งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 2 หลักทั่วไปของกฎหมายประกันภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 2 หลักทั่วไปของกฎหมายประกันภัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 2 หลักทั่วไปของกฎหมายประกันภัย

2 สัญญาประกันภัย ม.861 * ลักษณะของสัญญาประกันภัย ทำได้โดยวาจาและลายลักษณ์อักษร มีลักษณะเฉพาะตัวของคู่สัญญา

3 สาระสำคัญ ของสัญญาประกันภัย

4 1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน ม
1.เป็นสัญญาต่างตอบแทน ม.369 ไม่เหมือนสัญญาต่างตอบแทนอื่น คือ ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ตอบแทนซึ่งกันและกันทันที (หนี้ที่มีเงื่อนไข)

5 ผู้รับประกันและผู้เอาประกันต่างเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
ฎ .1114/ หากผู้เอาประกันไม่ชำระเบี้ยประกันภัย ผู้รับประกันบอกเลิกสัญญาได้ หรือแม้ผู้รับประกันจะชำระค่าสินไหมทดแทนไปแล้วผู้รับประกันมีสิทธิเรียกให้ผู้เอาประกันภัยชำระคืนได้

6 2. เป็นสัญญาที่ไม่มีผลบังคับแน่นอน หรือสัญญาเสี่ยงโชคหรือเสี่ยงภัย 3
2. เป็นสัญญาที่ไม่มีผลบังคับแน่นอน หรือสัญญาเสี่ยงโชคหรือเสี่ยงภัย 3. เป็นสัญญาที่ต้องการความซื่อสัตย์อย่างยิ่ง - การใช้สิทธิ ม.5 - นิติกรรมสัญญาไม่ไขข้อความจริงหรือคุณสมบัติอันใดอันหนึ่ง *กลฉ้อฉล ม.162 * - สัญญาประกันภัย ม.865

7 4. เป็นสัญญาที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือ ม
4. เป็นสัญญาที่ต้องการหลักฐานเป็นหนังสือ ม.867 ไม่มีแบบ กฎหมายบังคับให้มีหลักฐานลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด - เฉพาะกรณีการเรียกร้องระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น - กรมธรรม์ ม.867 วรรค 3 เป็นเอกสารของฝ่ายผู้รับประกัน ทำขึ้นภายหลังมีสัญญาประกันภัย

8

9

10

11 ใบเสร็จรับเงินชั่วคราวเป็นหลักฐานฟ้องร้องกันได้
ฎ.2661/2532 ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันมีลายมือชื่อผู้จัดการของจำเลยและมีรายละเอียดต่างๆ คือเลขทะเบียนรถยนต์และรายละเอียดอื่นๆ ทุนประกัน ระยะเวลาประกัน และหมายเลขของกรมธรรม์ ใบเสร็จรับเงินดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีได้

12 5. เป็นสัญญาซึ่งทางราชการควบคุม
1. การประกอบธุรกิจประกันภัยต้องจัดตั้งในรูปบริษัท จำกัด และได้รับอนุญาต จากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี 2. กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและ ข้อความที่นายทะเบียน (ค.ป.ภ.) เห็นชอบแล้ว 3. เบี้ยประกันภัยต้องขอความเห็นชอบจากนายทะเบียนด้วย 6. เป็นคดีผู้บริโภค คดีแพ่งที่พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการใช้สินค้าและบริการ เช่นบริษัทประกันภัยไม่จ่ายเงินตามสัญญา โฆษณาขายประกันภัยไม่ตกกับความจริง

13 สัญญาประกันภัยมีสาระสำคัญดังนี้ (1) สัญญาประกันภัยเป็นสัญญา 2 ฝ่าย สัญญา คือ ข้อตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งทำ “คำเสนอ” และ อีกฝ่ายหนึ่งทำ “คำสนอง” เมื่อคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกันก่อให้เป็นสัญญาขึ้นมาทันที

