งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา   PPA1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา   PPA1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา   PPA1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์ 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้ วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว ผู้เรียน)  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และการนำไป ประยุกต์ใช้วิเคราะห์การบริหารงานขององค์กร บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น ตลอดทั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ 

2 วัตถุประสงค์ (เมื่อศึกษาเนื้อหาในหน่วยการเรียนแล้ว ผู้เรียน)
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีทางรัฐ ประศาสนศาสตร์ และการนำไปประยุกต์ใช้วิเคราะห์การบริหารงานขององค์กร บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น ตลอดทั้งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐประศาสน ศาสตร์ในความหมายใหม่  ภาพรวมของเนื้อหา/คำอธิบายหัวข้อที่สอนประจำสัปดาห์นี้ รัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิชาที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ตั้งแต่สมัยจีนที่มีปรัชญาการเมืองของขงจื้อ อียิปต์ที่มีการสร้างปิระมิด แต่เนื่องจากว่ายังไม่มีการรวบรวมแนวคิดอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งในปี 1997 ที่เมื่อ Woodrow Wilson ได้เขียน The Study of Administration ที่เสนอการแยกการบริหารออกจากการเมือง (politic administration dichotomy) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนารัฐประศาสนศาสตร์ ทำให้มีผู้สนใจการปฏิรูประบบบริหารเพื่อที่จะใช้ในการปรับ ปรุงแก้ไขการบริหารให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น Stephen P. Robbins ใน The Evolution of Organization Theory ได้ใช้มุมมองทางระบบ (system) และเป้าหมาย (ends) ในการแบ่งวิวัฒนาการของทฤษฎีในรัฐประศาสนศาตร์ ดังนี้

3 แบบที่ 1 เป็นระบบปิด มองเป้าหมายที่เป็นเหตุเป็นผล เนื้อหาหลักจะเป็นการมุ่งเน้นประสิทธิภาพที่มีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ของ Taylor หลักการบริหารของ Fayol มีแนวคิดระบบราชการของ Weber และการวางแผนอย่างเป็นเหตุเป็นผลของ Davis แบบที่ 2 เป็นระบบปิด มองเป้าหมายเป็นสังคม เนื้อหาหลักจะเป็นการมุ่งเน้นคนและ มนุษยสัมพันธ์ที่มีการศึกษา Hawthorne ของ Mayo ระบบความร่วมมือของ Barnard ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor การสูญสิ้น ของระบบราชการของ Bennis แบบที่ 3 เป็นระบบเปิด มองเป้าหมายที่เป็นเหตุเป็นผล เนื้อหาหลักจะเป็นการจัดการตามสถานการณ์ ที่มีหลักBacklashของ Simon มุมมองทางสิ่งแวดล้อมของ Katz & Kahn แบบที่ 4 เป็นระบบเปิด มองเป้าหมายที่เป็นสังคม เนื้อหาหลักจะเป็นอำนาจและการเมือง ที่มีข้อจำกัดการรับรู้ของความเป็นเหตุเป็นผลของ March & Simon การมององค์การเป็นการเมืองส่วน Nicholas Henry ใน The Thread of Orgnization: Theories ได้แบ่งทฤษฎีองค์การเป็น สามแบบ 1. แบบปิด (closed model) โดยมีลักษณะของงานประจำในสภาพแวดล้อมคงที่ มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด มีเป้าหมาย ข้อขัดแย้งจะตัดสินโดยระดับที่สูงในลำดับบัญคับบัญชา มีความรับผิดชอบเป็นทางการ มีลำดับขั้นการบังคับบัญชา ความรู้จะอยู่ที่ส่วนบนของลำดับขั้น มีการปฏิสัมพันธ์แบบแนวดิ่งและเป็นการสั่งงาน มีความจงรักภักดีและการเชื่อฟังต่อผู้บังคับบัญชา และชื่อเสียงมาจากตำแหน่งในองค์การ ทฤษฎีที่อยู่ในแบบปิดนี้มี ระบบราชการของ Weber การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ของ Taylor หลักการบริหารของ Fayol

