ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Review of the Literature)
การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review or Review of the Literature)
2
วรรณกรรม (Literature) หรือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบ น่าเชื่อถือ เช่น หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และฐานข้อมูลออนไลน์ต่าง ๆ
3
Review of the Literature)
การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review or Review of the Literature) การศึกษาค้นคว้า รวบรวมผลงานทางวิชาการจากแหล่งฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ตำรา งานวิจัย บทความทางวิชาการ และเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องหรือประเด็นปัญหาวิจัยที่สนใจทำการศึกษา โดยนำมาวิเคราะห์ในประเด็นแนวคิด ทฤษฎี ระเบียบวิธีการวิจัย ข้อสรุป และข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัย แล้วเรียบเรียงให้มีเนื้อหาต่อเนื่องกัน
4
จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม
เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมีองค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านงานวิจัยนั้นมีความมั่นใจว่า ผู้วิจัยมีภูมิรู้และความสามารถอย่างแท้จริง เพื่อแสดงการเชื่อมโยงปัญหา และองค์ความรู้จากงานวิจัยในอดีตจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นความรุนแรงของปัญหา และความต่อเนื่องของงานวิจัยที่ยังไม่สามารถให้คำตอบประเด็นปัญหาที่สำคัญ ๆได้
5
ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม
1. เป็นแนวทางในการเลือกหัวเรื่องวิจัย และช่วยให้มองเห็นปัญหาวิจัยที่สำคัญ 2. ได้หัวเรื่องวิจัยที่เหมาะสม ไม่ซ้ำซ้อน ไม่ล้าสมัย 3. ช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ และแนวทางการตั้งสมมติฐานได้ตรงประเด็น 4. ทำให้ทราบว่ามีทฤษฎี หรือโมเดลใดบ้างที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยที่ศึกษา 5. ทำให้ทราบว่ามีตัวแปรใดบ้างที่เกี่ยวข้อง และมีความสัมพันธ์อย่างไร? (ทางตรง/อ้อมหรือแทรกซ้อน) ต่อปัญหาที่สนใจ รวมถึงการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยที่ชัดเจน
6
ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม (ต่อ)
6. ทราบนิยามตัวแปร และนิยามเชิงปฎิบัติการของตัวแปรที่สำคัญ รวมทั้งขอบเขตของงานวิจัย 7. ช่วยในการกำหนดระเบียบวิธีวิจัยได้ถูกต้อง (รูปแบบการวิจัย/เลือกตัวอย่าง/สร้างเครื่องมือ/การเก็บรวบรวมข้อมูล/สถิติในการวิเคราะห์ เป็นต้น) 8. ได้แนวทางในการเขียนอภิปรายผลการวิจัยในลักษณะการเจาะลึกและตรงประเด็นมากขึ้น 9. ได้แนวทางในการเขียนรายงานการวิจัยที่ถูกต้อง
7
แหล่งของวรรณกรรม ตำรา (Text book) หนังสือ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัย บทความจากวารสารต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รายงานการวิจัยจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ . วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัยทั้งในและต่างประเทศ . ฐานข้อมูลออนไลน์ จาก CD-ROM และ Internet สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
8
ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1. การค้นหาวรรณกรรมจากแหล่งต่าง ๆ การอ่านและวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยหรือเอกสารแต่ละเรื่อง การเขียนเรียบเรียงเนื้อหาวรรณกรรม
9
ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
1. การค้นหาวรรณกรรมจากแหล่งต่าง ๆ . กำหนดขอบเขต และประเด็นที่สำคัญให้กระชับ ชัดเจน โดยพิจารณาคำสำคัญ (Key Word) . ค้นหาจากแหล่งเอกสารที่ต้องการ . รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด . คัดกรองเรื่องและเอกสารที่ตรงกับปัญหาวิจัยที่จะทำการศึกษา โดยอ่านบทคัดย่อ หรือบทสรุป . คัดเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวข้องน้อยออกไป
10
ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
การอ่านและวิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยหรือเอกสารแต่ละเรื่อง . อ่านเนื้อหาในแต่ละหัวข้ออย่างละเอียด . บันทึกเนื้อหาที่สำคัญในแต่ละหัวข้อ - ทำตารางสรุป หรือ - จดบันทึกในกระดาษ หรือพิมพ์ใน คอมพิวเตอร์ - ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการจัดการทางบรรณานุกรม เช่น EndNote
11
การอ่านและวิเคราะห์งานวิจัยแต่ละเรื่อง
