ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยวีรศักดิ์ พันธุเมธา ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก คาบที่ 23
2
ตัวชี้วัดชั้นปี อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของ ภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกโดยสังเขป (ส 4.2 ม. 3/1)
3
พัฒนาการของภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก พัฒนาการของทวีปแอฟริกา
พัฒนาการของทวีปยุโรป พัฒนาการของทวีปอเมริกาเหนือ พัฒนาการของทวีปอเมริกาใต้ พัฒนาการของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ โอเชียเนีย อิทธิพลของอารย-ธรรมตะวันตก
4
3. พัฒนาการของทวีปยุโรป
3. พัฒนาการของทวีปยุโรป ทวีปยุโรป ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 30 ล้านตารางกิโลเมตร และมีดินแดนทางด้านตะวันออกติดต่อเป็นผืนเดียวกับทวีปเอเชีย จึงเรียกทวีปทั้งสองรวมกันว่า ยูเรเชีย พื้นที่ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวคอเคซอยด์ มีประชากรราว 730 ล้านคน ประชากร ปัจจุบันทวีปยุโรปประกอบด้วยประเทศ รัฐ และนครอิสระกว่า 40 แห่ง ประเทศ
5
3.1 ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป
ทวีปยุโรปตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ ประกอบด้วยที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง เทือกเขา และมีคาบสมุทรจำนวนมากทางตอนใต้ ได้แก่ คาบสมุทรบอลข่าน อิตาลี และไอบีเรีย ส่วนทางตอนเหนือมีคาบสมุทรจัตแลนด์ที่แบ่งแยกทะเล เหนือจากทะเลบอลติก คาบสมุทรสแกนดิเนเวียและคาบสมุทรโคลา ดังนั้น ทวีปยุโรปจึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งคาบสมุทรของคาบสมุทร ประเทศในทวีปยุโรปส่วนใหญ่มีผืนดินติดต่อกับทะเล และมีชายฝั่ง ทะเลยาวมาก อีกทั้งบางประเทศก็ตั้งอยู่บนเกาะ จึงทำให้ทวีปยุโรปเป็นที่ตั้ง ของอุตสาหกรรมการประมงและการเดินเรือ ทวีปยุโรปถือว่าเป็นทวีปที่อุดม- สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้ทวีปยุโรป ยังมีแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่มีต้นกำเนิดในเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาพิเรนีส และ เทือกเขาคาร์เพเทียน เป็นทรัพยากรน้ำที่สำคัญทั้งด้านเกษตรกรรม การ เดินเรือขนส่งสินค้าและบรรทุกผู้โดยสาร
6
3.1 ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ ที่มีผลต่อพัฒนาการของทวีป (ต่อ)
ความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินและการมีแม่น้ำขนาดใหญ่สายต่าง ๆ เช่น แม่น้ำไทเบอร์ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำแซน แม่น้ำดานูบ รวมทั้งการมีอุณหภูมิที่ อบอุ่น เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่งในทวีป ยุโรปตั้งแต่โบราณ และร่วมกันสร้างความเจริญจนกลายเป็นอารยธรรม ตะวันตกที่มีอิทธิพลไปทั่วโลกในปัจจุบัน
7
3.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
สมัยโบราณ อารยธรรมกรีก อารยธรรมโรมัน สมัยกลาง อาณาจักรโรมันแยกเป็น 2 ส่วน เกิดระบอบฟิวดัล (Feudalism) สมัยใหม่ กำเนิดรัฐชาติ ตั้งแต่ปลายคศว.ที่ 18 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบฟิวดัล มาเป็นการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจที่กษัตริย์ เกิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย สมัยปัจจุบัน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงประเทศในยุโรปต่างบูรณะและฟื้นฟูประเทศ และพยายามกอบกู้ความเป็นชาติมหาอำนาจกลับคืนมา จึงมีการรวมกลุ่มประเทศในยุโรปขึ้นและพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน 3.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
8
3.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
3.2 ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่มีมนุษย์เข้าไปตั้งถิ่นฐานเมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นชาวยุโรปกลุ่มนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ล้าหลัง มาก หากเปรียบเทียบกับชาวอียิปต์แถบลุ่มแม่น้ำไนล์ของทวีปแอฟริกาที่ได้ สร้างพีระมิดสำหรับเก็บพระศพของกษัตริย์ และชาวบาบิโลเนียแถบลุ่มน้ำ ไทรกริส–ยูเฟรทีสของทวีปเอเชียที่ได้ตรากฎหมายของฮัมมูราบีบนแผ่นหิน ต่อมาจึงได้พัฒนาขึ้นจนกระทั่งถึงสมัยกรีกและโรมันได้สรรค์สร้างวัฒนธรรม ด้านปรัชญา วรรณกรรม ศิลปกรรม และการปกครองเป็นของตนเอง และ พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นอารยธรรมยุโรปที่มีอิทธิพลต่อโลกมากมาย
