งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นายอรรถโกวิท ชาวเหนือ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นายอรรถโกวิท ชาวเหนือ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นายอรรถโกวิท ชาวเหนือ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
กฎหมายล้มละลาย นายอรรถโกวิท ชาวเหนือ นิติกรชำนาญการ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

2 นายอรรถโกวิท ชาวเหนือ นิติกรชำนาญการ กรมบังคับคดี
ข้อตกลงร่วม Sit in 10 Quiz - Report 20 Final 70 100 นายอรรถโกวิท ชาวเหนือ นิติกรชำนาญการ กรมบังคับคดี

3 กระบวนพิจารณา กระบวนพิจารณาคดีมีอยู่ 2 ส่วน คดีล้มละลาย
คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

4 ลักษณะและแนวคิด เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
มีวัตถุประสงค์มุ่งที่จะคุ้มครองระบบเศรษฐกิจโดยรวมของสังคม กระบวนการพิจารณาให้ความคุ้มครองทั้งเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ บรรดาเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และบุคคลภายนอก มีบทบัญญัติที่รวมเอาทั้งกฎหมายที่เป็นส่วนสารบัญญัติ และ วิธีสบัญญัติไว้รวมกัน และมีบทบัญญัติที่กำหนดโทษในทางอาญา เพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเท่าเทียมกัน เดิม:มุ่งที่จะใช้สำหรับการลงโทษลูกหนี้ ใหม่: มุ่งให้โอกาสลูกหนี้ในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในระบบเศรษฐกิจ

5 กระบวนการพิจารณาคดีล้มละลาย
กระบวนการที่ทำให้คดีล้มละลายเสร็จ ประนอมหนี้ ม. 45 และ 63 ปลดล้มละลาย ม.67/1 -81/4 ปิดคดี ม ยกเลิกล้มละลาย ม.135 คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ – ยกฟ้อง ม. 14/ ล้มละลาย ม.61-62 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ บุคคลภายนอก การฟ้องคดี มาตรา 7 และ 8 เจ้าหนี้สามัญ มาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกัน มาตรา 9 และ 10

6 เงื่อนไขการฟ้องคดีตามมาตรา 7
มีหนี้สินล้นพ้นตัว ขณะถูกฟ้อง หรือภายใน 1 ปีก่อนนั้น ลูกหนี้มีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจ ด้วยตนเอง ตัวแทน

7 ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8
โอนทรัพย์สินหรือสิทธิจัดการทรัพย์สิน โอนหรือส่งมอบทรัพย์สินโดยมีเจตนาลวง หรือฉ้อฉล โอน หรือ ก่อให้เกิดทรัพยสิทธิอย่างใดเหนือ ทรัพย์สิน ซึ่งถ้าล้มละลายแล้วจะเป็นการให้ เปรียบแก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่ง

8 ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8
กระทำการต่อไปนี้ เพื่อประวิงการชำระหนี้ ออก หรือออกไปก่อนและยังอยู่นอกราชอาณาจักร ไปจากเคหสถาน ซ่อนตัว หรือหลบออกจากเคหสถาน หรือปิดสถานประกอบการ เช่น ไม่มีชื่อป้ายสถานประกอบการ หรือหลบหนีหมายจับคดีเช็ค หรือย้ายที่อยู่หลายครั้งเป็นการถาวร ยักย้ายทรัพย์สินไปให้พ้นอำนาจศาล ยอมให้ถูกศาลพิพากษาซึ่งต้องชำระเงินโดยไม่ควร

9 ข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8
ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี หรือ ไม่มีทรัพย์สินให้ยึด แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ แจ้งเจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ เสนอคำขอประนอมหนี้ให้เจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน แล้วไม่ชำระหนี้

10 เงื่อนไขการฟ้องคดีของเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 9
มีหนี้สินล้นพ้นตัว มีหนี้จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ล้าน สำหรับบุคคลธรรมดา 2 ล้าน สำหรับนิติบุคคล หนี้กำหนดจำนวนได้แน่นอน

11 ข้อสังเกต หนี้ที่มีจะเป็นหนี้เจ้าหนี้รายเดียวหรือหลายรายก็ได้
หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน และจะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ก็ได้ หนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน เช่น หนี้ที่คู่กรณีขอให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ หนี้ภาษีอากรที่ลูกหนี้ยังสามารถอุทธรณ์คัดค้านการประเมิน หนี้ที่ขอให้ส่งมอบทรัพย์สินคืนหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา

12 หลักเกณฑ์พิจารณาจำนวนหนี้

13 เงื่อนไขการฟ้องคดีของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 10
เจ้าหนี้มีประกัน คือ เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทาง จำนอง จำนำ สิทธิยึดหน่วง หรือบุริมสิทธิทำนองเดียวกับจำนำ ต้องปรากฏว่าตนเองไม่ต้องห้ามไม่ให้บังคับชำระหนี้เกินกว่าทรัพย์หลักประกัน บรรยายฟ้องว่า - ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้วตนจะยอมสละหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายด้วย หรือ - ตีราคาหลักประกันซึ่งเมื่อหักออกจากหนี้แล้วยังมีจำนวนหนี้ คงค้างตามหลักเกณฑ์

14 ข้อสังเกตการฟ้องคดีของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 10
หากไม่บรรยายมาถือว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนืออสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้และได้จดทะเบียนไว้ก็ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ มีประกัน การมอบโฉนดที่ดิน หรือใบรับของคลังสินค้าไว้ในยึดถือ ไม่ใช่การจำนอง จำนำ หรือมีสิทธิยึดหน่วง

15 ข้อสังเกตการฟ้องคดีของเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 10
เจ้าหนี้มีประกันไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งและยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดก่อน ต้องเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ที่นำมาเป็นประกันมิใช่ทรัพย์สินของบุคคลอื่น ทรัพย์หลักประกันต้องมีอยู่ในขณะที่ฟ้องเป็น คดีล้มละลาย

16 การขอให้ล้มละลายและกระบวนพิจาณาของศาล
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาล 500 บาท จะต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายต่อศาลจำนวน ,000 บาท และศาลอาจเรียกเพิ่มได้ ค่าใช้จ่ายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว จำนวน 8,000 บาท คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำนวน 10,000 บาท

17 การขอให้ล้มละลายและกระบวนพิจาณาของศาล(ต่อ)
จะถอนฟ้องไม่ได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาต การถอนฟ้องจะทำได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น ศาลมีอำนาจสั่งให้รวมการพิจาณาได้ถ้าลูกหนี้ถูกฟ้องหลายคดี หรือลูกหนี้แต่ละคดีต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม ศาลจะต้องกำหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วนแต่ต้องให้ลูกหนี้ทราบกำหนดวันนัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7วัน ลูกหนี้จะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ได้ หากไม่ยื่นไม่ถือว่าขาดนัด ยื่นคำให้การ

18 การขอให้ล้มละลายและกระบวนพิจาณาของศาล(ต่อ)
ศาลต้องนั่งพิจารณาติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่า จะเสร็จการพิจารณา กระบวนพิจารณาของศาลนั้นต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดของอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง กฎหมายล้มละลาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณา ความอาญาในศาลแขวง

19 การสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ได้ 2 แบบ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

20 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว
หลักเกณฑ์การพิจารณา ลูกหนี้ ออก หรือกำลังออก หรือได้ออกไปแล้วและอยู่นอก ราชอาณาจักร โดยมีเจตนาที่จะป้องกันหรือประวิงไม่ให้ เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ หรือ กระทำการหรือกำลังกระทำการ ปกปิด ซุกซ่อน โอน ขาย จำหน่าย ยักย้ายทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี เอกสารที่เป็นประโยชน์ในการ ดำเนินคดีล้มละลายไปให้พ้นอำนาจศาล หรือ กระทำหรือกำลังกระทำการฉ้อโกงเจ้าหนี้ หรือความผิดที่กฎหมาย ล้มละลายกำหนดไว้