14 หลักนิติกรรมสัญญา. ม. 356 เฉพาะหน้า. ม. 361. ห่างโดยระยะทาง. ม. 359
หลักนิติกรรมสัญญา ม.356 เฉพาะหน้า ม.361 ห่างโดยระยะทาง ม.359 คำเสนอใหม่

15 สัญญาเกิดขึ้นเมื่อไร
ตัวแทนบริษัทเสนอให้ทำประกันพร้อมกรอกแบบฟอร์มของบริษัท เรากรอกเสร็จ สัญญาเกิดขึ้นหรือยัง? เรากรอกแบบฟอร์มเสนอบริษัทประกัน บริษัทแก้ไขแบบฟอร์มแล้วส่งให้เรา เราตกลงตามที่ผู้รับประกันเสนอ สัญญาเกิดขึ้นหรือยัง ?

16 ตัวอย่าง ก. ต้องการทำประกันภัยรถยนต์ จึงติดต่อขอทำประกันภัยกับบริษัท ข. กรอกรายละเอียดในคำขอเอาประกัน ระหว่างทาง ก. ถูกรถอีกคันชน รถยนต์ของตนเสียหาย เช่นนี้สัญญายังไม่เกิดขึ้น เพราะอยู่ระหว่างทำคำเสนอ ยังไม่มีคำสนองจากบริษัท ข. ดังนั้น บริษัท ข. จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำสนองจะมีผลต่อเมื่อทำโดยตัวแทนผู้มีอำนาจทำสัญญาประกันภัย ดู ฎ 5133/2542

17 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2542
สัญญาประกันภัยกฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้ เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญมิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้ ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน

18 ส.ผู้จัดการจำเลย สาขาขอนแก่น มิได้เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจทำสัญญาประกันภัยแทนจำเลย ส. จึงไม่มีอำนาจรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทไว้จากโจทก์ แต่การที่ ส. รับคำขอเอาประกันภัยไว้จากโจทก์ก็เพียงเพื่อส่งคำเสนอของโจทก์ให้แก่บริษัทจำเลยสำนักงานใหญ่พิจารณาว่าจะรับประกันภัยได้หรือไม่เท่านั้น มิใช่เป็นคำสนองรับประกันภัย เมื่อบริษัทจำเลย สำนักงานใหญ่ เพิ่งได้รับคำเสนอของโจทก์ เมื่อเวลา นาฬิกา อันเป็นเวลาหลังจากที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทได้เกิดเหตุไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีคำสนองตอบรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทเมื่อใด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

19 ตัวอย่าง ก. ติดต่อขอทำสัญญาประกันภัยสินค้ากับบริษัท ข. บริษัท ข. ตกลงรับประกันภัยและได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ ก. เมื่อวันที่ 7 มี.ค. กรมธรรม์ประกันภัยได้รับเมื่อวันที่ 15 มี.ค. ต่อมาผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายเพราะไฟไหม้ เมื่อวันที่ 10 มี.ค ดังนี้สัญญาสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆะ เพราะทำด้วยความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม (ฎ 3844/2528)

20 กรณีศึกษา กิ๊ฟซ่าทำใบเสนอขอเอาประกันภัยรถยนต์กับบริษัทมงคลประกันภัย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน บริษัทตอบรับทำสัญญาวันที่ 10 มิถุนายน ต่อมาวันที่ 25 มิถุนายน บริษัทส่งกรมธรรม์ประกันภัยถึงกิ๊ฟซ่า ในกรมธรรม์ระบุว่า “ยังไม่มีการรับผิดใดๆจนกว่าบริษัทจะได้รับเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวน” กิ๊ฟซ่ายังไม่ได้ส่งเบี้ยประกัน เพราะนายหน้าประกันบอกว่าส่งภายในสิ้นเดือนมิถุนายนก็ได้ ดังนี้ ถ้ารถถูกชน วันที่ 15 มิถุนายน บริษัทมงคลประกันภัยต้องรับผิดชอบหรือไม่