9
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ปัจจุบัน สมัยใหม่ สมัยกลาง สมัยโบราณ กรีก–โรมัน จักรวรรดิโรมันตะวันตก รัฐศักดินาต่าง ๆ รัฐชาติที่มีกษัตริย์ปกครอง รัฐชาติในปัจจุบัน จักรวรรดิโรมันตะวันออก อาณาจักรออตโตมัน
10
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของยุโรปแบ่งตามยุคสมัยประวัติศาสตร์เป็น 4 สมัย คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบัน สมัยโบราณ ยุโรปมีแหล่งอารยธรรมโลกที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ อารย-ธรรมกรีกและอารยธรรมโรมันซึ่งเป็นต้นแบบของอารยธรรมโลกตะวันตก กรีก มีรูปแบบการปกครองเป็นนครรัฐหรืออะโครโปลิส (Acropolis) เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา มาซิโดเนีย แต่ละนครรัฐมีอิสระในการปกครอง นครรัฐเอเธนส์เป็นรัฐต้นกำเนิดการปกครองแบบประชาธิปไตย นครรัฐสปาร์ตาเป็นรัฐทหารที่เข้มงวดระเบียบวินัย นครรัฐมาซิโดเนียเป็นรัฐทหารที่เชี่ยวชาญในการรบ แนวคิดปรัชญาของกรีกเน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ มีนักปรัชญาหลายคน เช่น เพลโต (Plato) โซเครตีส (Socrates) อริสโตเติล (Aristotle) กรีก มีความเจริญด้านวิชาการต่าง ๆ เช่น ดาราศาสตร์ การแพทย์ ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม
11
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
โรมัน สร้างเมืองมีป้อมปราการเพื่อป้องกันข้าศึก มีศูนย์กลางอยู่ที่ กรุงโรม มีการปกครองหลายรูปแบบ เริ่มจากระบบกษัตริย์ แล้วพัฒนาเป็น แบบสาธารณรัฐ ต่อมาขยายอาณาเขตออกไปปกครองดินแดนอื่นเรียกว่า จักรวรรดิโรมัน จัดกองทัพอย่างเป็นระบบ จึงสามารถขยายอาณาเขตไปยัง ยุโรป แอฟริกา เอเชีย อารยธรรมโรมันมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมมีการก่สอร้างสนามกีฬา โรงละครกลางแจ้ง และท่อลำเลียงน้ำ สร้างกฎหมายฉบับแรกของยุโรป เรียกว่า กฎหมายสิบสองโต๊ะ (The Code of the Twelve Tables) ซึ่งเป็นแม่บทกฎหมายของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป
12
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ต่อมาประมาณ 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้กำเนิดคริสต์ศาสนาใน ปาเลสไตน์ แต่ถูกชาวโรมันปราบปราม ต่อมาใน ค.ศ. 313 จักรพรรดิคอนส- แตนติน (Constantine) ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ชาวโรมัน และ พระองค์นับถือคริสต์ศาสนาด้วย จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติของ จักรวรรดิโรมันในเวลาต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันถูกชนเผ่า เยอรมันเข้ามารุกราน ในที่สุดชนเผ่าเยอรมันก็ยึดกรุงโรมได้เมื่อ ค.ศ จึงถือว่าสิ้นสุดยุคโบราณ
13
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
สมัยกลาง ใน ค.ศ. 360 จักรวรรดิโรมันแยกเป็น 2 จักรวรรดิ คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก ซึ่งต่อมาถูกชนเผ่าเยอรมันยึดครอง มีศูนย์กลางอยู่ที่ กรุงโรม ปกครองในระบอบฟิวดัล และจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีศูนย์กลาง อยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล เกิดอารยธรรมไบแซนไทน์ ระบอบฟิวดัล (Feudalism) หรือศักดินาสวามิภักดิ์ เป็นรูปแบบการปกครองระบอบ เศรษฐกิจและสังคมของยุโรป เป็นระบบอุปถัมภ์ระหว่างผู้มีสิทธิเป็นเจ้าของ ที่ดินหรือลอร์ด (Lord) กับผู้รับมอบให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือวัสซัล (Vassal) ระบอบฟิวดัลเกิดจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันที่จักรพรรดิไม่สามารถ ควบคุมดินแดนอันกว้างใหญ่ได้ จึงต้องแบ่งอำนาจการปกครองไปให้ขุนนาง เจ้าของที่ดิน
14