21 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว (ต่อ)
คำสั่งศาล ศาลมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปในเคหสถาน หรือที่ทำการของลูกหนี้ เพื่อทำการตรวจสอบและสอบสวน ลูกหนี้เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน สั่งให้ลูกหนี้หาประกันมาให้พอใจว่าตนเองจะไม่หนีไปนอก อำนาจศาลและมาศาลทุกครั้งที่ศาลสั่ง หากหาไม่ได้ศาลมีอำนาจสั่งขังลูกหนี้ได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งเดือน แต่รวมกันแล้วไม่เกินหกเดือน หรือศาลอาจออกหมายจับลูกหนี้ มาขังไว้จนกว่าจะพิพากษาให้ล้มละลายหรือ ยกฟ้อง หรือลูกหนี้ หาประกันมาได้

22 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว (ต่อ)
หากเจ้าหนี้ไม่ได้ยื่นขอให้ศาลสั่งใช้วิธีการดังกล่าว เจ้าหนี้อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไว้ชั่วคราว ศาลอาจให้เจ้าหนี้วางเงินประกันค่าเสียหายตามที่เห็นสมควร ปรากฏในภายหลังว่าเจ้าหนี้แกล้งให้ศาลใช้วิธีการชั่วคราวดังกล่าว ลูกหนี้อาจขอให้ศาลสั่งให้เจ้าหนี้ชดใช้ค่าเสียหายได้

23 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว (ต่อ)
หากเจ้าหนี้ไม่ชำระศาลมีอำนาจบังคับเจ้าหนี้เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ หากมีข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปศาลอาจมีคำสั่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งที่ให้ใช้วิธีการชั่วคราวนั้นได้

24 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว (ต่อ)
หากศาลยกฟ้องเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แล้วมีการฎีกา เจ้าหนี้จะขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวในชั้นฎีกาไม่ได้ ไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการชั่วคราวในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ได้

25 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 หากไม่ได้ความจริง หรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ให้ศาลยกฟ้อง

26 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (ต่อ)
เหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายจะต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เช่น ลูกหนี้ยังมีความสามารถชำระหนี้จากกการประกอบธุรกิจ ลูกหนี้มีเจ้าหนี้รายเดียวและเป็นข้าราชการที่อยู่ในฐานะจะหาเงินมาชำระหนี้ได้ มูลหนี้ที่นำมาฟ้องขาดอายุความ แม้ลูกหนี้มิได้ยกเรื่อง อายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลก็สามารถยกขึ้นพิจารณาเองได้

27 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (ต่อ)
การนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องลูกหนี้เป็น คดีล้มละลายต้องฟ้องภายในระยะเวลาการบังคับ คดีด้วยจึงจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) มูลหนี้ที่นำมาฟ้องซ้ำกับมูลหนี้เดิมที่ศาลเคยยก ฟ้องไปแล้ว

28 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (ต่อ)
เหตุที่ลูกหนี้ไม่ควรล้มละลายพิจารณาเฉพาะลูกหนี้แต่ละรายโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นหนี้ร่วมกันหรือไม่ก็ตาม กรณีที่ลูกหนี้จะนำสืบว่าตนเองสามารถชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินของตนจะต้องเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นเองและเจ้าหนี้ยังสามารถบังคับคดีเอากับทรัพย์สินนั้นได้

29 คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (ต่อ)
เจ้าหนี้แต่ละรายต่างคนต่างฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ แต่หากมีคดีใดในระหว่างที่ลูกหนี้ถูกฟ้องนั้นศาลได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว คดีอื่นๆ ศาลจะต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี เจ้าหนี้ในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของตนนั้นหากประสงค์จะได้รับชำระหนี้จะต้องใช้วิธีการยื่นขอรับชำหนี้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้

30 คำพิพากษาให้ล้มละลาย
ศาลได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า - ที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือที่ได้เลื่อนการประชุมมาแล้วได้ลงมติขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือ มีเจ้าหนี้ไปประชุมแล้วไม่ลงมติเป็นประการใด หรือ มีการนัดประชุมแล้วไม่มีเจ้าหนี้ไปร่วมประชุม หรือ ในการประชุมเจ้าหนี้ไม่เห็นชอบด้วยการขอประนอมหนี้ของลูกหนี้

31 คำพิพากษาให้ล้มละลาย (ต่อ)
ศาลได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ หรือ ศาลเห็นจากพยานหลักฐานว่าการประนอมหนี้นั้นไม่อาจดำเนินไปได้อย่างยุติธรรม หรือ เป็นไปอย่างเนิ่นช้าเกินสมควร หรือ ที่ศาลได้สั่งเห็นชอบไปกับการประนอมหนี้นั้นเกิดจากเพราะถูกหลอกลวงโดยทุจริต

32 คำพิพากษาให้ล้มละลาย (ต่อ)
ผลของคำพิพากษา เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้วคำพิพากษาของศาลจะมีผลย้อนไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินเพื่อทำการแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย

33 คำพิพากษาให้ล้มละลาย (ต่อ)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องทำการประกาศโดยต้องระบุชื่อ ที่อยู่ อาชีพ และวันที่ศาลได้มีคำพิพากษาและโฆษณาคำพิพากษาของศาลใน ราชกิจจานุเบกษา และ ในหนังสือพิมพ์รายวัน ไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ

34 ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ เจ้าหนี้ บุคคลภายนอก

35 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่
มีอำนาจเข้ายึดดวงตรา สมุดบัญชี เอกสารและทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือของบุคคลอื่นที่สามารถนำมาแบ่งได้ในคดีล้มละลาย (มาตรา 19 วรรคแรก) มีอำนาจหักพัง และเข้าไปในสถานที่ใดๆ ที่เป็นของลูกหนี้ หรือลูกหนี้ครอบครอง รวมทั้งเปิดตู้นิรภัยหรือที่เก็บสิ่งของอื่นๆ (มาตรา 19 วรรคสอง) มีอำนาจขายทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลายเว้นแต่ของสด เสียง่าย หรือหากหน่วงช้าไปจะเสียหาย หรือมีค่าใช้จ่ายเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินนั้นก็มีอำนาจที่จะขายได้ทันที (มาตรา 19 วรรคสาม)

36 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่
ข้อสังเกต อำนาจเกิดทั้งในชั้นพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวและเด็ดขาด (มาตรา 6) ทรัพย์สินอันแบ่งได้ในคดีล้มละลายพิจารณาตามมาตรา 109 เวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย คือ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 62 ถ้าจะเข้าไปยึดทรัพย์สินที่อยู่ในสถานที่บุคคลอื่นต้องปฏิบัติตามมาตรา 20 การยึดปฏิบัติตามมาตรา 279 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากทรัพย์โอนไปเป็นของบุคคลภายนอกแล้วต้องขอให้เพิกถอนการโอน ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2524

37 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
มีอำนาจตามหมายค้นของศาลเข้าไปในโรงเรือน เคหสถาน หรือสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ของลูกหนี้ ตามมาตรา 20 มีอำนาจขอศาลสั่งให้หน่วยงานหรือผู้ประกอบการไปรษณีย์โทรเลข หรือการสื่อสารใดๆ ส่งโทรเลข ไปรษณียภัณฑ์ จดหมาย หนังสือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ หรือข้อมูลใดๆ ที่มีถึงลูกหนี้ภายในไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ลูกหนี้ถูกสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 21

38 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 22 มีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือ ทำการใดให้กิจการลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป เก็บรวมรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินที่จะตกแก่ลูกหนี้ หรือที่ลูกหนี้จะได้รับจากผู้อื่น ทำการประนีประนอมยอมความ ฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

