ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กฎหมายสิ่งแวดล้อม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานประกอบการเกี่ยวกับการทำน้ำจืดจากน้ำทะเล ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 พฤศจิกายน 2560 สงวนลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 1 1
2
สรุปสาระสำคัญ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ในประกาศนี้ “สถานประกอบการเกี่ยวกับการทำน้ำจืดจากน้ำทะเล” หมายความว่า สถานประกอบการที่จัดหาน้ำทำน้ำให้บริสุทธิ์ หรือจำหน่ายน้ำไปยังอาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรม เฉพาะที่ใช้น้ำทะเลเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต และระบายน้ำทิ้งลงสู่ทะเล “น้ำทิ้ง” หมายความว่า น้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตของสถานประกอบการเกี่ยวกับการทำน้ำจืดจากน้ำทะเล ที่จะระบายลงสู่ทะเล
3
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
กำหนดความเร็วของน้ำบริเวณที่สูบเพื่อผลิตจะต้องไม่เกิน 0.1 เมตรต่อวินาที ปริมาตรในการสูบน้ำต้องไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะทางกายภาพของบริเวณชายฝั่ง และกำหนดให้ตำแหน่งที่สูบน้ำจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่กว่า 9.5 มิลลิเมตรเข้าสู่ระบบ
4
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานประกอบการเกี่ยวกับการทำน้ำจืดจากน้ำทะเล ดังต่อไปนี้ 1) ความเป็นกรดและด่าง (pH) มีค่าตั้งแต่ 6 ถึง 8.5 2) ของแข็งจมตัว (Settleable Solids) ไม่เกิน 2 มิลลิลิตรต่อลิตร 3) ความขุ่น (Turbidity) ไม่เกิน 100 เอ็นทียู (Nephelometric Turbidity Unit, NTU) 4) คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร 5) TKN (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อลิตร
5
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
การจัดการน้ำทิ้งจากสถานประกอบการ เกี่ยวกับการทำน้ำจืดจากน้ำทะเลให้ใช้วิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1) การระบายน้ำทิ้งด้วยท่อลอดลงสู่ทะเล (outfall) โดยจะต้องมีวิธีการเจือจางน้ำทิ้งเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (1) การใช้หัวปล่อยแบบหลายช่อง (multiport diffusers) (2) การสูบน้ำทะเลมาผสมก่อนปล่อยโดยมีอัตราส่วนการเจือจางระหว่างน้ำทะเลต่อน้ำทิ้งไม่น้อยกว่า 20 ต่อ 1 (3) การระบายร่วมกับน้ำระบายความร้อนของโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำทะเลในการระบายความร้อน (co location)
6
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
ทั้งนี้ ตำแหน่งระบายน้ำทิ้งจะต้องมีการไหลเวียนของน้ำทะเลที่ดี โดยไม่เป็นจุดอับน้ำและไม่มีสิ่งกีดขวางการระบายน้ำทิ้งในระยะ 50 เมตรตามทิศทางการไหล โดยไม่ให้นำกากตะกอนหรือน้ำล้างย้อน (Backwash) มาระบายร่วมกัน 2) การระบายน้ำทิ้งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางรวมกับน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ 3) การบำบัดน้ำเสียด้วยการระเหยแห้งโดยไม่ระบายน้ำทิ้ง เช่น การใช้บ่อผึ่ง (solar pond)
7
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
ในกรณีการระบายน้ำทิ้งด้วยท่อลอดลงสู่ทะเล กำหนดให้มีพื้นที่ผสมน้ำ (mixing zone) รอบจุดระบายน้ำทิ้งเป็นรัศมี 100 เมตร ในทุกทิศทาง เพื่อใช้เป็นพื้นที่ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำของแหล่งรองรับ โดยพื้นที่ผสมน้ำจะต้องมีคุณภาพน้ำโดยเฉลี่ย ดังนี้ 1) ค่าความเค็มบริเวณภายในขอบเขตของพื้นที่ผสมน้ำ (mixing zone) จะต้องเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ในหน่วย Practical Salinity Unit (PSU) จากสภาพธรรมชาติ 2) ความเป็นกรดและด่าง (pH) ต้องเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 0.5 หน่วยจากสภาพธรรมชาติ
