ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 5 เรื่อง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ลักษณะโครงสร้างโลก ลักษณะภูมิประเทศของโลก กระบวนการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดลักษณะภูมิประเทศของโลก ปัญหาทางกายภาพของประเทศไทยและของโลก ภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยและของโลก ครูอธิบายเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ตามผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ ในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ดังนี้ แบ่งเป็น 5 เรื่อง ได้แก่ 1. ลักษณะโครงสร้างของโลก 2. ลักษณะภูมิประเทศของโลก 3. กระบวนการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดลักษณะภูมิประเทศของโลก 4. ปัญหาทางกายภาพของประเทศไทยและของโลก 5. ภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยและของโลก แบ่งออกเป็น 4 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 6 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ลักษณะภูมิประเทศของโลก เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 กระบวนการสำคัญที่ส่งผลให้เกิดลักษณะภูมิประเทศของโลก เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 ปัญหาทางกายภาพของประเทศไทยและของโลก เวลา 1 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 ภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยและของโลก เวลา 1 ชั่วโมง

2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ซึ่งสามารถ print ได้จาก CD คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด ตอนที่ 3 เอกสาร/ความรู้เสริมสำหรับครู กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (การทำแบบทดสอบใน PowerPoint อาจใช้เวลามาก ครูควร print ให้นักเรียนทำ แล้วจึงใช้ PowerPoint ตรวจคำตอบ)

3 เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. “สภาวะที่เกิดขึ้นกับเปลือกโลกและบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกซึ่งมีอิทธิพล ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์” ข้อความนี้เป็นความหมายของอะไร ก วิธีการทางภูมิศาสตร์ ข ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ค กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ง การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 1 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 1 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะข้อความดังกล่าวหมายถึง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ส่วนวิธีการทางภูมิศาสตร์เป็นการได้มาซึ่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ คือ การสำรวจ บันทึก จัดเก็บข้อมูล แปลงค่าข้อมูล วิเคราะห์ สรุป และนำเสนอผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ คำตอบ ข ถูก เพราะการศึกษาปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบว่า “มีสิ่งใดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนี้หรือสิ่งนั้นขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร” ซึ่งการศึกษาสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นจะหมายถึง “สิ่งใด” กับเปลือกโลกและบรรยากาศจะหมายถึง “สิ่งนี้หรือสิ่งนั้น” และอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์จะหมายถึง “แต่ละสิ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างไร” ดังนั้น จากข้อความดังกล่าวจึงหมายถึง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ คำตอบ ค ผิด เพราะข้อความดังกล่าวหมายถึง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ไม่ใช่กระบวนการทางภูมิศาสตร์ คำตอบ ง ผิด เพราะข้อความดังกล่าวหมายถึง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ อธิบาย: ข ถูก เพราะการศึกษาปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาเพื่อให้ทราบว่า “มีสิ่งใดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนี้หรือสิ่งนั้นขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร” ซึ่งการศึกษาสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นจะหมายถึง “สิ่งใด” กับเปลือกโลกและบรรยากาศจะหมายถึง “สิ่งนี้หรือสิ่งนั้น” และอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์จะหมายถึง “แต่ละสิ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างไร” ดังนั้น จากข้อความดังกล่าวจึงหมายถึง ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์

4 2. ข้อใดเป็นลักษณะของภูเขาไฟรูปโล่ ก ภูเขาไฟเปอเล ประเทศฝรั่งเศส
ก ภูเขาไฟเปอเล ประเทศฝรั่งเศส ข ภูเขาไฟลากี ประเทศไอซ์แลนด์ ค ภูเขาไฟเวซูเวียส ประเทศอิตาลี ง ภูเขาไฟมาโยน ประเทศฟิลิปปินส์ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 2 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 2 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะภูเขาไฟเปอเลเป็นภูเขาไฟแบบกรวยกรวดภูเขาไฟ มีความสูงมาก และมีฐานแคบ คำตอบ ข ถูก เพราะภูเขาไฟลากีในประเทศไอซ์แลนด์มีลักษณะเป็นภูเขาไฟรูปโล่ มีพื้นที่กว้างประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร มีความสูงเพียงแค่ประมาณ 1,725 เมตร แสดงให้เห็นว่ามีรูปร่างแบบรูปโล่ คือ มีฐานกว้างและเตี้ย คำตอบ ค ผิด เพราะภูเขาไฟเวซูเวียสเป็นภูเขาไฟแบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น คำตอบ ง ผิด เพราะภูเขาไฟมาโยนเป็นภูเขาไฟแบบกรวยภูเขาไฟสลับชั้น อธิบาย: ข ถูก เพราะภูเขาไฟลากีในประเทศไอซ์แลนด์มีลักษณะเป็นภูเขาไฟรูปโล่ มีพื้นที่กว้างประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร มีความสูงเพียงแค่ประมาณ 1,725 เมตร แสดงให้เห็นว่ามีรูปร่างแบบรูปโล่ คือ มีฐานกว้างและเตี้ย

