งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยที่ ๕ การฟัง อาจารย์จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยที่ ๕ การฟัง อาจารย์จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยที่ ๕ การฟัง อาจารย์จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์

2 เนื้อหาหน่วยที่ ๕ การฟัง
เนื้อหาหน่วยที่ ๕ การฟัง ๑. ความรู้พื้นฐานของการฟัง ความหมาย ความสำคัญ วัตถุประสงค์ และประเภทของการฟัง ๒. หลักการฟังสารประเภทต่าง ๆ ลักษณะการฟังที่ ดีและไม่ดี ๓. อุปสรรคและปัญหาในการฟัง

3 การฟัง มนุษย์ใช้เวลาในการฟัง ๔๐-๕๐ % ของเวลาที่ใช้ในการสื่อสาร หรือใช้เวลา ๑ ใน ๓ ของเวลาทั้งหมดที่มนุษย์ตื่นอยู่ในวันหนึ่งๆ อัตราสัดส่วนของการใช้ทักษะภาษาของมนุษย์ ๑. การฟัง ๔๒ % ๒. การพูด ๓๒ % ๓. การอ่าน ๑๕ % ๔. การเขียน ๑๑ %

4 ความรู้พื้นฐานของการฟัง
๑. ความหมายของการฟัง การฟัง หมายถึง พฤติกรรมการรับสารผ่านโสตประสาทอย่างตั้งใจเชื่อมโยงกับกระบวนการคิดในสมอง โดยสมองแปลความหมายของเสียงจนเกิดความเข้าใจ และมีปฏิกิริยาตอบสนอง การฟังจึงเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล

5 การฟังกับการได้ยิน การได้ยิน การฟัง เสียง รับรู้เสียง ตีความ/แปลความ เข้าใจ ตอบสนอง ปรบมือ เสียงปรบมือ - มีคนดีใจ - มีคอนเสิร์ต ฯลฯ - ออกไปดู - อุดหู / รำคาญ - สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ฯ กระบวนการฟังเป็นขั้นตอนที่ต่อจากการได้ยิน การได้ยินจะสิ้นสุดเพียงระดับการรับรู้เสียงแต่การฟังนั้น เมื่อผู้ฟังเกิดการรับรู้เสียงแล้วจะต้องใช้กระบวนการทางสมองในการตีความและแปลความเสียงที่ได้ยินนั้นออกมา ทำให้เกิดความเข้าใจและตอบสนองสารที่ได้ฟัง

6 ความแตกต่างระหว่างการฟังกับการได้ยิน
การได้ยิน การฟัง ๑. ใช้อวัยวะการรับเสียง ๑. ใช้อวัยวะการรับเสียง ๒. รับเสียงโดยอัตโนมัติ ๒. เป็นการรับเสียงที่เกิดจาก / ไม่ได้ตั้งใจฟัง ความสนใจ / ตั้งใจฟัง ๓. ไม่ต้องใช้กระบวนการทาง ๓. ใช้กระบวนการทางสมอง สมองในการทำความเข้าใจเสียง ในการทำความเข้าใจเสียง ๔. ไม่ต้องแสดงปฏิกิริยา ๔. แสดงปฏิกิริยาตอบสนอง ตอบสนอง

7 ๒. ความสำคัญของการฟัง ๒.๔ การฟังช่วยยกระดับจิต
๒. ความสำคัญของการฟัง ๒.๑ การฟังทำให้ได้รับความรู้ เพราะการฟังเป็น เครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ๒.๒ การฟังทำให้รู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ๒.๓ การฟังเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของมนุษย์ ๒.๔ การฟังช่วยยกระดับจิต ๒.๕ การฟังทำให้ได้รับความบันเทิง ช่วยผ่อนคลายความเครียด

8 ๒.๖ การฟังช่วยพัฒนาทักษะการพูดให้มี ประสิทธิภาพได้
๒.๗ การฟังอย่างมีประสิทธิสามารถสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ๒.๘ การฟังเป็นเครื่องมือช่วยสืบทอดความงามทางวรรณศิลป์และฉันทลักษณ์ของไทย

9 ๓. วัตถุประสงค์ของการฟัง
๓. วัตถุประสงค์ของการฟัง ๓.๑ ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ ผู้ฟังเกิดความรู้โดยตรง เช่น นักเรียนนักศึกษาฟังบรรยายของครูอาจารย์ ฟังวิทยากร ฟังเสวนา ฟังอภิปรายและฟังการรายงานของเพื่อน เป็นต้น ผู้ฟังเกิดความรู้โดยอ้อม เช่น ฟังการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ เป็นต้น

