ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความหมายของหนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะคืออะไร? หนี้ หมายถึง ภาระรายจ่ายทั้งหมดที่มีลักษณะที่ต้องจ่ายคืน ซึ่งผู้กู้จะต้องจ่ายคืนเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยเป็นการจ่ายคืนเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยในเวลาที่กำหนด ความหมายของหนี้สาธารณะ
2
ความหมายของหนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะ หมายถึง ภาระหรือหนี้ของภาคสาธารณะ ที่หน่วยงานซึ่งจัดเป็นภาคสาธารณะเป็นผู้ก่อขึ้นโดยตรง และมีภาระที่ต้องชำระคืนให้แก่ภาคเศรษฐกิจอื่น ความหมายของหนี้สาธารณะ
3
ความหมาย / นิยามตามพระราชบัญญัติการบริหาร
หนี้สาธารณะ มาตรา 4 “หนี้สาธารณะ หมายความว่า หนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน แต่ไม่รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยกระทรวงการคลังมิได้ค้ำประกัน ” ความหมาย / นิยามตามพระราชบัญญัติการบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ.2548
4
ความหมาย / นิยามตามพระราชบัญญัติการบริหาร
หนี้สาธารณะ ม. 4 วรรค 2 “ หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาล และหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่ไม่รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ ” ความหมาย / นิยามตามพระราชบัญญัติการบริหาร หนี้สาธารณะ พ.ศ.2548
5
หนี้สาธารณะ ดังนั้น หนี้สาธารณะตาม พรบ. การบริหารหนี้ ได้แก่ หนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน โดยจะเห็นได้ว่าไม่ได้ครอบคลุมถึงหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และไม่รวมรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงินโดยกระทรวงการคลังมิได้ค้ำประกัน ซึ่งก็คือ รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินนั่นเอง สรุป
6
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
หนี้สาธารณะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทของหนี้สาธารณะ แบ่งตามระยะเวลาของเงินกู้ แบ่งตามแหล่งของเงินกู้
7
ประเภทของหนี้สาธารณะ แบ่งตามระยะเวลาของเงินกู้
หนี้ภายในประเทศ ประเภทของหนี้สาธารณะ แบ่งตามระยะเวลาของเงินกู้ หนี้ภายในประเทศ หนี้ภายนอกประเทศ
8
ประเภทของหนี้สาธารณะ
เป็นหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลกู้เงินมาจากแหล่งเงินต่างๆ ภายในประเทศ ได้แก่ ภาคเอกชน ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง และสถาบันการเงิน และประชาชนทั่วไป โดยการเสนอขายพันธบัตรและหลักทรัพย์รัฐบาลประเภทอื่นๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เป็นต้น ประเภทของหนี้สาธารณะ หนี้ภายในประเทศ
9
ประเภทของหนี้สาธารณะ
เป็นหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลกู้เงินมาจากแหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศ ซึ่งอาจกู้จากบุคคล หรือรัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น การกู้ยืมจากธนาคารโลก ประเภทของหนี้สาธารณะ หนี้ภายนอกประเทศ
10
หนี้สาธารณะ วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้สาธารณะ
1. เพื่อใช้จ่ายในการลงทุน 5. เพื่อรักษาและเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศ 2. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 6. เพื่อระดมทุนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาประเทศ 3. เพื่อชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล 7.เพื่อนำมาหมุนเวียนใช้หนี้เก่า 8. เพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาระหนี้ให้มีการกระจายหนี้ดีขึ้น 4. เพื่อใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน
11
หนี้สาธารณะ อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 มาตรา 20 วรรคแรก ภายใต้วัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (กรณีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล) อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน มาตรา 21 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ในปีงบประมาณหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินบาทไม่เกินวงเงิน (1) ร้อยละยี่สิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ (2) ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้น
12
อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
หนี้สาธารณะ 2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรือเพิ่มเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน มาตรา 22 การกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กระทำได้เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีและต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ โดยให้กระทรวงการคลังกู้เป็นเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละสิบของงบประมาณรายจ่ายประจำปีการกู้เงินตามวรรคหนึ่งให้กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้เงินอย่างชัดเจนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
13
อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน
หนี้สาธารณะ 2. พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรือเพิ่มเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ (ต่อ) อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน มาตรา 23 ในการกู้เงินตามมาตรา 22 ถ้าภาวะตลาดการเงินในประเทศเอื้ออำ นวยและจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการเงิน การคลัง และตลาดทุน กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีอาจกู้เป็นเงินบาทแทนการกู้เงินตราต่างประเทศก็ได้
14
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ
อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน มาตรา 24 การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ ให้กระทำได้เฉพาะเพื่อเป็นการประหยัด ลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน หรือกระจายภาระการชำระหนี้ โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) กู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ของกระทรวงการคลังไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ยังค้างชำระ หรือ (2) กู้เงินเพื่อชำระหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันไม่เกินจำนวนเงินที่ยังมีภาระการค้ำประกันอยู่เงินกู้ตาม (2) ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 แล้วแต่กรณีการกู้เงินตามวรรคหนึ่ง หากเป็นการกู้เงินรายใหม่เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ที่เป็นเงินบาทให้กู้เป็นเงินบาทเท่านั้นการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกู้เงินที่มีระยะเวลาการชำระหนี้เกินสิบ สองเดือนให้รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
15
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ (ต่อ)
3. ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ (ต่อ) อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน มาตรา 24/1 ในกรณีที่หนี้สาธารณะซึ่งจะทำการปรับโครงสร้างหนี้มีจำนวนเงินมาก และกระทรวงการคลังเห็นว่าไม่สมควรกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวในคราวเดียวกัน กระทรวงการคลังอาจทยอยกู้เงินเป็นการล่วงหน้าได้ไม่เกินสิบสองเดือนก่อนวันที่หนี้ถึงกำหนดชำระเงินที่ได้รับจากการกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้นำส่งเข้ากองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
16
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ
หนี้สาธารณะ 4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน มาตรา 25 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินภาครัฐ มีความจำเป็นต้องใช้เงินสำหรับโครงการหรือแผนงานที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และหากกระทรวงการคลังเป็นผู้กู้และนำมาให้หน่วยงานดังกล่าวกู้ต่อจะเป็นการประหยัดและทำให้การบริหารหนี้สาธารณะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินเพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวกู้ต่อได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงการกู้ตามวรรคหนึ่งให้นับรวมในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (1) ถ้ากู้เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 22 (2) ถ้ากู้เป็นเงินบาท ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 28
17
4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ (ต่อ)
หนี้สาธารณะ 4. ให้หน่วยงานอื่นกู้ต่อ (ต่อ) อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน มาตรา 25/1 การกู้เงินเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศให้กระทำโดยการออกตราสารหนี้ตามความจำเป็นในการสร้างอัตราดอกเบี้ยสำหรับใช้อ้างอิงในตลาดตราสารหนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 21 กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง ต้องรวมถึงอายุและวงเงินของตราสารหนี้ที่จะใช้ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยสำหรับใช้อ้างอิงในตลาดตราสารหนี้เงินที่ได้รับจากการกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้นำส่งเข้ากองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
18
หนี้สาธารณะ แหล่งเงินกู้ หนี้ภายในประเทศ หนี้นอกในประเทศ
19
คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
หน้าที่รับผิดชอบ ศึกษา วิเคราะห์โครงสร้างหนี้สาธารณะ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ ให้คำปรึกษา แนะนำ และส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นของรัฐ (4) ติดตามการปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ผูกพันกับแหล่งเงินกู้ และประเมินผลการ ดำเนินงานที่ใช้จ่ายเงินกู้ (5) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการ (6) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย องค์กรที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
20
คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
อำนาจหน้าที่ รายงานสถานะของหนี้สาธารณะเสนอคณะรัฐมนตรี เสนอแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี จัดทำ หลักเกณฑ์ในการกู้เงิน การค้ำ ประกัน การชำ ระหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ เสนอคำแนะนำในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา 25/1 มาตรา 26 และมาตรา 30 แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ ดำเนินการอื่นใดตามพระราชบัญญัติหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย องค์กรที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
21
สำนักบริหารหนี้สาธารณะ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังมีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและหลักเกณฑ์ รวมทั้งการจัดทำแผนการก่อหนี้ การค้ำประกันและการบริหารหนี้ภาครัฐ ดำเนินการก่อหนี้ การค้ำประกัน และการบริหารหนี้ของรัฐบาล หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งประสานการทำความตกลงในระดับนโยบาย รวมทั้งการจัดทำแผนความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการกับแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ องค์กรที่เกี่ยวข้อง สำนักบริหารหนี้สาธารณะ
22
หนี้สาธารณะ สิ่งที่สำคัญเงินกู้นั้นควรจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือกู้เพื่อการลงทุน และควรเป็นการลงทุนในโครงการที่สามารถให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนของเงินกู้นั้น จึงจะถือได้ว่าก่อประโยชน์ต่อประชาชนในชาติได้สูงสุด การกู้เงินจะมีภาระการใช้คืนซึ่งจะทำให้รายจ่ายของรัฐบาลในปีต่อมาสูงขึ้น ถ้าเป็นการกู้จากต่างประเทศการใช้คืนจะต้องชำระคืนเป็นเงินสกุลต่างประเทศซึ่งอาจทำให้ประเทศประสบปัญหาการขาดดุลการชำระเงิน ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงภาระการใช้คืนหนี้ด้วย สรุป
23
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.