งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คู่มือการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ดร.ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คู่มือการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ดร.ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คู่มือการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ดร.ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์
(IEAT Handbook 2016 Version 2) โดย ดร.ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์

2

3

4

5

6 การตัดสินใจลงทุนในประเทศไทย

7 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการนั้นมี 2 กลุ่มใหญ่ กฎหมายกลุ่มทั่วไป คือ กฎหมายพื้นฐานที่ผู้ประกอบกิจการทุกรายต้องใช้เหมือนกัน กฎหมายเฉพาะอุตสาหกรรม คือ กฎหมายเฉพาะบางประเภทกิจการจะต้องดำเนินการ ปัญหาที่พบในการประกอบกิจการมักมาจากการไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของกฎหมาย การตีความเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ ปัญหาที่พบในการประกอบกิจการมักมาจากการไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของกฎหมาย การตีความเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์ ตัวอย่าง พระราชบัญญัติหลักที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 การประกอบกิจการมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องมากกว่า 70 พระราชบัญญัติ 7

8 ส่วนที่ 1

9 ส่วนที่ 2

10 ส่วนที่ 3

11 ส่วนที่ 4

12 พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ คู่มือการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมฉบับที่ 2
พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

13 พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  หมายเหตุ พระราชบัญญัตินี้ เป็นพระราชบัญญัติที่ทำให้การประกอบกิจการสามารถที่จะดำเนินการได้อย่างขั้นตอนที่กระชับ ระยะเวลาที่สั้น และมีความสะดวกเพราะสามารถมี One-Stop Services ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมได้ด้วยตนเอง เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ เป็นไปด้วยดียิ่งขึ้นและเหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเสียใหม่ การเชื่อมโยงกับเส้นทางชีวิตของผู้ประกอบกิจการ ส่วนที่ 2 การขออนุญาตต่างๆ ส่วนที่ 3 การประกอบกิจการ ส่วนที่ 4 สิทธิประโยชน์ พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522

14 เนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวดที่ 1 การนิคมอุตสาหกรรม ส่วนที่ 1 การจัดตั้ง เน้นเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง กนอ. การจัดตั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานวาขา องค์ประกอบของทุน อำนาจในการตรวจสอบ กำกับดูแลในนิคมอุตสาหกรรม การกำหนดค่าเช่า เช่าซื้อ ค่าบำรุงรักษา และค่าบริการต่างในนิคมอุตสาหกรรม การบริหารจัดการรายรับและรายจ่ายของ กนอ. ส่วนที่ 2 คณะกรรมการและผู้ว่าการ เน้นเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการ กนอ. และผู้ว่า การกำหนดคุณสมบัติและประสบการณ์ของตำแหน่งต่างๆในคณะกรรมการ กนอ. อายุ และการพ้นจากตำแหน่ง บทบาท อำนาจ และหน้าที่ของคณะกรรมการ กนอ. หมวดที่ 2 นิคมอุตสาหกรรม ส่วนที่ 1การจัดตั้ง เน้นเกี่ยวกับ ประเภทของนิคมอุตสาหกรรม และขั้นตอนการจัดตั้ง และเงื่อนไขของนิคมอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ส่วนที่ 2 การประกอบกิจการ ประโยชน์และข้อห้าม เน้นเกี่ยวกับการขออนุญาตต่างๆ ของผู้ประกอบกิจการทั้งประเภทเขตทั่วไปและเขตประกอบการเสรี รวมไปถึงการขอรับสิทธิประโยชน์ทั้งแบบ Non- Tax และแบบ Tax ด้วย โดยกิจกรรมทั้งหมดที่ผู้ประกอบกิจการจะดำเนินการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หมวดที่ 3 พนักงานเจ้าหน้าที่ เน้นเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการ และกำหนดบทบาทหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หมวดที่ 4 การควบคุม เน้นเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการองค์กรของ กนอ. และหน่วยงานควบคุม หมวดที่ 5 บทกำหนดโทษ เน้นเกี่ยวกับการกำหนดระวางโทษปรับ และโทษแบบทั้งจำและปรับ

