ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประธานคณะทำงานเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน
โดย นางเทพวัลย์ ภรณวลัย ประธานคณะทำงานเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
2
การดำเนินงานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
จากการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ ยุทธวงศ์) เป็นประธาน ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการฯ และเห็นชอบในหลักการ ให้ของบกลางในกรณีที่ดำเนินโครงการแล้ววงเงินที่อนุมัติไว้ไม่เพียงพอ โดย มอบหมาย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น) และกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3
ความเป็นมาของโครงการ ฯ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นการจัดสวัสดิการพื้นฐานเพื่อเป็นการคุ้มครองทางสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้เด็ก ได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพและส่งเสริมเด็กแรกเกิดให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงวัยอื่น ๆ ต่อไป การที่รัฐบาลจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด นอกจากจะเป็นหลักประกันให้เด็กได้รับสิทธิในการอยู่รอดและพัฒนาแล้ว ยังเป็นการสร้างช่องทางและ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐเพื่อให้เด็กเข้าถึงสิทธิในการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ โดยมีการส่งต่อข้อมูลเพื่อให้ทีมหมอครอบครัวของกระทรวงสาธารณสุขลงไปติดตามดูแล
5
ประโยชน์ต่อเด็ก : เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ
ประโยชน์ต่อพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก : แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ : เป็นการลงทุนเพื่อสร้างรากฐาน ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
6
ผังการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และหญิงตั้งครรภ์
2. รัฐบาล อปท. โรงพยาบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ใหญ่บ้าน ประชาสัมพันธ์นโยบาย และค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (หน้า 6) 1. หญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน) 3. เมื่อพบหญิงตั้งครรภ์ ผู้รับรอง (อสม. อพม. กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน) ตรวจสอบคุณสมบัติและสถานะครัวเรือนของหญิงตั้งครรภ์ ถ้าครบเกณฑ์ ให้ผู้รับรองลงชื่อแบบรับรองสถานะครัวเรือน ดร.02 มอบให้หญิงตั้งครรภ์และแนะนำขั้นตอนต่อไป (ถ้ายังไม่ได้ฝากครรภ์ แนะนำให้ไปฝากครรภ์ก่อน) (หน้า 8) 1. ได้แบบรับรอง สถานะครัวเรือนฝากครรภ์ พมจ. ลงข้อมูล ในระบบฐานข้อมูลเพื่อเตรียมการเบิกจ่ายและแจ้ง - รายชื่อผู้ขอรับสิทธิ แก่ สสจ. / สำนักอนามัย กทม. ทุกวันที่ 16 ของเดือน - แจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิทราบ 4. อบต. เทศบาล เมืองพัทยา สำนักงานเขต รับลงทะเบียน หญิงตั้งครรภ์นำเอกสารมาที่สถานรับลงทะเบียน (หร้า 9) 2. หญิงตั้งครรภ์นำเอกสาร มาลงทะเบียนที่ อปท. พมจ. บันทึกข้อมูลเพิ่มเติมในระบบ (หน้า 12) 5. อปท. ตรวจสอบความถูกต้อง และจัดทำประกาศรายชื่อผู้ขอรับสิทธิภายใน 3 วันทำการ และประกาศเป็นเวลา 15 วัน (หน้า 10) ดย. โอนงบประมาณไป พมจ. เพื่อจ่ายเงิน(หน้า 12) 6. หลังประกาศ 15 วัน อปท. ส่งสำเนา ดร.01 ของผู้รับสิทธิทั้งหมด (ทั้งที่ถูกคัดค้านและไม่ถูกคัดค้าน) ใพ้ พมจ. / ดย. ภายใน 3 วันทำการ (หน้า 11) พมจ. / ดย. จ่ายเงินให้แก่มารดา หรือโอนเงินเข้าบัญชี ภายใน 15 วัน นับจากรับสูติบัตร (หน้า 14) พมจ. รายงานผล ให้ 1) ดย. ทุกวันที่ 16 ของเดือน 2) อนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด 3. นำสูติบัตรมายื่น หรือส่งไปรษณีย์ 7. อปท. รับสำเนาสูติบัตรจากมารดา และส่งเอกสารหลักฐานทั้งหมดให้ พมจ. / ดย. ภายใน 3 วันทำการ (หน้า 11) 4. รับเงินอุดหนุน
7
1. คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
1. คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน เพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 1) หญิงตั้งครรภ์ กำหนดคลอดบุตร ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559 2) เด็กที่เกิดมีสัญชาติไทย (บิดามารดา หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย) เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559 3) ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิ์ประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ เงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ และไม่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ เช่น สถานสงเคราะห์ของรัฐ บ้านพักเด็ก และครอบครัว 4) อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน
8
2. การประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ
กรมกิจการเด็กและเยาวชน จัดทำชุดการสื่อสารสำหรับใช้เป็นเครื่องมือ ในการประชาสัมพันธ์ โดยจัดส่งให้ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ระดับตำบล เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการ ชุดการสื่อสารดังกล่าว ประกอบด้วย 1) โปสเตอร์ 2) แผ่นพับ 3) คู่มือการดำเนินงาน
9
ตัวอย่าง ข้อความประชาสัมพันธ์
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 รัฐบาลมีนโยบายให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ที่อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็กแรกเกิด ให้เด็กได้รับการดูแล อย่างมีคุณภาพ และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยให้การอุดหนุนเดือนละ 400 บาท ต่อคน ต่อเดือน เป็นเวลา 12 เดือน จึงขอเชิญชวนให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ลงทะเบียนเพื่อแสดงความจำนงค์ขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2558 – 31 มีนาคม ณ คุณสมบัติ 1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีกำหนดคลอดบุตร ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม กันยายน 2559 2. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิ์ประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ได้แก่เงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ และไม่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ เช่น สถานสงเคราะห์ บ้านพักเด็กและครอบครัว 3. บุตรมีสัญชาติไทย (บิดามารดา หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย) 4. อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน (มีรายได้ต่ำกว่า 3,000 บาท ต่อคน ต่อเดือนหรือ 36,000 บาท ต่อคนต่อปี) เอกสารหลักฐานประกอบการลงทะเบียนมีดังนี้ 1. แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ ฯ (แบบ ดร.01) 4. สำเนาเอกสารแสดงการฝากครรภ์ (สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า 1) 2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02) 5.สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (นำมายื่นหลังจากคลอดบุตร) 3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์ 6. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีประสงค์รับเงินผ่านบัญชีธนาคาร) การรับเงิน 1. รับด้วยตนเอง ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทน) 2. รับผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย (นำสำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่มีหน้าแสดงหมายเลขบัญชีและชื่อผู้รับเงินมายื่นเข้าบัญชีผู้เลี้ยงดูเด็กได้) หมายเหตุ กรณีมอบอำนาจ ให้นำหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจมายื่นด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
10
3. การค้นหากลุ่มเป้าหมาย และการรับรองสถานะของครัวเรือน
3. การค้นหากลุ่มเป้าหมาย และการรับรองสถานะของครัวเรือน รัฐบาล สถานพยาบาลของรัฐ อปท. อสม. อพม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์และค้นหากลุ่มเป้าหมาย เพื่อเชิญชวนหญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติ เข้าร่วมโครงการ ให้บริการฝากครรภ์ โดยสถานพยาบาลของรัฐ การรับรองสถานะครัวเรือน (ดร. 02) โดยผู้รับรองจำนวน 2 คน
11
