งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวทางการดำเนินงานให้บริการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวทางการดำเนินงานให้บริการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวทางการดำเนินงานให้บริการ
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ปี 2560

2 หัวข้อ โรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ความเป็นมาของการบริการ แนวทางการให้บริการวัคซีน การเตรียมกลุ่มเป้าหมาย การจัดเก็บดูแลรักษาวัคซีน การเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ การให้บริการ การบันทึกการให้บริการ การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีน

3 โรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ
   โรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อินฟลูเอนซ่า (Influenza virus ) เป็นเชื้อที่มีโอกาสกลายพันธุ์เป็น สายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงได้ มักมีการระบาดเป็นช่วงๆ ในหน้าฝน และหน้าหนาว การติดต่อ โรคไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ทางการหายใจ ไอ จาม อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ อาการโดยทั่วไปจะคล้ายไข้หวัดจากเชื้ออื่น ๆ ทั่วไป แต่มีโอกาสที่จะมีอาการรนุแรง มีไข้และเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่า ผู้ป่วย จะมีน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว โดยทั่วไปจะมีอาการ 2-3 วัน แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ปอดบวม และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากหาย อาจมีอาการอ่อนเพลียมึนงงไปอีกหลายสัปดาห์

4 โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจาก : Influenza virus จำแนกได้ 3 ชนิด คือ A B C
   โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจาก : Influenza virus จำแนกได้ 3 ชนิด คือ A B C Influenza virus A : ทำให้เกิดโรคได้ในคน และสัตว์ การระบาดเกิดขึ้นได้บ่อย และมักเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก Influenza virus B : ทำให้เกิดโรคในคน และเกิดการระบาดในวงจำกัด Influenza virus C ทำให้เกิดโรคได้ในคน และไม่มีการระบาด

5 Structure of the Influenza Virus

6 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Influenza Vaccine
มีมานาน ~ 50 ปีแล้ว คุณภาพดีขึ้น ( split product และ subunit vaccine ) ลดอัตราป่วย อัตราตาย เพิ่มคุณภาพชีวิต ป้องกันการผสมกลายพันธุ์ ( reassortment ) ระหว่าง เชื้อไข้หวัดใหญ่ในคนและสัตว์ปีก

7 Currently available vaccines
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อเป็น Live Attenuated Influenza vaccine (LAIV) เป็นวัคซีนเชื้อมีชีวิต แต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ไม่ก่อโรคในคน เชื้ออยู่ได้ในที่อุณหภูมิต่ำ คือโพรงจมูก แต่จะตายเมื่ออยู่ในอวัยวะส่วนอื่นที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ให้โดยการพ่นทางจมูกเพื่อเลียนแบบการติดเชื้อโดยธรรมชาติ สร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และภูมิคุ้มกันอยู่ได้นานกว่า 1 ปี ผู้ที่ได้รับวัคซีนอาจมีไวรัสแพร่ออกมาทางเดินหายใจได้

8 Currently available vaccines
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย Whole virus vaccine Split vaccine Subunit vaccine - Trivalent Inactivated Influenza vaccine (TIV) - Quadrivalent Inactivated Influenza vaccine (QIV)

9 Inactivated Influenza vaccine
Whole virus vaccine มีอาการข้างเคียงมาก ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว Split vaccine ประกอบด้วย surface antigen และ internal antigen Subunit vaccine ประกอบด้วย surface antigen

10 Inactivated Influenza vaccine
Different Generations of Vaccine

11 ผลข้างเคียงของวัคซีนเชื้อตัวตาย ข้อห้ามใช้ของวัคซีนเชื้อตัวตาย
ไข้พบน้อยมาก ( มักพบใน 6-24 ชม. หลังฉีด ) เฉพาะที่พบน้อย ( ~ 10% ) Guillian - Barre syndrome ~ 1 : 1,000,000 dose ข้อห้ามใช้ของวัคซีนเชื้อตัวตาย Severe anaphylaxis reaction to chicken or egg protein or other components

12 องค์การอนามัยโลก จะเป็นผู้พิจารณา
คาดเดา และกำหนดว่าสายพันธุ์ใดน่าจะมีการ ระบาดในปีนั้นๆ และแยกผลิตเป็น 2 สูตรเพื่อ ประเทศในซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้

