ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การประกันคุณภาพการศึกษา ในสถานศึกษา EA 5103
2
หน่วยที่ 2 การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
หน่วยที่ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2.2 การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา 2
3
การดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 3
4
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา 5. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 4
5
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน 8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ให้สถานศึกษายึด หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการส่งเสริมสนับสนุนและกำกับดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด 5
6
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 1.1.ใช้หลักการกระจายอำนาจไปยังศึกษา คือ * สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา * บริหารการใช้หลักสูตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ ท้องถิ่น 1.2. รัฐกำหนดมาตรฐานการศึกษาชาติ * ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ * มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง 6
7
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1. กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 1.3.ใช้หลักการเทียบเคียง สำหรับ * ส่งเสริมและกำกับดูแล ตรวจสอบทบทวนคุณภาพ * การประเมินคุณภาพ 7
8
สิ่งที่สถานศึกษาจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา
1.สพฐ. นำมาตรฐานชาติมาจัดทำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปฐมวัย 2. สพท. จัดทำมาตรฐานเพิ่มเติมจาก สพฐ. สอดคล้องกับ ท้องถิ่น 3. สถานศึกษา จัดทำมาตรฐานเพิ่มเติมที่แสดงอัตลักษณ์ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ครอบคลุมสาระ การเรียนรู้และศักยภาพผู้เรียน
9
มาตรฐานการศึกษาชาติ หน่วยงานต้นสังกัดแต่ละสังกัดพัฒนามาตรฐาน เขตพื้นที่การศึกษาและจังหวัด พัฒนาและเพิ่มมาตรฐานที่แสดงอัตลักษณ์ สถานศึกษาในสังกัดพัฒนาและเพิ่มมาตรฐานที่แสดงอัตลักษณ์ การพัฒนา/เพิ่ม อาจเป็น ตัวบ่งชี้ / มาตรฐาน
10
ตัวอย่างมาตรฐานของร.ร.สตรีเฉลิมขวัญ
เพิ่มตัวบ่งชี้ มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรมฯ 1.11.ร้อยละของผู้เรียนใช้วาจาที่สุภาพและเหมาะสมกับ กาลเทศะ มาตรฐานอัตลักษณ์ จังหวัดพิษณุโลก เพิ่มมาตรฐานที่ 19 ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในจังหวัดพิษณุโลก มี 3 ตัวบ่งชี้
11
2. จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1) มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว 11
12
2) มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย การพัฒนาและสภาพความสำเร็จของการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจนและเป็นรูปธรรม 12
13
3) กำหนดวิธีการโดยอาศัยหลักวิชา/ผลการวิจัย/ข้อมูลเชิง
ประจักษ์มาอ้างอิง ครอบคลุมหลักสูตรด้าน * การจัดการเรียนการสอน * กระบวนการเรียนรู้ * การวัดและประเมินผล * การพัฒนาบุคลกร * การบริหารจัดการ และการส่งเสริมการเรียนรู้ 13
14
4) เสาะหาและประสานสัมพันธ์กับแหล่งวิทยากรภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการได้ และระบุไว้ในแผนให้ชัดเจน 5) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคน รวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบและดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 14
15
7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรภายในชุมชน เพื่อการพัฒนาผู้เรียนร่วมกัน 7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 8) มีการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและ การนำผลไปใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 15
16
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 3.1. มีความสำคัญจำเป็นอย่างไรในการจัดระบบสารสนเทศ * การพัฒนาคุณภาพจะต้องอาศัยข้อมูลสารสนเทศมา ประกอบการตัดสินใจ * ข้อมูลสารสนเทศสถานศึกษามีจำนวนมากมาย เช่น - ด้านผู้เรียน - ครูและบุคลากร - อาคารสถานที่ - งบประมาณ ทรัพยากร 16
17
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 3.2. มีหลักการจัดระบบสารสนเทศอย่างไร * หมวดหมู่ ครอบคลุม สมบูรณ์ * ค้นหาง่าย สะดวกต่อการนำมาใช้ * นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอยู่เสมอ 17