5 3. แอ่งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟเรียกว่าอะไร ก ฮอสต์ ข อาแรต
ก ฮอสต์ ข อาแรต ค กราเบิน ง แคลดีรา อธิบาย: ง ถูก เพราะแคลดีราเป็นแอ่งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการปะทุอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ จนทำให้ปากปล่องระเบิดออกเป็นบริเวณที่กว้างขวาง เช่น การระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในประเทศอินโดนีเซีย บางแห่งอาจมีน้ำขังอยู่ภายในจนกลายเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ได้ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 3 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 3 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะฮอสต์เป็นภูเขาบล็อกที่เกิดจากการยกตัวของพื้นแผ่นดินตามแนวรอยเลื่อนในแนวดิ่ง มีลักษณะเป็นภูเขาสูง ขนาบด้วยหน้าผารอยเลื่อน ทำให้มีความชันมาก คำตอบ ข ผิด เพราะอาแรตเป็นสันปันน้ำที่อยู่ระหว่างแอ่งเซิร์ก 2 แห่ง มีลักษณะเรียวแหลม เป็นสันเขาที่มีความหยักแหลมและบาง เกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง คำตอบ ค ผิด เพราะกราเบินเป็นแอ่งที่ราบ หรือหุบเขาทรุดที่เกิดจากการทรุดตัวของพื้นแผ่นดินตามแนวรอยเลื่อนในแนวดิ่ง คำตอบ ง ถูก เพราะแคลดีราเป็นแอ่งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการปะทุอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ จนทำให้ปากปล่องระเบิดออกเป็นบริเวณที่กว้างขวาง เช่น การระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในประเทศอินโดนีเซีย บางแห่งอาจมีน้ำขังอยู่ภายในจนกลายเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ได้

6 4. การกัดเซาะของน้ำอย่างรวดเร็วบริเวณท้องน้ำจนเป็นร่องลึกคือ
กระบวนการเกิดของอะไร ก ถ้ำ ข แก่ง ค น้ำตก ง หุบผาชัน อธิบาย: ง ถูก เพราะบริเวณที่เกิดหุบผาชันส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเขตที่สูง ซึ่งน้ำจะไหลอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ไม่เกิดการกัดเซาะและการทับถมของตะกอนทางด้านข้าง แต่จะเกิดการกัดเซาะในแนวดิ่งจนกลายเป็นร่องลึก หรือมีรูปร่างเป็นตัววี เมื่อน้ำแห้งเหือดไป หรือเปลี่ยนเส้นทางไปแล้ว ก็จะปรากฏพื้นที่แบบหุบผาชันให้เห็น ดังเช่น แกรนด์แคนยอนในประเทศสหรัฐอเมริกา 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 4 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 4 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะถ้ำเกิดจากภูเขาหินปูนที่มีน้ำฝนและน้ำใต้ดินมาทำการกระทำกัดเซาะและละลายหินปูน ซึ่งละลายได้ง่ายในน้ำ โดยเฉพาะน้ำฝนที่มีลักษณะเป็นกรดอ่อน เนื่องจากมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผสมอยู่ จึงสามารถละลายหินปูนที่มีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตได้ดี การกัดเซาะของน้ำฝนและน้ำใต้ดินในบริเวณภูเขาหินปูนทำให้เกิดเป็นช่องหรือโพรงขนาดใหญ่และกลายเป็นถ้ำในเวลาต่อมา คำตอบ ข ผิด เพราะแก่งเกิดจากช่วงของธารน้ำที่ไหลผ่านพัดพาเอาโขดหินขนาดใหญ่มาตกขวางกั้นทางน้ำ ท้องน้ำช่วงนี้จะตื้นและมีความลาดเทมากขึ้น น้ำจะเริ่มไหลเชี่ยวพัดพาให้โขดหินขนาดใหญ่แตกกระจัดกระจายกลายเป็นก้อนหินวางขวางกั้นลำน้ำและทำให้กระแสน้ำลดระดับความรุนแรงลง คำตอบ ค ผิด เพราะน้ำตกเกิดจากน้ำที่ไหลผ่านบริเวณที่มีความต่างระดับกันมาก โดยไหลจากภูมิประเทศที่มีความสูงชันลงมาสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างที่ต่ำกว่า คำตอบ ง ถูก เพราะบริเวณที่เกิดหุบผาชันส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเขตที่สูง ซึ่งน้ำจะไหลอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ทำให้ไม่เกิดการกัดเซาะและการทับถมของตะกอนทางด้านข้าง แต่จะเกิดการกัดเซาะในแนวดิ่งจนกลายเป็นร่องลึก หรือมีรูปร่างเป็นตัววี เมื่อน้ำแห้งเหือดไป หรือเปลี่ยนเส้นทางไปแล้ว ก็จะปรากฏพื้นที่แบบหุบผาชันให้เห็น ดังเช่น แกรนด์แคนยอนในประเทศสหรัฐอเมริกา