39 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ข้อสังเกตอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 22 กรณีบริษัทจำกัดก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่จะตั้งผู้แทนชั่วคราวได้ จะดำเนินธุรกิจต่อได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา 120 การจำหน่ายทรัพย์สินลูกหนี้ต้องล้มละลายตามมาตรา 19 และจะจำหน่ายโดยวิธีอื่นนอกจากขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา 123 และ มาตรา145(2)

40 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ข้อสังเกตอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 22 (ต่อ) ในการรวบรวมทรัพย์สินมีอำนาจออกหมายเรียกลูกหนี้หรือบุคคลอื่นมาให้การสอบสวน ตามมาตรา 117 สามารถขอให้ศาลออกคำบังคับและหมายบังคับคดีตามมาตรา 118 ใช้วิธีการทวงหนี้ตามมาตรา 119 ได้โดยไม่ต้องฟ้องคดี กรณีลูกหนี้เป็นข้าราชการมีอำนาจรับเงินเดือน ฯลฯ แทนตามมาตรา 121

41 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ข้อสังเกตอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 22 (ต่อ) หากทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาของลูกหนี้มีภาระเกินกว่าประโยชน์ที่พึงจะได้รับมีสิทธิไม่ยอมรับได้ ตามมาตรา 122 การที่จะฟ้องหรือต่อสู้คดี หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ตามมาตรา 145 กรณีไม่มีกรรมการเจ้าหนี้ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา 41

42 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ข้อสังเกตอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 22 (ต่อ) การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นการต่อสู้คดีจึงเป็นอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะไม่ขอเข้าดำเนินคดีแทน จำเลยก็ไม่สามารถดำเนินคดีด้วยตัวเองได้ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2535 และ 5268/2551 เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วไม่อาจถูกฟ้องคดีได้ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2510 ซึ่งสอดคล้องกับมาตรา 26 ที่ให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งได้หากลูกหนี้ยังไม่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

43 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
รับมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของลูกหนี้ตามที่ลูกหนี้ส่งมอบให้ ตามมาตรา 23 เข้าว่าคดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล ตามมาตรา 25

44 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
โฆษณาคำสั่งศาล และประกาศแจ้งวันนัดต่างๆ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และกำหนดเวลาที่ให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ วันนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ ประกาศประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเพื่อปรึกษาว่าจะยอมรับคำขอประนอมหนี้หรือควรพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ประกาศประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นที่เห็นว่าสมควรนัดประชุม หรือที่กฎหมายกำหนด หรือศาลสั่งให้ประชุม

45 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ประกาศแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย ประกาศคำสั่งศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนหรือหลังล้มละลาย คำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และคำพิพากษาให้ล้มละลาย คำสั่งให้ปลดและเพิกถอนการปลดจากการล้มละลาย กำหนดวันเวลาตรวจบัญชีส่วนแบ่ง คำสั่งยกเลิกการล้มละลาย

46 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
จัดทำคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือช่วยลูกหนี้ หรือจ้างบุคคลอื่นช่วยจัดทำคำชี้แจงดังกล่าวแทนลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถทำได้(มาตรา30 วรรคท้าย) เป็นประธานในที่ประชุมเจ้าหนี้ จัดให้มีรายงานการประชุม นับจำนวนเสียงในการประชุม ออกคำสั่งให้เจ้าหนี้ออกเสียงตามจำนวนหนี้ในที่ประชุม (มาตรา 33) ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติประชุมเจ้าหนี้ที่ขัดกฎหมาย หรือประโยชน์ร่วมกันของบรรดาเจ้าหนี้ (มาตรา 36)

47 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ทำการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย (มาตรา 42) ยื่นรายงานเกี่ยวกับการประนอมหนี้ กิจการทรัพย์สินและความประพฤติของลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ หรือขอให้ปลดจากการล้มละลาย (มาตรา 50) ร้องขอต่อศาลให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันปฏิบัติตามคำขอประนอมหนี้ (มาตรา 57) รายงานศาลขอให้ยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย (มาตรา 60)

48 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
รายงานมติที่ประชุมเจ้าหนี้ให้ศาลทราบ (มาตรา 60) รายงานศาลขอให้ออกหมายจับลูกหนี้หากทราบว่าลูกหนี้ ออกหรือกำลังออก หรือได้ออกไปแล้วและคงอยู่นอกเขตศาล โดยมีเจตนาหลีกเลี่ยง ประวิงหรือทำให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายขัดข้อง หรือกระทำหรือกำลังจะกระทำการฉ้อโกงเจ้าหนี้หรือกระทำการใดที่มีโทษตามกฎหมายล้มละลาย (มาตรา 66)

49 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ยื่นคำขอให้หยุดนับระยะเวลาปลดจากการล้มละลายของลูกหนี้(มาตรา 81/2) ร้องขอต่อศาลให้หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วน (มาตรา 89) รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณา ตรวจคำขอรับชำระหนี้ ออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนและเสนอความเห็นต่อศาลเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้นั้น รวมทั้งร้องขอต่อศาลให้ยกหรือลดจำนวนหนี้ที่ศาลสั่งแล้วได้ (มาตรา 91 – 108)

50 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ตรวจทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันในกรณีที่เจ้าหนี้มีประกันไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ (มาตรา 95) ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการฉ้อฉล (มาตรา 113) ร้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆ ของลูกหนี้ที่ได้ทำในระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย (มาตรา 114)

51 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ออกหมายเรียกลูกหนี้ คู่สมรส หรือบุคคลใดที่สงสัยว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในความครอบครอง หรือเชื่อว่าเป็นหนี้ลูกหนี้ หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการหรือทรัพย์สินของลูกหนี้มาสอบสวน รวมทั้งสั่งให้ส่งเอกสาร วัตถุพยานที่อยู่ในความยึดถือมาให้ มาตรา 117 ขอให้ศาลออกคำบังคับให้บุคคลที่รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือรับว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในความครอบครอง ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน หากไม่ทำตามสามารถขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ ตามมาตรา 118

52 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
เรียกให้บุคคลที่ลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ให้ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินให้ รวมทั้งทำการสอบสวน จำหน่ายชื่อจากบัญชีลูกหนี้ ยืนยันการเป็นหนี้ ขอศาลออกคำบังคับ หมายบังคับคดี ยึดหรืออายัดทรัพย์สินบุคคลดังกล่าว (มาตรา 119) ดำเนินธุรกิจของลูกหนี้เองหรือตั้งลูกหนี้ หรือบุคคลใดทำธุรกิจนั้นต่อไปได้ (มาตรา 120) รับเงินเดือน บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือเงินใดๆ แทนลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ (มาตรา 121)

53 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ปฏิเสธไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาของลูกหนี้หากเห็นว่ามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ (มาตรา 122) ขายทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ ที่รวบรวมมาได้ (มาตรา 123) แบ่งทรัพย์สินให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ กรณีมีการโต้แย้งบัญชีส่วนแบ่ง พิจารณาคำคัดค้านและคำชี้แจง แล้วมีคำสั่งตามที่เห็นสมควร รวมทั้งชำระค่าใช้จ่ายและหนี้สินตามลำดับที่กฎหมายกำหนด (มาตรา )

54 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
รายงานกิจการและเสนอบัญชีรับจ่ายในคดีต่อศาล และขอให้ศาลมีคำสั่งปิดคดีเมื่อได้ทำการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้ว (มาตรา 133) แม้ศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีแล้วยังคงมีหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย มีหน้าที่อนุมัติเรื่องต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ และหน้าที่ในการตรวจบัญชีรับจ่ายของบุคคลล้มละลาย และมีหน้าที่ขอให้ศาลสั่งเปิดคดีหากมีทรัพย์สินเกิดขึ้นใหม่ (มาตรา 134)