18
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 3.3. จัดระบบสารสนเทศอย่างไร * คุณภาพผู้เรียน * คุณภาพการเรียนการสอน * คุณภาพการบริหารจัดการ * คุณภาพการพัฒนาชุมชน 18
19
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา
4. ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา การดำเนินงานตามแผนนั้น สถานศึกษาต้องสร้างระบบการทำงานที่เข้มแข็ง เน้นการมีส่วนร่วม ใช้เทคนิคการบริหารและการจัดการที่จะทำให้การดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษาบรรลุเป้าหมาย 19
20
4.1 วงจรการพัฒนาคุณภาพ PDCA ของเดมิ่ง (Deming
Cycle) เพราะเป็นกระบวนการที่มีการตรวจสอบ ตนเองอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ขั้น * การวางแผน (Plan) * การปฏิบัติตามแผนหรือขั้นตอนที่วางไว้ (Do) * การตรวจสอบหรือการประเมิน (Check) * การนำผลการประเมินย้อนกลับไปทบทวน ปรับปรุงแก้ไขวางมาตรฐานหรือมาตรการกำหนดขั้นตอนใหม่ (Act) เพื่อการดำเนินงานต่อ ๆ ไป 20
21
4.2 แนวคิด Balanced Scorecard แนวคิดใช้กำหนดผลสำเร็จอย่างสมดุลรอบด้าน (Balanced Scorecard) เป็นเทคนิคการบริหาร เช่น โรงเรียนในฝัน โดยใช้ การกำหนดมุมมองที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของการดำเนินงาน 4 ด้าน คือ 21
22
2) มุมมองด้านกระบวนการจัดการศึกษา
1) มุมมองด้านนักเรียน โดยพิจารณาความต้องการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้เรียนที่คาดหวัง 2) มุมมองด้านกระบวนการจัดการศึกษา 3) มุมมองด้านกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนา 4) มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร 22
23
5. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
5. จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 5.1.ตั้งคณะทำงานวางแผนติดตามและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ การดำเนินงาน/โครงการตลอดปีการศึกษาโดยใช้มาตรฐาน การศึกษาเป็นนกรอบการติดตามตรวจสอบ 5.2. จัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา โดยควรมีการตรวจสอบ ทุกปี และดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและเป็นระบบ 5.3. สนับสนุนให้ครู ผู้ปกครองและผู้แทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม 23
24
ประเด็นการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ
วิสัยทัศน์และภารกิจของสถานศึกษา เช่น - วิเคราะห์ดูว่าวิสัยทัศน์และภารกิจสอดคล้องกับมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน/มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและ สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันหรือไม่ - ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง จัดกิจกรรมอย่างไรจึง จะเหมาะสม 24
25
ประเด็นการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ
แผนพัฒนาสถานศึกษา เช่น - แผนพัฒนาสะท้อนความต้องการของชุมชนจริงหรือไม่ - มีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนนำผลมาใช้ในการวางแผนครอบคลุมครบถ้วนหรือไม่ - กิจกรรมตามแผนสัมพันธ์กันและสอดรับกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายหรือไม่ - แผนพัฒนาโดยรวมมีความชัดเจน เข้าใจง่ายและมี ทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนหรือไม่ 25
26
ประเด็นการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ
การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เช่น - บรรยากาศและสภาพแวดล้อม สนับสนุนการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด - สะท้อนความสำเร็จของผู้เรียนอย่างไร - ครูเลือกใช้ยุทธศาสตร์การสอนหลากหลายและสอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียนหรือไม่ - ครูและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร - การจัดการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกแก้ปัญหา ฝึกการคิดสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ตลอดจนพัฒนานิสัยรักการเรียนรู้หรือไม่ เป็นต้น 26
27
ประเด็นการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ
4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นอย่างไร ผลงานของผู้เรียนมีความหมาย บ่งบอกถึงสิ่งที่ผู้เรียนรู้ เข้าใจ และทำได้หรือไม่ ผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ไปใช้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น 27