4 2. แบบเปิด (open model) โดยมีลักษณะของงานที่ไม่ประจำในสภาพแวดล้อมีที่ไม่แน่นอน มีการใช้ความเชี่ยว ชาญเฉพาะด้านในภาพรวมของเป้าหมาย มุ่งเน้นเป้าหมายมากกว่าวิธีการ ข้อขัดแย้งตัดสินใจกันเองในกลุ่ม มุ่งไปสู่เป้า หมายขององค์การด้วยกันเป็นภาพรวม รูปแบบองค์การเป็นแบบของเหลวหรือเหมือนตัว อมีบา ความรู้อยู่ทุกแห่งในองค์การ การปฏิสัมพันธ์แบบแนวราบที่มุ่งเน้นความสำเร็จ เป็นการให้คำแนะนำมากกว่าการสั่งงาน มุ่งเน้นผลลัพธ์และผลสำเร็จในการทำงาน ชื่อเสียงมาจากความสามารถมากกว่าตำแหน่ง ทฤษฎีที่อยู่ในระบบเปิดนี้มี ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ เช่น การศึกษา Hawthorne ของ Mayor และ Roethlisberger ลำดับชั้นความต้องการของ Maslow ปัจจัยจูงใจและสุขอนามัยของ Herzberg และการพัฒนาองค์การ

5 3. แบบสังเคราะห์ (synthesis model) เป็นการรวมทั้งแบบปิดและแบบเปิดมาไว้ด้วยกัน โดยมองว่าองค์การและสิ่งแวดล้อมสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อความอยู่รอด และมีการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ศึกษาจากความสำเร็จและความล้มเหลวที่เกิดขึ้น อุทัย เลาหวิเชียร ได้แบ่งวิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ แบ่งออกได้เป็นช่วงเวลาต่างๆดังนี้ วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ จาก Wilsonถึงสงครามโลกครั้งที่สอง 2. วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี วิวัฒนาการของรัฐประศานศาสตร์ ตั้งแต่ปี 1970จนถึงปัจจุบัน

6 ทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ.1887 – 1950) การบริหารแยกจากการเมือง
 ทฤษฎีดั้งเดิม (ค.ศ.1887 – 1950) การบริหารแยกจากการเมือง วิชารัฐประศาสนศาตร์ ถือกำเนิดมาประมาณหนึ่งร้อยปีมาแล้ว กล่าวคือนับตั้งแต่ ค.ศ 1887 ซึ่งเป็นปีที่ Woodrow Wilson เขียนบทความชื่อ “The Study of Administration” ขึ้นนับจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงประมาณปี ค.ศ 1950 ปรากฏว่าองค์ความรู้ในวิชารัฐประศาสนศาตร์ได้สั่งสมพัฒนาเติบโตขึ้นมาก ได้มีทฤษฎี และแนวการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่สำคัญอยู่ 4 ทฤษฎี คือ 1.การบริหารแยกออกจากการเมือง 2.ระบบราชการ 3.วิทยาศาสตร์และการจัดการ 4.หลักการบริหาร ทฤษฎีทั้ง 4 ประการมีลักษณะที่ร่วมกัน คือ ต่างเสนอแนวความคิดที่ว่าการบริหารงานที่ดีต้องใช้รูปแบบองค์การปิดและเป็นทางการ นักรัฐประศาสนศาสตร์มีหน้าที่ค้นหาวิธีการบริหารงานที่ดีที่สุดและมีเหตุผลมากที่สุดเพื่อใช้เป็นแนวทางการทำงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