55 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ (มาตรา 135) จ้างทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทน (มาตรา 141) รายงานกิจการทรัพย์สิน ความประพฤติ หรือซักถามลูกหนี้หรือบุคคลใดตามที่ศาลต้องการ (มาตรา 142) ขอให้ศาลมีคำสั่งในกรณีที่ปฏิบัติตามหน้าที่แล้วมีปัญหา (มาตรา 143) กู้ยืมเงินเพื่อจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาล (มาตรา 144)

56 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
เมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้ มีอำนาจในการถอนการยึดทรัพย์ โอนทรัพย์สินใดๆ นอกจากวิธีการขายทอดตลาด สละสิทธิต่างๆ ฟ้องหรือถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ฟ้องหรือถอนฟ้องคดีล้มละลาย ประนีประนอมยอมความหรือมอบคดีให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย (มาตรา 145) เรียกเงินประกันจากเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ (มาตรา 155)

57 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : อำนาจ หน้าที่ (ต่อ)
รับคำคัดค้าน สอบสวนและมีคำสั่งในกรณีมีบุคคลภายนอกโต้แย้งว่าทรัพย์สินที่ยึดไว้ไม่ใช่ของลูกหนี้ รวมทั้งดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นศาลหากมีการโต้แย้งคำสั่ง (มาตรา158) เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากลูกหนี้หรือบุคคลใดกระทำความผิดในทางอาญาเกี่ยวกับการล้มละลาย (มาตรา 160) จ่ายค่าป่วยการและค่าพาหนะเดินทางของพยานหรือบุคคลที่เรียกมาสอบสวนหากมีเงินเหลือพอ (มาตรา 180)

58 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
ลูกหนี้ไม่มีสิทธิกระทำการใดๆ เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของตน แต่หากได้กระทำการตามคำสั่งศาลหรือศาลเห็นชอบ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ได้อนุญาตแล้ว ลูกหนี้ก็สามารถกระทำได้ ลูกหนี้อาจยื่นขอประนอมหนี้เป็นหนังสือต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ทั้งก่อนและหลังล้มละลาย และสามารถขอแก้ไขคำขอประนอมหนี้ได้ถ้าเป็นประโยชน์แก่บรรดาเจ้าหนี้ แต่ถ้าลูกหนี้เคยขอประนอมหนี้มาแล้วแต่ไม่เป็นผลไม่สามารถขอได้อีกจนกว่าจะพ้นสามเดือนไปแล้ว

59 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
ลูกหนี้มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดจำนวนเงินเพื่อใช้จ่ายเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวจากเงินที่ได้มาในระหว่างล้มละลาย แม้จะถูกปลดจากการล้มละลายแล้วก็ตาม ลูกหนี้สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้หากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สามารถขอรับสินเชื่อจากบุคคลอื่นได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าตนเองถูกพิทักษ์ทรัพย์หากไม่แจ้งมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

60 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
นิติบุคคลมีสิทธิขอปลดจากการล้มละลายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด สำหรับบุคคลธรรมดาหากไม่เข้าข้อยกเว้นเมื่อครบสามปีจะถูกปลดจากการล้มละลายทันทีและมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขอให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลที่ให้หยุดนับระยะปลดจากการล้มละลายได้ มีสิทธิได้รับทรัพย์สินที่เหลือจากการแบ่งให้บรรดาเจ้าหนี้แล้ว มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลหากเห็นว่าตนเองได้รับความเสียหาย

61 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
ได้รับสิทธิยกเว้นอากรแสตมป์ในการยื่นแบบพิมพ์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารที่เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการให้เนักงานพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างล้มละลายพร้อมด้วยบัญชีรับจ่าย หากไม่นำส่งมีความผิด ภายใน 24 ชั่วโมงเมื่อทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และชี้แจงว่าตนมีหุ้นส่วนกับผู้ใดหรือไม่ ถ้ามีให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ของห้างและผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด

62 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
ภายใน 7 วัน ต้องไปสาบานและชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของตน แสดงเหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แจ้งทรัพย์สินและหนี้สิน ชื่อ ที่อยู่ อาชีพเจ้าหนี้ ทรัพย์สินที่ให้ไว้เป็นประกัน ทรัพย์สินที่จะได้ในภายหน้า ทรัพย์สินของคู่สมรส หรือของบุคคลอื่นที่อยู่ในความครอบครอง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับหรือจำคุก ต้องไปศาลในการไต่สวนโดยเปิดเผยเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของตน เหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของตน

63 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
ต้องไปประชุมเจ้าหนี้ทุกครั้งและต้องตอบคำถามของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้ หรือบรรดาเจ้าหนี้ เกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลสั่ง ต้องกระทำการเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือเพื่อที่จะแบ่งทรัพย์สินให้บรรดาเจ้าหนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับหรือจำคุก ต้องช่วยในการจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สินให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ แม้ว่าจะถูกปลดจากการล้มละลายไปแล้วก็ตาม

64 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
ต้องทำสัญญาประกันชีวิต หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประสงค์ให้ทำ หากไม่ปฏิบัติมีโทษปรับหรือจำคุก เมื่อมีสิทธิได้รับทรัพย์สินใดต้องรายงานเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบและจะต้องจัดทำบัญชีรับจ่ายเสนอทุก 6 เดือน หากไม่ทำมีโทษปรับหรือจำคุก หากย้ายที่อยู่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ทราบ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับหรือจำคุก

65 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
เมื่อถูกปลดจากการล้มละลายโดยศาลมีคำสั่งให้ใช้เงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ยังมีหน้าที่ไปให้การเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มาต่อศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และจัดทำบัญชีแสดงการรับทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างปีทุกๆ ปี หากไม่ปฏิบัติมีโทษปรับหรือจำคุก ต้องไปให้การสอบสวนเรื่องหนี้สินกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกเมื่อได้ตรวจคำขอรับชำระหนี้ หรือสงสัยเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือให้ส่งเอกสาร วัตถุพยาน หากฝ่าฝืนอาจถูกหมายจับ

66 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
จะต้องให้ความจริงหรือสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในการให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินต่อศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ และมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบหากรู้ว่ามีเจ้าหนี้ นำทรัพย์สินที่เป็นเท็จมาขอรับชำระหนี้ จะต้องประกอบการค้าหรือทำธุรกิจโดยใช้ชื่อของตนเองหรือสมญาเดิม และห้ามใช้ชื่อผู้อื่นบังหน้า หรือหากจะใช้จะต้องโฆษณาชื่อตน ที่อยู่ และชื่อที่จะประสงค์จะใช้ ลักษณะของธุรกิจและที่อยู่ที่จะใช้ใหม่ต่อไปในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยสองฉบับ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับหรือจำคุก

67 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
จะต้องสามารถให้เหตุผลได้ถึงการที่ต้องเสียทรัพย์สินไปจำนวนมากในระหว่างหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือภายหลัง ต้องไม่ก่อหนี้ที่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลายโดยมีเหตุเชื่อได้ว่าไม่สามารถชำระหนี้นั้นได้ หากประกอบกิจการต้องมีบัญชีย้อนหลังสามปีขึ้นไปก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หากไม่มีต้องระวางโทษปรับหรือจำคุก หกเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นห้ามนำทรัพย์สินที่มีราคาเกินหนึ่งร้อยบาทออกหรือพยายามออกไปนอกราชอาณาจักร