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ส่วนอารยธรรมไบแซนไทน์ เกิดขึ้นหลังจากจักวรรดิโรมันตะวันตก ล่มสลายใน ค.ศ. 476 ดินแดนจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิ ไบแซนไทน์ (Byzantine) ปกครองอย่างเป็นอิสระ ได้ขยายดินแดนไปยังทะเล เมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ สร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเหมืองหลวง ต่อมาขยายดินแดนไปถึงตอนใต้ของสเปน อิตาลี และตอนเหนือของทวีป แอฟริกา จึงเกิดการผสมวัฒนธรรมโรมันตะวันตกกับวัฒนธรรมตะวันออกเข้า ด้วยกัน จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้รวบรวมกฎหมายโรมันให้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Justinian Code) เป็นแม่บทของ ประมวลกฎหมายยุโรปในสมัยต่อมา
15
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
สมัยใหม่ ยุโรปสมัยใหม่เริ่มจากการก่อตั้งรัฐชาติที่ปกครองโดย กษัตริย์ และพัฒนาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีรัฐธรรมนูญเป็น กฎหมายสูงสุด กำเนิดรัฐชาติ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบฟิวดัลที่ขุนนางปกครองแคว้น ของตนเองในลักษณะการกระจายอำนาจมาเป็นการปกครองแบบรวมศูนย์ อำนาจที่กษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจปกครองอย่างแท้จริง รัฐชาติเป็นรัฐ ของกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมเดียวกัน มีความผูกพัน และจงรักภักดีต่อชาติและผู้นำของตน รัฐชาติมีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจ อธิปไตย และอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกัน รัฐเหล่านี้เกิดในยุโรป ตะวันตกก่อน
16
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ปัจจัยการส่งเสริมการเกิดรัฐชาติเนื่องมาจากความเสื่อมของ ระบอบฟิวดัล มีการสู้รบระหว่างขุนนางเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ประกอบ กับเกิดสงครามครูเสดทำให้อำนาจและบทบาทของทหารลดลง กองทัพของ กษัตริย์เข้มแข็งขึ้น ประชาชนมีความรู้สึกผูกพันในกลุ่มคนเชื้อชาติ ภาษา และศาสนาเดียวกันมากขึ้น ครั้นเมื่อเกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เกิดเรียนรู้ ความเป็นมาของสังคมตนที่มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน ส่งเสริมให้เกิด สำนึกของความเป็นชาติ จึงเกิดความต้องการมีรัฐชาติของตนเอง
17
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
การเติบโตของเมืองและการค้าตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เมือง การค้าต่าง ๆ เจริญขึ้น จึงต้องการให้กษัตริย์มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดเพื่อ เอื้อประโยชน์ต่อการค้าของตน แม้จะต้องเสียภาษีให้กษัตริย์นำไปจัดตั้ง กองทัพก็ตาม กษัตริย์ทรงปกครองรัฐชาติในรูปแบบการรวมอำนาจ มีการจัดระบบ การเงินการคลัง การเก็บภาษี และการส่งเสริมการค้า เช่น การสร้างเส้นทาง คมนาคม และการสำรวจทางทะเลเพื่อค้นหาดินแดนใหม่ รัฐชาติในยุโรปเริ่มก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ได้แก่ สเปน โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส รัฐชาติทั้ง 4 รัฐล้วนปกครองระบอบ ราชาธิปไตย คือ มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เนื่องจากสเปน โปรตุเกส และฝรั่งเศส นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติ จึงได้รับการสนับสนุนจากสันตะปาปาที่กรุงโรม
18
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ส่วนอังกฤษนับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ ใน ค.ศ พระเจ้าจอห์น (John) กษัตริย์อังกฤษทรงประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แมกนาคาร์ตา (Magna Carta) ที่กำหนดให้กษัตริย์อังกฤษทรงปกครอง ร่วมกับรัฐสภา เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
19
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
การปกครองระบอบประชาธิปไตย ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษ ที่ 18 เป็นยุคประเทืองปัญญา (Enlightenment) ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพและคุณค่าของปัจเจกชน นักปรัชญาที่สำคัญของสมัยนั้น ได้แก่ จอห์น ล็อก (John Locke) มองเตสกิเออ (Montesquieu) วอลแตร์ (Voltaire) และชอง ชาก รูโซ (Jean Jacque Rousseau) ต่างแสดงความคิดเห็นว่าการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยเหมาะสมกว่าการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยใน อังกฤษ การปฏิวัติในอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศส จึงเป็นแรงจูงใจให้ ประเทศต่าง ๆ เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