7 ทฤษฎีท้าทาย (1950-1960) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  
ทฤษฎีท้าทาย ( ) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  1.การบริหาร คือ การเมือง    a.Fritz Morstein marx เขียน Element of Public Administration “การ บริหารที่ปลอดจากค่านิยมนั้นแท้จริงแล้วเป็นการเมืองบรรจุไว้ด้วยค่านิยม”    b.Paul Henson Appleby “อำนาจ3ฝ่าย นิติบัญญัติ ตุลา การ และบริหาร แยกออกจากันไม่ได้เด็ดขาด”    c.John M Guas , Avery Lieserson 2.ระบบราชการแบบไม่เป็นทางการ    a.Robert Michels เขียน Political Parties = Iron Law of the   Oligarchy กฎเหล็กแห่งคณาธิปไตย “ระบบประชาธิปไตยในตอนแรก ไปสู่ระบบการปกครองแบบเผด็จการในตอนหลัง”    b.Robert Marton “กฎระเบียบต่าง ๆ เป็นเป้าหมายขององค์การ    c.Alvin N. Gouldner เขียน patterns of Industrial Bureaucracy “บทบาทขององค์การแบบไม่เป็นทางการภายในระบบราชการ เบี่ยงเบนและ ทับซ้อนระบบราชการแบบเป็นทางการอีกครั้ง”

8 กำเนิด รปศ.ใหม่ (ค.ศ.1960 – 1970)  ประการแรก วิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้รับอิทธิพลจากการปฎิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ ประการที่สอง ในช่วงปลายศตวรรษ 1960 นักวิชาการรุ่นใหม่ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในสหรัฐ อเมริกาได้รวมตัวกันและจัดการประชุมที่หอประชุม Minnow brook มหาวิทยาลัย Syracuse ขึ้น การปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้มีผลสำคัญต่อวิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ประการแรก ทำให้นักวิชาการประยุกต์เอาทฤษฎีระบบ ประการที่สอง ทำให้กลุ่มนักวิชาการกลุ่มหนึ่งหันไปสนใจศึกษารัฐประศาสนศาสนตร์เปรียบเทียบ การปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ การปฏิวัติพฤติกรรมศาสตร์ เกิดขึ้นในปลายทศวรรษ มีผลทำให้ปรัชญาพื้นฐานของวิชารัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนแปลงไปมากและทำให้วิชารัฐประศาสนศาตร์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์มีสภาพที่ตกต่ำลง ผลของการปฏิวัติทางพฤติกรรมศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ในช่วงนี้ได้แก่ ประการแรก ทำให้นักวิชาการให้ความสำคัญต่อการศึกษาเรื่องสถาบันทางการเมืองและรัฐบาลน้อยลง และหันมาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์มากขึ้น ประการที่สอง ทำให้วิชารัฐประศามสสนศาสตร์กลายเป็นสหวิชาที่ให้ควาสนใจศึกษาวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น ประการที่สาม นักวิชาการบางท่านเริ่มเอาหลักการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์มาใช้ มีการให้ความสนใจกับกระบวนการศึกษาอย่างเป็นระบบ ประการที่สี่ พฤติกรรมศาสตร์ทำให้นักวิชาการหันมาให้ความสนใจกับควาเป็นวิทยาศาสตร์ของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้วิชารัฐประศาสนสาตร์เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมน้อยลง ประการที่ห้า ในทางปฏิบัติ ปรากฎว่าพฤติกรรมศาสตร์ได้ทำให้นักวิชาการสนใจศึกษาเรื่องปัจจัยนำเข้า (Input) ของระบบการเมืองมากขึ้น ส่วนเรื่องปัจจัยนำออก (Output) ซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารกลับไม่ได้รับความสนใจมากนัก

9 ทฤษฎีระบบในวิชารัฐประสาสนศาสตร์
ความคิดพฤติกรรมศาสตร์ทำให้นักวิชาการในสังคมศาสตร์เกิดความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาทฤษฎีและข้อสมมติฐานต่าง ๆ ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมได้ การที่นักวิชาการเหล่านั้นหันมาใช้ทฤษฎีหันมาใช้ทฤษฎีระบบทั่วไป ซึ่งหมายถึง ทฤษฎีหรือกลุ่มทฤษฎีที่มีวัตถุประสงค์ต้องอธิบายปรากฏการณ์ทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อค้นหาลักษณะร่วมกันของปรากฏการณ์เหล่านั้น โดยใช้หลักว่าปรากฏการณ์เหล่านั้นประกอบไปด้วย ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ถูกจัดรวมกันอย่างเป็นระบบ ในส่วนของวิชารัฐประศาสนศาสตร์นั้น แนวความคิดในเชิงระบบเข้ามามีบทบาทสำคัญ สอง ประการ คือ ประการแรก ความคิดเชิงระบบได้กลายมาเป็นแนวทางการศึกษาวิชาทฤษฎีองค์การที่สำคัญ ประการที่สอง ความคิดเกี่ยวกับระบบช่วยวางพื้นฐานสำหรับเทคนิคการบริหารที่สำคัญหลายเทคนิคด้วยการ