68 ลูกหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วห้ามซ่อนตัว หรือหลบไปจากที่เคยอยู่หรือที่ทำการค้า หรือออกไปนอกราชอาณาจักร โดยเจตนาจะหลีกเลี่ยงหมายเรียก หรือการสอบสวนเกี่ยวกับกิจการทรัพย์สินของตน หรือก่อให้เกิดข้อขัดข้องต่อการพิจารณาคดีล้มละลาย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับหรือจำคุก ห้ามทำการฉ้อฉล ให้ เสนอให้ หรือตกลงว่าจะให้ประโยชน์ใดๆ แก่เจ้าหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้ยินยอมให้การขอประนอมหนี้ หรือข้อตกลงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของตน หรือเพื่อไม่ให้คัดค้านการขอปลดล้มละลาย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับหรือจำคุก

69 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
หากเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขณะยื่นฟ้องจะต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายต่อศาลจำนวนห้าพันบาท และศาลอาจเรียกให้วางเงินเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ในขั้นตอนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในการรวบรวมทรัพย์สิน รวมทั้งต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายด้วย

70 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งใช้วิธีการชั่วคราว คือ ให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือเรียกลูกหนี้มาสอบสวน หรือให้ลูกหนี้ให้ประกันแก่ศาลว่าจะไม่หลบหนี หรือขอให้ศาลออกหมายจับ หรือขอให้ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไว้ชั่วคราวได้ แต่ต้องไม่ใช่เป็นการยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลใช้อำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งลูกหนี้ หากกระทำอาจถูกศาลสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกหนี้ได้

71 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
มีสิทธิเข้าร่วมประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก และการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น แต่จะมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมได้จะต้องได้ยื่นขอรับชำระหนี้ไว้ก่อนวันประชุมและต้องเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ด้วย โดยจะเข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้ใดไปออกเสียงแทนก็ได้ แต่ในการออกเสียงหากตนเองหรือผู้แทน หรือผู้มีหุ้นส่วนด้วยกับเจ้าหนี้หรือผู้แทน จะได้ประโยชน์กับการออกเสียงนอกเหนือจากจำนวนหนี้ที่ตนควรจะได้รับแล้วจะออกเสียงลงมติไม่ได้

72 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
มีสิทธิคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายอื่นที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ในขณะที่ประชุมนั้นได้ และมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการกำหนดให้เจ้าหนี้รายใดออกเสียงหรือไม่เพียงใดได้ อาจเลือกหรือได้รับเลือกให้เป็นกรรมการเจ้าหนี้ได้ แต่ศาลจะต้องสั่งรับคำขอรับชำระหนี้ของตนเอง ไว้ก่อนแล้ว

73 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
มีสิทธิไปทำการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยและซักถามลูกหนี้ในวันดังกล่าวเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผล ที่ทำให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติ ของลูกหนี้ การประชุมเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้เจ้าหนี้จะไม่ไปแต่ทำเป็นหนังสือเพื่อออกเสียงลงมติว่าจะยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือไม่ก็ได้ และมีสิทธิไปศาลเพื่อฟังการพิจารณาคำขอของศาล รวมทั้งคัดค้านคำขอประนอมหนี้ได้แม้ว่าจะเคยลงมติยอมรับในคราวที่มีการประชุมเจ้าหนี้แล้วก็ตาม

74 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้เจ้าหนี้จะต้องยอมรับในเรื่องหนี้ที่ลูกหนี้ได้ยื่นขอประนอมหนี้นั้น รวมถึงหนี้ที่ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคำสั่งปลดล้มละลาย หากเจ้าหนี้ได้ลงมติยินยอมด้วยในการประนอมหนี้ มีสิทธิยื่นขอให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันลูกหนี้ปฏิบัติตามคำขอประนอมหนี้ รวมทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ หากเห็นว่าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ยุติธรรม

75 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
มีสิทธิขอศาลให้ออกหมายจับลูกหนี้มาขังได้หากเห็นว่าลูกหนี้ออกหรือกำลังจะออก หรือออกไปแล้วและยังคงอยู่นอกเขตศาล หรือกระทำหรือกำลังทำการฉ้อโกงเจ้าหนี้ มีสิทธิทราบวันนัดและไปศาลในวันที่ศาลนัดพิจารณาคำขอปลดจากล้มละลายของลูกหนี้และให้คำชี้แจงต่อศาลในวันนัดได้ มีสิทธิทราบวันนัดไต่สวนกรณีลูกหนี้ขอให้ศาลยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหยุดนับระยะเวลาปลดจากการล้มละลายของลูกหนี้

76 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตายมีสิทธิฟ้องขอให้จัดการมรดกของลูกหนี้ได้ มีสิทธิร้องขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายและยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวบุคคลดังกล่าวได้ในคดีเดิมที่มีการร้องขอให้นิติบุคคลล้มละลาย มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดสองเดือนนับแต่วันที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยหากเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรอาจได้รับการขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินสองเดือน

77 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
หากเป็นเจ้าหนี้มีประกันจะไม่ยื่นขอรับชำระหนี้ก็ได้ แต่หากขอจะต้องจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ ยินยอมสละหลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้เต็มจำนวน หรือ ได้บังคับทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้จำนวนที่ขาดอยู่ หรือ ได้ขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้จำนวนที่ขาดอยู่ หรือ ตีราคาทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้จำนวนที่ขาดอยู่

78 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
หากเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่ด้วยมีสิทธิขอให้หักกลบลบหนี้ แม้ว่ามูลหนี้จะมีวัตถุแห่งหนี้ต่างกัน หรืออยู่ในเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาก็ตาม มีสิทธิเข้าร่วมตรวจคำขอรับชำระหนี้ และมีหน้าที่ไปให้การสอบสวนเกี่ยวกับหนี้สินตามคำขอรับชำระหนี้ รวมทั้งมีสิทธิโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้อื่น มีสิทธิทราบวันนัดและตรวจบัญชีส่วนแบ่งรวมทั้งคัดค้านบัญชีส่วนแบ่งหากไม่เห็นด้วย

79 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
มีสิทธิคัดค้านการขอปิดคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับผิดในการกระทำหรือละเว้นการกระทำในกรณีที่ศาลสั่งไม่ให้ปิดคดี สามารถเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิมได้ในกรณีที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิมไม่เต็มใจช่วยเหลือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลใน 14 วันให้ศาลมีคำสั่งกลับ หรือแก้ไข หรือสั่งประการใดๆ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

80 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
การยื่นขอรับชำระหนี้ การขอประนอมหนี้ การตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เจ้าหนี้จะต้องให้การด้วยความจริง หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับหรือจำคุก จะต้องไม่เรียก หรือรับ หรือยินยอมจะรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ใดๆ เพื่อที่จะยินยอมหรือไม่คัดค้านการขอประนอมหนี้ หรือการขอปลดล้มละลาย หาก ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าเท่าของราคาผลประโยชน์นั้น

81 เจ้าหนี้ : สิทธิ และหน้าที่
หากไม่เป็นเจ้าหนี้แต่อ้างว่าเป็นเจ้าหนี้เพื่อจะได้ดูหรือคัดสำเนาเอกสารใดๆ ในคดีล้มละลาย จะถูกลงโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หากเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร จะยื่นขอรับชำระหนี้ได้ต้องพิสูจน์ว่า เจ้าหนี้ในประเทศไทยก็มีสิทธิเช่นเดียวกันในประเทศตน และต้องแถลงว่าตนเองได้รับหรือจะได้รับส่วนแบ่งหรือทรัพย์สินของลูกหนี้ในนอกราชอาณาจักรหรือไม่ และถ้ามีตนยอมส่งทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งมารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในราชอาณาจักร

82 กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เป็นเจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งและถอดถอนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม การปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องใช้นามตำแหน่งแยกเป็น 2 กรณี กรณีลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ กรณีศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