10 ๓.๒ ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย
๓.๒ ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย การฟังเพื่อให้เกิดเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ภาวะแวดล้อม ความวิตกกังวลจากการดำเนินชีวิตในสังคม - การฟังเพลง - ฟังและชมการแสดงดนตรี - ฟังเรื่องเบาสมอง - ฟังการอ่านทำนองเสนาะ - ฟังเสียงธรรมชาติ

11 ๓.๓ ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและการตัดสินใจ
๓.๓ ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและการตัดสินใจ ผู้ฟังจะต้องใช้วิจารณญาณในการฟังมากที่สุด และต้องประเมินค่าสิ่งที่ได้ฟังว่ามีเหตุมีผลน่าเชื่อถือหรือไม่ การฟังปราศรัยหาเสียง การฟังโฆษณาสินค้า ฟังการขอร้อง วิงวอน ฯ

12 ๓.๔ ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ
๓.๔ ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ การฟังความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้อื่น เพื่อเข้าใจ บุคคลหรือเรื่องนั้นๆ เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันและ ลดความขัดแย้งต่างๆ การฟังเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน เกิดขึ้นได้ในทุกระดับชั้น

13 ๓.๕ ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ
๓.๕ ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ การฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญาและวิจารณญาณ ยกระดับจิตใจ ค้ำชูจิตใจให้สูงขึ้นและประณีตขึ้น - การฟังธรรมะ ฟังเทศน์ ฟังสุนทรพจน์ ฟังโอวาท

14 ๓.๖ ฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต
การฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต ให้ทารกในครรภ์ฟังเสียงเพลงเชื่อว่าเป็นการพัฒนาสมอง การฟังเสียงตามธรรมชาติ เชื่อว่าจะบำบัดอาการเครียด การซึมเศร้า และคนไข้จิตเวชได้

15 ๑. ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ ๒. ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย
แบบทดสอบความเข้าใจ จงพิจารณารูปต่อไปนี้ว่าแสดงวัตถุประสงค์ในการฟังข้อใดต่อไปนี้ ๑. ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ ๒. ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย ๓. ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและการตัดสินใจ ๔. ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ ๕. ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ ๖. ฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต

16 ตอบ ๒. ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย

17 ตอบ ๖. ฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต

18 ตอบ ๔. ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ

19 ตอบ ๕. ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ

20 ตอบ ๓. ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและการตัดสินใจ

21 ๔. ประเภทของการฟัง ๔.๑ ฟังโดยผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการสื่อสาร
๔. ประเภทของการฟัง ๔.๑ ฟังโดยผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการสื่อสาร ๔.๑.๑ การฟังการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารมีจำนวนบุคคลไม่เกิน ๒ คน ทำหน้าที่เป็นผู้รับสารและส่งสารโต้ตอบกัน การทักทาย การสนทนา การพูดโทรศัพท์ การสัมภาษณ์ ฯ

22 - การประชุมปรึกษาหารือแก้ไขเรื่องต่างๆ
๔.๑.๒ การฟังการสื่อสารภายในกลุ่ม การสื่อสารลักษณะนี้เป็นการสื่อสารที่มีบุคคลเข้าร่วม สื่อสารมากกว่า ๓ คน วัตถุประสงค์ของการฟังการสื่อสารภายในกลุ่มมักเป็นการฟังเพื่อรับทราบข้อตกลง รับทราบเป้าหมาย หรือร่วมตัดสินใจ - อภิปรายกลุ่ม - การประชุมปรึกษาหารือแก้ไขเรื่องต่างๆ

23 ๔.๒ ฟังโดยผู้ฟังไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการสื่อสาร
๔.๒ ฟังโดยผู้ฟังไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการสื่อสาร การฟังสื่อสาธารณะ การรับสารและส่งสารในที่ชุมนุมชน การบรรยายสรุป การชี้แจงต่อที่ประชุม การปราศรัยหาเสียง การแสดงปาฐกถา การอภิปรายสาธารณะ

24 ๔.๓ ฟังจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
๔.๓ ฟังจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การฟังสื่อผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ - วิทยุ - โทรทัศน์ - ภาพยนตร์ - อินเตอร์เน็ต ฯ

25 แบบทดสอบความเข้าใจ      จงตอบว่าข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. การฟังต่างจากการได้ยิน 2. กระบวนการได้ยินจะสิ้นสุดในขั้นรับรู้เสียง 3. การฟังเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของมนุษย์ 4. การฟังบรรยายจากอาจารย์เป็นการฟังที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้ได้โดยอ้อม 5. การฟังสุนทรพจน์เป็นการฟังเพื่อความจรรโลงใจ