7 5. ที่ราบน้ำท่วมถึงเป็นลักษณะทางภูมิประเทศที่เกิดขึ้นใน
ระยะใดของวิวัฒนาการของแม่น้ำ ก ระยะวัยอ่อน ข ระยะวัยหนุ่ม ค ระยะวัยหนุ่มและวัยชรา ง ระยะวัยอ่อนและวัยหนุ่ม อธิบาย: ค ถูก เพราะที่ราบน้ำท่วมถึงจะเกิดขึ้นได้เมื่อแม่น้ำไหลช้าลง ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนทางด้านข้างและตามท้องน้ำมากขึ้น โดยแม่น้ำจะไหลช้าลงเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม ซึ่งแม่น้ำมักจะไหลผ่านช่วงพื้นที่ลาดเท และเข้าสู่วัยชราเมื่อไหลผ่านพื้นที่ใกล้แนวชายฝั่งทะเล ดังนั้น ที่ราบน้ำท่วมถึงจะเกิดขึ้นในระยะวัยหนุ่มและวัยชราของแม่น้ำ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 5 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 5 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะระยะวัยอ่อนเป็นระยะที่แม่น้ำไหลแรง จะมีการกัดเซาะท้องน้ำในแนวดิ่งเป็นร่องลึกมากกว่าการทับถมของตะกอน ซึ่งจะไหลไปตามแรงของน้ำมากกว่า และมีการทับถมกันได้น้อยมากหรือไม่มีเลย เนื่องจากน้ำไหลแรงและเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว จึงเป็นระยะที่ไม่เกิดที่ราบน้ำท่วมถึง แต่จะเกิดลักษณะภูมิประเทศแบบเกาะแก่ง น้ำตก และหุบผาชัน คำตอบ ข ผิด เพราะระยะของวิวัฒนาการของแม่น้ำที่จะทำให้เกิดที่ราบน้ำท่วมถึงมี 2 ระยะ ได้แก่ วัยหนุ่มและวัยชรา เนื่องจากทั้งสองระยะนี้ แม่น้ำจะไหลช้าลง ทำให้เกิดการตกทับถมของตะกอนด้านข้างลำน้ำ เกิดเป็นลานตะพักลำน้ำ และกลายเป็นเขตที่ราบที่มีน้ำท่วมถึงได้ในช่วงน้ำหลาก ซึ่งอยู่ในระยะวัยหนุ่ม และเป็นเขตที่ราบกว้างใหญ่เมื่ออยู่ในระยะวัยชรา คำตอบ ค ถูก เพราะที่ราบน้ำท่วมถึงจะเกิดขึ้นได้เมื่อแม่น้ำไหลช้าลง ทำให้เกิดการทับถมของตะกอนทางด้านข้างและตามท้องน้ำมากขึ้น โดยแม่น้ำจะไหลช้าลงเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่ม ซึ่งแม่น้ำมักจะไหลผ่านช่วงพื้นที่ลาดเท และเข้าสู่วัยชราเมื่อไหลผ่านพื้นที่ใกล้แนวชายฝั่งทะเล ดังนั้น ที่ราบน้ำท่วมถึงจะเกิดขึ้นในระยะวัยหนุ่มและวัยชราของแม่น้ำ คำตอบ ง ผิด เพราะระยะของวิวัฒนาการของแม่น้ำที่จะทำให้เกิดเขตที่ราบน้ำท่วมถึง คือ ระยะวัยหนุ่มและวัยชรา ส่วนระยะวัยอ่อนจะเกิดภูมิประเทศแบบเกาะแก่ง น้ำตก และหุบผาชัน เนื่องจากมีการทับถมของตะกอนด้านข้างลำน้ำน้อยมากหรือไม่มีเลย แต่มีการกัดเซาะท้องน้ำในแนวดิ่งจนกลายเป็นร่องลึกมากกว่า

8 6. ข้อใดเป็นลักษณะทางภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำ ก สันทราย
ก สันทราย ข เนินทราย ค รอยเลื่อน ง เนินตะกอนรูปพัด 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 6 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 6 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะสันทรายเป็นลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของลม ซึ่งเกิดจากลมพัดพาเอาตะกอนทรายมาตกทับถมบริเวณพื้นที่ที่ตั้งขวางกั้นทิศทางลมไว้ ตะกอนทรายละเอียดจะตกทับถมเป็นชั้น ๆ จนมีลักษณะนูนสูง ยอดบน หรือสันของเนินทรายจะมีความคดโค้งหรือมีรูปลักษณะเป็นไปตามแนวทางเคลื่อนที่ของลม คำตอบ ข ผิด เพราะเนินทรายเป็นลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของลม มีลักษณะเช่นเดียวกับสันทราย คำตอบ ค ผิด เพราะรอยเลื่อนเกิดจากเปลือกโลกที่มีความอ่อนตัว เปราะ และแตกหักออกตามความเค้นและความเครียด เกิดการดึงและแยกออกจากกันจนเป็นรอยแยกของเปลือกโลก และมีการเลื่อนตัวกันไปมาตามแรงกระทำที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก คำตอบ ง ถูก เพราะเนินตะกอนรูปพัดเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนที่แม่น้ำพัดพามา เมื่อแม่น้ำไหลเข้าสู่พื้นที่ราบ ทำให้แม่น้ำไหลช้าลง ไม่สามารถพัดพาเอาตะกอนบางส่วนต่อไปได้ ตะกอนเหล่านั้นจะตกทับถมกันและกระจายตัวออกกลายเป็นรูปพัด อธิบาย: ง ถูก เพราะเนินตะกอนรูปพัดเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนที่แม่น้ำพัดพามา เมื่อแม่น้ำไหลเข้าสู่พื้นที่ราบ ทำให้แม่น้ำไหลช้าลง ไม่สามารถพัดพาเอาตะกอนบางส่วนต่อไปได้ ตะกอนเหล่านั้นจะตกทับถมกันและกระจายตัวออกกลายเป็นรูปพัด

