ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสมบุญ รักไทย ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
๕ พัฒนาการของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
จุดประสงค์การเรียนรู้ อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ 1
2
พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ พัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการในสมัยโบราณ พัฒนาการในสมัยใหม่ ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ พัฒนาการในสมัยปัจจุบัน ความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ 2
3
ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้
ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด ๑๐ องศาใต้ที่ติมอร์-เลสเต กับละติจูด ๒๘ องศาเหนือที่ภาคเหนือของเมียนมา และลองจิจูด ๙๒ องศาตะวันออกที่ภาคตะวันตกของเมียนมา กับลองจิจูด ๑๔๑ องศาตะวันออกบริเวณชายแดนปาปัว (อินโดนีเซีย) กับปาปัวนิวกินี ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน จดมหาสมุทรแปซิฟิกและประเทศปาปัวนิวกินี ทิศตะวันตก ทิศใต้ ติดต่อกับอินเดีย บังกลาเทศ และมหาสมุทรอินเดีย จดทะเลติมอร์ และทะเลอะราฟูรา 3
4
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศที่ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะหรือหมู่เกาะ เมียนมา สิงคโปร์ ไทย บรูไน ลาว ฟิลิปปินส์ กัมพูชา อินโดนีเซีย เวียดนาม ติมอร์-เลสเต 4
5
บริเวณชายฝั่งทะเล คาบสมุทร เกาะ และหมู่เกาะ
ลักษณะภูมิประเทศ ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในกัมพูชาและลาว ซึ่งเป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชายฝั่งทะเลตอนใต้ และตะวันตกของเมียนมา ทางตะวันตกและตะวันออกของไทย ประเทศ ที่เป็นเกาะ คือ สิงคโปร์ และหมู่เกาะ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บริเวณนี้มีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ บริเวณชายฝั่งทะเล คาบสมุทร เกาะ และหมู่เกาะ ที่ราบสูงทางตะวันออกของเมียนมา ประชากรอาศัยอยู่น้อย แต่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า เช่น ป่าไม้ อัญมณี เขตที่ราบสูง มีทั้งทิวเขาขนาดไม่สูงมาก เช่น ทิวเขาในรัฐฉานของเมียนมา และทิวเขาสูง เช่น ทิวเขาในเกาะสุมาตรา เกาะชวา เขตเทิวเขา 5
6
ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศเป็นแบบร้อนชื้น และอยู่ในเขตมรสุม ช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค. ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก ช่วงเดือน พ.ย.-เม.ย. ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกน้อย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ อัญมณี น้ำมัน ทรัพยากรดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ 6
7
ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ อัญมณี และน้ำมัน รวมถึงการมีทรัพยากรดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากถิ่นอื่น 7
8
ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการด้านการเมือง
ก่อนเข้าสู่สมัยจักรวรรดินิยม รัฐต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับแนวคิดการปกครองจากอินเดียและจีน โดยรับแนวคิดสมมติเทพจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และคติธรรมราชา ของพระพุทธศาสนาจากอินเดีย เมื่อเข้าสู่สมัยจักรวรรดินิยมในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ รัฐส่วนใหญ่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลายประเทศได้รับเอกราช ขณะที่บางประเทศต้องต่อสู้กับเมืองแม่ เช่น เวียดนาม ทำให้ประเทศต่างๆ ได้รับผลกระทบจากสงครามเย็น 8
9
รูปแบบการปกครองของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดี เป็นประมุข ระบอบสังคมนิยม ไทย บรูไน อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ เมียนมา ติมอร์ - เลสเต 9
10
ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ
พื้นฐานทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ เกษตรกรรม โดยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา สินค้าที่สำคัญ คือ ข้าว ยางพารา และดีบุก เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ส่วนบางประเทศ เช่น มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย มีทรัพยากรน้ำมันมาก เมียนมามีป่าไม้และอัญมณีและมีแรงงานที่มีค่าแรงถูก 10