13 การให้วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ strain
สายพันธุ์ขั้วโลกเหนือ :- ตุลาคม – เมษายน (ฤดูหนาว) สายพันธุ์ขั้วโลกใต้ :- เมษายน - กันยายน(ฤดูฝน) ภูมิคุ้มกันจะสูงพอป้องกันได้ 2 สัปดาห์หลังฉีด ควรได้รับวัคซีนทุกปี วัคซีนอื่นอาจให้พร้อมกันได้แต่ต้องต่างตำแหน่ง ต่าง syringe ( Red Book 2003, P 389. )

14 ความเป็นมาของการบริการ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในบุคลากรสาธารณสุข และผู้ทำหน้าที่กำจัดสัตว์ปีกเพื่อการควบคุมโรคไข้หวัดนก เพื่อลดโอกาสที่บุคคลเหล่านี้จะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก (re-assortment) ที่อาจทำให้เกิดเชื้อไข้หวัดใหญ่กลายพันธุ์ที่สามารถทำให้เกิดโรครุนแรงเหมือนเชื้อไข้หวัดนก ช่วยป้องกันโรคให้บุคลากร และป้องกันการแพร่กระจายโรคภายในสถานพยาบาลจากบุคลากรไปยังผู้ป่วยที่มารับบริการ และระหว่างบุคลากรด้วยกันอีกด้วย การให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันโรค ช่วยให้ประชาชนสร้างภูมิต้านทานต่อโรค ลดการป่วยและเสียชีวิต ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม

15 การให้วัคซีนในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง
บุคลากรที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และไข้หวัดนก ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่นๆ ในโรงพยาบาลทั้งที่ทำงานในหอผู้ป่วย และตึกผู้ป่วยนอก รวมถึงนักศึกษาฝึกงานในแต่ละวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำหน้าที่ในการสอบสวนควบคุมโรค เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทำลายซากสัตว์ปีก และสัตว์อื่นที่สงสัยติดเชื้อไข้หวัดนก เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจะได้รับการจัดสรรวัคซีนจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดส่งโดย บริษัท ซิลลิค 2 รอบ : รอบแรก เม.ย.60 รอบสอง พ.ค.60 มีปัญหาหรือต้องการวัคซีนเพิ่ม วัคซีนสำหรับบุคลากร ให้แจ้งความต้องการมาที่กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค โทรศัพท์

16 การให้วัคซีนในประชาชนกลุ่มเสี่ยง
1. กลุ่มเป้าหมายประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่ม (ปอดอุดกั้นเรื้อรัง , หอบหืด , หัวใจ , หลอดเลือดสมอง , ไตวาย , เบาหวาน , ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด) ผู้สูงอายุ > 65 ปี หญิงตั้งครรภ์ > 4 เดือน เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี 2. ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงจะได้รับการจัดสรรวัคซีนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดส่งวัคซีนองค์การเภสัชกรรมจ้างบริษัท DKSH ภายในเดือนพฤษภาคม มีปัญหาวัคซีนสำหรับบุประชาชน ให้แจ้งที่ สปสช.เขต 9

17 แนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
การเตรียมการก่อนให้วัคซีน ควรมีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการระดับอำเภอ สำรวจกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง กำหนดและจัดเตรียมสถานที่ให้บริการวัคซีน เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คลินิกโรคเรื้อรัง หรือคลินิกพิเศษ เป็นต้น ควรดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ โดยต้องมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต (Emergency Kit) ที่ครบถ้วนพร้อมใช้งาน การจัดเตรียมอุปกรณ์ วัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น ตามมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการให้บริการ ได้แก่ เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา พลาสเตอร์ กระติกสำหรับใส่วัคซีน สำลี แอลกอฮอล์ ยาแก้ปวดลดไข้ และควรจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิต (Emergency Kits) การจัดทำแผนปฏิบัติการ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ของตนเองรับทราบเรื่องการให้วัคซีน

18 การให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
การตรวจสอบ ซักประวัติ และประเมินคัดกรอง การเตรียมวัคซีน และอุปกรณ์ การฉีดวัคซีน การสังเกตอาการหลังได้รับวัคซีน บันทึกผลการให้บริการ