9 7. แกรนด์แคนยอนเป็นลักษณะภูมิประเทศที่พบในบริเวณใด
ก ที่ราบสูงในเขตแห้งแล้ง ข ที่ราบลุ่มที่มีฝนตกตลอดปี ค ที่ราบสูงในเขตที่มีฝนตกชุก ง ชายฝั่งทะเลที่มีธารน้ำแข็งไหลผ่าน อธิบาย: ค ถูก เพราะแกรนด์แคนยอนเกิดจากการกระทำของน้ำในเขตที่สูง ซึ่งไหลแรงและกัดเซาะพื้นที่ทางดิ่ง ทำให้เกิดหุบผาชันที่มีความลึกมาก มีความชันสูง และมีพื้นที่กว้างใหญ่ แกรนด์แคนยอนจึงเป็นลักษณะภูมิประเทศที่พบได้เฉพาะในเขตที่ราบสูงที่มีฝนตกชุกเท่านั้น 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 7 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 7 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะแกรนด์แคนยอนเกิดจากการกระทำของตัวการน้ำ จึงต้องเกิดบนเขตที่ราบสูงที่มีฝนตกชุกจนมีทางน้ำไหลผ่านและเกิดการกัดเซาะพื้นที่จนกลายเป็นหน้าผาชัน ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง คำตอบ ข ผิด เพราะแกรนด์แคนยอนจะเกิดขึ้นในเขตเทือกเขาสูงหรือที่ราบสูงเท่านั้น จะไม่เกิดในเขตที่ราบลุ่ม เนื่องจากเกิดจากการกระทำของน้ำที่กัดเซาะท้องน้ำในแนวดิ่งจนกลายเป็นหน้าผาชัน แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ต้องเป็นเขตที่สูงที่มีความสูงชัน ทำให้ทางน้ำไหลแรง ซึ่งอยู่ในช่วงวัยอ่อนของแม่น้ำ ไม่ใช่เขตที่ราบลุ่มที่อยู่ในช่วงวัยหนุ่มและวัยชรา ซึ่งน้ำจะไหลช้าลง เกิดการทับถมของตะกอนทางด้านข้างมากขึ้น เกิดการกัดเซาะทางดิ่งน้อยลง คำตอบ ค ถูก เพราะแกรนด์แคนยอนเกิดจากการกระทำของน้ำในเขตที่สูง ซึ่งไหลแรงและกัดเซาะพื้นที่ทางดิ่ง ทำให้เกิดหุบผาชันที่มีความลึกมาก มีความชันสูง และมีพื้นที่กว้างใหญ่ แกรนด์แคนยอนจึงเป็นลักษณะภูมิประเทศที่พบได้เฉพาะในเขตที่ราบสูงที่มีฝนตกชุกเท่านั้น คำตอบ ง ผิด เพราะบริเวณแนวชายฝั่งทะเลที่มีธารน้ำแข็งไหลผ่าน แนวชายฝั่งจะถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะจนมีลักษณะเว้า ๆ แหว่ง ๆ เป็นหุบเขาแคบ ๆ มีหน้าผาชัน ซึ่งจะเรียกว่า ฟยอร์ด

10 8. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการแปรสัณฐาน
ก เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ข เกิดจากอุกกาบาตที่ตกลงบนพื้นผิวโลก ค เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง ง ผลจากการกระบวนการทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ อธิบาย: ง ถูก เพราะกระบวนการแปรสัณฐานของเปลือกโลกทำให้เกิดการบีบอัด การยกตัว การยุบตัว การแยกตัว การคดโค้งโก่งงอ จนทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ เช่น ภูเขาและเทือกเขาสูง หน้าผาชัน หุบเขาทรุด ภูเขาบล็อก หรือภูเขายอดตัด หรือเขตที่ราบสูงต่าง ๆ ภูเขาไฟรูปทรงต่าง ๆ 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 8 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 8 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะกระบวนการแปรสัณฐานเป็นกระบวนการที่มีทั้งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้า ๆ อาจจะใช้เวลานานหลายร้อยหรือหลายล้านปี คำตอบ ข ผิด เพราะอุกกาบาตที่ตกลงบนพื้นโลกถือเป็นกระบวนการจากภายนอกโลก เนื่องจากอุกกาบาตเป็นเทหวัตถุที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลก อาจจะเข้ามาสู่โลกได้ถ้าเส้นทางการโคจรของโลกและอุกกาบาตก้อนนั้น ๆ อยู่ในเส้นทางเดียวกันพอดี คำตอบ ค ผิด เพราะกระบวนการแปรสัณฐานบางกระบวนการอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น การปะทุของภูเขาไฟ การแผ่นดินไหว คำตอบ ง ถูก เพราะกระบวนการแปรสัณฐานของเปลือกโลกทำให้เกิดการบีบอัด การยกตัว การยุบตัว การแยกตัว การคดโค้งโก่งงอ จนทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศต่าง ๆ เช่น ภูเขาและเทือกเขาสูง หน้าผาชัน หุบเขาทรุด ภูเขาบล็อก หรือภูเขายอดตัด หรือเขตที่ราบสูงต่าง ๆ ภูเขาไฟรูปทรงต่าง ๆ

