศ 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4 สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลก เกิดมีความผันผวนอย่างมาก (2)
เหตุผลก็คือ กลุ่ม OPEC ต้องใช้รายได้จากน้ำมันที่เพิ่มขึ้นไปใช้ตอบสนองความต้องการของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และลงทุนในด้านอื่นๆ กลัวว่า หากลงทุนขยายความสามารถในการขุดเจาะมากขึ้น จะทำให้ราคาน้ำมันลดลง จนกระทบต่อรายได้จากน้ำมันที่ได้อยู่ในปัจจุบัน ผลก็คือ ทำให้ ส่วนต่าง (buffer) ระหว่างอุปทานและอุปสงค์น้ำมันลดน้อยลงมากจนถึงระดับที่ว่า แม้ว่าจะเกิดผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อแหล่งผลิต (เช่น ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) จะมีผลทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้น (ซึ่งในอดีตเมื่อ 2 ทศวรรษก่อน ขนาดของ buffer นี้เคยมีอยู่ในระดับสูงถึง 10 กว่าล้านบาร์เรลต่อวัน) 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5 สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลก เกิดมีความผันผวนอย่างมาก (3)
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น กลไกตลาดได้ทำให้เกิดมีการเก็บสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมากในภาคเอกชนของประเทศที่พัฒนาแล้วในช่วงที่ผ่านมา โดย Hedge fund, นักลงทุน และนักเก็งกำไร ต่างก็ทำสัญญาซื้อน้ำมันล่วงหน้า (accumulated net long positions in crude-oil futures) ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอีกทางหนึ่ง (และทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงเร็วขึ้น กว่ากรณีที่มีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว) ซึ่งผลของกลไกการเก็บสำรองน้ำมันที่มากขึ้นนี้ ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น และสูงขึ้นก่อนที่ความต้องการใช้น้ำมันจะมีมากกว่าอุปทาน ส่งผลให้ความต้องการใช้มีการปรับตัวลดลงได้ทันเวลา ก่อนที่จะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6 สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลก เกิดมีความผันผวนอย่างมาก (4)
นี่คือคำตอบว่า ทำไมราคาน้ำมันตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างมากที่ผ่านมา จึงไม่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจมากเหมือนในอดีต และทำไมขณะนี้ จึงมีแนวโน้มผันผวนลดลงทันทีเมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มส่อแววถดถอย ความเสี่ยงในระยะยาว: IEA (The International Energy Agency) ประมาณการว่า มีน้ำมันใต้ดินในปริมาณที่เพียงพอที่จะรองรับ ความต้องการน้ำมันของโลกที่จะเพิ่มจาก 84 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี ค.ศ.2005 ไปเป็น 116 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี ค.ศ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า OPEC จะเต็มใจที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อรับภาระไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณที่จะต้องเพิ่มขึ้นทั้งหมดนี้หรือไม่ 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7 ความเสี่ยงเรื่องภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก
ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐอเมริกา คิดเป็น 6.5% ของ GDP ของสหรัฐในปี ค.ศ (จากเดิมที่เคยสมดุลในทศวรรษที่ 1990) เนื่องจาก ตั้งแต่ ค.ศ สหรัฐมี productivity growth ที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ ทำให้สามารถจ่าย risk-adjusted expected rate of return แก่เจ้าของเงินทุนจากต่างประเทศได้สูงกว่าที่อื่นๆ แต่เรื่องดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ตลอดไปไม่ได้ เพราะเมื่อถึงจุดที่เจ้าของเงินต่างประเทศที่ลงทุนในสหรัฐมี concentration risk ที่สูงในระดับหนึ่ง ก็จะทำให้อุปสงค์ต่อเงินดอลลาร์ลดลง ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง ในอนาคต (จะทำให้สหรัฐส่งออกได้มากขึ้น และลดการขาดดุลให้น้อยลง) 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8 ความเสี่ยงเรื่องภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก (2)
ปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน (Subprime) ทำให้กำลังซื้อลดลง (สินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งหมดของสหรัฐในปี 2006 คิดเป็น 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยประมาณว่า 20% เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน) ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินอื่นๆ ทำให้ต้องเพิ่มทุน อาจทำให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ (credit crunch) ราคาบ้านที่ลดลง และปัญหา credit crunch ก็จะทำให้ครัวเรือนอเมริกันต้องใช้จ่ายลดลง 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