(แบบ ดร.02) ในหน้า 23 โดยมีผู้รับรอง 2 คน ดังนี้
ทั้งนี้ ผู้ที่มีคุณสมบัติ ต้องได้รับการรับรองความยากจนในแบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02) ในหน้า 23 โดยมีผู้รับรอง 2 คน ดังนี้ ผู้รับรองคนที่ 1 ผู้รับรองคนที่ 2 กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพมหานคร : ประธานกรรมการชุมชน หรือหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชน และสวัสดิการสังคมประจำสำนักงานเขต ผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เมืองพัทยา : เมืองพัทยา : ปลัดเมืองพัทยา หรือรองปลัดเมืองพัทยาที่ได้รับมอบหมาย ประธานชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขเมืองพัทยา เทศบาล/ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) : เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) : กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดเทศบาล หรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) บ้านพักเด็กและครอบครัว/สถานสงเคราะห์ของรัฐ : บ้านพักเด็กและครอบครัว/สถานสงเคราะห์ของรัฐ : หัวหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว / ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ของรัฐ เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว / เจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์ของรัฐ
12
การประเมินความยากจนระดับครัวเรือน ด้วยข้อมูลสถานะครัวเรือน
การประเมินความยากจนระดับครัวเรือนด้วยข้อมูลประกอบสถานะครัวเรือน คือ การคาดประมาณ วิเคราะห์ และกำหนดข้อมูลความยากจนทางอ้อมที่ใช้ในการบ่งชี้ครัวเรือนยากจน และครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน โดยต้องมีข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 1) ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง ได้แก่ ในครอบครัวมีคนพิการ หรือผู้สูงอายุ หรือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือคนว่างงานอายุ ปี หรือเป็นพ่อ / แม่เลี้ยงเดี่ยว 2) สภาพที่อยู่อาศัย สภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม บ้านทำจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก หรือวัสดุเหลือใช้ หรืออยู่บ้านเช่า 3) ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกเล็ก รถตู้ 4) เป็นเกษตรกรมีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่
13
ตัวอย่าง การคำนวณรายได้
ตัวอย่างที่ 1 ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 5 คน (รวมเด็กแรกเกิด) มีสมาชิกที่มีรายได้ 2 คน คนละ 10,000 บาท รวมมีรายได้ 20,000 บาท นำมาหารจำนวนสมาชิกทั้งหมด คือ มีรายได้ต่อคนต่อเดือน เดือนละ 4,000 บาท จึงไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติครัวเรือนยากจน และครัวเรือนเสี่ยงต่อความยากจน ตัวอย่างที่ 2 ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 7 คน (รวมเด็กแรกเกิด) มีสมาชิกที่มีรายได้ 2 คน คนละ 10,000 บาท รวมมีรายได้ 20,000 บาท นำมาหารจำนวนสมาชิกทั้งหมด คือ มีรายได้ต่อคนต่อเดือน เดือนละ 2,857 บาท จึงผ่านเกณฑ์คุณสมบัติครัวเรือนยากจน และครัวเรือนเสี่ยงต่อความยากจน
14
4. การลงทะเบียน และขั้นตอนการลงทะเบียน
4. การลงทะเบียน และขั้นตอนการลงทะเบียน การลงทะเบียนตามระยะเวลาที่กำหนด ระหว่างวันที่ 1 กันยายน มีนาคม ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด 1) กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียน ณ สำนักงานเขต 2) ต่างจังหวัด : ลงทะเบียน ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล 3) เมืองพัทยา : ลงทะเบียน ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา การลงทะเบียนหลังระยะเวลาที่กำหนด อนุโลมให้ย้อนสิทธิ์ในการยื่นลงทะเบียนย้อนหลังได้ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2559) โดยได้รับเงินย้อนหลังตั้งแต่เดือนที่เด็กเกิด จนครบ 12 เดือน กำหนดให้ยื่นเอกสารลงทะเบียน ระหว่างวันที่ 1 เมษายน วันที่ 30 กันยายน 2559 โดยกรุงเทพมหานคร ยื่นเอกสารลงทะเบียน ณ กรมกิจการเด็กและเยาวชน ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (ชั้น 2 อาคาร 3 ชั้น) ต่างจังหวัด ลงทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