26 แบบทดสอบความเข้าใจ (ต่อ)
6. การฟังเสียงนกร้อง เสียงคลื่น เสียงน้ำตกเชื่อว่าบำบัด อาการเครียดได้ 7. การฟังปราศรัยหาเสียงเป็นการฟังเพื่อสร้างความ เข้าใจ 8. การสัมภาษณ์เป็นการฟังการสื่อสารระหว่างบุคคล 9. การอภิปรายกลุ่มเป็นการฟังที่ผู้ฟังไม่มีส่วนร่วม โดยตรงในการสื่อสาร 10. การฟังจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผู้ฟังต้องตั้งใจฟัง เพราะผู้ฟังไม่สามารถซักถามได้

27 หลักการฟัง ๑. วิธีการฟังที่ดี ๑.๒ พยายามจับประเด็นสำคัญ
๑. วิธีการฟังที่ดี ๑.๑ มีสมาธิในการฟังอยู่เสมอ ๑.๒ พยายามจับประเด็นสำคัญ ๑.๓ พิจารณาไตร่ตรองเรื่องที่ฟัง

28 ๒. ลักษณะการฟังแบบต่างๆ
๒. ลักษณะการฟังแบบต่างๆ ๒.๑ การฟังอย่างเข้าใจ ฟังเพื่อให้สามารถรับรู้เข้าใจเรื่องราว เข้าใจความคิดของบุคคล เข้าใจความหมายของสารแล้วสามารถนำสิ่งที่ได้ฟังไปปฏิบัติได้ ๒.๒ การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย การฟังที่ผู้ฟังตั้งวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งไว้ล่วงหน้า เช่น ต้องการฟังเพื่อความรู้ เพื่อความบันเทิง เพื่อการตัดสินใจ เป็นต้น

29 ๒.๔ การฟังอย่างประเมินคุณค่า
๒.๓ การฟังอย่างมีวิจารณญาณ การฟังที่ต้องใช้ความคิดวิเคราะห์สารที่ได้ฟัง มักดำเนินควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สาร ๒.๔ การฟังอย่างประเมินคุณค่า การฟังที่ผู้ฟังต้องประเมินหรือตัดสินคุณค่าของสารที่ฟังว่าดีหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ เหมาะแก่การนำไปปฏิบัติหรือไม่

30 ๓. หลักการฟังสารประเภทต่าง ๆ
๓. หลักการฟังสารประเภทต่าง ๆ ๓.๑ การฟังสารที่ให้ความรู้ - ฟังอย่างตั้งใจและฟังตลอดทั้งเรื่อง จดบันทึกประเด็นสำคัญ เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาของสารและ ไว้เตือนความจำ - พยายามจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ - วิเคราะห์และตีความสารที่ได้ฟัง - ฟังแล้วลองตั้งคำถามหรือนำเสนอประเด็นที่ต้องการอภิปราย - พิจารณาถ้อยคำภาษาว่ามีลักษณะอย่างไร - หลังการฟังควรทบทวนสิ่งที่ได้ฟัง

31 ๓.๒ การฟังสารที่โน้มน้าวใจ
๓.๒ การฟังสารที่โน้มน้าวใจ - ตั้งใจฟังตลอดทั้งเรื่อง - แยกแยะว่าผู้พูดมีจุดหมายอย่างไร - พิจารณาว่าจุดมุ่งหมายนั้นดีหรือไม่ เป็นประโยชน์หรือไม่ - ใช้วิจารณญาณในการฟัง พิจารณาความสมเหตุสมผล - พิจารณาการใช้ภาษาว่าเป็นอย่างไร - ประเมินค่าว่าควรเชื่อถือหรือนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ ไม่ควรคล้อยตามง่าย ๆ

32 ๓.๓ การฟังสารที่จรรโลงใจ
๓.๓ การฟังสารที่จรรโลงใจ - ตั้งใจฟังและฟังให้ตลอดทั้งเรื่อง - จับสาระสำคัญของสารให้ได้ว่าต้องการสื่อความหมายอะไร โดยการฟังอย่างเข้าใจ - พิจารณาสารที่ได้ฟังว่ามีเหตุมีผลสอดรับกันอย่างไร - พิจารณาลักษณะการใช้ภาษาว่าเป็นอย่างไร เหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม่ - หลังการฟังผู้ฟังควรทบทวนว่าสารที่ได้ฟังนั้นมีประโยชน์อย่างไร ควรแก่การนำไปปฏิบัติตามหรือไม่