21 ฎ 1306/2514 สัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันบริษัทจำเลยแล้ว ถึงแม้ในใบเสนอคำขอเอาประกันภัยจะมีข้อความว่า “ยังไม่มีความรับผิดใดๆ จนกว่าบริษัทจะยอมรับคำขอเอาประกันภัยนี้และได้ชำระเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวนแล้ว” ก็ไม่พอฟังเป็นเงื่อนไขว่าสัญญาจะมีผลใช้บังคับต่อเมื่อโจทก์ส่งเบี้ยประกันภัยถูกต้องตามกำหนด

22 จากคดีดังกล่าวมีช่องว่างทางกฎหมาย ใครตอบได้บ้าง

23 หลักการ Cash before Cover “จ่ายปุ๊บ คุ้มครองปั๊บ”

24 การขายประกันทางโทรศัพท์
Case Study#1 การขายประกันทางโทรศัพท์

25 เราได้รับโทรศัพท์จาก บ
เราได้รับโทรศัพท์จาก บ.ประกันภัยXXXประกันชีวิต แนะนำให้ทำประกันอุบัติเหตุชดเชยรายได้ จ่ายเบี้ยประกันวันละ 17 บาท (ประกันความเสี่ยงไม่มีเงินออม) เขาก็พูดรายละเอียดที่เราจะได้รับให้ฟังจำได้บ้างไม่ได้บ้าง เขาถามว่าเราสนใจไหม ถ้าสนใจตกลงทำให้พูดคำว่า "ตกลง" เขาบันทึกเสียงเราไว้ด้วย เราเข้าใจว่าตกลงในที่นี่คือตกลงทำแต่ยังไม่มีผลอะไร ต้องดูรายละเอียดให้แน่ใจตอนเขาส่งเอกสารให้เราอ่านแล้วให้เราเซ็นรับรองอีกทีจึงจะมีผล

26 พอไปปรึกษาเพื่อนบ้านเค้าบอกว่าเค้าบอกว่าก็เคยโดนแบบนี้จาก บริษัท XXXเหมือนกัน ตอนแรกเค้าเฉยๆ มีเอกสารส่งมาที่บ้านเค้าก็ไม่ไปจ่าย เอกสารก็ส่งมาเรื่อยๆ ว่าเค้าเป็นหนี้เบี้ยประกันทบไปหลายเดือน จนกลายเป็นจดหมายทวงหนี้ เค้าเลยไปยกเลิกแต่ไม่ได้ยกเลิกเปล่าๆ ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันที่ค้าง 2 เดือนแรกที่ตกลงกันไว้ ไม่งั้นยกเลิกไม่ได้ อีกอย่างที่เราตกลงง่ายเพราะคิดว่าถ้าเรายังไม่ได้จ่ายเงิน ก็คงยังไม่มีผลอะไร คือเค้าบอกว่าจะหักเงินผ่านทางธนาคาร กสิกรไทย ซึ่งเป็นบัญชีเงินเดือน

27 ถามว่าเราจะกลายเป็นลูกหนี้บริษัทประกันแล้วเขาก็จะฟ้องเราได้ไหมคะหากไม่จ่ายเบี้ยประกัน
ถามว่าจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ อย่างไร

28 สำนักงานคณะกรรม​การกำกับ​และส่ง​เสริม​การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ
สำนักงานคณะกรรม​การกำกับ​และส่ง​เสริม​การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)ได้ออกกำหนดวิธี​การขั้นตอน​การ​เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทาง​โทรศัพท์ มีผลใช้บังคับ 18 พ.ค ดังนี้

