ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 2: แรงจูงใจ
2
เชื่อหรือไม่ “พฤติกรรมที่เกิดขึ้นทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุ”
เชื่อหรือไม่ “พฤติกรรมที่เกิดขึ้นทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุ”
3
ด้วยเหตุนี้จึงมักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า ทำไมคนนั้นถึงทำแบบนี้ ทำไมคนนี้จึงทำเช่นนั้น
เช่น ทำไมสมชายจึงตั้งใจเรียน ทำไมสมใจจึงขยันทำงาน เป็นต้น เนื่องด้วยเหตุนี้นักจิตวิทยาจึงพยายามศึกษาว่าอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งจากการศึกษาของนักจิตวิทยาพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมก็เนื่องมาจากแรงจูงใจ (Motivation) ของบุคคลนั่นเอง
4
ดังนั้นการศึกษา แรงจูงใจ จะทำให้เราเข้าใจถึงสาเหตุ ของพฤติกรรมได้ชัดเจนมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อ การเข้าใจตนเอง และการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน สังคมต่อไป
5
ความหมาย “แรงจูงใจ” แรงจูงใจ หมายถึง แรงผลักดันที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ ส่วนแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ของ J.D.Fridger เขียนในหนังสือชื่อ “Dimension of Tourism” ในปี ค.ศ.1991 ว่า หมายถึง แรงขับเคลื่อนภายในส่วนบุคคล ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการใช้บริการท่องเที่ยวบางอย่าง บางประเภท เพื่อเติมเต็มความต้องการทางจิตวิทยา อันเป็นตัวผลักดันที่จะก่อให้เกิดความต้องการ สิ่งจูงใจ และแรงขับในบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
6
ลักษณะ “แรงจูงใจ” 1. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะมีทิศทางที่ชัดเจน หมายถึง แรงจูงใจจะเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางของพฤติกรรม บุคคลจะรู้ว่าเป้าหมายของตนคืออะไร และจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างไร 2. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะมีพลัง หมายถึง แรงจูงใจจะเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดพลังและมีความกระตือรือร้นเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย 3. พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะมีความต่อเนื่อง กล่าวคือ แรงจูงใจจะเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลมีความพยายามและยืนหยัดเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย
7
นักจิตวิทยาแบ่งแรงจูงใจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล ทำให้บุคคลกระทำพฤติกรรมต่างๆ เนื่องด้วยความชอบ หรือความรักที่อยากจะทำสิ่งนั้นจากใจจริง โดยมิได้หวังรางวัลหรือสิ่งล่อใจภายนอก ซึ่งจะทำให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพสูง เช่น การที่นายแดงมักจะฝึกซ้อมร้องเพลงเสมอ เพราะว่าเขามีความสุขกับการที่ได้ร้องเพลง
8
แรงจูงใจภายใน ของบริการท่องเที่ยว จะเป็นสภาวะที่ บุคคลต้องการจะใช้บริการท่องเที่ยวหรือต้องการจะเรียนรู้ แสวงหาบริการท่องเที่ยวบางอย่าง ด้วยตนเอง โดยไม่ต้อง อาศัยการชัดจูงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น นักศึกษาต้องการเดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดย ไม่มีรางวัลมาล่อใจ
9
2. แรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motivation)
เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากสิ่งจูงใจภายนอกทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ส่วนที่เป็นรูปธรรม เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ตำแหน่ง รางวัล เป็นต้น และส่วนที่เป็นนามธรรม เช่น ชื่อเสียง คำชมเชย การได้รับการยอมรับ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การที่นายดำฝึกเล่นดนตรีอยู่เสมอ เพราะเขาต้องการให้เพื่อนๆชื่นชมและยอมรับในตัวเขา