33 แบบทดสอบความเข้าใจ จงฟังข้อความแล้วตอบว่าเป็นสารประเภทใดต่อไปนี้ 1. สารให้ความรู้ 2. สารที่โน้มน้าวใจ 3. สารที่จรรโลงใจ

34 ๔. วิธีพัฒนาทักษะการฟังให้เกิดประสิทธิภาพ
๔. วิธีพัฒนาทักษะการฟังให้เกิดประสิทธิภาพ ๔.๑ สร้างความสนใจและความต้องการที่จะฟัง ๔.๒ กำหนดวัตถุประสงค์การฟังให้ชัดเจน ๔.๓ ฝึกสมาธิในการฟัง ๔.๔ ฝึกจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟัง ๔.๕ ฝึกวิเคราะห์สารที่ได้ฟัง ๔.๖ ฝึกใช้วิจารณญาณในการฟัง

35 แผนภูมิกระบวนการฟังอย่างมีวิจารณญาณ
ได้ยิน รับรู้ เข้าใจ วิเคราะห์ ใคร่ครวญ วินิจฉัย ประเมินค่า ใช้ประโยชน์

36 ๕. ลักษณะการฟังที่ดีและลักษณะการฟังที่ไม่ดี
๕. ลักษณะการฟังที่ดีและลักษณะการฟังที่ไม่ดี   ๕.๑ ลักษณะการฟังที่ดี ๕.๑.๑ มีสมาธิในการฟัง ๕.๑.๒ ตั้งจุดมุ่งหมายในการฟัง ๕.๑.๓ สนใจและตั้งใจฟัง ๕.๑.๔ ต้องไม่มีอคติ ๕.๑.๕ ขณะที่ฟัง  ควรจดบันทึกประเด็นสำคัญไว้ อย่างมีระบบเพื่อช่วยจำ

37 ๕.๑.๖ ถ้ามีตอนใดที่ฟังแล้วไม่เข้าใจ  ควรซักถามผู้พูด
๕.๑.๗ ฟังอย่างมีวิจารญาณ  ๕.๑.๘ ขณะที่ฟังผู้ฟังควรจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟัง ๕.๑.๙ หลังการฟัง ผู้ฟังควรพิจารณาทบทวนสิ่งที่ได้ฟัง อีกครั้ง

38 ๕.๒ ลักษณะการฟังที่ไม่ดี
๕.๒ ลักษณะการฟังที่ไม่ดี ๕.๒.๑ คิดเอาเองว่าเรื่องที่ฟังไม่น่าสนใจ ๕.๒.๒ ชอบวิพากษ์วิจารณ์วิธีการพูดของผู้พูด ๕.๒.๓ ชอบวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาของสารที่ได้ฟังไปด้วย ๕.๒.๔ เลือกฟังเฉพาะบางตอน ๕.๒.๕ เลือกฟังเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น ๕.๒.๖ ฟังแล้วคิดคัดค้านอยู่ในใจตลอด

39 ๕.๒.๘ เสแสร้งว่าฟังเข้าใจ ๕.๒.๙ สนใจจุดใดจุดหนึ่งของการพูดมากเกินไป ๕.๒.๑๐ ให้ความสนใจต่อสิ่งรบกวนภายนอก ๕.๒.๑๑ ปล่อยให้คำพูดที่สะเทือนอารมณ์เกาะกินใจตนเอง มากเกินไป ๕.๒.๑๒ ฟังโดยคิดเอาเองล่วงหน้า ๕.๒.๑๓ ไม่มีมารยาทในการฟัง

40 มารยาทในการฟัง ๑. เมื่อฟังอยู่เฉพาะหน้าผู้ใหญ่ ควรฟังโดยสำรวมกิริยา มารยาท ฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย และตั้งใจฟัง ๒. การฟังในที่ประชุม ควรเข้าไปนั่งก่อนผู้พูดเริ่มพูด โดยนั่งที่ด้านหน้าให้เต็มก่อนและควรตั้งใจฟังจนจบเรื่อง   ๓. ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ เมื่อมีการแนะนำตัวผู้พูด หรือขอบคุณผู้พูด หากมีข้อสงสัยเก็บไว้ถามเมื่อมีโอกาสและถามด้วย กิริยาสุภาพ        

41 ๕. ระหว่างการพูดดำเนินอยู่ควรรักษาความสงบเรียบร้อย ด้วยการฟังอย่างสงบสุขุม ไม่ทำเสียงรบกวนผู้อื่น
๖. มีปฏิกิริยาตอบสนองผู้พูดอย่างเหมาะสม ๗. ฟังด้วยความอดทน ๘. ไม่แอบฟังการสนทนาของผู้อื่น