29 1. หลักเกณฑ์การขายประกันภัย

30 - รวมถึงแบบประกันที่จะเสนอขายต้องได้รับอนุมัติจาก คปภ.ก่อนเช่นกัน
- ตัวแทนหรือนายหน้าที่จะโทรศัพท์ไปเสนอขายแบบประกันนั้นจะต้องสอบใบอนุญาตการเป็นตัวแทน - ต้องขึ้นทะเบียนการเป็นผู้เสนอขายแบบประกันผ่าน ทางโทรศัพท์กับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ด้วย - รวมถึงแบบประกันที่จะเสนอขายต้องได้รับอนุมัติจาก คปภ.ก่อนเช่นกัน

31 2.การเสนอขาย

32 ในการโทรศัพท์ไปเสนอขายแบบประกันจะต้องอยู่ในช่วงวันจันทร์-เสาร์ ระหว่างเวลา 08.30-19.00 น.
โดยขั้นตอนการเสนอขายตัวแทนต้องแจ้งชื่อ-สกุล เลขที่ใบอนุญาต และชื่อบริษัทประกัน ซึ่งต้องชี้แจงว่าจะเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย หากประชาชน​ไม่ประสงค์จะรับฟัง​การ​เสนอขายต้องหยุด​การ​เสนอขายทันทีรวม​ทั้งจะต้อง​ไม่​โทรกลับ​ไป​เสนอขายอีก​เป็น​เวลา​ไม่น้อยกว่า 6 ​เดือนนับ​แต่วันที่ปฏิ​เสธ ​

33 ในกรณีที่ลูกค้าสนใจและอนุญาตให้เสนอขายกรมธรรม์ได้ตัวแทนต้องขออนุญาตบันทึกเสียงการสนทนาก่อนจะเสนอขาย
และอธิบายรายละเอียดของแบบประกันทั้งความคุ้มครอง, ผลประโยชน์, ข้อยกเว้น, เบี้ยประกัน, ระยะเวลาเอาประกัน ไปจนถึงช่องทางการชำระเบี้ย

34 หากมี​การตกลง​ทำประกันภัย​แล้ว ภาย​ใน 7 วันนับ​แต่วันที่บริษัทส่งกรมธรรม์ประกันภัยมา​ให้บริษัทจะต้อง​โทรมาขอคำยืนยันจาก​ผู้​เอาประกันภัยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง​ผู้​เอาประกันภัยสามารถ​ใช้สิทธิ​แจ้งขอยก​เลิกกรมธรรม์ประกันภัย​ได้(free look period)ภาย​ใน 30 วันนับ​แต่วันที่​ผู้​เอาประกันภัย​ได้รับกรมธรรม์ประกันภัย ​การยกเลิกต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น จะแจ้งการยกเลิกทางวาจาไม่ได้ โดยจะ​ได้รับ​เบี้ยประกันภัยคืน​เต็มจำนวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

35 ใน​การ​เสนอขายนี้หากตัว​แทน​หรือนายหน้าประกันภัย​ให้ข้อ​ความที่​เป็น​เท็จอันก่อ​ให้​เกิด​ความ​เข้า​ใจผิด​แก่ประชาชนนายทะ​เบียนสามารถ​เพิกถอน​ใบอนุญาต​ได้​

36 เวทีระดมความเห็นการเสนอขายประกันภัยทางโทรศัพท์ในประเทศไทยควรมีการควบคุมมากกว่าเดิมหรือควรยกเลิก
สมาคมประกันวินาศภัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คภป)

37 2) คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน (ม
2) คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน (ม.877) ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในเหตุอย่างอื่นในอนาคตที่ระบุตามสัญญา (ประกันชีวิต)

38 (3) คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกัน. - เบี้ยประกัน
(3) คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกัน - เบี้ยประกัน - หากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันตามสัญญาผลจะเป็นอย่างไร? 1.กรณีประกันวินาศภัย ม.882 วรรค2 2.กรณีประกันชีวิต ม.894 (4) ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกัน

39 บุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย ม. 862 1
บุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย ม ผู้รับประกัน insurer ในรูปบริษัทที่จดทะเบียนและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนี้เท่านั้น 2. ผู้เอาประกัน insuree >>> คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ผู้เอาประกันไม่จำต้องชำระเบี้ยประกันด้วยตนเอง บุคคลอื่นชำระแทนได้