15 พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ
กระทรวงอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หมายเหตุ พระราชบัญญัติโรงงาน เป็นกฎหมายที่มีการเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องอื่นจำนวนมาก เช่น ด้านการตรวจสอบโรงงานจะต้องรู้เกี่ยวกับอาคาร เป็นต้น เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นการปรับปรุงระบบการควบคุมดูแลให้สอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการของโรงงานแต่ละประเภท เป็นการปรับปรุงวิธีการอนุญาตและการกำกับดูแลให้เหมาะสม ลดความซ้ำซ้อนในการทำงานลง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบกิจการ มีการกำหนดขอบเขตการประกอบกิจการโรงงานให้ชัดเจน และขั้นตอนในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ การเชื่อมโยงกับเส้นทางชีวิตของผู้ประกอบกิจการ ส่วนที่ 2 การก่อสร้าง ส่วนที่ 3 การประกอบกิจการ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535

16 เนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวดที่ 1 การประกอบกิจการโรงงาน ประกอบด้วย การแบ่งประเภทชนิด หรือขนาดของโรงงาน, การกำหนดข้อปฏิบัติของโรงงาน เช่น ที่ตั้งโรงงาน ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักร ความรู้เฉพาะทางของคนงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย การควบคุมมลพิษและดารระบายมลพิษออกจากโรงงาน เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน, และการขอใบอนุญาตประเภทต่างๆ และอายุของใบอนุญาต ตัวอย่างเช่น ใบขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เป็นต้น หมวดที่ 2 การกำกับดูแลโรงงาน ประกอบด้วย อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการกำกับดูแลโรงงาน การแจ้งปิดกิจการ การแจ้งหยุดกิจการ การแจ้งการเกิดอุบัติเหตุของโรงงาน บทกำหนดโทษและค่าธรรมเนียม

17 พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ
กระทรวงมหาดไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคารในท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง หมายเหตุ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารเป็นพระราชบัญญัติที่มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นเพื่อให้สะดวกในการกำกับดู และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดพิเศษเฉพาะของท้องถิ่น ทำให้ในการปฏิบัติอาจจะมีความสับสนขึ้นได้ การเชื่อมโยงกับเส้นทางชีวิตของผู้ประกอบกิจการ ส่วนที่ 2 การก่อสร้าง การตรวจสอบอาคาร เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ และรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนการดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารแทนการขออนุญาต ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการบังคับการตามพระราชบัญญัตินี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงบทกำหนดโทษ อัตราโทษ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีให้เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจและลักษณะของการกระทำความผิด กำหนดมาตรการในด้านการควบคุมเกี่ยวกับความมัน่ คงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปตั ยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร กำหนดรายละเอียดทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ปรับปรุงกระบวนการเกี่ยวกับการแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

18 เนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 1 บททั่วไป กำหนดประเภทอาคารที่ต้องควบคุมตาม พระราชบัญญัตินี้ กำหนดประเภทอาคารที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดเงื่อนไขให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพิ่มเติมจากข้อปฏิบัติในพระราชบัญญัตินี้ การติดต่อสอบถามข้อมูลกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ หมวด 2 คณะกรรมการควบคุมอาคาร โครงสร้างของคณะกรรมการควบคุมอาคาร วาระอยู่ในตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ เงื่อนไขในการประชุมของคณะกรรมการควบคุมอาคาร และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมอาคาร การจัดตัง้สำนักงานคณะกรรมการควบคุมอาคารขึ้นในกรมโยธาธิการและผังเมือง

19 เนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 3 การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร การขอรับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร และใบรื้อถอนอาคาร การตรวจสอบงานออกแบบและคำนวณส่วนต่างๆ ของโครงสร้างอาคาร การตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ ขั้นตอนและเอกสารในการยื่นขอรับใบอนุญาตแบบต่างๆ หมวด 4 อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการดำเนินการในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืน หมวด 5 การอุทธรณ์ กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หมวด 6 นายช่าง นายตรวจ และผู้ตรวจสอบ กำหนดอำนาจหน้าที่ของนายช่าง นายตรวจ และผู้ตรวจสอบ