11
ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรม
เดิมชนพื้นเมืองมีความเชื่อแบบดั้งเดิม คือ การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ธรรมชาติ และผี ต่อมามีการติดต่อกับอินเดีย จีน และอาหรับ จึงรับอารยธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสาน ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ อารยธรรมตะวันตกได้เผยแพร่เข้ามา ทำให้สภาพสังคมเป็นสังคมเมืองมากขึ้น เจดีย์วัดเทียนมู่ เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม เป็นวัดในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน 11
12
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการรับอารยธรรมจีน
พัฒนาการในสมัยโบราณ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้คนอยู่อาศัยมานานดังพบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ชวาบนเกาะชวา มีอายุประมาณ ๕ แสนปีล่วงมาแล้ว รู้จักนำสำริดมาใช้ เช่น ที่ดองซอนในเวียดนาม บ้านเชียงในไทย และรู้จักเพาะปลูก มีการรับอารยธรรมจีน (มีอิทธิพลต่อเวียดนาม) และอินเดีย (มีอิทธิพลต่อเมียนมา ไทย ลาว และกัมพูชา อินโดนีเซียและมาเลเซียในระยะแรก) ก่อให้เกิดการตั้งอาณาจักรตามแบบอินเดีย 12
13
อาณาจักรสำคัญที่ได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดีย
พัฒนาการของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรสำคัญที่ได้รับอิทธิพลอารยธรรมอินเดีย ชื่ออาณาจักร ที่ตั้ง ช่วงเวลา/เหตุการณ์สำคัญ ฟูนัน กัมพูชา พุทธศตวรรษที่ ๗-๑๒ ฟูนันหมดอำนาจ อาณาจักรขอมหรือเขมรเข้ามาแทนที่ จามปา เวียดนามตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๕ ได้รับอารยธรรมอินเดีย มีการทำสงครามกับเวียดนาม และแพ้เวียดนาม ศรีวิชัย เกาะสุมาตราและทางใต้ของไทยตลอดแหลมมลายู ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๙ มีความรุ่งเรืองทางการค้า ขอมหรือเขมร กัมพูชา ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เรียกว่า อาณาจักรเจนละ ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๔ คือ อาณาจักรขอมสมัยเมืองพระนคร 13
14
ช่วงเวลา/เหตุการณ์สำคัญ
ชื่ออาณาจักร ที่ตั้ง ช่วงเวลา/เหตุการณ์สำคัญ เมียนมา พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๙ เริ่มจากอาณาจักรปยุ หรือศรีเกษตร นับถือพระพุทธศาสนา ต่อด้วยอาณาจักรพุกามทางเหนือ ส่วนทางใต้เป็นอาณาจักรมอญ ไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ เป็นสมัยที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก โดยเผยแผ่ยังทุกภาคของไทย เกาะชวา อินโดนีเซีย พุทธศตวรรษที่ ๑๔ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์สร้างบุโรพุทโธ พระเจ้าทักษาแห่งราชวงศ์สัญชัยสร้างปรัมบานัน ศรีเกษตรและพุกาม มะตะรัม ทวารวดี 14
15
อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีต่ออาณาจักรโบราณ
แนวคิดเรื่องเทวราชา และธรรมราชา กฎหมาย พระธรรมศาสตร์ ภาษาบาลี และสันสกฤต วรรณกรรม เรื่องรามเกียรติ์ และมหาภารตะ การใช้ พ.ศ. และ จ.ศ. รูปแบบศิลปกรรม 15
16
รับอิทธิพลอารยธรรมจีน มีจักรพรรดิ หรือหว่างเด๋
มลายู ไทย พม่า ลาว นับถือศาสนาอิสลาม มีสถาบันกษัตริย์ เป็นแกนสำคัญ พัฒนาการ ด้านการเมืองปกครอง ชวา มีหัวหน้า ของแต่ละชนเผ่า รับอิทธิพลอารยธรรมจีน มีจักรพรรดิ หรือหว่างเด๋ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม 16
17
พัฒนาด้านเศรษฐกิจ เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ หรือเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก มีการเลี้ยงสัตว์ และเก็บหาของป่า ด้านการค้า มีทั้งการค้าภายในและภายนอก ที่สำคัญ คือ การค้าทางทะเล ตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย เมืองท่าสำคัญ เช่น ปัตตาเวีย มะละกา อยุธยา 17
18
พัฒนาการ ด้านสังคม และวัฒนธรรม
ลักษณะเป็นสังคมชนชั้นโดยแบ่งเป็น ชนชั้นปกครองหรือมูลนาย กับชนชั้น ที่ถูกปกครองหรือราษฎรสามัญ และทาส พัฒนาการ ด้านสังคม และวัฒนธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา จะได้รับการยกย่องในสังคม ในสังคมมุสลิม ผู้ที่เคยไปแสวงบุญที่นครเมกกะ จะได้รับการยกย่อง 18