15
1) หญิงตั้งครรภ์ยื่นลงทะเบียนด้วยตนเอง
2) กรอกรายละเอียดตามแบบที่กำหนด แบบ ดร.01 ตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนด 3) ผู้ขอรับสิทธิ์ต้องยื่นหลักฐานเอกสารเพื่อประกอบการพิจาณา ดังนี้ (1) แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ฯ (แบบ ดร.01) (2) แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร.02) (3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์ (4) สำเนาเอกสารการฝากครรภ์ หน้า 1 (สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก) (5) สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (ยื่นหลังคลอดบุตร) (6) สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีรับเงินผ่านบัญชีธนาคาร) สามารถใช้บัญชีธนาคารกรุงไทยของผู้อื่นที่หญิงตั้งครรภ์ ได้แสดงความจำนงไว้ได้โดยต้องมอบอำนาจ
16
123-4-xxx-x นางxxxxx xxxxx xxxxxx
17
ติดประกาศอย่างน้อย 15 วัน
5. การประกาศรายชื่อผู้ขอรับสิทธิ และการติดประกาศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับลงทะเบียน (สำนักงานเขต เมืองพัทยา เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล) ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสาร จัดทำประกาศรายชื่อผู้ขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ภายใน 3 วันทำการ หลังจากรับลงทะเบียน ติดประกาศอย่างน้อย 15 วัน ไม่มีผู้คัดค้าน มีผู้คัดค้าน ผู้บริหารท้องถิ่น นำสูติบัตรของเด็กแรกเกิดมายื่นหลังจากที่เด็กเกิดจึงจะได้รับเงิน พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง ถ้าไม่ได้รับสิทธิ์ แจ้งผู้ขอรับสิทธิ์
18
หลังจากปิดประกาศครบ 15 วัน
6. การประสานงาน และการส่งต่อข้อมูล หลังจากปิดประกาศครบ 15 วัน อบต. เทศบาล เมืองพัทยา สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ส่งสำเนาแบบ ดร.01 กรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด สำนักงานเขต อปท. สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด กรมกิจการเด็กและเยาวชน หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด บันทึกข้อมูลเข้าในระบบสารสนเทศเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เชื่อมโยงข้อมูลเข้าระบบของกรมกิจการเด็กและเยาวชน
19
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือกรมกิจการเด็กและเยาวชน ตรวจสอบข้อมูลกับระบบสารสนเทศเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ซึ่งระบบเชื่อมโยงกับฐานทะเบียนราษฎร์ แจ้งผู้มีสิทธิทราบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทีมหมอครอบครัว ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด
20
กรณีขาดการติดต่อไม่มารับเงิน
เมื่อได้รับสูติบัตร อบต. เทศบาล เมืองพัทยา สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร รวบรวมเอกสารทั้งหมด สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือกรมกิจการเด็กและเยาวชน เพื่อบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมลงในระบบ การโอนงบประมาณ กรมกิจการเด็กและเยาวชนโอนงบประมาณไป พมจ. เพื่อให้ พมจ. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือจ่ายเงินสด การติดตาม การเบิกจ่ายเงิน กรณีขาดการติดต่อไม่มารับเงิน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ตรวจสอบและแจ้งข้อมูล กรมกิจการเด็กและเยาวชน ตรวจสอบการจ่ายเงินในระบบสารสนเทศเงินอุดหนุนฯ
21
การระงับสิทธิ การรายงานผล
นอกจากการระงับการจ่ายเงินเมื่อสิ้นสุดสิทธิ์แล้ว ให้ระงับการจ่ายเงิน ณ วันที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรู้ ในกรณีดังต่อไปนี้ 1) เด็กตาย 2) เด็กเข้ารับการดูแลในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือบ้านพักเด็กและครอบครัว 3) ให้การเป็นเท็จ หมายเหตุ กรณีที่ผู้มีสิทธิอยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์ สามารถขอรับสิทธิได้ ตามหลักเกณฑ์ โดยจะได้รับเงินเฉพาะเดือนที่ไม่ได้อยู่ ในการดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัว การรายงานผล ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด รายงานผลตามแบบรายงาน การรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แบบ ดร.04) ในหน้า 26 ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน ภายในวันที่ 16 ของทุกเดือน