10 รัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ
ความสนใจของนักวิชาการที่จะศึกษาการบริหารงานของรัฐ โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบ โดยเฉพาะหลังจากที่นักวิชาการได้ล้มล้างทฤษฎีหลักการบริหารที่ถือว่าหลักการบริหารนั้นมีความเป็นสากลใช้ได้กับทุกประเทศ และทุกวัฒนธรรม ต่อมานักวิชาการเริ่มเห็นว่าวัฒนธรรมและลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการบริหารงานของรัฐในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ความคิดพฤติกรรมศาสตร์ที่ต้องการให้นักวิชาการแสวงหาทฤษฎีโดยใช้การศึกษาเปรียบเทียบ ได้ทำให้นักวิชาการหันไปศึกษาเรื่องรัฐประศาสนศาตร์เปรียบเทียบยิ่งขึ้น

11 รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่
ประมาณปลายทศวรรษ 1960 วิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้เริ่มเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่อีกเพราะนักวิชาการทั่วไปในสังคมมากขึ้น ในสายรัฐศาสตร์ ได้มีการโจมตีนักพฤติกรรมศาสตร์ว่าทำให้วิชาเน้นเรื่องปรัชญาและวิธีการแบบวิทยาศาตร์มากจนทำให้วิชามีลักษณะทีไม่เกี่ยวข้องกับโลกควาเป็นจริง แต่กลับเน้นเรื่องวิชาการต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์และทฤษฎีต่าง ๆ ดดยไม่คำนึงถึงสิ่งเหล่านั้นจะโยงให้เราเข้าใจสังคมปัจจุบันได้ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดเพราะวิชารัฐศาสตร์ต้องสนใจศึกษาเรื่องค่านิยม และพยายามทำความเข้าใจสังคมเพื่อค้นหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนั้นจึงเกิดขบวนการด้านความคิดใหม่ที่เรียกว่า Post-behavioralism ในทางรัฐประศาสนศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน ได้มีการปรับให้เข้ากับความคิดใหม่น็โดยนักวิชาการจำนวนหนึ่งพยายามทำให้วิชารัฐประศาสนศาสตร์มีลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งต่อมาเรียกความคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ว่า ” รัฐประศาสนศาสตร์ในความหมายใหม่ ” (New Public Administration)

12 รปศ.เปรียบเทียบ วรเดช จันทรศร (2543) ได้กำหนดให้ การบริหารเปรียบเทียบและการบริหาร การพัฒนา เป็นหัวข้อหนึ่งของขอบข่าย รัฐประศาสนศาสตร์ โดยได้อ้างแนวคิดของ กุลธน ธนาพงศธร ที่ว่า การบริหารเปรียบเทียบหรือการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ ก็คือ การศึกษาการบริหารรัฐกิจบนพื้นฐานของการเปรียบเทียบ เฟอเรล เฮตตี้ ให้ความหมายว่ารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ คือ การศึกษาพฤติกรรมหรือกิจกรรมของรัฐบาลในแง่ต่าง ๆ ชาร์ลส์ กูดเซลล์ (1981) ให้ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบว่า เป็นการอาศัยวิธีการเปรียบเทียบเป็นแนวทางการศึกษา เพื่อค้นหาความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันของแนวการปฏิบัติด้านการบริหาร ค่านิยม และสถาบัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจถึงรูปแบบและปรากฎการณ์ที่เป็นจริงของประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันด้านวัฒนธรรม ติน ปรัชญพฤทธิ์ (2535) ให้ความหมายรัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบว่า เป็นความพยายามที่จะนำเอาโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมของระบบหน่วยราชการ และ ข้าราชการมาเทียบเคียงกัน เพื่อให้เห็นความคล้ายคลึงและความแตกต่างกัน เพื่อทีจะปรับปรุงรัฐประศาสนศาสตร์ให้ดีขึ้น