20
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ต่อมามีการสร้างความรู้สึกเรื่องลัทธิชาตินิยมและเชื้อชาตินิยม ดินแดนที่เคยแยกกันปกครอง เช่น เยอรมนี แบ่งการปกครองออกเป็นหลาย แคว้น และอิตาลีแบ่งเป็นหลายแคว้นเช่นกัน และต่างพยายามที่จะรวมชาติ เป็นประเทศเดียวกัน ในที่สุดอิตาลีรวมเป็นประเทศได้สำเร็จเป็นชาติแรก ใน ค.ศ และเยอรมนีรวมประเทศได้สำเร็จ ค.ศ ความรู้สึกชาตินิยม ทำให้มีการสั่งสมกำลังทหารและแข่งขันอำนาจกันมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ใน เวลาต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2
21
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
สมัยปัจจุบัน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงใน ค.ศ ประเทศในยุโรปต่างบูรณะและฟื้นฟูประเทศ และพยายามกอบกู้ความเป็น ชาติมหาอำนาจกลับคืนมา จึงมีการรวมกลุ่มประเทศแบ่งเป็นกลุ่มประเทศ ยุโรปตะวันตก และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก มี 17 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (เยอรมนีตะวันตก) ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ สเปน โปรตุเกส กรีซ และตุรกี กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกมี ศรัทธาและยึดมั่นต่อการปกครองระบอบเสรีประชาธิปไตย ดำเนินนโยบาย ผูกมิตรและรับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา
22
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ส่วนประเทศสแกนดิเนเวีย ได้แก่ นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และ เดนมาร์ก ต่างพัฒนาประเทศของตนและปกครองในระบอบสังคมนิยม ประชาธิปไตย กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก มี 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยเยอรมัน (เยอรมนีตะวันออก) โปแลนด์ ฮังการี เชโกสโลวะเกีย โรมาเนีย บัลแกเรีย แอลเบเนีย และยูโกสลาเวีย สหภาพโซเวียต ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตส่งทหารเข้าไปในประเทศยุโรปตะวันออก แต่เมื่อสงครามยุติลงสหภาพโซเวียตก็ยังคงกองทัพของตนไว้และสนับสนุนให้ พรรคคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจการปกครอง กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกจึง เปลี่ยนเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ภายใต้อิทธิพลของ สหภาพโซเวียต แต่สหภาพโซเวียตก็ไม่พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้าน ต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ในที่สุดกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกต่างพยายามปลีกตัว จากอำนาจของสหภาพโซเวียต
23
3.3 พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
เมื่อนายมีฮาฮิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียตได้ ปฏิรูประบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ประชาชน สามารถมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็นมากขึ้น นำไปสู่ การเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชของสาธารณรัฐต่าง ๆ ในที่สุดก็นำไปสู่การ ล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและการล่มสลายของ สหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 รัฐต่าง ๆ ของสหภาพโซเวียตทั้ง 15 รัฐ ได้แก่ สหพันธรัฐรัสเซีย ยูเครน เบลารุส เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน มอลโดวา อาร์เมเนีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ต่างแยกเป็นประเทศเอกราช ส่วนกลุ่มประเทศในยุโรป ตะวันออกอีก 7 ประเทศ ยกเว้นแอลเบเนียได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมา เป็นระบอบประชาธิปไตยและปรับระบบเศรษฐกิจมาเป็นระบบเสรีนิยมใน เวลาต่อมา
24