แนวคิด: วัตถุประสงค์คืออะไร ตั้งสมมุติฐานอย่างไร ใช้แนวคิด ความรู้พื้นฐาน หรือใช้ทฤษฎีอะไร และมีตัวแปรอะไรที่ใช้ในงานวิจัย ตลอดจนการนิยามตัวแปรเชิงปฏิบัติการ ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มประชากร และการได้มาของตัวอย่าง ตัวอย่างมีขนาดเพียงพอหรือไม่ ทราบรูปแบบการวิจัย (สร้าง) เครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: แต่ละงานวิจัยให้ผลสรุปอย่างไร ผลการวิจัย สอดคล้อง หรือขัดแย้งกับผลงานของผู้ใดบ้าง งานวิจัยมีจุดแข็ง ข้อจำกัดอะไรบ้าง และข้อแก้ไขเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพที่ดีกว่า
12
การสรุปผลการทบทวนวรรณกรรม
ควรเรียบเรียงประเด็นการทบทวนวรรณกรรม ในแต่ละประเด็นไว้ที่เดียวกัน เช่น ผู้วิจัย วัตถุประสงค์ ทฤษฎี แนวคิดอะไร การวัดตัวแปร ระเบียบวิธีวิจัย (รูปแบบการวิจัย วิธีสุ่มตัวอย่าง ขนาดตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย และสถิติวิเคราะห์ที่ใช้) และผลลัพธ์ เป็นต้น ในลักษณะที่ชี้ให้เห็นว่าในประเด็นนั้นๆ มีผู้ใดได้ศึกษา หรือเสนอแนวคิดและทฤษฎีอะไรไว้บ้าง ผลสรุปเป็นอย่างไร มีข้อเหมือน แตกต่างกัน หรือมีข้อโต้แย้งอะไรบ้าง นอกจากนี้มีอะไรบ้างที่ควรศึกษาเพิ่มเติม ตัวอย่าง เช่นตารางสรุป
13
ตารางสรุปหัวข้อที่สำคัญ
ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) ตารางสรุปหัวข้อที่สำคัญ เรื่องที่ ปีที่รายงาน ชื่อผู้วิจัย แหล่งตีพิมพ์ ชื่อเรื่องวิจัย วัตถุ ประสงค์ สมมติ ฐาน
14
ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
ตารางสรุปหัวข้อที่สำคัญ ประเภท ชนิด หรือ รูปแบบ ประชา กร (ใคร ที่ไหน) วิธีเลือกตัวอย่าง และขนาดตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการ วิจัย
15
Process of Literature Reviews Direct evidence 35 articles
Literature search - Google - MEDLINE - Manual search (Journal, Text, etc. ) - Expert opinion, etc. Physical activity and stroke > 3,000 articles As usual search Not relevant, Not update, More specific Not English, No articles& buy etc. ≈200 articles Review abstracts to select articles ≈80 articles Detailed literature review - Check list for evaluation based on study design - Evidence table relevant, update, Full text Quality of evidence Direct evidence 35 articles Indirect evidence 45 articles Reference
16
Literature reviews tell us about
What is the problem and what have been done so far? Who did (authors)? Why did the authors did this particular study? (including objectives and research hypotheses to be tested ) What factors are be collected and how to measure? How was the study done? (study design) Ex. Who was studied? When and where? How to get the participants? (sampling, criteria)
17
Literature reviews tell us about
What are statistical methods used for analyses in this study? What did the authors find? (Results) What limitations exist to these conclusion ? How do the results compare to those of other investigators ? What further investigations are needed ?
18
ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
3. การเขียนเรียบเรียงเนื้อหาวรรณกรรม . เขียนเรียบเรียงเนื้อหาให้เชื่อมโยงต่อเนื่อง ครอบคลุมประเด็นที่สำคัญ . เขียนสรุปท้าย มีประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะตัวแปรที่สำคัญที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมทีจะใช้กับงานวิจัยนี้มีอะไรบ้าง เพื่อจะเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดของงานวิจัยที่แสดงในส่วนต่อไป
19
ข้อคำนึงการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1. เลือกเฉพาะข้อมูล เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจริง ๆ กับปัญหาที่ศึกษาเท่านั้น - ครอบคลุม ทันสมัย (เนื้อหา และ เวลา) - วิเคราะห์ กลั่นกรอง ผสมผสาน เน้นการอ้างอิงจากแหล่งปฐมภูมิเท่านั้น - อ้างอิงเป็นระบบ ถูกต้อง
20
ข้อคำนึงการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)
3. เน้นการเขียนเชื่อมโยงและมีความต่อเนื่องในเนื้อหา - เรียงลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง - ใช้ภาษาชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบ 4. มีการเขียนสรุปในตอนท้าย - เชื่อมโยงกับความสำคัญและปัญหาวิจัยที่จะทำ - เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎี หรือ โมเดล (ถ้ามี) - เชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)
21
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.