10
แรงจูงใจภายนอก ในบริการท่องเที่ยว
เป็นสภาวะที่บุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก แล้วทำให้เกิด ความต้องการที่จะใช้บริการท่องเที่ยว แบ่งได้ 3 ประเภท แรงจูงใจทางสรีระวิทยา เกิดขึ้นจากการใช้บริการท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองความต้องการทางร่างกาย และทำให้บุคคลมีชีวิตอยู่ได้ เช่น ต้องการบริการอาหาร บริการที่พัก บริการสุขภาพ แรงจูงใจทางจิตวิทยา มีผลต่อจิตใจ ทำให้มนุษย์มีสุขภาพจิตดีขึ้น แบ่งได้ 2 ประเภทย่อย ความอยากรู้อยากเห็นและการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ต้องการความรักและความเอาใจใส่จากผู้อื่น แสดงออกผ่านการเยี่ยมญาติ
11
แรงจูงใจภายนอก ในบริการท่องเที่ยว
แรงจูงใจทางสังคมหรือแรงจูงใจจากการเรียนรู้ เกิดขึ้นจากประสบการณ์การใช้บริการท่องเที่ยวในอดีตของแต่ละบุคคล แบ่งได้ 4 ประเภท แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Achievement Motivation) เกิดจากความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ รวมทั้งต้องการที่จะได้รับความภาคภูมิใจจากการที่ตนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์นี้จะผลักดันให้บุคคลมีความพยายามและยืนหยัดในการที่จะบรรลุเป้าหมายของตน เป็นแรงจูงใจที่เป็นแรงขับให้บุคคลที่จะใช้บริการท่องเที่ยว ให้ประสบความสำเร็จที่ตั้งไว้ โดยไม่ทำงานเพื่อหวังรางวัล
12
แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (Affiliation Motivation)
เกิดจากความต้องการที่จะสร้างมิตรภาพและมี ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับ รัก ใคร่และนิยมชมชอบจากผู้อื่น แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์นี้เป็น ตัวผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติต่างๆเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ เป็นแรงจูงใจที่จะใช้บริการท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ ของบุคคลอื่น ต้องการความรักจากผู้อื่น
13
แรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Power Motivation) เกิดจากความต้องการที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น บุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจสูงมักจะยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลางและจะหาหนทางใช้อำนาจเอาชนะผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นคล้อยตามตน ตนขาดบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการ ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นปมด้อย จึงพยายามสร้างปมเด่น ขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตนเองขาด แรงจูงใจใฝ่นับถือตนเอง ปรารถนาเป็นที่ยอมรับของสังคม ต้องการมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ซึ่งจะนำมาสู่การเคารพนับถือตนเอง
14
ทฤษฎีแรงจูงใจ นักจิตวิทยาพยายามศึกษาและอธิบายถึงสาเหตุที่มาของแรงจูงใจว่ามีกระบวนการและขั้นตอนอย่างไร อันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจในพฤติกรรมต่างๆที่มนุษย์แสดงต่อกันในสังคม ซึ่งทฤษฎีแรงจูงใจแบ่งออกเป็น 3 ทฤษฎี ได้แก่ 1. ทฤษฎีกลุ่มสัญชาตญาณ 2. ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม 3. ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม
15
ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud:1856-1936)
ทฤษฎีกลุ่มสัญชาตญาณ ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud: )
16
ทฤษฎีกลุ่มสัญชาตญาณ(ต่อ)
