ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกสุราษฎร์
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาอาชีวเอกชนสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นายชนะ กฤตานุพงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยี ดอนบอสโกสุราษฎร์
2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1 เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในสถานศึกษาอาชีวเอกชนสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาอาชีวเอกชนสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาอาชีวเอกชน สุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2 3
3
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาอาชีวเอกชนสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา จำนวน 137 คน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาอาชีวเอกชนสุราษฎร์ธานี จำนวน 101 คน ได้มาโดยวิธีการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Krejcie & Morgan กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากผลในการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านสถิติพบว่า สถานภาพของผู้ตอบเกี่ยวกับเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา และขนาดวิทยาลัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ เป็นครูปฏิบัติการคิดเป็นร้อยละ มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานตั้งแต่ ปีคิดเป็นร้อยละ มีระดับการศึกษาปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 69.30และขนาดของวิทยาลัยส่วนใหญ่ขนาดกลางคิดเป็นร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม
5
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)
ตัวแปร BB1 BB2 BB3 BB4 BB5 BB6 BB7 BBT RR1 0.594** 0.688** 0.713** 0.526** 0.597** 0.564** 0.602** RR2 0.577** 0.576** 0.633** 0.446** 0.626** 0.515** 0.584** 0.637** RR3 0.605** 0.673** 0.709** 0.580** 0.749** 0.592** 0.735** RR4 0.720** 0.734** 0.768** 0.738** 0.659** 0.675** 0.791** RR5 0.653** 0.537** 0.647** 0.548** 0.553** 0.684** RR6 0.625** 0.679** 0.711** 0.656** 0.563** 0.624** RRT 0.685** 0.783** 0.740** 0.672** 0.781**
6
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านการระบุวิสัยทัศน์อย่างชัดเจน ด้านการเกื้อกูลการยอมรับเป้าหมายของกลุ่ม ด้านการคาดหวังผลการปฏิบัติงานของผู้ตามในระดับสูง ด้านการเป็นแบบอย่างที่เหมาะสม ด้านการปลุกเร้าทางปัญญา และด้านการให้การสนับสนุนผู้ตามเป็นรายบุคคล
7
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)
การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและ การเทียบโอนผลการเรียน ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
8
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) ความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร กับการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณา พบว่า ความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ด้านที่มีความสัมพันธ์สูงมากที่สุด คือ ด้านการวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา และด้านที่มีความสัมพันธ์สูงน้อยที่สุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
9
สรุปและอภิปรายผล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับและรายด้านอยู่ในระดับมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบริหารสถานศึกษาอย่างยิ่ง ผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีการสร้างความร่วมมือกับครู และบุคลากรทางการศึกษาในทุกด้าน เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาและความร่วมมือ ทั้งด้านผู้นำและผู้ตามอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับของผู้เรียน ผู้ปกครอง สถานประกอบการ และชุมชน
10
สรุปและอภิปรายผล (ต่อ)
ซึ่งสอดคล้องกับนันธิดา บัวสาย (2552 : 138) ได้วิจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 2 พบว่า ผู้บริหารควรที่จะมีการส่งเสริมศักยภาพของผู้ตามให้มีความรู้ ความสามารถในด้านความรู้ความสามรถในด้านการเป็นผู้นำ
11
สรุปและอภิปรายผล (ต่อ)
การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ผลการวิจัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา เป็นการการประมวลผลของการดำเนินงานของสถานศึกษาตลอดทั้งปี ที่ทุกฝ่ายจะต้องมีส่วนร่วม ทั้ง ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และชุมชน
12
สรุปและอภิปรายผล (ต่อ)
สอดคล้องกับธีระพงศ์ แสนคำ (2554: 51-52) ได้วิจัยการบริหารวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม พบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
13
สรุปและอภิปรายผล (ต่อ)
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์ในระดับสูงทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาได้มีการพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก ผู้บริหารได้รับการศึกษาในสาขาการบริหารการศึกษาทุกคน มีการอบรมเชิงปฏิบัติการจากหน่วยงานต้นสังกัด อย่างสม่ำเสมอ
14
สรุปและอภิปรายผล (ต่อ)
ซึ่งสอดคล้องกับพีรพรรณ ทองปั้น (2552 :110) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เช่นกัน แสดงว่าผู้บริหารที่บริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสามารถพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
15
ข้อเสนอแนะ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาอาชีวเอกชนสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ควรมีการดำเนินการ คือการให้การสนับสนุนผู้ตามเป็นรายบุคคล จากผลการวิจัยพบว่ามีค่าเฉลี่ยที่ต่ำสุด เพื่อให้เป็นการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ย่อมต้องมีการให้การสนับสนุนตามศักยภาพ ส่วนการบริหารงานวิชาการก็เป็นผลจากการขาดสิ่งที่นำมาสนับสนุน ครูและบุคลากรทางการศึกษาก็คือด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงควรจะต้องส่งเสริม สนับสนุนในด้านการวิจัยให้มากเพื่อพัฒนาการศึกษาทางด้านอาชีวเอกชน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.