ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การสำรวจตามกลุ่มอายุ สำนักทันตสาธารสุข
2
วัตถุประสงค์ของการสำรวจสุขภาพช่องปาก
เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพรรณนาสภาวะสุขภาพช่องปาก ได้แก่อัตราความชุกของโรค ความรุนแรงของโรค แนวโน้มของโรค ความต้องการบริการทันตกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการบริการ เพื่อใช้ในการควบคุม กำกับ และประเมินผล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความสัมพันธ์ของปัญหาต่อการให้ทันตสุขศึกษา การป้องกัน และการรักษา
3
การสำรวจแบ่งตามลักษณะของการเก็บรวบรวมข้อมูล
การสำรวจเบื้องต้น เป็นวิธีการสำรวจหรือเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างที่ไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ การสำรวจนำร่อง วิธีการอาจเป็นในลักษณะการสอบถาม การสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากโดยวิธี Screening ในคนกลุ่มเล็กๆ การสำรวจเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนขั้นต้น เฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น การสำรวจระดับชาติ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นตัวแทนของประเทศ
4
ข้อกำหนดในการสำรวจสุขภาพช่องปาก
ในการสำรวจสุขภาพช่องปาก ข้อมูลที่ได้จะต้องมี Reliability and Validity สูงจึงจะถือว่าเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ Reliability หมายถึง ความคงที่และสม่ำเสมอของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ Validity หมายถึง ความเที่ยงตรงของข้อมูล โดยพิจารณาจากสิ่งที่วัดได้
5
Reliability หมายถึง ความคงที่และสม่ำเสมอของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ
การแก้ไขความแปรปรวน - ให้คำนิยามโรคและกำหนดระยะต่างๆของการดำเนินการโรค หรือสิ่งที่ต้องการวัดให้ชัดเจน - ระบุลักษณะของเครื่องมือหรือเครื่องชี้วัดที่ใช้ ซึ่งจะต้องใช้เครื่องมือชุดเดียวกัน - ทำการปรับมาตรฐานผู้สำรวจและผู้บันทึก
6
Validity หมายถึง ความเที่ยงตรงของข้อมูล โดยพิจารณาจากสิ่งที่วัดได้
- ได้จากการพิจารณาสิ่งซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน - ได้จากการพิจารณาหลักเกณฑ์ที่ใช้สำรวจ
7
การปรับมาตรฐานในผู้ตรวจคนเดียว (Intra-examiner calibration)
เมื่อการสำรวจกระทำโดยผู้ตรวจคนเดียว ความคงที่ของการตรวจสามารถตรวจสอบโดยการตรวจตัวอย่างประมาณ คน ทำซ้ำ 2 ครั้ง ตัวอย่างทั้ง คนนี้ควรคัดเลือกจากคนที่มีสภาวะในช่องปากครอบคลุมดัชนีที่เราจะใช้ในการตรวจให้มากที่สุด เมื่อตรวจครบ 2 ครั้ง แล้วจึงนำผลการตรวจมาเปรียบเทียบกัน หากผลการตรวจตรงกันต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ตรวจจะต้องศึกษาหลักเกณฑ์การวินิจฉัยใหม่และทำซ้ำจนกว่าผลการตรวจตรงกันไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยทั่วไปผลการตรวจซ้ำควรตรงกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
8
การปรับมาตรฐานในระหว่างผู้ตรวจ (Inter-examiner calibration)
ให้ผู้ตรวจทุกคนตรวจตัวอย่างชุดเดียวกันประมาณ 20 คนและเปรียบเทียบผลการตรวจหากได้ผลตรงกันไม่ถึงร้อยละ 80 จะต้องตรวจตัวอย่างเดิมเพื่ออภิปรายหาข้อสรุปกันในกลุ่มผู้ตรวจ หากมีผู้ตรวจคนใดให้ผลการตรวจแตกต่างจากกลุ่มมาก ควรให้ฝึกปฏิบัติซ้ำใหม่จนกว่าจะได้ผลตรงกันตามที่เกณฑ์กำหนด
9
อายุ 18 เดือน อายุ 3 ปี อายุ 12 ปี และอายุ ปี กลุ่มเป้าหมาย
10
ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากระเบียบวิธีตัวอย่าง Sample Error
แผนแบบการเลือกตัวอย่างไม่เหมาะสม ขนาดของตัวอย่างไม่เพียงพอ วิธีการเลือกตัวอย่างไม่ถูกต้องตามหลักของความน่าจะเป็น ใช้กรอบของการสุ่มตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์ ใช้สูตรประมาณผลที่ผิด เช่น ไม่มีการถ่วงน้ำหนัก หรือประมาณผลไม่ตรงกับแผนแบบการสุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้
11