40 ตัวอย่างเช่น พัชราภาเช่าซื้อรถBMW จากบริษัท ส. และ บริษัท ส. ได้ทำประกันภัยกับบริษัท จ. ในสัญญาระบุ บริษัท ส.เป็นผู้เอาประกันภัยโดยพัชราภาเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันในนามบริษัท ส. ต่อมารถดังกล่าวถูกขโมย พัชราภาจึงเรียกให้บริษัท จ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนี้คู่สัญญาผู้เอาประกันภัยคือ บริษัท ส. แม้มีชื่อพัชราภาในวงเล็บต่อท้ายก็ตาม ก็เป็นเพียงผู้จ่ายเบี้ยประกันแทนเท่านั้น ดังนั้นพัชราภาจึงไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยที่จะมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ฎ 2664/2517)

41 แต่หากพฤติการณ์ฟังได้ว่าเป็นตัวการตัวแทนกัน ผู้ชำระเบี้ยประกันภัยถือว่าเป็นผู้เอาประกันได้
เช่น ผู้ขายรถทำสัญญาประกันภัยในนามตนเอง (ตัวแทนเชิด)โดยผู้ซื้อรถออกเบี้ยประกัน (ตัวการ) ตัวแทนเชิด ม.821 วางหลักไว้ว่า “บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี หรือ รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี บุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคล ภายนอกผู้สุจริต เสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน”

42 ฎ 656/2521 แม้สัญญาระบุชื่อผู้เอาประกันภัยว่าห้าง ส
ฎ 656/2521 แม้สัญญาระบุชื่อผู้เอาประกันภัยว่าห้าง ส. แต่วงเล็บชื่อโจทก์ต่อท้ายและระบุที่อยู่ของโจทก์เป็นที่อยู่ของผู้เอาประกันภัย บริษัทประกันภัยทราบดีว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกัน เพราะหลังชำระค่าเช่าซื้อครบแล้ว ห้าง ส. ก็มิได้มีส่วนได้เสียอีกต่อไป เมื่อรถชนระหว่างอายุสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

43 3. ผู้รับประโยชน์ beneficiary

44 บุคคลภายนอกต้องแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากผู้รับประกันภัยเสียก่อน ม
บุคคลภายนอกต้องแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากผู้รับประกันภัยเสียก่อน ม.374 วรรค 2 - เมื่อสิทธิบุคคลภายนอกเกิดขึ้นแล้ว คู่สัญญาไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลัง ม ถ้าผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลภายนอกไม่แสดงเจตนาเข้าถือประโยชน์ระหว่างมีเหตุเกิดขึ้นตามเงื่อนไขในสัญญาต่อมาผู้เอาประกันเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์เป็นคนใหม่ ภายหลังผู้รับประโยชน์คนเดิมจะแสดงเจตนาเพื่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ ม.375

45 ตัวอย่าง ศรีสยามเป็นลูกหนี้เงินกู้ธนาคารกรุงเก่า 1 ล้านบาท ศรีสยามทำสัญญาประกันอัคคีภัย ระบุให้ธนาคารกรุงเก่าเจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์ ดังนี้สัญญาประกันอัคคีภัยเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก หากธนาคารยังไม่แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ต่อผู้รับประกันภัย ธนาคารจะไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ศรีสยามสามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้รับประโยชน์ หรือ ให้คุณชายเป็นผู้รับประโยชน์ได้ ตามมาตรา 374 วรรคสอง แต่หากธนาคารแจ้งเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ ศรีสยามก็ไม่มีสิทธิเปลี่ยนตัวผู้รับประโยชน์ ตามม. 375