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม สังคมสมัยโบราณ กรีกและโรมันเป็นสังคมชนชั้น โดยแบ่ง พลเมืองเป็นชนชั้นปกครอง ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง เช่น กษัตริย์ กงสุล จักรพรรดิ รวมถึงทหาร และขุนนาง และชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ เสรีชนที่ ประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น พ่อค้า เกษตรกร ช่างฝีมือ รวมถึงทาส สังคมกรีกมีความเจริญในด้านปรัชญาและเห็นคุณค่าของความเป็น มนุษย์ จึงเป็นบ่อเกิดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ส่วนสังคมโรมัน มีวิถีการดำรงชีวิตที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความบันเทิง เช่น มี โรงละครกลางแจ้ง สนามกีฬา สนามแข่งรถ
25
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม สมัยกลาง เป็นสังคมแมนเนอร์ที่มีปราสาทของขุนนางเป็น ศูนย์กลางของชุมชน สังคมแมนเนอร์แบ่งออกเป็น 2 ชนชั้น คือ ชนชั้น ปกครองประกอบด้วยกษัตริย์ ซึ่งมีฐานะสูงสุดในสังคม ขุนนางมีหน้าที่ ปกครองและคุ้มครองที่ดินของตน และบาทหลวง มีหน้าที่อบรมสั่งสอนและ ประกอบพิธีกรรม ชนชั้นสามัญชน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สามัญชนที่ถือ ครองที่ดินของขุนนาง เป็นแรงงานให้กับขุนนาง ต่อมาประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 11 การค้าของยุโรปฟื้นตัวขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจำนวน ประชากร การคิดค้นเทคโนโลยี และเครื่องทุ่นแรงในการเกษตร ทำให้ผลผลิต การเกษตรมีมากขึ้น จึงมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน เกิดเมือง ต่าง ๆ ขึ้นมากมาย เมื่อเมืองเหล่านี้มีความเจริญขึ้นก็พยายามที่จะมีอำนาจ อธิปไตยในการปกครองตนเอง เมื่อเมืองมีมากขึ้น ชาวเมืองก็มากขึ้นตามไป ด้วย จึงเกิดชนชั้นใหม่ คือ ชนชั้นกลางที่ประกอบอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า ช่างฝีมือ แพทย์ เจ้าของกิจการ นายธนาคาร ทนายความ
26
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม คริสต์ศาสนาเริ่มแพร่หลายในยุโรปมากขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 3 และได้รับการประกาศเป็นศาสนาอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิโรมันในรัชสมัยจักรพรรดิ คอนสแตนติน ใน ค.ศ. 313 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย ชนเผ่าเยอรมันได้ยอมรับนับถือคริสต์-ศาสนาของชาวโรมัน อารยธรรมของโรมันจึงสืบทอดต่อมาโดยนักบวชของคริสต์-ศาสนา คริสต์ศาสนามีอิทธิพลต่อคนในสมัยกลางทั้งด้านการดำเนินชีวิต ความเชื่อ ความศรัทธา คนสมัยกลางมีศรัทธาในศาสนาอย่างมาก จึงเรียกว่า ยุคแห่งศรัทธา (Age of Faith) ซึ่งสร้างความเจริญแก่การศึกษาอย่างมาก มีการสร้างวัดของคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นแหล่งสะสมความรู้ และสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ เรียกว่า โรงเรียนวัด (Monastery school) ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 11 มีการตั้งโรงเรียนในราชสำนักเพื่อฝึกหัดคนเป็นข้าราชการ ในคริสต์ศตวรรษที่ 12–13 โรงเรียนวัดได้พัฒนาเป็นวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยปารีส โบโลญา ปาดัว อ๊อกซ์ฟอร์ด
27
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม ในด้านสถาปัตยกรรม ยุคช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5–10 เป็นแบบ โรมาเนสค์ (Romanesque) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสิ่งก่อสร้างของโรมันคล้าย ป้อมทหาร ให้ความรู้สึกแข็งแกร่งและมั่นคง ต่อมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 สถาปัตยกรรมของยุคกลางเป็น ศิลปะแบบกอทิก (Gothic) ซึ่งมีลักษณะโปร่งบาง อ่อนช้อย ประตู หน้าต่าง เปลี่ยนเป็นทรงโค้งแหลม นำกระจกสีต่าง ๆ มาประดับ ตามเมืองขนาดใหญ่ นิยมสร้างโบสถ์ขนาดใหญ่หรือมหาวิหารด้วยศิลปะแบบกอทิกที่สวยงาม เช่น มหาวิหารโนเตรอดาม (Notre-Dame) มหาวิหารแซงต์อาเมียง (Saint Amiens) ในสเปน มหาวิหารแห่งโคโลญ (Cathedral of Cologne) ใน เยอรมนี
28