22
7. การยื่นสูติบัตร และเอกสารเพิ่มเติม ภายหลังการลงทะเบียน
7. การยื่นสูติบัตร และเอกสารเพิ่มเติม ภายหลังการลงทะเบียน หญิงตั้งครรภ์/มารดาที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ (ผ่านการปิดประกาศรายชื่อ 15 วัน) หลังจากคลอดบุตรตามระยะเวลาที่กำหนด (บุตรที่เกิดระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม กันยายน 2559) ให้นำสูติบัตรไปยื่น ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ลงทะเบียนไว้ หรือส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไปยังสถานที่ ๆ ลงทะเบียนไว้ หมายเหตุ หากในการลงทะเบียนครั้งแรกไม่ได้แจ้งช่องทางการรับเงินไว้ สามารถแจ้งและนำเอกสาร มายื่นเพิ่มเติม ณ สถานที่ ๆ ลงทะเบียนไว้พร้อมการยื่นสูติบัตรได้เอกสารที่สามารถยื่นเพิ่มเติมหลังจากลงทะเบียนเมื่อเด็กเกิด ได้แก่ 1. สูติบัตรของเด็ก 2. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย 3. หนังสือมอบอำนาจการรับเงิน กรณีมอบอำนาจ ให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่ หนังสือ มอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
23
8. การจ่ายเงิน ในกรุงเทพมหานคร : กรมกิจการเด็กและเยาวชน ผู้จ่ายเงิน
ในต่างจังหวัด: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด วิธีการจ่ายเงิน โอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการโอนเงินและได้รับการยกเว้นเงินฝากในการเปิดบัญชีธนาคาร (เปิดบัญชี 0 บาท) โดยนำหนังสือตามแบบ ดร.07/1 หรือ ดร.07/2 ใช้แสดงกับธนาคารกรุงไทยเพื่อประกอบการเปิดบัญชี รับเงินสด
24
8. การจ่ายเงิน หลักฐานแสดงการจ่ายเงิน กรณีรับเงินด้วยตนเอง : ใช้ใบสำคัญรับเงิน (แบบ ดร.03) (หน้า 25) เป็นเอกสารประกอบการรับเงิน กรณีรับเงินผ่านบัญชีธนาคาร : ใช้ใบรับฝากเงินสด (Pay in Slip) เป็นเอกสารประกอบการรับเงิน กำหนดวันจ่ายเงิน เดือนแรกที่เด็กเกิด : กำหนดให้จ่ายเงินโดยเร็ว ภายในไม่เกิน 15 วันทำการ หลังจากได้รับสูติบัตรและเอกสารครบถ้วน เดือนที่ : กำหนดให้จ่ายเงิน ภายในไม่เกิน วันที่ 10 ของเดือน
25
9. ช่องทางการร้องเรียนและ ข้อเสนอแนะ
9. ช่องทางการร้องเรียนและ ข้อเสนอแนะ ใช้กลไกคณะอนุกรรมการประสานและส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดและอนุกรรมการ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยกรุงเทพมหานคร เป็นกลไกในการประสานงาน ตลอดจนพิจารณาข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ รวมทั้งการติดตามประเมินผล ต่างจังหวัด ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด นำเสนอคณะอนุกรรมการ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด กรุงเทพมหานคร ให้สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร นำเสนอคณะอนุกรรมการส่งเสริม การพัฒนาเด็กปฐมวัยกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาทุก 3 เดือน และเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป
26
9. ช่องทางการร้องเรียนและ ข้อเสนอแนะ
9. ช่องทางการร้องเรียนและ ข้อเสนอแนะ การร้องเรียน และเสนอแนะ : ผู้มีสิทธิ และประชาชนทั่วไป สามารถร้องเรียนและเสนอแนะการดำเนินงาน ผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : สำนักงานเขต เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล 2) ศูนย์ดำรงธรรมทุกจังหวัด โทร.1567 3) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์ประชาบดี OSCC 1300 4) กรมกิจการเด็กและเยาวชน เลขที่ 618/1 ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เบอร์โทร ต่อ 149 / 192 หรือ หรือเว็บไซต์
27
กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ขอขอบคุณ สวัสดีค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.