19
จุดมุ่งหมายของการแข่งขัน การยึดครองดินแดนชาติตะวันตก
พัฒนาการในสมัยใหม่ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โปรตุเกสเข้ายึดครองมะละกาและหมู่เกาะเครื่องเทศหรือหมู่เกาะโมลุกกะ และมีชาติตะวันตกอื่นๆ เข้ามาแข่งขัน จุดมุ่งหมายของการแข่งขัน ชาติตะวันตกต้องการเข้าควบคุมเมืองท่าสำคัญและแหล่งผลิตเครื่องเทศ การยึดครองดินแดนชาติตะวันตก ฮอลันดามีอิทธิพลตั้งแต่ใต้เกาะสิงคโปร์ลงไป ส่วนอังกฤษมีอิทธิพลเหนือสิงคโปร์ขึ้นมา หลังจากนั้นอังกฤษได้ขยายอิทธิพลเข้าปกครองมลายู ทำสัญญากับฮอลันดา อังกฤษทำสงครามครั้งแรกกับพม่า และในครั้งที่ ๓ พม่าต้องเสียเอกราชให้แก่อังกฤษใน พ.ศ.๒๔๒๘ และถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษ 19
20
พัฒนาการในสมัยใหม่ (ต่อ)
เวียดนามได้รับอิสระจากจีน เวียดนามต่อสู้กับอาณาจักรจามปาจนได้รับชัย ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เกิดกบฏไกเซินหรือไตเซิน ไม่นานเกิดขัดแย้งกับฝรั่งเศส จนนำไปสู่การทำสงคราม เวียดนามแพ้สงครามอังกฤษ เวียดนามยกดินแดนเวียดนามตอนล่าง (โคชินไชน่าหรือโคชินจีน) ให้ฝรั่งเศส จากนั้นฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจเข้ายึดครองเวียดนามทั้งหมด เวียดนามภายใต้การปกครองจากฝรั่งเศส เวียดนามถูกแบ่งเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ - ภาคเหนือ เป็นแคว้นตังเกี๋ย - ภาคกลาง เป็นแคว้นอันนัม - ภาคใต้ เป็นแคว้นโคชินไชน่าหรือโคชินจีน และถูกรวมเข้ากับเขมรและลาว เรียกว่า อินโดจีนของฝรั่งเศส 20
21
ผลจากการถูกยึดครองดินแดน
ผลดี ผลเสีย ทำให้ความขัดแย้งและสงคราม ระหว่างอาณาจักรต่างๆ สิ้นสุดลง ถูกชาติตะวันตกแย่งผลประโยชน์ คนพื้นเมือง ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก มีการพัฒนาพื้นที่ ให้เป็นแหล่งเพาะปลูกขนาดใหญ่ สูญเสียชีวิตผู้คนจากการต่อสู้ เรียกร้องเพื่อเอกราชจำนวนมาก เกิดชาตินิยมร่วมกัน ในการต่อสู้เพื่อเอกราช 21
22
พัฒนาการสมัยใหม่ด้านการเมืองการปกครอง
ประเทศต่างๆ ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก พม่า (เมียนมา) มลายู (มาเลเซีย) สิงคโปร์ บรูไน ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อินโดนีเซียตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดา เวียดนาม กัมพูชา ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศต่างๆ ที่ตกเป็นอาณานิคม จึงได้รับเอกราช 22
23
พัฒนาการสมัยใหม่ด้านเศรษฐกิจ
มีการบุกเบิกเพื่อทำการเกษตร มีการค้าขายแบบเสรี มีการใช้เงินตราอย่างแพร่หลาย เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรม เริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพ เป็นเศรษฐกิจการค้า 23
24
พัฒนาการสมัยใหม่ด้านสังคมและวัฒนธรรม
มีการยกเลิกระบบทาส ราษฎรมีเสรีภาพ ในการเลือกที่อยู่ และการประกอบอาชีพ มีการจัดการศึกษา แบบใหม่ ในหลายๆ ประเทศ ราษฎรมีโอกาส เลื่อนฐานะ ทางสังคมมากขึ้น มีส่วนร่วม ทางการเมือง การปกครองเพิ่มขึ้น 24
25
พัฒนาการในสมัยปัจจุบัน หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
เป็นยุคสงครามเย็น ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเอกราชดำเนินนโยบายต่างกัน เช่น เวียดนามเหนือเป็นฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ ฟิลิปปินส์ ไทยเป็นฝ่ายโลกเสรี อินโดนีเซียเป็นกลาง บางประเทศมีความพยายามต่อสู้เพื่อสร้างชาติขึ้นใหม่ เช่น พม่า เวียดนาม เป็นต้น ช่วงสงครามเวียดนามครั้งที่ ๒ เป็นยุคสงครามเย็น ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับเอกราชดำเนินนโยบายต่างกัน เช่น ประเทศต่างๆ หวาดกลัวการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงได้ร่วมก่อตั้งสมาคมอาสา ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นอาเซียน และประชาคมอาเซียน 25
26
พัฒนาการในสมัยปัจจุบัน การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม
หลังสงครามเย็น การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม เกือบทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ปรับตัวและยอมรับระบบเศรษฐกิจของโลกเสรี เกิดการพัฒนาทำให้ประชากรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากร ปัญหาความยากจน ปัญหาอาชญากรรม 26