83 กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขั้นตอนการดำเนินการในคดีล้มละลายชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจแบ่งได้ ดังนี้ การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ - การขอรับชำระหนี้ การประชุมเจ้าหนี้ - การประนอมหนี้ การปลดจากล้มละลาย การดำเนินการกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง การจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สิน - การยกเลิกล้มละลาย

84 การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
ม.19 ทรัพย์สินของลูกหนี้/บุคคลอื่น/เข้าไป/ หักพัง ม.20 อำนาจค้น ม.21 อำนาจศาลสั่งหน่วยงานส่งเอกสาร หรือไปรษณีย์ การยึดทรัพย์สิน ลูกหนี้มีในขณะเริ่มต้นล้มละลาย (ม.62) ลูกหนี้ได้มาหลังการเริ่มต้นล้มละลาย จนถึงเวลาปลดจากล้มละลาย สิ่งของที่อยู่ในความครอบครอง หรืออำนาจสั่งการ หรือสั่งจำหน่ายของลูกหนี้ ทรัพย์สินที่แบ่งได้ม.109

85 การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
จัดการกิจการของลูกหนี้ที่ค้างให้เสร็จ รับเงินหรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับ รับมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสาร ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการลูกหนี้ การรวบรวมทรัพย์สิน (มาตรา 22 และ 23) การดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ต่อไป มาตรา 120 สิทธิในการรับเงินเดือนของลูกหนี้ มาตรา 121 จัดการธุรกิจลูกหนี้

86 การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
ขายตามวิธีที่สะดวกและดีที่สุด นอกจากขายทอดตลาดที่ประชุมต้องเห็นชอบ การจำหน่ายทรัพย์สิน (มาตรา 123) แบ่งทุก 6 เดือน นับแต่ล้มละลาย (ม.124) แบ่งตามลำดับ (ม.130) การแบ่งทรัพย์สิน

87 การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
การยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ ทำการยึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ รวมทั้งบรรดา ทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองของลูกหนี้หรือของผู้อื่นที่อาจแบ่งได้ ในคดีล้มละลาย หากปรากฏว่ามีทรัพย์สินของลูกหนี้ซ่อนอยู่ที่อื่น เช่น ในโรงเรือน เคหสถาน ที่ไม่ใช่เป็นของลูกหนี้ สามารถขอศาลออกหมายค้น ขอให้ศาลสั่งให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งไปรษณีย์หรือการสื่อสารใด ส่ง ไปรษณีย์ จดหมาย หนังสือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีถึงลูกหนี้ใน กำหนดไม่เกินหกเดือนนับแต่วันถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์

88 การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
ทรัพย์สินที่สามารถยึดเพื่อนำมาแบ่งในคดีล้มละลาย มีอยู่ 3 ประเภท ทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่ลูกหนี้มีในขณะเริ่มต้นล้มละลาย เว้นแต่ เครื่องใช้สอยส่วนตัวที่จำเป็นแก่การดำรงชีพตามสมควรแก่ฐานานุรูป ของลูกหนี้ คู่สมรส และบุตรผู้เยาว์ รวมทั้ง สัตว์ พืชพันธุ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้ราคารวมกันไม่เกินหนึ่งแสนบาท ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้มาหลังการเริ่มต้นล้มละลาย จนถึงเวลาปลดจากล้มละลาย สิ่งของที่อยู่ในความครอบครอง หรืออำนาจสั่งการ หรือสั่งจำหน่ายของลูกหนี้ในทางการค้า หรือธุรกิจของลูกหนี้ ด้วยความยินยอมของเจ้าของที่แท้จริง ซึ่งโดยพฤติการณ์แล้วลูกหนี้เป็นเจ้าของในขณะที่มีการขอให้ล้มละลาย

89 การจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ (มาตรา 22 และ 23) นอกจากการใช้วิธีการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีอำนาจที่จะรวมรวมทรัพย์สิน ของลูกหนี้ได้โดยการใช้วิธีจัดการหรือกระทำการใดให้ กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นไป รวมทั้งการรับเงินหรือทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับ และรับมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสาร ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของลูกหนี้

90 บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับคดีล้มละลาย
คำสั่งชั่วคราว หมายบังคับคดีใช้ยันไม่ได้ - มาตรา 110 หน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี - มาตรา 111 มาตรา 112 การเพิกถอนการฉ้อฉล – มาตรา 113 – มาตรา 116 อำนาจการออกหมายเรียกมาสอบสวน – มาตรา 117 การบังคับคดีเอากับผู้รับว่าเป็นหนี้ – มาตรา 118 การทวงหนี้ – มาตรา 119 การขอปฏิบัติตามสัญญา – มาตรา 122 การขอให้ปล่อยทรัพย์ – มาตรา 158

91 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้นั้น หากประสงค์จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็จะต้องขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (มาตรา 27) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องประกาศแจ้งคำสั่งศาล คือให้นำไปลงไว้ในราชกิจจานุเบกษา และหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ และจะต้องแจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ด้วย (มาตรา 28)

92 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้ (มาตรา 91)
บรรดาเจ้าหนี้จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด เดือนนับแต่วันที่ได้ประกาศโฆษณาแจ้งคำสั่งศาล ระยะเวลานี้อาจขยายออกไปได้อีกไม่เกินสองเดือนหาก เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร ต้องกรอกข้อความตามแบบพิมพ์ แจ้งรายละเอียดหนี้สิน หลักฐานประกอบหนี้ที่ตนมีอยู่ ทรัพย์สินที่ตนรับไว้เป็น ประกันการชำระหนี้ หรืออยู่ในความครอบครองของตน

93 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
กรณีที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการยึดทรัพย์สินตามมาตรา 109(3) หรือเพราะมีการร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 115 หรือเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธไม่ยอมรับ ทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาตามมาตรา 122 มีสิทธิที่จะยื่น ขอรับชำระหนี้สำหรับราคาค่าทรัพย์สินหรือค่าเสียหายที่ เกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน แต่หากมีการโต้แย้ง เป็นคดีให้นับจากวันที่คดีได้ถึงที่สุด (มาตรา 92)

94 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีค้างพิจารณาแทนลูกหนี้ตามมาตรา 25 หากแพ้คดีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ภายในระยะเวลาสองเดือนนับจากวันที่คดีถึงที่สุดเช่นกัน (มาตรา 93) การประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น กฎหมายกำหนดให้ลงประกาศทั้งในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวัน ดังนี้ หากวันที่ลงในประกาศทั้งสองแห่งไม่ตรงกันในการนับระยะเวลาสองเดือนให้นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีการประกาศหลังสุดและให้เริ่มนับในวันที่ที่มีการเผยแพร่ประกาศให้แก่สาธารณชนได้รับทราบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2535, 9733/2539, 44/2549)

95 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
- เมื่อมีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วหากเจ้าหนี้ไม่มายื่นขอรับชำระหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าว จะอ้างว่าตนไม่ทราบ และที่ไม่ทราบนั้นเกิดจากความสุจริตหรือไม่ก็ตาม หรือจะอ้างว่าที่ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้เพราะตนได้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเรื่องอื่นไว้ก็ไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2528, 1060/2553, 10249/2553)

96 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
- จะอ้างว่าที่ที่ตนเองอยู่อาศัยไม่มีประกาศราชกิจจานุเบกษาหรือหนังสือพิมพ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศจำหน่ายไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ /2531) - หากไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ไว้มูลหนี้ดังกล่าวจะนำมาฟ้องหรือดำเนินการใดๆ เพื่อให้ได้รับชำระหนี้เอากับลูกหนี้อีกในภายหลังจากที่ลูกหนี้พ้นจากภาวะล้มละลายแล้วไม่ได้ แต่สำหรับลูกหนี้ร่วมคนอื่นไม่ได้ตัดสิทธิเจ้าหนี้ที่จะดำเนินการเพื่อให้ตนได้รับชำระหนี้ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538, 6621/2538, 254/2507, 9339/2551)