20 เนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 7 เขตเพลิงไหม้ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับเขตเพลิงไหม้ เช่น การประกาศเขตเพลิงไหม้ และการปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ เป็นต้น หมวด 8 บทเบ็ดเตล็ด การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มอบหมายกรรมการเปรียบเทียบคดี เจ้าพนักงานท้องถิ่น นายช่าง หรือนายตรวจตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ได้รับอนุญาตเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ดำเนินการ ผู้ควบคุมงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสถานที่นั้นต้องให้ความสะดวกและช่วยเหลือตามสมควร ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มอบหมาย กรรมการเปรียบเทียบคดี เจ้าพนักงานท้องถิ่น นายช่าง และนายตรวจ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหักเงินค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารที่ได้รับจากผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งตามมาตรา 39 ทวิ ไว้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเพื่อนำมาจัดสรรเป็นเงินค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร นายช่างและนายตรวจได้ตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่กำหนดในข้อบัญญัติท้องถิ่น หมวด 9 บทกำหนดโทษ การกำหนดเกี่ยวกับระวางโทษ

21 พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 กฎหมายวัตถุอันตรายเป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุอันตราย ปัจจุบันมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ 6 หน่วยงาน โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ตามวัตถุประสงค์ของการนำวัตถุอันตรายไปใช้ดังนี้  กรมโรงงานอุตสาหกรรม รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม  กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการเกษตร  กรมประมง รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  กรมปศุสัตว์ รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางปศุสัตว์  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในบ้านเรือน หรือทางสาธารณสุข  กรมธุรกิจพลังงาน รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซปิโตรเลียม

22 วัตถุอันตราย วัตถุระเบิดได้ วัตถุไวไฟ
วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม

23 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
ในปัจจุบันมีการนำวัตถุอันตรายมาใช้ในกิจกรรมประเภทต่างๆเป็นจำนวนมาก และวัตถุอันตรายบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์และสิ่งแวดล้อมได้ กฎหมายที่มีอยู่เดิมมีการทับซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆหลายหน่วยงานทำให้เกิดความแตกต่างกันและไม่ครอบคลุมเพียงพอ พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติที่ปรับปรุงและมีการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมวัตถุอันตรายต่างๆ ทุกชนิด และมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมวัตถุอันตรายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น พร้อมมีการ จัดระบบบริหารให้มีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับการควบคุมดูแลวัตถุอันตราย ดังกล่าวด้วย

24 เนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 1 คณะกรรมการวัตถุอันตราย องค์ประกอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย บทบาท อำนาจ หน้าที่ และคุณสมบัติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ระยะเวลาของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หมวด 2 การควบคุมวัตถุอันตราย การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อเป็นศูนย์กลาง ประสานงานในเรื่องข้อมูลของวัตถุอันตรายกับส่วนราชการต่างๆ การจำแนกชนิดของวัตถุอันตรายมี 4 ชนิด ได้แก่ (1) วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด (2) วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดด้วย (3) วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครองต้องรับใบอนุญาต (4) วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายแต่ละชนิด การขอรับใบอนุญาตสำหรับผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในปฎิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมวัตถุอันตราย

25 เนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง กำหนดหน้าที่และความรับผิดสำหรับผู้ผลิตวัตถุอันตราย ผู้นำเข้าวัตถุอันตราย ผู้ขนส่ง ผู้ขายหรือผู้ส่งมอบวัตถุอันตราย นายจ้าง ตัวการ ผู้ว่าจ้าง หรือเจ้าของกิจการ อายุความและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย หมวด 4 บทกำหนดโทษ การกำหนดระวางโทษจำคุก และโทษปรับ ตามกรณีที่ฝ่าฝืน

