ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ
จากการศึกษาพบว่า ในจำนวนประชากรในกลุ่มผู้ต้องขังทั้งหมด 18,785 คน พบว่าจากการคัดกรองด้วยวิธีสอบถาม ในกลุ่มผู้ต้องขังที่มีคะแนน ≥3 มีจำนวน 2,817 คน ประกอบด้วยผู้ต้องขังชาย จำนวน 2,418 คน (85.83%) จำนวนผู้ต้องขังหญิง จำนวน 399 (14.16%) และ ในจำนวน 2,817 คน ได้รับการ x-ray และผลการอ่านฟิล์มx-rayโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ด้านวัณโรค พบว่ามีผล x-ray ผิดปกติ และสงสัยวัณโรค จำนวน 846 คน คิดเป็นร้อยละ 34.9 และดำเนินการการตรวจเสมหะเพิ่ม (AFB) โดยเก็บเสมหะแบบ Collectจำนวน 2 ตัวอย่าง เพื่อวินิจฉัยวัณโรค ผลการx-ray พบว่า ปอดปกติจำนวน 1,171 คน คิดเป็นร้อยละ 27 ผลการx-ray พบว่า ปอดผิดปกติอื่นที่ไม่สงสัยวัณโรคประกอบด้วย - ปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 27 - ถุงลมโป่งพอง จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 28 - หัวใจโตและผิดปกติอื่นๆ จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 27.5 - ผลการตรวจเสมหะ (AFB) ให้ผลบวก (Smear Positive) และนำสู่ระบบการรักษาและนำเข้า DOT จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 2.1 - ผลการตรวจเสมหะ (AFB) ให้ผลลบ (Smear Negative) แต่อาการเข้าได้กับวัณโรค และผลฟิล์มx-ray ผิดปกติสำหรับเป็นวัณโรค ได้รับการรักษาวัณโรคแบบ New M - จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 18.1 การสำรวจความชุกของวัณโรคในกลุ่ม ผู้ต้องขังในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 9 พญ.ผลิน กมลวัทน์, พ.บ.,กัลยาณี จันธิมา, สส.ม., ปิยะพร มนต์ชาตรี พยบ. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา คำสำคัญ : ความชุกวัณโรค, ผู้ต้องขังในเรือนจำ ผู้ต้องขังของเรือนจำ มีอัตราป่วยวัณโรคที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปจากรายงานการค้นหาผู้ป่วยเป็นวัณโรคในเรือนจำทั่วประเทศ ระหว่างปีพ.ศ พบความชุกของการป่วยเป็นวัณโรคปอดเท่ากับ 1,232, 961, และ 840 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ (1) เนื่องจากมีการแพร่กระจายติดต่อกันเองระหว่างผู้ต้องขัง เพราะผู้ต้องขังต้องอยู่อย่างแออัด การหมุนเวียนระบายอากาศได้น้อย ประกอบกับผู้ต้องขังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย เช่น มีการติดเชื้อเอดส์ ภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น ดังนั้น การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญมาก ช่วยให้ได้รับการรักษาในการป่วยระยะเริ่มแรก ลดการแพร่กระจายเชื้อ ลดอัตราการเสียชีวิต รวมทั้งลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อหาความชุกของวัณโรคในกลุ่มผู้ต้องขัง ของเรือนจำ ในเขตเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประเทศไทย เลือกพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและชัยภูมิ ในเรือนจำทั้งหมด 8 แห่ง ด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกโดยรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ ในประชากรผู้ต้องขังทุกรายที่สงสัยวัณโรค จำนวน 2,817 รายในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม พ.ศ.2557 เก็บข้อมูลโดยการซักประวัติโดยใช้แบบสอบถาม (แบบคัดกรอง) ตามแนวทางของ WHO หากผู้ถูกคัดกรองมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 จะตรวจคัดกรองเพิ่มโดยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกโดยรถเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบดิจิตอล ถ้าผลการตรวจ ถ่ายภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ และเข้าข่ายสงสัยวัณโรค จะต้องได้รับการตรวจเสมหะ (AFB) โดยเก็บเสมหะแบบ Collect จำนวน 2 ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของวัณโรคในกลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำในเขตเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 9 ผลการสำรวจ ตามการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าความชุกของวัณโรคในกลุ่มผู้ต้องขัง เท่ากับ 697ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าความชุกของวัณโรคในประชากรทั่วไปในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 9 เท่ากับ 10.9 เท่า (64ต่อประชากรแสนคน ) และสูงกว่าความชุกของวัณโรคในผู้ต้องขังในเรือนจำของไทย(614ต่อประชากรแสนคน ) 1.2 เท่า การนำไปใช้ประโยชน์ 1.ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการควบคุมป้องกันและพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการควบคุมวัณโรคในเรือนจำให้มีประสิทธิภาพต่อไป 2. รณรงค์ให้เห็นถึงความสําคัญของวัณโรคโดยเร่งรัดดำเนินงานค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยงและประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะผู้ต้องขังในเรือนจำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราป่วยสูง ในเรือนจำผู้ต้องขังมีการเคลื่อนย้ายเข้าออก ควรเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้เร็วขึ้นและรีบรักษาให้หาย เป็นมาตรการสำคัญที่ส่งผลต่อการลดการป่วย ตายและการดื้อยา สรุปผล ดังนั้น ควรให้ความสำคัญ เรื่องวัณโรคในกลุ่มผู้ต้องขัง และควรมีระบบ การคัดกรองวัณโรคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการดูแลรักษา และการทำ DOT เพื่อเพิ่มความสำเร็จของการรักษา และจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามีผลการถ่ายภาพรังสีทรวงอกที่ผิดปกติเป็นจำนวนมาก ที่มีความสัมพันธ์การสูบบุหรี่ จึงควรมีการรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ เพื่อตัดปัญหาด้านสาธารณสุขตลอดจนความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานต่อไป เอกสารอ้างอิง 1. ศิรินภา จิตติมณี, และ นิภา งามไตรไร. (2552). แนวทางการเร่งรัดการควบคุมวัณโรคในเรือนจำของประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. .
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.