11 9. ที่ราบสูงฮาร์ตอยู่ในประเทศใด ก สเปน ข ฝรั่งเศส ค เยอรมนี
ก สเปน ข ฝรั่งเศส ค เยอรมนี ง สหรัฐอเมริกา อธิบาย: ค ถูก เพราะที่ราบสูงฮาร์ตอยู่ในประเทศเยอรมนี มีลักษณะเป็นภูเขาบล็อก ครอบคลุมอาณาเขตของรัฐโลว์เออร์แซกโซนี แซกโซนี–อันฮัลต์ และทูรินเจีย มีความสูงที่สูงที่สุดที่ 1,141 เมตร 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 9 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 9 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ผิด เพราะที่ราบสูงฮาร์ตอยู่ในประเทศเยอรมนี ไม่ได้อยู่ในประเทศสเปน โดยที่ราบสูงที่สำคัญในประเทศสเปน คือ ที่ราบสูงเมเซตา คำตอบ ข ผิด เพราะที่ราบสูงฮาร์ตอยู่ในประเทศเยอรมนี ไม่ได้อยู่ในประเทศฝรั่งเศส โดยที่ราบสูงที่สำคัญในประเทศฝรั่งเศส คือ ที่ราบสูงมาซีฟซองตราล คำตอบ ค ถูก เพราะที่ราบสูงฮาร์ตอยู่ในประเทศเยอรมนี มีลักษณะเป็นภูเขาบล็อก ครอบคลุมอาณาเขตของรัฐโลว์เออร์แซกโซนี แซกโซนี–อันฮัลต์ และทูรินเจีย มีความสูงที่สูงที่สุดที่ 1,141 เมตร คำตอบ ง ผิด เพราะที่ราบสูงฮาร์ตอยู่ในประเทศเยอรมนี ไม่ได้อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประเทศสหรัฐอเมริกามีที่ราบสูงอยู่หลายแห่ง ที่สำคัญ เช่น ที่ราบสูงโคโลราโด ที่ราบสูงเกรตเบซิน

12 10. ที่ราบภาคกลางตอนบนของประเทศไทยจัดอยู่ในที่ราบประเภทใด
ก ที่ราบน้ำท่วมถึง ข ที่ราบภายในทวีป ค ที่ราบชายฝั่งทะเล ง ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม อธิบาย: ก ถูก เพราะบริเวณภาคกลางตอนบนของประเทศไทยเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำ 3 สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง ยม และน่าน ทำให้ได้รับตะกอนจากแม่น้ำที่อยู่ในช่วงวัยหนุ่มมาตกทับถมบริเวณริมฝั่งแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน จนเกิดเป็นเขตที่ราบกว้างใหญ่ ตลิ่งทั้ง 2 ฟากข้างของลำน้ำตื้นเขิน แต่น้ำยังสามารถท่วมถึงได้ในฤดูน้ำหลาก จึงทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบน้ำท่วมถึง 1) ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ข้อ 10 2) ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบข้อ 10 คำอธิบายเฉลย คำตอบ ก ถูก เพราะบริเวณภาคกลางตอนบนของประเทศไทยเป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำ 3 สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง ยม และน่าน ทำให้ได้รับตะกอนจากแม่น้ำที่อยู่ในช่วงวัยหนุ่มมาตกทับถมบริเวณริมฝั่งแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน จนเกิดเป็นเขตที่ราบกว้างใหญ่ ตลิ่งทั้ง 2 ฟากข้างของลำน้ำตื้นเขิน แต่น้ำยังสามารถท่วมถึงได้ในฤดูน้ำหลาก จึงทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบน้ำท่วมถึง คำตอบ ข ผิด เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถัดลงมาทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย ดังนั้น ที่ราบในประเทศไทยจึงไม่ใช่เขตที่ราบที่อยู่ภายในทวีป แต่เป็นเขตที่ราบที่อยู่ใกล้แนวชายฝั่งทะเล บริเวณขอบทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย คำตอบ ค ผิด เพราะเขตที่ราบภาคกลางตอนบนของประเทศไทยมีลักษณะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงและที่ราบตามแนวเชิงเขา จึงอยู่ภายในพื้นแผ่นดิน ไม่ได้อยู่ติดกับแนวชายฝั่งทะเล จึงไม่ใช่ที่ราบชายฝั่งทะเล คำตอบ ง ผิด เพราะเขตที่ราบภาคกลางตอนบนของประเทศไทยเป็นเขตที่ราบลุ่มที่อยู่ทางตอนกลางของช่วงลำน้ำ ไม่ได้อยู่ทางตอนปลายของลำน้ำ หรือปากแม่น้ำ ซึ่งทำให้ที่ราบมีลักษณะเป็นเขตที่ราบน้ำท่วม ไม่ใช่ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยม ซึ่งจะเกิดเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำเท่านั้น