26 พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามหลักการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม กำหนด อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการประสานงาน และมี หน้าที่ร่วมกันในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกำหนดแนวทาง ปฏิบัติในส่วนที่ไม่มีหน่วยงาน ใดรับผิดชอบโดยตรง กำหนด มาตรการควบคุมมลพิษด้วยการจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสียระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษให้เป็นไปโดยชัดเจน กำหนด ให้มีมาตรการส่งเสริมด้านกองทุนและความช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการยอมรับที่จะ ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคุณภาพสิ่ง แวดล้อม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ เหตุผล ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ใช้ บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการควบคุมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ อย่างพอเพียงสมควรปรับปรุงใหม่โดย

27 เนื้อหาสาระของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ
เนื้อหาสาระของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. หมวดที่ 1 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หมวดที่ 2 กองทุนสิ่งแวดล้อม หมวดที่ 3 การค้มครองสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 1 มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 2 การวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 3 เขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 4 การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หมวดที่ 4 การควบคุมมลพิษ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการควบคุมมลพิษ ส่วนที่ 2 มาตราควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด ส่วนที่ 3 เขตควบคุมมลพิษ ส่วนที่ 4 มลพิษทางอากาศและเสียง ส่วนที่ 5 มลพิษทางน้ำ ส่วนที่ 6 มลพิษอื่นๆและของเสียอันตราย ส่วนที่ 7 การตรวจสอบและควบคุม ส่วนที่ 8 ค่าบริการและค่าปรับ หมวดที่ 5 มาตรการส่งเสริม หมวดที่ 6 ความรับผิดทางเพ่ง หมวดที่ 7 บทกำหนดโทษ 27

28 วัตถุประสงค์ของ พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 วัตถุประสงค์ของ พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เพื่อกำหนดขอบเขตให้ครอบคลุมปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กว้างขวางมากขึ้น และสามารถปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ มาตรฐานการ ควบคุมให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ เพื่อปรับปรุงระบบการควบคุมให้มีลักษณะการกำกับดูแลและติดตาม มากขึ้น เพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์กร และ พนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งใน ส่วนกลาง และ ส่วนท้องถิ่น ให้สามารถปฏิบัติการให้เป็นไปตาม กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อปรับปรุงให้กระบวนการในการดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และกระชับมากขึ้น โดยการกำหนดให้มีระบบการเปรียบเทียบคดีขึ้น เพื่อปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เป้าหมาย เพื่อคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม

29 ขอบเขตของ พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
ขอบเขตของ พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535

30 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ
กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หมายเหตุ พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่บทบัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่าง นายจ้างและลูกจ้างโดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการใช้แรงงานและการจ่ายค่าตอบแทน ในการทำงานเพื่อให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยอันดีได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามสมควร ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศ ที่พัฒนาแล้ว โครงสร้างด้าน เศรษฐกิจจะต้องเป็นไปในลักษณะเปิดและเข้าสู่ระบบ การแข่งขัน มาตรฐานการใช้แรงงานจะถูกกำกับดูแลโดยกลุ่มประเทศคู่ค้า จึงจำเป็น ต้องเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานในการสร้างความอยู่ดีกินดี ยกระดับ รายได้ และมีหลักเกณฑ์การจ้างงานที่เป็นธรรม เพื่อยกระดับมาตรฐานแรงงานไทยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลในฐานะประเทศสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อกำหนดการดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล และบริหารจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อให้การบริหารจัดการเป้นไปอย่างมีเอกภาพ การเชื่อมโยงกับเส้นทางชีวิตของผู้ประกอบกิจการ ส่วนที่ 2 การก่อสร้าง ส่วนที่ 3 การประกอบกิจการ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