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม ในสมัยใหม่ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของยุโรปสมัยใหม่มี ความเจริญก้าวหน้าไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญก้าวหน้าทางด้าน ความรู้ด้านต่าง ๆ สมัยนี้มีการรื้อฟื้นวิทยาการสาขาต่าง ๆ ของกรีกและโรมัน ทำให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ขึ้นใช้อย่างได้ผล เป็นครั้งแรกในยุโรป เมื่อ ค.ศ ทำให้มีการอ่านหนังสือกันกว้างขวางขึ้น ยุโรปในสมัยใหม่มีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์มาก แยก วิทยาศาสตร์ออกเป็นสาขาเคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ มีความเจริญก้าวหน้า ด้านการแพทย์ สาธารณสุข และการป้องกันรักษาโรคต่าง ๆ มีการประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องทุ่นแรงทำให้สังคมยุโรปเจริญก้าวหน้ากว่า ดินแดนอื่น ๆ ในโลก
29
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
3.4 พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม ประชากรในยุโรปเพิ่มขึ้นมาก มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบท เป็นสังคมเมืองเพิ่มขึ้น เกิดเมืองเล็กเมืองใหญ่ทั่วไปในยุโรป แต่ใน ขณะเดียวกันก็เกิดสภาพความแออัดของเมือง ขาดแคลนที่อยู่อาศัย อาหาร น้ำประปา เชื้อเพลิง โรงเรียนไม่เพียงพอ และก่อให้เกิดแหล่งเสื่อมโทรม ยุโรปสมัยใหม่มีความมั่นคงทางการเมือง มีสภาพเศรษฐกิจที่มั่นคง และมีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ และประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ทำให้ชาติยุโรปสร้างสรรค์งานศิลปกรรมด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งด้าน วรรณกรรม ดนตรี จิตรกรรม และสถาปัตยกรรม
30
3.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
3.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของยุโรปสมัยโบราณขึ้นอยู่กับการเกษตรตามบริเวณลุ่มแม่น้ำ และการค้าตามเมืองท่า สมัยโบราณ สมัยกลาง เศรษฐกิจในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5–11 เป็นระบบเศรษฐกิจแบบ แมนเนอร์ (Manorial System) ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเกษตรกรรมแบบพึ่งตัวเอง แมนเนอร์เป็นระบบที่มีที่ดินบริเวณกว้างใหญ่รอบ ๆ คฤหาสน์ของขุนนาง มีหมู่บ้านของเกษตรกร เสรีชน และทาสติดที่ดิน จนกระทั่งหลังสงครามครูเสดในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12–13 จึงเกิดเมืองการค้าขึ้นในอิตาลี แถบทะเลบอลติก เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม สมัยกลาง ในช่วงนี้ระบบเศรษฐกิจของยุโรปเป็นแบบทุนนิยม ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยการผลิต คือ ทุน ที่ดิน แรงงาน และผู้ประกอบการ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมาเมื่อมีการสำรวจทะเล การค้นพบเส้นทางเดินเรือ และการตั้งเป็นอาณานิคม ทำให้กิจการค้าในยุโรปขยายมากขึ้น ผู้มีบทบาทางธุรกิจเป็นชนชั้นกลาง ได้แก่ บรรดาพ่อค้า นักธุรกิจและนายธนาคาร เริ่มมีการออกล่าอาณานิคม สมัยใหม่
31
3.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
3.5 พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ในช่วง ค.ศ. 1760–1830 ได้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (The Industrial Revolution) ในประเทศอังกฤษ ซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตสินค้าจากการใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ และพลังงานธรรมชาติ มาเป็นการผลิตโดยเครื่องจักร ทำให้ผลิตสินค้าได้ในปริมาณมากขึ้น ยุโรปกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก มีการล่าอาณานิคม ปฏิวัติอุตสาหกรรม ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของทวีปยุโรปทำให้ประเทศในทวีปยุโรป มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนในภูมิภาคอื่นมีมูลค่ามากทุกปี ปัจจุบันประเทศในทวีปยุโรปมีการรวมกลุ่มและจัดตั้งเป็นองค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้นมาหลายองค์การที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป (European Union–EU) สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association–EFTA) การรวมกลุ่มทางการค้านี้ก็เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การเงิน ความมั่นคง และการต่างประเทศ ปัจจุบัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.