9 ความเสี่ยงเรื่องภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก (3)
ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก IMF ลดการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ลงจาก 4.1% เหลือ 3.9% ชี้พิษเศรษฐกิจสหรัฐกระทบเป็นวงกว้างไปยังภูมิภาคอื่น ขณะที่ ศก.ยูโรโซนอ่อนแอ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังสูง และผันผวนไปถึงปีหน้า นายเบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยนั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อพิจารณาจากแรงกดดันด้านราคาที่สูงขึ้น โดยวิกฤตการเงินยังไม่สิ้นสุดลง และอาจจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจอ่อนตัวลง รวมทั้งอัตราว่างงานสูงขึ้น สำนักข่าว AP รายงานว่า เงินเฟ้อสหรัฐในเดือน ก.ค.ทะยาน 9.8% สูงสุดรอบ 27 ปี (เนื่องจากราคาน้ำมัน) ส่งผลให้ดอลลาร์กลับไปอ่อน แต่นักวิเคราะห์เชื่อดอลลาร์จะเดินหน้าแข็งค่าขึ้นในระยะสั้นนี้ เพราะนักลงทุนกังวล ศก.ยูโรโซนและญี่ปุ่นมากกว่า 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต
ราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวนต่อไป และมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับสูงในระยะยาว (เนื่องจากขนาดของความแตกต่างระหว่างอุปทานและอุปสงค์ (buffer) มีอยู่ไม่มากพอ) ความเสี่ยงเรื่องปัญหาเงินเฟ้ออันเป็นผลจากราคาน้ำมันต่อเศรษฐกิจไทย ยังคงมีต่อไป แม้ในระยะสั้นนี้จะดูเหมือนผ่อนคลายลง ส่งผลให้ไทยต้องนำเข้าน้ำมันคิดเป็นมูลค่าที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะยาว ผลกระทบจากการปรับตัวเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐ หากสหรัฐสามารถปรับตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็จะค่อยๆปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เพราะฉะนั้นค่าเงินบาทก็จะปรับตัวแข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

11 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต (2)
หากมีการปรับตัวอย่างรุนเร็วและฉับพลัน ค่าเงินดอลลาร์จะผันผวนและอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบรุนแรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาการถดถอยของเศรษฐกิจโลก อำนาจซื้อของประเทศคู่ค้าของไทยจะลดลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ลดความต้องการใช้พลังงานของทั้งโลกลง ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกชะลอตัวลง และลดแรงกดกันเรื่องเงินเฟ้อได้ในระดับหนึ่ง อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐจะอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ดอกเบี้ยของไทยปรับตัวสูงขึ้นไม่ได้มากนัก 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

12 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทางออกของประเทศไทย เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับความผันผวนจากภายนอกตามที่กล่าวไปแล้ว ควรให้ ธปท. รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทยในระดับมหภาคได้อย่างเหมาะสม (เพื่อรับมือกับความผันผวนทางด้านปัญหาเงินเฟ้อ และค่าเงินบาทที่จะแข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์) ระมัดระวังการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นที่เกิดจากการก่อหนี้หรือการใช้จ่ายอย่างไม่ระมัดระวัง เนื่องจากเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ จะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถทำการผลิตและมีความพร้อมที่จะแข่งขันได้ดีกว่า พิจารณาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (Mega-project) อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์จากการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระยะยาวของประเทศ (และลดปัญหาการกระจุกตัวของเศรษฐกิจในส่วนกลาง) มากกว่าที่จะคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13 ทางออกของประเทศไทย (2)
สร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานในระยะยาวของประเทศ และลดปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน : ไม่แทรกแซงราคาน้ำมัน แต่ขณะเดียวกัน จะต้องปรับโครงสร้างภาษีพลังงานของไทยในปัจจุบัน ให้สามารถแก้ปัญหาความล้มเหลวของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อทำให้พลังงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยจะถูกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันของพลังงานทางเลือกให้มีมากขึ้น แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นในระยะยาว จะเปิดโอกาสให้ไทยสามารถลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคขนส่ง (เช่น ประสิทธิภาพของรถยนต์ และระบบขนส่ง) และลงทุนอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และครัวเรือน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14 ทางออกของประเทศไทย (3)
ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมของไทย และการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรไทย ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอุปสงค์ต่อพืชพลังงานให้มีมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจะมีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถทำการผลิตเพิ่มขึ้น (อันเป็นผลจากการค้าเสรี การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้นของทั้งโลก และความเจริญของเทคโนโลยีการสื่อสาร) ทำให้ประเทศเหล่านี้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนย้ายแรงงานในภาคเกษตรไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้ผลผลิตด้านการเกษตรของโลกไม่ขยายตัวเพิ่มอย่างรวดเร็วในระยะยาว และความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้ในระยะยาว 23/04/62 ศ.ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดาวน์โหลด ppt สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน: ปัญหาและทางออก

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google