8
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
3) ไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่พึงรังเกียจ เช่น สิ่งแขวนลอย ฟองโฟม ความขุ่น สี หรือคราบน้ำมัน ในพื้นที่ผสมน้ำจนกระทั่งมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ หรือผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำ 4) คุณภาพน้ำบริเวณขอบของพื้นที่ผสมน้ำจะต้องเป็นไปตามสภาพธรรมชาติ หรือเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลที่กำหนดในบริเวณนั้น
9
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
การตรวจสอบมาตรฐานน้ำทิ้ง ให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้ 1) ความเร็วของน้ำ ให้ใช้เครื่องวัดความเร็วน้ำ (current meter) ณ บริเวณที่สูบเพื่อผลิต ใช้วิธีการคำนวณ หรือวิธีการอื่นใดที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ 2) ความเป็นกรดและด่าง ให้ใช้เครื่องวัดความเป็นกรดและด่างของน้ำ (pH Meter) ที่มีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 0.1 หน่วย 3) ของแข็งจมตัว ให้ใช้วิธีตกตะกอนด้วยกรวยอิมฮอฟฟ์ (Imhoff Cone) หรือกระบอกตวงปริมาณ 1 ลิตร เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 4) ความขุ่น ให้ใช้วิธีเนฟฟีโลเมตริก (Nephelometric Turbidity Unit)
10
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
5) ความเค็ม ให้ใช้วิธีคำนวณจากการผลตรวจวัดค่าการน้ำไฟฟ้าด้วยอิเล็กทริคอลคอนดักติวิตี อิเล็กโทรด (Electrical Conductivity Electrode) 6) คลอรีนอิสระ ให้ใช้วิธีไตเตรท (Titrimetric Method) หรือวิธีเทียบสี (Colorimetric Method) 7) ทีเคเอ็น ให้ใช้วิธีเจลดาห์ล (Kjeldahl)
11
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
วิธีตรวจสอบมาตรฐานน้ำทิ้งจากสถานประกอบการเกี่ยวกับการทำน้ำจืดจากน้ำทะเล และคุณภาพน้ำในพื้นที่ผสมน้ำ ให้เป็นไปตามคู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียของสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย หรือ Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง American Public Health Association, American Water Work Association และ Water Environment Federation ของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนด หรือตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา
12
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง 1) การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง ให้เก็บแบบจ้วง (grab sample) ในจุดระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือจุดอื่นที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากสถานประกอบการเกี่ยวกับการทำน้ำจืดจากน้ำทะเล ในกรณีมีการระบายทิ้งหลายจุดให้เก็บแบบจ้วงทุกจุด 2) การเก็บตัวอย่างน้ำในพื้นที่ผสมน้ำ (mixing zone) ให้เก็บแบบผสมรวม (composite sample) ในบริเวณห่างจากจุดปล่อยสุดท้าย และ 100 เมตร ในทิศทางแนวท่อและทิศทางกึ่งหนึ่งระหว่างทิศทางแนวท่อกับสิ่งกีดขวางหรือฝั่ง ไปทางด้านขวาและซ้าย ในระยะ และ 100 เมตร รวม 9 บริเวณ หรือมากกว่า โดยเก็บแต่ละบริเวณใน 3 ระดับความลึก ได้แก่ ที่ระยะ 50 เซนติเมตรจากผิวน้ำ ที่กึ่งกลางความลึกน้ำ และที่ระยะ 50 เซนติเมตรจากพื้นน้ำรวมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 18 จุดเพื่อนำมาผสมกัน
13
บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 6/8 ถ.มาเจริญ แขวงหนองแขม
ติดต่อเรา บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 6/8 ถ.มาเจริญ แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม Tel , Fax :
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.