13 จุดมุ่งหมายในการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ
วรเดช จันทรศร (2543) ได้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบมีจุดมุ่งหมาย ประการ คือ ประการแรก ต้องแสวงหาคำตอบว่า ระบบบริหารหนึ่ง ๆ หรือระบบบริหารหลาย ๆ ระบบมีลักษณะพิเศษ หรือส่วนประกอบที่คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไรภายในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เพื่อจะนำไปสู่การกำหนดหลักเกณฑ์หรือสร้างทฤษฎีหรือหลักการร่วมของระบบบริหาร ประการสอง ต้องการทราบว่า ความแตกต่างระหว่างประเทศต่าง ๆ และความแตกต่างกันในพฤติกรรมของระบบบริหารในประเทศเหล่านั้นเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยหรือสาเหตุอะไรบ้าง ประการสาม ต้องการทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์การบริหารในสังคมหนึ่ง ๆ ประการสี่ มีจุดมุ่งหมายของการแสวงหาและพัฒนากลยุทธ์ในการปฏิรูปการบริหารงาน เพื่อนำไปสู่การสร้างประสิทธิผลให้เกิดขึ้นกับระบบบริหารนั้น ๆ

14 ประโยชน์ของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบมี 5 ประการ ดังนี้
1) การศึกษาเรียนรู้ลักษณะเฉพาะของระบบบริหารในแต่ละช่วงเวลาหรือของประเทศต่าง ๆ จะทำให้ทราบความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันของระบบบริหาร ลักษณะร่วมกันและสิ่งที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถกำหนดทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป 2) การทราบถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ระบบบริหารหนึ่งมีประสิทธิภาพในประเทศหนึ่งหรือในสมัยหนึ่ง แต่ใช้แล้วไม่ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพในอีกประเทศหนึ่งหรืออีกสมัยหนึ่ง จะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำของประเทศสามารถทำความเข้าใจอย่างถูกต้องและหาทางแก้ไขป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น 3) การศึกษาเชิงเปรียบเทียบจะช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ว่ามีอิทธิพลต่อการบริหารประเทศ โดยแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันในบริบทสภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจสังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้ผู้นำประเทศสามารถปรับปรุงระบบบริหารให้สอดคล้องกับปัจจัยสภาพแวดล้อม หรือการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เข้ากับระบบบริหาร เพื่อให้การบริหารประเทศสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ 4) การศึกษาทำความเข้าใจในความคล้ายคลึงและข้อแตกต่างในพฤติกรรมของข้าราชการและระบบบริหารราชการของประเทศต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ช่วยให้ผู้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ สามารถปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเชิงเปรียบเทียบเป็นพื้นฐานการปฏิบัติงาน 5) การศึกษาเปรียบเทียบจะทำให้รู้ว่าระบบบริหารที่เป็นอยู่มีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไรที่ต้องแก้ไขบ้าง ทำให้ผู้นำประเทศสามารถนำส่วนที่ดีที่พบของอีกประเทศหนึ่งหรือในอีกเวลาหนึ่งมาปรับใช้ได้ ซึ่งลักษณะการหยิบยืมเอาส่วนที่ดีของประเทศหนึ่งมาใช้อีกประเทศหนึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและยอมรับอย่างแพร่หลายบางประเทศอาจมีการหยิบยืมเพียงบางส่วนมาใช้ ในขณะที่บางประเทศอาจนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ

15


ดาวน์โหลด ppt แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา   PPA1102 หลักรัฐประศาสนศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google