42 พฤติกรรมการฟัง

43 ๖. หลักปฏิบัติในการฟังตามสถานการณ์ต่างๆ
๖. หลักปฏิบัติในการฟังตามสถานการณ์ต่างๆ ๖.๑ การนั่งฟัง - นั่งฟังด้วยความสุภาพเรียบร้อย - ไม่นั่งไขว่ห้าง - หากนั่งกับพื้นควรนั่งพับเพียบ - ในขณะฟังเทศน์ควรพนมมือ - นั่งมือวางซ้อนกันบนตัก - ไม่ควรพิงพนัก - ตามองผู้พูด

44 ๖.๒ การยืนฟัง - ขณะยืนฟังควรยืนตัวตรง ส้นเท้าชิด
๖.๒ การยืนฟัง - ขณะยืนฟังควรยืนตัวตรง ส้นเท้าชิด - มือกุมประสานกันยกมือขึ้นเล็กน้อย - ตามองผู้พูด - ไม่ยืนอย่างสบายเกินไป - ไม่เท้าสะเอว - ไม่เท้าแขนบนโต๊ะ - ไม่ยืนค้ำศีรษะผู้ใหญ่

45 ๖.๓ การเดินสนทนาหรือฟังผู้ใหญ่พูด
๖.๓ การเดินสนทนาหรือฟังผู้ใหญ่พูด - ควรเดินเยื้องไปทางด้านหลังผู้ใหญ่ ด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อย - ไม่เปลี่ยนด้านไปมา - เดินด้วยความสำรวมและตั้งใจฟัง

46 อุปสรรคและปัญหาในการฟัง
๑. สาเหตุจากผู้ฟัง ๑.๑ การขาดความพร้อมในการฟัง ๑.๒ นิสัยการฟังที่ไม่ดี

47 ๒. สาเหตุจากผู้พูด ๒.๑ ผู้พูดขาดทักษะการส่งสาร
๒. สาเหตุจากผู้พูด ๒.๑ ผู้พูดขาดทักษะการส่งสาร ๒.๒ ผู้พูดรู้สึกประหม่า ตื่นเต้น หรือกลัวจนพูดไม่ออก หรือพูดติดขัด ๒.๓ ผู้พูดไม่มีความรู้เรื่องที่จะพูดเพียงพอ ๒.๔ ขาดบุคลิกภาพที่ดีขณะพูด

48 ๓. สาเหตุจากสาร ๔. สาเหตุจากสื่อ ๓.๑ สาเหตุจากเนื้อหา
๓. สาเหตุจากสาร ๓.๑ สาเหตุจากเนื้อหา ๓.๒ สาเหตุจากภาษา ๔. สาเหตุจากสื่อ ไมโครโฟนเสียงขาดหายเป็นช่วงๆ โทรทัศน์พร่ามัว สัญญาณไม่ดี

49 ๕. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม
๕. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม - แสงสว่างน้อยเกินไป - อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกินไป - ร้อนหรือหนาวเกินไป ฯ

50 แบบทดสอบความเข้าใจ      จงตอบว่าความข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. สารที่ให้ความรู้คือสารที่มุ่งให้สาระความรู้มากกว่า ความเพลิดเพลิน 2. การวิงวอน ขอร้องไม่จัดเป็นสารที่โน้มน้าวใจ 3. ผู้ฟังสารที่โน้มน้าวใจควรประเมินค่าเรื่องที่ได้ฟังทุกครั้ง 4. การฟังสารที่จรรโลงใจผู้ฟังควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย 5. การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฟังจะช่วยให้ผู้ฟังจับ ประเด็นของเรื่องได้ง่ายขึ้น

51 แบบทดสอบความเข้าใจ (ต่อ)
6. การสังเกตสีหน้า น้ำเสียงของผู้พูดจะทำให้จับประเด็นของเรื่องได้ง่ายขึ้น 7. การฟังที่ดีผู้ฟังควรตั้งกรอบความคิดหรือคาดเดาเรื่องล่วงหน้าไว้ 8. การฟังที่ดีผู้ฟังควรจดทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้พูดพูด 9. หลังการฟังผู้ฟังควรนำเรื่องได้ฟังมาพิจารณาทบทวน 10. เมื่อเดินสนทนากับผู้ใหญ่ควรเดินเยื้องไปด้านหลัง เล็กน้อย

52 สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt หน่วยที่ ๕ การฟัง อาจารย์จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google