19 การตรวจสอบ ซักประวัติ และประเมินคัดกรอง
การตรวจสอบ ซักประวัติ และประเมินคัดกรอง การเตรียมการก่อนให้วัคซีน จัดเตรียมอุปกรณ์ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน กำหนดผังจุดบริการ ผู้ให้บริการทบทวนแนวปฏิบัติของโครงการจนเข้าใจ ตรวจสอบผู้รับบริการอยู่ในกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ซักประวัติ และตรวจคัดกรอง ผู้รับบริการว่ามีข้อห้ามการให้วัคซีนหรือไม่ ชี้แจงให้ผู้รับบริการทราบถึงความจำเป็น ประโยชน์ของการให้วัคซีนและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ และให้ผู้รับบริการพิจารณาตัดสินใจในการรับบริการ ให้ผู้รับบริการพักสังเกตอาการ 30 นาที ภายหลังฉีดวัคซีนในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ในโรงพยาบาล แจ้งสถานที่และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับกรณีเกิดอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน

20 ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน ได้แก่
- เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน - มีประวัติแพ้ไก่และไข่ไก่อย่างรุนแรง - เคยแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่รุนแรง หรือแพ้สารประกอบอื่นๆในวัคซีนอย่างรุนแรง (เช่น Neomycin, Formaldehyde(Octoxinol-9), Thimerosol , gentamycin) - กำลังมีไข้ หรือกำลังเจ็บป่วยเฉียบพลัน - เพิ่งหายจากการเจ็บป่วยเฉียบพลันมาไม่เกิน 7 วัน - เพิ่งมานอนรักษาตัวและออกจากโรงพยาบาลไปไม่เกิน 14 วัน - โรคประจำตัวเรื้อรังที่ยังมีอาการกำเริบ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หอบเหนื่อย หรือยังควบคุมอาการของโรคไม่ได้

21

22

23 การเก็บรักษาวัคซีน เก็บที่อุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส ห้ามแช่แข็ง
เก็บที่อุณหภูมิ +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส ห้ามแช่แข็ง เก็บในกล่องหรือซองสีชาป้องกันแสง วัคซีน Mutiple dose ที่เปิดใช้แล้ว ให้ใช้ภายใน 8 ชั่วโมง

24 Flu

25 เตรียมอุปกรณ์สำหรับให้บริการวัคซีน
อุปกรณ์ฉีดวัคซีน - vaccine carrier + icepack บรรจุวัคซีน - เข็มฉีดยา, ไซริงจ์ - สำลี, แอลกอฮอล์, พลาสเตอร์ - กล่องทิ้งเข็มฉีดยา อุปกรณ์กู้ชีพกรณีเกิด Anaphylaxis - Adrenaline - IV set - Normal saline หรือ Ringer’s Lactate - Ambu bag - Face mask - Endotracheal tube - Laryngoscope เอกสารสำหรับการให้บริการ แบบคัดกรองผู้รับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เอกสารแนะนำความรู้ เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับ ประชาชน

26 การดูแลรักษาวัคซีนในขณะให้บริการ
ควรให้บริการในที่ร่ม เก็บวัคซีนในกระติกหรือกล่องโฟมที่มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง +2 ถึง +8 องศาเซลเซียส วางขวดวัคซีนให้ตั้งตรง ห้ามวางขวดวัคซีนสัมผัสกับ icepack หรือน้ำแข็งโดยตรง ห้ามปักเข็มคาขวดวัคซีน ในระหว่างรอบริการ หลังเปิดใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้นานเกิน ๘ ชั่วโมง เปิดกระติกเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและปิดฝาให้สนิท

27 ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM)
การฉีดวัคซีน ทำความสะอาดผิวหนังด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ รอให้แห้ง ฉีดเข้ากล้าม บริเวณต้นแขน ต่ำจากปุ่มกระดูกประมาณ 2-3 นิ้ว โดยให้เข็มตั้งฉากกับผิวหนัง ขวดวัคซีนที่เปิดแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 8 ชั่วโมง หลังเปิดขวด ฉีดเข้าในหนัง (ID) ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (SC) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM)