31 โครงสร้างเนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 1 บททั่วไป การเยกร้องสิทธิประโยชน์ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง ข้อปฏิบัติของนายจ้าง หมวด 4 การใช้แรงงานเด็ก ข้อปฏิบัติในกรณีที่มีการจ้างแรงงานเด็ก สิทธิประโยชน์ของแรงงานเด็ก ประเภทงานที่ห้ามใช้แรงงานเด็ก หมวด 7 สวัสดิการ องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน การพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หมวด 2 การใช้แรงงานทั่วไป การกำหนดระยะเวลาในการทำงานปกติ การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี การลาพักผ่อนประจำปี สิทธิลาป่วย สิทธิลากิจธุระ สิทธิลาเพื่อรับราชการทหาร สิทธิลาเพื่อการฝึกอบรม หมวด 5 ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ข้อปฏิบัติและเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด หมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม การพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หมวด 6 คณะกรรมการค่าจ้าง องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการค่าจ้าง การพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หมวด 9 การควบคุม ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้าง การจัดทำทะเบียนลูกจ้าง การจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด หมวด 3 การใช้แรงงานหญิง การกำหนดประเภทงานสำหรับการใช้แรงงานหญิง การทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด สิทธิลาเพื่อคลอดบุตร

32 โครงสร้างเนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 10 การพักงาน ข้อบังคับเกี่ยวกับการพักงานของลูกจ้าง หมวด 13 กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ และอำนาจของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน การบริหารจัดการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หมวด 11 ค่าชดเชย ข้อบังคับเกี่ยวกับการค่าชดเชยของลูกจ้าง หมวด 14 พนักงานตรวจแรงงาน ข้อปฏิบัติการตามหน้าที่ของพนักงานตรวจแรงงาน องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ และอำนาจของพนักงานตรวจแรงงาน หมวด 12 การยื่นคำร้อง และการพิจารณาคำร้อง ข้อบังคับเกี่ยวกับในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ หมวด 15 การส่งหนังสือ ข้อปฏิบัติในการส่งหนังสือ หมวด 16 บทกำหนดโทษ การกำหนดบทกำหนดโทษ

33 พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สารเคมี และสารเคมีอันตรายมาใช้ในกระบวนการผลิต การก่อสร้าง และบริการ แต่ขาดการพัฒนาความรู้ความเข้าใจควบคู่กันไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน และก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงาน จนถึงแก่บาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ เสียชีวิต หรือเกิดโรคอันเนื่องจากการทำงานซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นด้วย ประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มีหลักการส่วนใหญ่เป็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานทั่วไป และมีขอบเขตจำกัดไม่สามารถกำหนดกลไกและมาตรการบริหารงานความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการวางมาตรการควบคุม กำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเหมาะสม สำหรับป้องกัน สงวนรักษาทรัพยากรบุคคลอันเป็นกำลังสำคัญของชาติ สมควรมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นการ การเชื่อมโยงกับเส้นทางชีวิตของผู้ประกอบกิจการ ส่วนที่ 3 การประกอบกิจการ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

34 โครงสร้างเนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 1 บททั่วไป ข้อกำหนดในการจัดสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะให้กับลูกจ้าง หมวด 3 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การพ้นจากตำแหน่งตามวาระของ เงื่อนไขการประชุมการประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการ อำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน การกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การประเมินความเสี่ยงษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนด การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ การฝึกอบรม และการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน การติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หมวด 4 การการควบคุม กำกับ ดูแล ข้อปฏิบัติสำหรับนายจ้างในการการควบคุม กำกับ ดูแล ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

35 โครงสร้างเนื้อหาของพระราชบัญญัติ
หมวด 5 พนักงานตรวจความปลอดภัย ข้อปฏิบัติสำหรับพนักงานตรวจความปลอดภัย หมวด 7 สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน วัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ ของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมวด 6 กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน องค์ประกอบ บทบาท หน้าที่ และอำนาจของกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การบริหารจัดการกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมวด 8 บทกำหนดโทษ การกำหนดบทกำหนดทาในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือกระทำความผิด

36

37

38 ดร. ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์
ติดต่อเพิ่มเติม ดร. ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์ ที่ปรึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม GET SOLUTIONS (THAILAND) CO.,LTD. Mobile: Line ID: pthantip043 Facebook Fan page: Dr.ANN


ดาวน์โหลด ppt คู่มือการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ดร.ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google