13 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ลักษณะภูมิประเทศของโลก เวลา 2 ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 ลักษณะภูมิประเทศของโลก เวลา 2 ชั่วโมง 1. ลักษณะโครงสร้างของโลก 1.1 ชั้นเปลือกโลก 1.2 ชั้นเนื้อโลก 1.3 ชั้นแก่นโลก 2. ลักษณะภูมิประเทศของโลก 2.1 ความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ 2.2 ความสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อม จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภูมิศาสตร์ ม. 4–6 ของบริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด

14 ลักษณะโครงสร้างของโลก
โลกมีโครงสร้างและส่วนประกอบแบ่งได้ 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นเปลือกโลก ชั้นเนื้อโลก และชั้นแก่นโลก โครงสร้างของโลก เปลือกโลก เนื้อโลก 1) ครูซักถามนักเรียนว่า “เพราะเหตุใด ลักษณะของพื้นที่ต่าง ๆ จึงมีความแตกต่างกัน” ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น แล้วเชื่อมโยงเข้าสู้เนื้อหาในบทเรียน 2) ครูอธิบายเรื่อง โครงสร้างของโลก โดยใช้ PowerPoint ฉบับนี้ 1. ลักษณะโครงสร้างของโลก ครูคลิกเพื่ออธิบายชั้นของโลก แก่นโลกชั้นนอก แก่นโลกชั้นใน

15 ลักษณะโครงสร้างของโลก
ชั้นนี้อยู่นอกสุดของโลก เป็นแผ่นพิภพ หรือพื้นโลก มีความหนาประมาณ 35 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ชั้นเปลือกโลก ชั้นไซอัล หินตะกอน ชั้นไซมา ทะเล ชั้นไซอัล เป็นชั้นผิวของโลก มีแร่ซิลิกาเป็นส่วนใหญ่และมีอะลูมินาเป็นส่วนประกอบ หินชั้นนี้มีความหนาแน่นน้อยกว่าหินชั้นไซมา ไซอัลมีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป ได้แก่ หินแกรนิตชนิดต่าง ๆ แนวแบ่งเขตมอฮอรอวีชีช เปลือกโลก ธรณีภาคชั้นนอก ชั้นไซมา เป็น ชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นไซอัลลงไป มีลักษณะเป็นชั้นหินหนืด ประกอบด้วยซิลิกาและแมกนีเซียม ชั้นนี้อยู่ติดกับชั้นหินเหลวตอนกลางที่เป็นชั้นเนื้อโลก และส่วนของไซมาจะมีชั้นแนวเขตมอฮอ-รอวิชีชกั้นอยู่ เปลือกโลกชั้นไซมาเป็นพื้นมหาสมุทรและรองอยู่ใต้ชั้นไซอัลบนทวีป ได้แก่ หินบะซอลต์ 1. ลักษณะโครงสร้างของโลก 1) ครูอธิบายเกี่ยวกับชั้นเปลือกโลก ครูคลิกต่อเนื่องเพื่อแสดงชั้นไซอัล ครูคลิกต่อเนื่องเพื่อแสดงชั้นไซมา ธรณีภาคชั้นกลาง เนื้อโลก ธรณีภาคชั้นใน

16 ลักษณะโครงสร้างของโลก
อยู่ถัดจากชั้นเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร เป็นชั้นที่หินเย็นตัวแล้ว มีลักษณะเป็นหินแข็งบางส่วนอาจมีรอยแตก สันนิษฐานว่า ชั้นเนื้อโลกนี้ประกอบด้วยหินชนิดเดียวกันตลอดชั้น ชั้นเนื้อโลก เป็นโครงสร้างชั้นในสุดของเนื้อโลก หรือแกนโลก แบ่งได้เป็น 2 ชั้นย่อย ได้แก่ ชั้นแก่นโลก เปลือกโลก แก่นโลกชั้นนอก ประกอบด้วยหินหนืด เป็นหินหลอมละลาย มีความหนาประมาณ 2,200 กิโลเมตร มีอุณหภูมิสูง ประกอบด้วยแร่หลายชนิดปะปนกันและมีก๊าซกำมะถันละลายรวมอยู่ด้วย เนื้อโลก 1. ลักษณะโครงสร้างของโลก ครูคลิกเพื่อแสดงชั้นเนื้อโลก ครูคลิกเพื่อแสดงชั้นแก่นโลก ครูคลิกเพื่อแสดงชั้นแก่นโลกชั้นนอก ครูคลิกเพื่อแสดงชั้นแก่นโลกชั้นใน แก่นโลกชั้นใน เป็นของแข็ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นโลหะเหล็กและนิกเกิลที่อัดตัวแน่นภายใต้ความกดดันสูง แก่นโลกชั้นในมีลักษณะเป็นทรงกลม มีความหนาประมาณ 2,500 กิโลเมตร มีความหนาแน่นมากกว่าโครงสร้างอื่นของโลก มีแรงดึงดูดมวลวัตถุอื่น ๆ เข้าสู่ศูนย์กลางของโลกมากด้วย แก่นโลก ชั้นนอก แก่นโลก ชั้นใน