ความคลาดเคลื่อนที่ไม่ได้เกิดจากระเบียบวิธีตัวอย่าง Non-Sample Error
การเตรียมการต่างๆไม่ดี ผู้ถูกสำรวจไม่ให้ความร่วมมือ ข้อมูลที่ได้จากงานสนามไม่ถูกต้อง ความคลาดเคลื่อนจากการประมวลผล ความคลาดเคลื่อนในการนำเสนอผล
12
การสุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่ดี ขณะเดียวกัน ต้องคำนึงถึงจำนวนตัวอย่างที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปที่จะใช้ประมาณค่าได้ถูกต้องในระดับที่น่าพอใจ เราจึงต้องคำนวณขนาดประชากรตัวอย่างควบคู่ไปกับการสุ่มตัวอย่างด้วย
13
แบบแผนการสุ่มตัวอย่าง
แบบ Non-Probability sampling แบบ Probability sampling
14
แบบ Probability sampling
การสุ่มตัวอย่างธรรมดา (Simple random sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic random sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิ (Stratification random sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) การสุ่มตัวอย่างหลายขั้น (Multi-stage sampling)
15
การสุ่มตัวอย่างธรรมดา (Simple random sampling)
วิธีจับฉลากแบบไม่เจาะจง หรือโดยการใช้ตารางเลขสุ่ม การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic random sampling) โดยการนำประชากรมาจัดเรียงเป็นแบบแผนและสุ่มตัวอย่างแรก จากนั้นนับไปว่าทุกๆ k หน่วยจะถูกเลือกเป็นตัวอย่าง โดยค่า k ได้จากจำนวนประชากรหารด้วยจำนวนตัวอย่าง
16
การสุ่มตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิ (Stratification random sampling)
ประชากรในชั้นภูมิเดียวกันมีลักษณะคล้ายกันมากที่สุด แต่จะต่างกันหากอยู่คนละชั้นภูมิ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เป็นการแบ่งประชากรเป็นกลุ่มๆก่อน แล้วจึงสุ่มเลือกบางกลุ่มมาเป็นตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างหลายขั้น (Multi-stage sampling) หลักการเดียวกับวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม แต่มีการสุ่มหลายขั้น
17
การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจสุขภาพช่องปากระดับจังหวัด
วิธี Stratified two-stage sampling คือมีการแบ่งชั้นภูมิ (Stratification) ก่อน 1 ครั้ง แยกเป็นเขตเมืองและเขตชนบท แล้วจึงสุ่มแบบระบบหมู่บ้านหรือโรงเรียนในแต่ละเขตสุ่มเลือกอีกขั้นหนึ่ง
18
อำเภอ นอกเทศบาล(เขตชนบท) เทศบาล(เขตเมือง) โรงเรียน โรงเรียน
19
การกำหนดขนาดตัวอย่าง
คำนวณโดยใช้สูตร n = Z2/2 P(1-P) /d *design effect n = ขนาดประชากรตัวอย่าง Z/2= 1.96 เมื่อ = 0.05 P = ความชุกของการเกิดโรคของจังหวัดนั้น d = ความคลาดเคลื่อนสูงสุดที่ยอมรับได้ design effect = 2
20
nf = n / 1+(n/N) nf ขนาดประชากรตัวอย่างที่จะสำรวจ n ขนาดตัวอย่างที่คิดได้ในขั้นตอนที่ 1 N จำนวนประชากรเป้าหมาย
21
คำนวณ n = Z2/2 P(1-P) /d *design effect n = ขนาดประชากรตัวอย่าง Z/2= 1.96 เมื่อ = 0.05 P = ความชุกของการเกิดโรคฟันผุ 0.94 d = ความคลาดเคลื่อนสูงสุดที่ยอมรับได้ กำหนดเป็นร้อยละ 7 ของค่า P จะได้ 0.07*0.94 design effect = 2
22
การวิเคราะห์ข้อมูล การคำนวณค่าถ่วงน้ำหนัก การคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักประมาณยอดรวมของจำนวนประชากรที่ศึกษา ต้องใช้ค่าถ่วงน้ำหนักซึ่งสามารถได้จากผลคูณของค่าต่างๆเหล่านี้ การคำนวณค่าถ่วงน้ำหนักเริ่มต้น (Base weight) คำนวณจากแผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้โดยค่าถ่วงน้ำหนักเริ่มต้นจะมีค่าเท่ากับผลคูณส่วนกลับของความน่าจะเป็นที่หน่วยตัวอย่างจะถูกเลือกมาเป็นตัวแทนในแต่ละขั้น ในการสำรวจแผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้แบบ Stratified two-stage sampling ดังนั้นความน่าจะเป็นที่หน่วยตัวอย่างในแต่ละขั้นจะถูกเลือกเป็นตัวแทนสามารถคำนวณได้ดังนี้ หน่วยตัวอย่างขั้นที่ 1 (อำเภอตัวอย่าง) ถูกเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Systematic Sampling ด้วยความน่าจะเป็น ah / Ahโดยที่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.