27
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
ความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง การจัดทำสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation : TAC) เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานของความร่วมมือและการดำเนินความสัมพันธ์ ระหว่างกันของประเทศสมาชิก สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีหน้าที่บริหารกิจการทั่วไปของอาเซียนจัดการประชุมใหญ่ของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประสานงานกับคณะกรรมาธิการต่างๆ 27
28
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
ลำดับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน พ.ศ.๒๕๑๐ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ พ.ศ.๒๕๒๗ บรูไน พ.ศ.๒๕๓๘ เวียดนาม พ.ศ.๒๕๔๐ ลาวและเมียนมา พ.ศ.๒๕๔๒ กัมพูชา 28
29
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
การส่งเสริมการค้าระหว่างกัน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) การพัฒนาสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) 29
30
ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม
ด้านสตรีและเยาวชน ด้านการศึกษา นโยบายขจัดความรุนแรงต่อสตรี มีการจัดโครงการฝึกอบรมด้านวิชาชีพ มีโครงการพัฒนาเยาวชน มีการให้ทุนการศึกษา การจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network : AUN) ด้านวัฒนธรรม ด้านการพัฒนาชนบท มีการฝึกอบรมสร้างศักยภาพแก่องค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาชนบท การเสริมสร้างรายได้แก่ผู้มีรายได้น้อย มีการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของประเทศสมาชิก โครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก ด้านแรงงาน ด้านการท่องเที่ยว มีการจัดโครงการฝึกอบรมด้านวิชาชีพ มีโครงการพัฒนาเยาวชน มีการลงนามในข้อตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว ด้านสาธารณสุข มีโครงการความร่วมมือในการป้องกันและขจัดโรคต่างๆ มีการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านสาธารณสุข การพัฒนาวัคซีนและยา 30
31
ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์
และสิ่งแวดล้อม มีการจัดตั้งศูนย์หรือเครือข่าย เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสะอาด ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายและโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของทั้งภาครัฐและเอกชนในกลุ่มประเทศสมาชิก ด้านสิ่งแวดล้อมมีการวางแผนร่วมกันเพื่อจัดการภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยในภูมิภาค เช่น ไฟป่า หมอกควันที่เกิดจากไฟ การตัดไม้ทำลายป่า ภูเขาไฟปะทุและภัยพิบัติอื่นๆ 31
32
ความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ
มีการจัดทำปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติ และมีข้อตกลงด้านการจัดการภัยพิบัติ เช่น เมื่อครั้งเมียนมาประสบวาตภัยจากพายุนาร์กีส ในพ.ศ.๒๕๕๑ ประเทศสมาชิกได้จัดส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปช่วยเหลือ ความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ ศูนย์ประสานงานการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน หรือ AHA Centre ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนอย่างทันท่วงที ใน พ.ศ.๒๕๕๑ ได้เริ่มมีการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนซึ่งเปรียบได้กับธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดที่ทุกประเทศในอาเซียนต้องปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้อาเซียนเป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน พ.ศ.๒๕๕๘ 32
33
ประชาคมอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียน(ASEAN Community) : AC ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมือกันอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC ) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-cultural Community : ASCC) 33
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.