ทฤษฎีนี้เป็นแนวคิดของซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud: ) จิตแพทย์ชาวออสเตรียผู้มีชื่อเสียง โดยฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับสัญชาตญาณ (Instincts) 2 ชนิด คือ ก. สัญชาตญาณแห่งชีวิต (Life Instinct) เป็นสัญชาตญาณที่ทำให้เกิดแรงขับที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมที่แสวงหาความสุขความพึงพอใจให้แก่ตนเอง เช่น การกินเพื่อดับความหิว การดื่มเพื่อดับกระหาย การไปท่องเที่ยว รวมไปถึงการตอบสนองความต้องการทางเพศ เป็นต้น
17
ทฤษฎีกลุ่มสัญชาตญาณ(ต่อ)
ข. สัญชาตญาณแห่งความตาย (Death Instinct) เป็นสัญชาตญาณที่ผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในรูปของความก้าวร้าวทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง การต่อสู้ การแย่งชิง การก่อสงคราม รวมไปถึงการฆ่าตัวตาย เป็นต้น
18
ทฤษฎีกลุ่มสัญชาตญาณ(ต่อ)
ฟรอยด์เชื่อว่า พฤติกรรมต่างๆที่บุคคลแสดงออกมาส่วนใหญ่เป็นอิทธิพลมาจากสัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตมากกว่าสัญชาตญาณแห่งความตาย แต่ทั้งสองสัญชาตญาณก็มักจะเกิดควบคู่กันตลอดเวลา เช่น พฤติกรรมการกินอาหาร เรากินอาหารเพื่อให้มีชีวิตรอด ซึ่งเป็นการตอบสนองสัญชาตญาณแห่งชีวิต แต่การฉีก กัด หรือเคี้ยวอาหาร นั้นเป็นลักษณะ ของการตอบสนองสัญชาตญาณ แห่งความตาย
19
ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ ดอลลาร์ด มิลเลอร์ และ ฮัลล์ (Dollard, Miller and Hull) ได้อธิบายสาเหตุที่มาของแรงจูงใจ โดยพิจารณาจากพื้นฐานการเกิดพฤติกรรมที่ว่าโดยธรรมชาติแล้วเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะขาดสมดุล อันเนื่องมาจากความต้องการทางด้านร่างกาย เช่น ความหิว ความกระหาย ความต้องการนอนหลับพักผ่อน เป็นต้น
20
ทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม(ต่อ)
ความต้องการทางด้านร่างกายเหล่านี้จะสร้างแรงขับกระตุ้นให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น และเมื่อร่างกายได้รับการตอบสนองความต้องการดังกล่าวแล้ว ความต้องการที่เกิดขึ้นก็จะลดลง และหมดไปด้วย นั่นก็คือร่างกายได้กลับสู่สภาวะสมดุลอีกครั้ง ซึ่งแนวคิดนี้อยู่ในทฤษฎีที่ชื่อว่า“ทฤษฎีลดแรงขับ” (Drive Reduction Theory)
21
สรุป คือ กลุ่มนี้ เน้นความสำคัญของสิ่งเร้าภายนอก ประสบการณ์ในอดีต ที่มีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลอย่างมาก
ประสบการณ์ด้านดี จะกลายเป็นแรงจูงใจทางบวก ส่งผลให้แสดงพฤติกรรมแบบนี้มากขึ้น
22
ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Harold Malow; ) คือผู้ที่เสนอ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Maslow's hierarchy of needs )
23
ทฤษฎีกลุ่มมนุษยนิยม(ต่อ)
โดยมาสโลว์ได้อธิบายไว้ว่าแรงจูงใจเกิดจากความต้องการของมนุษย์ซึ่งจะเป็นไปตามลำดับขั้น ซึ่งมี 5 ขั้น ดังแผนภาพต่อไปนี้ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Maslow's hierarchy of needs)
24
ความต้องการทางร่างกาย(Physiological/Biological)
25
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย(Safety)
26
ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ(Love&Sense of Belonging)
27
ความต้องการเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่อง(Accepted & Esteem Needs)
28
Maslow ขั้นปัญญา-ต้องการรู้จัก เข้าใจ สำรวจสิ่งต่างๆ
ขั้นสุนทรียะ-ต้องการความสมดุล มีระเบียบและความงาม ขั้นสัจการแห่งตน-ต้องการเติมเต็มและพัฒนาตนเองให้ถึงขีดสุด
29
Maslow ขั้นเหนือตน – ความต้องการที่เชื่อมโยงไปยังสิ่งที่อยู่พ้นความเป็นตัวตน หรือความต้องการที่จะช่วยให้ผู้อื่นพัฒนาตน
30
งานคู่ ตอบคำถามต่อไปนี้
บอกมูลเหตุที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการท่องเที่ยว
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.