97 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
- เมื่อได้ยื่นขอรับชำระหนี้แล้วภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ได้ถอน คำขอรับชำระหนี้มีผลเท่ากับไม่เคยได้ยื่นขอรับชำระหนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2517) - หากประสงค์จะแก้ไข เพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย จะมาขอแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังที่ครบระยะเวลาแล้วไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2532, 259/2530, 8718/2544, 5927/2546)

98 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
- เจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักร อาจเป็นเจ้าหนี้คนไทยหรือต่างประเทศก็ได้ โดยถือที่อยู่ตามความเป็นจริงในขณะที่มีการประกาศโฆษณาให้เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้มิใช่ถือตามภูมิลำเนาตามกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ /2500, 2229/2521) - หากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทเจ้าหนี้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่นอกราชอาณาจักร (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2534)

99 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
- ระยะเวลาสองเดือนนี้อาจขอขยายได้หากลูกหนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุลไปแตกต่างจากที่เคยใช้ประกอบธุรกิจการค้า หรือในขณะที่ใช้ติดต่อกับเจ้าหนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยแต่ยังไงก็ตามก็ต้องยื่นขอขยายระยะเวลาขอรับชำระหนี้ในเวลาที่สมควร (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2999/2531, 6270/2538)

100 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
- การที่เจ้าหนี้จะยื่นขอรับชำระหนี้หลังจากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลสั่งเพิกถอนการโอนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 115 เท่านั้น หากเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนตามมาตรา 114 หรือเป็นการเพิกถอนเนื่องจากลูกหนี้ได้กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 22 และมาตรา 24 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ตามเงื่อนไขในมาตรา 92 ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2523, 3169/2531, 933/2526)

101 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
- กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่เข้าว่าคดี แต่ศาลมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแทนลูกหนี้แล้ว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ไปศาลอีกก็ถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจสืบพยานหรือถามค้านพยานเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้แพ้คดีเจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ได้ภายในสองเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษาได้ถึงที่สุด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2534, 2964/2553)

102 การขอรับชำระหนี้ ระยะเวลาในการยื่นขอรับชำระหนี้
- เจ้าหนี้อาจไม่ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลาสองเดือนได้หากปรากฏว่าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้นั้นมิใช่เป็นการให้ได้รับชำระหนี้เป็นตัวเงิน เช่น เป็นการขอให้ปฏิบัติตามสัญญาโดยให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ตน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2533, 3788/2549)

103 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- เจ้าหนี้มี 2 ประเภท คือเจ้าหนี้ไม่มีประกันกับเจ้าหนี้มีประกัน - เจ้าหนี้มีประกัน คือ เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ที่มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ (มาตรา 6)

104 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้ (มาตรา 94)
- หนี้นั้นได้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ - หนี้นั้นอาจยังไม่ถึงกำหนดที่จะต้องชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม - ต้องไม่เป็นหนี้ที่เกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมาย ศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ หรือเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ทำขึ้นโดยรู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งไม่รวมหนี้ที่เป็นไปเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้

105 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
มีการกำหนดให้ชำระหนี้ไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ กฎหมายได้กำหนดให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ศาลมี คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ (มาตรา 98) กรณีที่เป็นหนี้ตามสัญญาเช่าหรือหนี้ที่กำหนดระยะเวลาให้ ชำระหนี้ซึ่งไม่ตรงกับวันพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้สามารถขอรับ ชำระหนี้ตามส่วนจนถึงวันที่พิทักษ์ทรัพย์ (มาตรา 99)

106 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- ดอกเบี้ยหรือเงินอื่นใดที่กำหนดแทนดอกเบี้ยหลังจากวันที่พิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ (มาตรา 22) - แต่ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่ไม่จำกัดความรับผิดไม่อาจอ้าง ว่าไม่ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย เบี้ยปรับหลังวันพิทักษ์ทรัพย์ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2516, 1825/2536, 112/2553)

107 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- กรณีที่มีการขอให้หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยหรือเบี้ยปรับหลังวันพิทักษ์ทรัพย์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2532) - เจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ก็มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยหลังวันพิทักษ์ทรัพย์ได้ คือสามารถคิดดอกเบี้ยตามสิทธิในหลักประกันจนถึงวันขายทอดตลาดได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2495)

108 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- ลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกันหรือบุคคลใดที่อยู่ใน ลักษณะเดียวกันก็สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ใน ส่วนของตนที่อาจถูกไล่เบี้ยในภายหน้าได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิยื่นขอรับชำระหนี้ไว้เต็ม จำนวนแล้ว (มาตรา 101)

109 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- หากเจ้าหนี้ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนและบุคคลดังกล่าวไม่อาจยื่นขอรับชำระหนี้ได้ทันภายในระยะเวลา และต่อมาได้มีการชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปแล้วสามารถที่จะเข้ารับช่วงสิทธิเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้แทนเจ้าหนี้เดิมแต่ไม่สามารถนำไปฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายใหม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5369/2549)

110 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- หากเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้อยู่ด้วยก็สามารถขอหักกลบลบหนี้ได้แม้วัตถุแห่งหนี้จะไม่ใช่อย่างเดียวกัน หรืออยู่ในเงื่อนไขเงื่อนเวลาก็ตามเว้นแต่เจ้าหนี้จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้หลัง ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว (มาตรา 102) - หนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้จะต้องมีอยู่ก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะนำดอกเบี้ยเงินฝากที่ลูกหนี้มีสิทธิได้รับหลังวันพิทักษ์ทรัพย์มาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2536, 4603/2542)

111 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- กรณีค่าเสียหายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับเกิดขึ้นภายหลังวันพิทักษ์ทรัพย์ ไม่สามารถนำมาขอหักกลบลบหนี้ได้ แต่หากหนี้นั้นอยู่ในเงื่อนไขบังคับก่อนแล้วขอหักกลบลบหนี้ผู้ที่ยื่นขอรับชำระหนี้จะต้องให้ประกันสำหรับจำนวนที่ขอหักกลบลบหนี้นั้น (มาตรา 103) -โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องขอแสดงเจตนาที่จะหักกลบลบหนี้ภายในระยะเวลาที่ขอรับชำระหนี้และให้แสดงเจตนาต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แทนที่จะเป็นการแสดงเจตนาต่อลูกหนี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2501, 3356/2524)

112 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- หนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้จะต้องเป็นหนี้ที่สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ด้วยซึ่งต่างจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 344 ที่คู่กรณีอีกฝ่ายสามารถนำเอาหนี้ที่ขาดอายุความมาขอหักกลบลบหนี้ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2528) - ส่วนกรณีที่เจ้าหนี้ค้างชำระค่าหุ้นในบริษัทของลูกหนี้นั้นไม่สามารถนำมาหักกลบหนี้ได้หากตนมีหนี้เหนือบริษัทลูกหนี้นั้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2513, 2372/2528, 4853/2551)

113 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- หนี้ที่จะยื่นขอรับชำระหนี้ได้ต้องเกิดก่อนวันที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเป็นกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งจะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีแทนลูกหนี้แม้ว่าหนี้ภาษีนั้นจะเกิดภายหลังที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533, 5219/2534, 6494/2534)

114 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- ต่างจากกรณีที่ลูกหนี้ได้ทำละเมิดภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้ไม่สามารถนำมูลหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ แต่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้โดยตรงเท่านั้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4851/2545) ข้อสังเกต มีประเด็นปัญหาว่าลูกหนี้จะสามารถเข้าไปต่อสู้คดีได้หรือไม่ประการใด