28
ประเด็นการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ
การพัฒนาองค์กร เนื่องจากสถานศึกษาเป็นแหล่งหรือศูนย์ การเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชน * ผู้บริหารอุทิศตนเพื่อองค์กร เพื่อนร่วมงานและเพื่อการพัฒนา การศึกษาอย่างไร *เป็นผู้นำในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสามารถแนะนำ นวัตกรรมหรือแหล่งนวัตกรรมสำหรับผู้สอนได้หรือไม่ * มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือเปิดโอกาสให้ผู้สอน/ คณะทำงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเชิงบริหารหรือไม่มาก น้อยเพียงใด 28
29
ประเด็นการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ
การพัฒนาวิชาชีพครู *มีการใช้แหล่งวิทยาการภายนอกช่วยให้ครูเกิดการเรียนรู้ อย่างไรบ้าง *มีการเปิดโอกาสให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และ ความคิดในการพัฒนาวิชาชีพด้วยวิธีการใดบ้าง *สนับสนุนให้ครูมีการวิจัยค้นคว้าความรู้ใหม่เกี่ยวกับ การเรียน การสอนและการประเมินผลบ้างหรือไม่ อย่างไร 29
30
- มีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอในการวางแผนพัฒนา
การติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ดำเนินการอย่างจริงจังจะช่วยให้สถานศึกษา - มีข้อมูลถูกต้องและเพียงพอในการวางแผนพัฒนา สถานศึกษาที่เน้นคุณภาพการศึกษาในรอบปีถัดไป - ผลจากการติดตามตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษายังมีส่วนช่วยกระตุ้นผู้ที่เกี่ยวข้องให้ตระหนักถึงการกำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาการศึกษาในระดับท้องถิ่นและระดับชาติอีกทางหนึ่งด้วย 30
31
6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา
6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา 6.1. ตั้งคณะทำงานขึ้นทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาก็ได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างกระบวนการประเมินตนเองอีกทางหนึ่ง 6.2 นำผลจากการประเมินไประบุไว้ในรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีต่อไป 31
32
6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา
6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา 6.3. การประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาต้องครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ปฐมวัย ที่กำหนดไว้ 6.4. ประเมินคุณภาพผู้เรียนโดยรวม ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนเป็นรายคน เป็นการตรวจสอบและยืนยันคุณภาพผู้เรียนทางด้านวิชาการ โดย ขอใช้แบบทดสอบจากองค์กรที่มีแบบทดสอบที่ได้มาตรฐาน 32
33
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน
7. จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมิน คุณภาพภายใน เป็นไปตามมาตรา 48 ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 33
34
ประโยชน์สำคัญของการจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา คือ การนำผลไปใช้วางแผนปรับปรุงงานต่อ ๆ ไป ดังนั้นสถานศึกษาต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดทำรายงานและนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง 34
35
8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การที่จะทำให้คุณภาพของสถานศึกษาดำรงอยู่อย่างยั่งยืน สถานศึกษาควรตรวจสอบและทบทวนการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมอยู่เสมอ โครงการ/กิจกรรมที่ทำต้องคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ ส่งผลถึงผู้เรียน การพิจารณาโครงการ/กิจกรรมที่จะทำต่อไปหรือไม่นั้นควรพิจารณา ดังนี้ 35
36
1) ถ้าเป็นโครงการที่ดีสมควรดำเนินการต่อไป ก็ดำรงโครงการนั้นไว้
1) ถ้าเป็นโครงการที่ดีสมควรดำเนินการต่อไป ก็ดำรงโครงการนั้นไว้ 2) ถ้าเป็นโครงการที่ดีแต่ยังดำเนินการไม่สำเร็จหรือไม่บรรลุเป้าหมายเพราะมีจุดบกพร่อง ถ้าปรับปรุงแก้ไขสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ก็ดำเนินการต่อไปและทำให้ดียิ่งขึ้น 36
37
3) ถ้าเป็นโครงการที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานอยู่ตลอดเวลา ก็พัฒนาดำเนินโครงการนั้นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง 4) หากมีเหตุการณ์หรือสิ่งที่ส่อเค้าว่าจะเกิดปัญหา ต้องหาทางป้องกันไว้ก่อน ก็จำเป็นต้องทำโครงการใหม่ ๆ ขึ้น เพื่อป้องกันปัญหา 37
38
1) สร้างจิตสำนึกการพัฒนาให้เกิดขึ้นในหมู่ครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา
คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษาต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1) สร้างจิตสำนึกการพัฒนาให้เกิดขึ้นในหมู่ครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา 38
39
3) พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์แห่งการเรียนรู้ โดยต้องทำให้บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 39
40
สถานศึกษาที่เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้มีลักษณะอย่างไร
* พัฒนาตนเอง * ใฝ่รู้ หมั่นแสวงหาความรู้อยู่เสมอ * มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันความรู้กันตลอดเวลา เกิดทีมผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ หลากหลายจนได้รับการยอมรับ จากผู้เกี่ยวข้อง *มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรอื่น เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความเคลื่อนไหวในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาอยู่ตลอดเวลา 40
41
ผลผลิตขององค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นอย่างไร
1) ผลสัมฤทธิ์ของงานสูงขึ้น 2) เกิดการพัฒนาคน 3) มีการพัฒนาความรู้ 4) องค์กรมีศักยภาพสูง 41
42
2) เน้นย้ำหรือกำหนดเป็นนโยบายการทำงานอย่างมีระบบ รวมทั้งต้องทำงานอย่างมีเป้าหมายทำงานเป็นหมู่คณะและต้องทำอย่างต่อเนื่อง 42
43
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานในการประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้สถานศึกษาได้นำไปเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน มี 4 ด้าน รวม 18 มาตรฐาน ดังนี้ 43
44
1. มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มี 8 มาตรฐาน คือ
1. มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มี 8 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม 44
45
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ 45
46
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 46
47
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา 47
48
2. มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มี 2 มาตรฐาน
2. มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มี 2 มาตรฐาน มาตรฐานที่ 9 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม มีวุฒิ/ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบ หมั่นพัฒนาตนเอง เข้ากับชุมชนได้ดีและมีครูเพียงพอ มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียน การสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 48
49
3. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มี 6 มาตรฐาน คือ
3. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา มี 6 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 11 ผู้บริหารมีคุณธรรม จริยธรรม มีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 12 สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้าง ระบบการบริหารงานและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ ครบวงจร 49
50
มาตรฐานที่ 13 สถานศึกษามีการบริหารและ จัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน
มาตรฐานที่ 14 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 50
51
มาตรฐานที่ 15 สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย
มาตรฐานที่ 16 สถานศึกษามีการสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติเต็มศักยภาพ 51
52
4. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน คือ
4. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 17 สถานศึกษามีการสนับสนุนและใช้ แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น มาตรฐานที่ 18 สถานศึกษามีการร่วมมือกันระหว่างบ้าน องค์กรทางศาสนา สถาบันทางวิชาการและองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาวิธีการเรียนรู้ในชุมชน 52
53
1.สัปดาห์หน้าให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม นำ รายงานประจำปี/
รายงานการประเมินตนเอง / รายงานการประเมินคุณภาพจาก ภายนอก( รอบสอง)ของโรงเรียนที่ทำการสอนมาใช้ในการ ปฏิบัติกิจกรรม 2. เอกสารประกอบการบรรยาย หัวข้อ 2.3. การนำมาตรฐานสู่ การปฏิบัติ วันที่ 25 ธันวาคม สอบ midterm หัวข้อที่สอบ หน่วยที่ 1 หน่วยที่ 2 หัวข้อ
54
สวัสดี สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.