28 การทิ้งเข็มวัคซีนใช้แล้ว
การเก็บขวดวัคซีนที่ใช้แล้ว ขวดวัคซีนใช้แล้ว ให้เก็บไว้ในระบบลูกโซ่ความเย็น (2-8oC) อย่างน้อย 7 วัน โดยวางตั้งตรง ไม่ปักเข็มคาไว้ ปากขวดวัคซีนไม่ชนกัน เพื่อตรวจสอบหากเกิดกรณี AEFI

29 การเฝ้าระวังอาการภายหลังได้รับวัคซีน
ให้ผู้รับบริการพักสังเกตอาการ 30 นาที ภายหลังฉีดวัคซีนในบริเวณที่จัดเตรียมไว้ในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะอาการแพ้ที่รุนแรง (Anaphylaxis) มักเกิดภายใน 30 นาที หลังฉีดวัคซีน อาการที่สังเกต ได้แก่ อาการคันที่ผิวหนัง บวมตามปาก หน้า ลำคอ หายใจลำบาก วิงเวียน ใจสั่น เป็นลม เหงื่อออก ชีพจรเบา ช็อก เป็นต้น และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์/บุคลากรพร้อมในการรักษาแก้ไขอาการได้ทันท่วงที

30 อาการไม่พึงประสงค์ของวัคซีนที่ไม่รุนแรง (ประมาณร้อยละ 1-10)
อาการไม่พึงประสงค์ของวัคซีนที่ไม่รุนแรง (ประมาณร้อยละ 1-10) อาการเฉพาะที่ เช่น ปวด บวม แดง จ้ำเลือด ส่วนอาการทั่วไป เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ไข้ต่ำ ๆ มักหายได้เองภายใน 1-3 วัน และบรรเทาอาการได้ด้วยยาแก้ปวดลดไข้ (เช่น พาราเซตามอล)

31 อาการไม่พึงประสงค์ของวัคซีนที่รุนแรง
(พบได้น้อยมาก ต่ำกว่า 1 ใน 100,000 ) ได้แก่ อาการแพ้รุนแรง ไข้สูงแล้วชัก ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง สับสน เป็นต้น

32 อาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis)
มักเกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีดวัคซีน ส่วนใหญ่มีผื่นลมพิษขึ้นตามตัว คันที่ผิวหนัง บวมตามปาก หน้า ลำคอ หายใจลำบาก ชีพจรเบา ช็อก ปวดท้อง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการสอบสวนตามแนวทางที่สำนักระบาดวิทยากำหนด รวมถึงการช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นตามสมควรและทันท่วงที

33 การเฝ้าระวังและการสอบสวน AEFI
แจ้ง SRRT ในหน่วยงานทันที เมื่อพบผู้ป่วย เข้าได้กับนิยาม AEFI SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) สอบสวนภายใน 24 ชั่วโมง รายงานภายใน 48 ชั่วโมง สอบสวนเบื้องต้นผู้ป่วย AEFI บันทึกข้อมูลในแบบ AEFI1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กรณีAEFI ร้ายแรง แจ้งทันที สอบสวนเชิงลึก (กรณีร้ายแรง) ( AEFI2 และรายงานสอบสวนโรค) : ตาย : ผู้ป่วยในสงสัยเกี่ยวข้องกับวัคซีน : ผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อน : ประชาชนเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับ วัคซีน รายงานภายใน 48 ชั่วโมง สำนักระบาดวิทยา ที่มา: สำนักระบาดวิทยา

34

35 การรายงาน AEFI มายังสำนักระบาดวิทยา
โทรศัพท์ , Fax

36 แนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
การปฏิบัติงานหลังรณรงค์ การบันทึกผลการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สถานบริการบันทึกข้อมูลมาตรฐานด้านสุขภาพ (43 แฟ้ม) โดยใช้เลขรหัสวัคซีน 815 และรหัส ICD-10-TM ให้ใช้ Z25.1 การรายงานผลการให้บริการวัคซีนในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สสจ.รวบรวมรายงานตามแบบรายงานผลการให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2560 ส่งให้สคร. ภายใน 2 สัปดาห์ ภายหลังการดำเนินงานให้วัคซีนเสร็จสิ้น

37

38

39 การฉีดวัคซีนปีละครั้ง
Thank you การฉีดวัคซีนปีละครั้ง หลังฉีด 2 สัปดาห์ ภูมิจึงขึ้นสูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อ


ดาวน์โหลด ppt แนวทางการดำเนินงานให้บริการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google