115 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- สำหรับหนี้เช็คที่ลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์แต่ได้ลงวันที่ไว้หลังจากวันที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้นสามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้เช่นกันเนื่องจากมูลหนี้ได้เกิดขึ้นวันที่ลูกหนี้ได้รับเงินและมอบเช็คให้ไว้กับเจ้าหนี้แม้วันที่จะลงไว้ล่วงหน้าและทำให้เช็คมีผลขึ้นเงินได้หลังจากวันพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2510, 2969/2531)

116 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- มูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ศาลได้มีคำพิพากษาหลังจากวันพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้เพราะในคำพิพากษาได้แสดงถึงมูลหนี้เดิมที่มีอยู่แล้วก่อนวันพิทักษ์ทรัพย์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2525) - แต่ในส่วนของค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ใช้แทนเจ้าหนี้นั้นหากเกิดหลังจากวันพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2533)

117 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- ในส่วนของค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความอันเกิดจากที่เจ้าหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกตามสัญญาค้ำประกันจนถูกฟ้องเป็นคดีและศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในส่วนของค่าฤชาธรรมเนียมกับค่าทนายความได้ กล่าวคือสามารถขอรับชำระหนี้ได้เฉพาะมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นมูลหนี้ชั้นต้นเท่านั้น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2549)

118 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้เจ้าหนี้ก็สามารถนำมาขอรับชำระหนี้ได้นั้นจะต้องปรากฏว่ามีมูลหนี้ต่อกันอยู่ในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรณีที่ลูกหนี้เป็นนายจ้างถูกพิทักษ์ทรัพย์ ลูกจ้างจะยื่นขอรับชำระหนี้ในส่วนของค่าชดเชยและค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ได้เพราะสัญญาจ้างมิได้ระงับไปแต่อย่างใด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2552)

119 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น เช่น หนี้ตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจะขอรับชำระหนี้เป็นค่าเช่า หรือค่าเสียหายไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2523) หนี้ตามสัญญากู้แต่ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ โดยเจ้าหนี้จะอ้างว่าได้มีการออกเช็คไว้เป็นหลักฐานแต่ไม่ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ทรงเช็คนั้น ก็ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2524, 2438/2539)

120 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- หนี้ที่ขาดอายุความ แม้ลูกหนี้ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ หรือแม้จะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาฟ้องจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ตามในชั้นยื่นขอรับชำระหนี้ ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็สามารถยกขึ้นเป็นเหตุไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2522, 8488/2530, 8716/2550, 2007/2528, 1596/2534, 4685/2539,4642/2540, 6555/2542, 3960/2546, 1679/2548)

121 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- แต่หากเจ้าหนี้นำมูลหนี้มาฟ้องแล้วถือว่าอายุความสะดุดหยุดลงสามารถนำมูลหนี้ที่ฟ้องมายื่นขอรับชำระหนี้ได้แม้ว่าขณะยื่นนั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ /2523, 3945/2541, 5596/2543, 3017/2544)

122 การขอรับชำระหนี้ หลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับชำระหนี้
- หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นโดยปกติไม่สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้ เว้นแต่จะทำไปเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้แต่ถ้ารู้อยู่แล้วว่ากิจการของลูกหนี้ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้แล้วยังคงให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นก็ไม่สามารถนำมายื่นขอรับชำระหนี้ได้เช่นกัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2550)

123 การขอรับชำระหนี้ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
- ปกติแล้วเจ้าหนี้มีประกันไม่จำเป็นต้องยื่นขอรับชำระหนี้แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันที่ลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ โดยเจ้าหนี้จะมีสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันนั้นๆ (มาตรา 95)

124 การขอรับชำระหนี้ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
- การให้ทรัพย์หลักประกันไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ คือ ก่อนที่ศาลจะได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2522) - เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องร้องบังคับคดีเอากับทรัพย์หลักประกัน(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2524) หรือจะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์หลักประกันมาขายเพื่อชำระหนี้ก็ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2540) แม้ว่าจะพ้นระยะเวลาในการบังคับคดีแล้วก็ตาม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552)

125 การขอรับชำระหนี้ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
- แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการยึดให้เสมอไปหากเห็นว่าทรัพย์หลักประกันนั้นเมื่อขายแล้วไม่พอชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2547, 6519/2550)

126 การขอรับชำระหนี้ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
- เจ้าหนี้มีประกันประสงค์จะขอรับชำระหนี้จะต้องปรากฏว่าเจ้าหนี้สามารถบังคับชำระหนี้ได้เกินกว่าตัวทรัพย์หลักประกันที่ลูกหนี้ได้ให้ไว้ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ภายใต้เงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ 1. ยินยอมสละทรัพย์หลักประกันเพื่อประโยชน์แก่บรรดาเจ้าหนี้แล้วขอรับชำระหนี้เต็มจำนวน 2. เมื่อได้บังคับทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ 3.เมื่อขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่ 4. ตีราคาทรัพย์หลักประกันแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ขาดอยู่

127 การขอรับชำระหนี้ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
- กรณีที่ 4 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินตามราคานั้นได้ แต่ถ้าเห็นว่าราคาไม่สมควรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายทรัพย์สินนั้นตามวิธีการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าหนี้ตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้จะนำ ออกขายทอดตลาดก็ได้โดยเจ้าหนี้และ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเข้าสู้ราคา เมื่อขายได้เท่าใดให้ถือว่าเป็นราคาที่เจ้าหนี้ได้ตีมาในคำขอ ทั้งนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าหนี้ทราบภายในสี่เดือนนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ยื่นขอรับชำระหนี้ หากไม่แจ้งให้ถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยินยอมให้ทรัพย์หลักประกันตกเป็นของเจ้าหนี้และไม่มีสิทธิที่จะไถ่ถอนหรือขายทรัพย์สินนั้นอีก (มาตรา 96)

128 การขอรับชำระหนี้ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
- หากเจ้าหนี้มีประกันยื่นขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าตนเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้จะต้องคืนทรัพย์หลักประกันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และถือว่าสิทธิเหนือทรัพย์หลักประกันนั้นได้ระงับไป เว้นแต่ จะแสดงต่อศาลได้ว่าเกิดจากความพลั้งเผลอซึ่งศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้โดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่งหรือกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ (มาตรา 97) - เจ้าหนี้มีประกันไม่สามารถเลือกใช้วิธีการที่จะได้รับชำระหนี้ได้ทั้งตามมาตรา 95 และมาตรา 96 พร้อมกัน โดยจะต้องเลือกใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2535)

129 การขอรับชำระหนี้ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
- หากจะประสงค์จะได้รับชำระหนี้นอกเหนือจากทรัพย์หลักประกันจะต้องใช้วิธีการตามมาตรา 96 เพราะหากเลือกใช้วิธีการตามมาตรา 95 เจ้าหนี้คงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์หลักประกันเท่านั้นโดยจะไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ได้อีก และจะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 91 ด้วย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2544)

130 การขอรับชำระหนี้ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
- เมื่อเจ้าหนี้มีประกันขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96(3) แล้ว หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์หลักประกันได้แต่ผู้ซื้อไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำทรัพย์หลักประกันออกขายทอดตลาดใหม่ เงินที่ผู้ซื้อทรัพย์เดิมได้วางเป็นประกันและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ริบไว้นั้นจะต้องนำมารวมชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้มีประกันก่อน โดยไม่ถือว่าเป็นเงินที่ได้จากทรัพย์ลูกหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถนำมาแบ่งให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ตามมาตรา 109(2) (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2553)

131 การพ้นจากภาวะล้มละลาย
การประนอมหนี้ก่อนและหลังการล้มละลาย มาตรา 45 – 63 การปลดจากการล้มละลาย มาตรา 67/1 – 81/4 การยกเลิกการล้มละลาย มาตรา


ดาวน์โหลด ppt นายอรรถโกวิท ชาวเหนือ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google