ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้
การยืมเงิน จากแหล่งเงินงบประมาณรายได้ งานการเงินรายได้ กองคลัง ม.นเรศวร
2
การยืมเงิน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
เงินทดรองจ่ายคณะ เงินทดรองจ่ายส่วนกลาง
3
เงินทดรองจ่ายคณะ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยนเรศวรว่าด้วย เงินรายได้มหาวิทยาลัย พ.ศ.2552 หมวด 5 การสั่งจ่ายและการเบิกจ่าย ข้อ 27 หัวหน้าส่วนงานที่มีสิทธิเบิกเงินรายได้มาเก็บรักษาไว้เพื่อใช้เป็นเงินทดรองจ่ายตามความจำเป็นได้ไม่เกิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาท) ยกเว้น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และโรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มีสิทธิเบิกได้ไม่เกิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาท) และ 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) ตามลำดับ หากส่วนงานใดประสงค์จะเบิกเงินรายได้มาเก็บรักษาไว้เป็นเงินทดรองจ่ายตามความจำเป็นเกินกว่า 2,000,000 บาท (สองล้านบาท) ให้ขออนุมัติต่อสภามหาวิทยาลัยโดยชี้แจงเหตุผลและหลักฐานแสดงความจำเป็น
4
เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว
ค่าจ้างชั่วคราวชาวไทย ชาวต่างประเทศ ลูกจ้างชั่วคราวผู้เกษียณอายุ และผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาต่อ ศึกษาดูงาน ฝึกอบรม เสนอผลงานวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีวงเงินตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป โครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัยแล้ว และมีวงเงินตั้งแต่300,000 บาท ขึ้นไป เงินทดรองจ่ายส่วนกลาง ที่ยืมเงินจากกองคลัง
5
ผู้มีสิทธิยืมเงินทดรองจ่าย
1. หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย สำหรับการยืมเงินทดรอง เพื่อหมุนเวียนของหน่วยงาน 2. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ พนักงานหน่วยงานองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัย 3. บุคคลอื่นนอกจาก (2) ให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งอาจกำหนดเงื่อนไขในการยืมเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารการจัดการ ผู้มีสิทธิยืมเงินทดรองจ่าย
6
ผู้มีสิทธิยืมเงินทดรองจ่าย
1. หัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย สำหรับการยืมเงินทดรอง เพื่อหมุนเวียนของหน่วยงาน 2. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ พนักงานหน่วยงานองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัย 3. บุคคลอื่นนอกจาก (2) ให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งอาจกำหนดเงื่อนไขในการยืมเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารการจัดการ
7
อนุมัติการสั่งจ่ายใบยืม (กรณียืมเงินจากกองคลัง)
ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง และระเบียบเงิน รายได้ของมหาวิทยาลัย มอบอำนาจให้ รองอธิการบดี ฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี ในวงเงินครั้ง ละไม่เกิน 600,000 บาท นอกเหนือจากวงเงินดังกล่าว อำนาจการอนุมัติจะกลับคืนสู่อธิการบดี โดยกองคลังจะ เป็นผู้เสนอใบยืมตามขั้นตอนการยืมเงิน
8
จัดกิจกรรมหรือโครงการ
การขอรับเงินยืม จัดกิจกรรมหรือโครงการ ผู้ยืมสามารถรับเงินยืมได้ก่อนไม่เกิน 10 วัน นับจากวันเริ่มจัดโครงการ การเดินทางไปราชการ ผู้ยืมสามารถรับเงินยืมได้ก่อนไม่เกิน 7 วัน นับจากวันเดินทาง
9
การชดใช้เงินยืม ด้วยเงินสด
กรณีมีเงินสดเหลือจ่ายให้คืนเงินสดทันที เดินทางไปราชการ เดินทางฝึกอบรม เดินทางเพื่อศึกษาต่อ จัดโครงการ
10
การชดใช้เงินยืม ด้วยเอกสาร
จัดกิจกรรมหรือโครงการ ผู้ยืมต้องส่งเอกสารเพื่อชดใช้เงินยืมภายใน 30 วัน นับจากวันเสร็จสิ้นโครงการ พร้อมแนบใบคืนเงินยืมและสำเนาใบยืมด้วยทุกครั้ง การเดินทางไปราชการ ผู้ยืมต้องส่งเอกสารเพื่อชดใช้เงินยืมภายใน 15 วัน นับจากวันที่เดินทางกลับมาจากราชการ พร้อมแนบใบคืนเงินยืมและสำเนาใบยืมด้วยทุกครั้ง
11
กรณีผู้ยืมไม่สามารถชดใช้เงินยืมได้
กรณีที่ผู้ยืมไม่อาจส่งคืนเงินยืมได้ตามกำหนด ให้ขอ ขยายระยะเวลาคืนเงินยืมได้ไม่เกิน 30 วัน ทั้งนี้ให้ อธิการบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย พิจารณาอนุมัติเป็น รายๆ ไป
12
การติดตามทวงถาม กองคลัง จะทำการทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อครบ กำหนดการคืนเงินยืม หรือครบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติ ขยายเวลาคืนเงินยืม แล้วแต่กรณี
13
บทลงโทษ หากผู้ยืมมีพฤติการณ์หน่วงเหนี่ยวการคืนเงินยืม หรือไม่ รีบดำเนินการคืนเงินยืมโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร กองคลังจะทำตามสัญญาในใบยืมที่ระบุว่า “ข้าพเจ้า ยินยอมให้หักเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยหวัด บำเหน็จ หรือเงินอื่นใดที่ ข้าพเจ้าพึงได้รับจากทางราชการ ชดใช้จำนวนเงินที่ยืมไปจนครบได้ ทันที” และผู้ยืมอาจถูกดำเนินการทางวินัย หรือไม่ได้รับเงินเพิ่ม พิเศษใดๆ ในปีนั้นๆ ด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.