17 ลักษณะภูมิประเทศของโลก
การเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก และปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากภายนอกโลก แรงดันตัวของหินหนืดที่อยู่ในแกนกลางของโลก เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดพลังงานภายในโลก ที่ส่งผลให้เปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว ส่วนพลังงานจากแสงอาทิตย์ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพลังงานภายนอกโลกที่กระทำต่อเปลือกโลกด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกัน พลังานภายในโลกและพลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นปัจจัยเริ่มต้นที่สำคัญที่ส่งผลให้ เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง 1) ครูอธิบายเรื่อง ลักษณะภูมิประเทศของโลกและความสัมพันธ์ของลักษณะภูมิประเทศที่มีต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสภาพแวดล้อม โดยใช่ PowerPoint ฉบับนี้ 2. ลักษณะภูมิประเทศของโลก 1) ครูอธิบายปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดลักษณะภูมิประเทศของโลก 2) ครูคลิกเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะภูมิประเทศของโลกที่มีต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ลักษณะภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่มีความสัมพันธ์ ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์และสภาพแวดล้อม ดังนี้ ความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ลักษณะภูมิประเทศบางรูปแบบเป็นปัจจัยที่ส่งเสริม หรือ เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบเป็นปัจจัยส่งเสริมมนุษย์ทางด้านการเกษตร การสร้างที่อยู่อาศัย ส่วนลักษณะภูมิประเทศที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

18 ลักษณะภูมิประเทศของโลก
ความสัมพันธ์ต่อสภาพสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมในพื้นที่ของลักษณะภูมิศาสตร์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบภูเขาหรือเนินเขาในเขตร้อนและอบอุ่นมักเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ สัตว์ป่า กำเนิดของแม่น้ำ 2. ลักษณะภูมิประเทศของโลก 1) ครูอธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะภูมิประเทศของโลกที่มีต่อสภาพสิ่งแวดล้อม ครูคลิกเพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ครูคลิกเพื่อแสดงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ 2) ครูให้นักเรียนศึกษาและแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ให้วาดภาพระบายสีลักษณะภูมิประเทศ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ที่ราบ กลุ่มที่ 2 ที่ราบสูง กลุ่มที่ 3 เนินเขา กลุ่มที่ 4 ภูเขา 3) ครูให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน โดยอธิบายว่าลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวส่งผลต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมอย่างไร ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศมักจะมีความสัมพันธ์กับทิศทางลม ปริมาณฝน และอุณหภูมิ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน เช่น ภูมิประเทศแบบเทือกเขาสูงมักขวางกั้นทิศทางลมส่งผลต่อปริมาณฝนของพื้นที่หลังเทือกเขา และบริเวณ ยอดเขามีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณเชิงเขา

19 บอกโครงสร้างของโลกจากภาพที่กำหนดให้
เปลือกโลก เนื้อโลก แก่นโลกชั้นนอก แก่นโลกชั้นใน ชั้นไซอัล ชั้นไซมา 1) ครูให้นักเรียนช่วยกันบอกโครงสร้างของโลกจากภาพที่กำหนดให้ถูกต้อง ครูคลิกเพื่อเฉลยคำตอบทีละข้อ ชั้นหินสีจาง มีแร่ซิลิกาเป็นส่วนใหญ่ และมีอะลูมินาเป็นส่วนประกอบ มีเฉพาะเปลือกโลกที่เป็นทวีป ชั้นหินหนืด ประกอบด้วยซิลิกาและแมกนีเซียม อยู่ติดกับชั้นหินเหลวตอนกลางซึ่งเป็นชั้นเนื้อโลก

20 เรื่องน่ารู้ “ภูเขาไฟในอินโดนีเซีย”
ประเทศอินโดนีเซียมีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับมากที่สุดในโลก คือ มากถึง 129 ลูก แค่เกาะชวาเกาะเดียวก็มีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่มากถึง 30 ลูก เรื่องน่ารู้–ครูสามารถเล่าเรื่องเสริมความรู้ให้นักเรียนนอกเหนือจากความรู้ในห้องเรียน และบอกแหล่งความรู้เพิ่มเติม กระตุ้นความรู้นอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีการเรียนรู้ ที่กว้างขวาง ที่มา: ภูเขาไฟ

21 เรื่องน่ารู้ “พุน้ำร้อนสีเลือด”
พุน้ำร้อนร้อนสีเลือด (Chinoike Jigoku) เป็นหนึ่งในบ่อน้ำพุร้อน ชื่อดังของเมืองเบ็ปปุ ในจังหวัดโออิตะ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น สาเหตุที่น้ำพุมีสีเลือดเนื่องจากมีธาตุเหล็กอยู่เป็นปริมาณมาก จึงทำให้พุน้ำร้อนมีสีเหมือนเลือด เรื่องน่ารู้–ครูสามารถเล่าเรื่องเสริมความรู้ให้นักเรียนนอกเหนือจากความรู้ในห้องเรียน และบอกแหล่งความรู้เพิ่มเติม กระตุ้นความรู้นอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีการเรียนรู้ ที่กว้างขวาง ที่มา:

22 เรื่องน่ารู้ “ถ้ำคริสตัล”
      ถ้ำคริสตัล เป็น 1 ใน 240 ถ้ำ (ที่ถูกค้นพบ) ภายในอุทยานแห่งชาติ ซีควายา (Sequoia) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ถ้ำดังกล่าวเป็นถ้ำ "หินอ่อน" ธรรมชาติ ภายในมีอุณหภูมิคงที่ประมาณ 9 องศาเซลเซียส ซึ่งการจะ เข้าไปชมภายในถ้ำ ต้องอาศัยผู้นำทางเท่านั้น เรื่องน่ารู้–ครูสามารถเล่าเรื่องเสริมความรู้ให้นักเรียนนอกเหนือจากความรู้ในห้องเรียน และบอกแหล่งความรู้เพิ่มเติม กระตุ้นความรู้นอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีการเรียนรู้ ที่กว้างขวาง ที่มา:

23 เรื่องน่ารู้ “น้ำตกร้อน”
      น้ำตกร้อน หรือน้ำตกร้อนคลองท่อม จ.กระบี่ มีอุณหภูมิเฉลี่ย 42 องศาเซลเซียส        น้ำตกร้อนคลองท่อมเกิดจากแหล่งแร่ น้ำร้อนใต้ดินที่ซึมขึ้นมาจากผิวดินลักษณะ คล้ายพุน้ำร้อน ซึ่งบางช่วงของสายน้ำจะมี ควันลอยกรุ่น        บริเวณที่ธารน้ำร้อนไหลลดระดับลงสู่คลองท่อมจะมีลักษณะคล้ายชั้นน้ำตกเล็ก ๆ มีแอ่งน้ำอุ่นอยู่ข้างล่าง ในขณะที่ด้านบนมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ ดูคล้ายอ่างอาบน้ำหลาย ๆ แอ่งให้นักท่องเที่ยวลงไปนอนแช่น้ำแร่อุ่น ๆ ซึ่งเชื่อว่าดีต่อสุขภาพ        ปัจจุบันน้ำตกร้อนคลองท่อมเป็นแหล่งท่องเที่ยว "อันซีนไทยแลนด์" ที่มีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก เรื่องน่ารู้–ครูสามารถเล่าเรื่องเสริมความรู้ให้นักเรียนนอกเหนือจากความรู้ในห้องเรียน และบอกแหล่งความรู้เพิ่มเติม กระตุ้นความรู้นอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้นักเรียนมีการเรียนรู้ ที่กว้างขวาง ที่มา:

24 ลักษณะโครงสร้างของโลก ลักษณะภูมิประเทศของโลก
สรุป ลักษณะโครงสร้างของโลก ชั้นเปลือกโลก อยู่นอกสุดของโลก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ชั้นไซอัล เป็นชั้นผิวของโลก มีแร่ซิลิกาเป็นส่วนใหญ่ มีอะลูมินาเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ หินแกรนิตชนิดต่าง ๆ ชั้นไซมา อยู่ถัดจากชั้นไซอัลลงไป มีลักษณะเป็นชั้นหินหนืด ประกอบด้วยซิลิกาและแมกนีเซียม ได้แก่ หินบะ-ซอลต์ ชั้นเนื้อโลก อยู่ถัดจากชั้นเปลือกโลกลงไป เป็นชั้นที่หินเย็นตัวแล้ว เป็นหินแข็งบางส่วนอาจมีรอยแตก ชั้นแก่นโลก เป็นโครงสร้างชั้นในสุดของเนื้อโลก หรือ แกนโลก แบ่งได้เป็น 2 ชั้นย่อย แก่นโลกชั้นนอก ประกอบด้วยหินหนืด เป็นหินหลอมละลาย มีอุณหภูมิสูง ประกอบด้วยแร่หลายชนิดปะปนกันและมีก๊าซกำมะถันละลายรวมอยู่ด้วย แก่นโลกชั้นใน เป็นของแข็ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นโลหะเหล็กและนิกเกิลที่อัดตัวแน่นภายใต้ความกดดันสูง แก่นโลกชั้นในมีลักษณะเป็นทรงกลม มีความหนาแน่นมากกว่าโครงสร้างอื่นของโลก ลักษณะภูมิประเทศของโลก การเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศเป็นผลมาจากปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากพลังงานที่เกิดขึ้นภายในโลก เช่น แรงดันตัวของหินหนืดที่อยู่ในแกนกลางของโลก เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดพลังงานภายในโลก ที่ส่งผลให้เปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว และปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากภายนอกโลก เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพลังงานภายนอกโลกที่กระทำต่อเปลือกโลกด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ลักษณะภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่มีความสัมพันธ์ ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์และสภาพแวดล้อม ดังนี้ ความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ลักษณะภูมิประเทศบางรูปแบบเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมหรือ เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความสัมพันธ์ต่อสภาพสิ่งแวดล้อม มี 2 ลักษณะ ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ และความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ สรุป ลักษณะภูมิประเทศของโลก 1) ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–6 คน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปเรื่อง ลักษณะภูมิประเทศของโลก จากนั้นให้ส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอบทสรุปหน้าชั้นเรียน


ดาวน์โหลด ppt ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google