46 นายสมบัติเอาประกันชีวิตตนเองไว้ โดยให้นายสุขใจและนายเสมอ เป็นผู้รับประโยชน์คนละครึ่ง ต่อมาปรากฏว่านายสุขใจ ถึงแก่ความตายก่อนนายสมบัติ นายสมบัติมิได้แจ้งบริษัทขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ เมื่อนายสมบัติตาย นายเสมอแสดง เจตนาว่าประสงค์จะรับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย บริษัทจะต้องจ่ายเงินเอาประกันชีวิตอย่างไร

47 ก. จ่ายให้นายเสมอ ทั้งหมดตามกรมธรรม์มาตรฐาน ข
ก. จ่ายให้นายเสมอ ทั้งหมดตามกรมธรรม์มาตรฐาน ข. จ่ายให้นายเสมอครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งจ่ายให้ทายาทของนายสุขใจ ค. จ่ายให้นายเสมอครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งจ่ายให้ทายาทของนายสมบัติ ง. จ่ายได้ทั้ง 3 กรณี ขึ้นอยู่กับบริษัทเลือกจ่ายให้เกิดความรวดเร็วและสะดวก

48 ในกรณีที่ "ผู้เอาประกัน (Insured)" เสียชีวิต ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่เกิดขึ้น ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย ทั้งประกันชีวิต และ/หรือ วินาศภัย) จะต้องจ่ายให้กับ ผู้รับประโยชน์ตามที่ผู้เอาประกันภัยทำการระบุไว้ เว้นแต่ ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ทำการระบุไว้ จะต้องจ่ายให้กับ "กองมรดกของผู้เอาประกันภัย"

49 กรณีที่ผู้รับประโยชน์ตามที่ผู้เอาประกันภัยได้มีการระบุไว้ก่อนการชีวิตเสียของผู้เอาประกันภัย ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยจะจ่ายให้กับใคร กรณีนี้ แยกออกได้เป็น 2 ทาง คือ 1. กรมธรรม์ประกันภัยนั้น ๆ มีผู้รับประโยชน์คงเหลืออยู่ กรณีนี้ ผลประโยชน์ในส่วนของผู้รับประโยชน์ที่เสียชีวิตก่อนผู้เอาประกันภัย จะต้องจัดสรรให้กับผู้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ 2. กรมธรรม์ประกันภัยนั้น ๆ ไม่มีผู้รับประโยชน์คงเหลืออยู่ กรณีนี้ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่มีอยู่จะต้องจ่ายให้กับกองมรดกของผู้เอาประกันภัย เสมือนผู้เอาประกันภัยไม่ได้กำหนดผู้รับประโยชน์

50 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2554
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2554 ผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิต โดยระบุภริยาเป็นผู้รับประโยชน์ ปรากฎว่าภริยาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย บริษัทประกันชีวิตสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินระบุชื่อภริยาผู้ตายเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ เงินตามสัญญาประกันชีวิตมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตาย ส่วนภริยาผู้ตายซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยก็ถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับเงินตามสัญญาประกันชีวิต สิทธิของภริยาผู้ตายที่จะได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่เกิดขึ้น เงินตามตั๋วแลกเงินจึงไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของภริยาผู้ตาย

51 แม้เงินตามตั๋วแลกเงินจะมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับแก่เงินตามสัญญาประกันชีวิต เงินตามตั๋วแลกเงินจึงควรตกแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดก

52 ข้อสังเกต ผู้รับประโยชน์ไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย สัญญาประกันวินาศภัย หากไม่ได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ ย่อมถือว่าผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประโยชน์เอง ประกันชีวิตตนเอง ไม่ได้ระบุตัวผู้รับประโยชน์ ถือว่าทายาทของผู้เอาประกันชีวิตเป็นผู้รับประโยชน์ (ระบุตัวเองไม่ได้) ประกันชีวิตบุคคลอื่น ผู้เอาประกันชีวิตเป็นผู้รับประโยชน์


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 2 หลักทั่วไปของกฎหมายประกันภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google