ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยสวัสดิ์ สมิท ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี
การใช้คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา เด็กอายุ 2-15 ปี
2
ความเป็นมา การปรับปรุง
ผู้จัดทำ : คณะนักจิตวิทยา ศูนย์สุขวิทยาจิต กองสุขภาพจิต ในขณะนั้น (ปัจจุบัน สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต) เริ่มโครงการปี พ.ศ สร้างเสร็จสมบูรณ์และ นำมาใช้ พ.ศ. 2525 หัวหน้าโครงการ: อาจารย์สมทรง สุวรรณเลิศ นักจิตวิทยาคลินิกคนแรก ของประเทศไทย (ปัจจุบันเป็นประธานคณะกรรมการ วิชาชีพจิตวิทยาคลินิก การปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ ครั้งที่ 2 พ.ศ ครั้งที่ 3 พ.ศ (ปัจจุบัน)
3
วัตถุประสงค์ในการสร้างคู่มือฯ
เพื่อสร้างเครื่องมือที่ทดสอบได้รวดเร็วและสะดวกในการ ประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปี เพื่อให้ผู้ที่มิใช่นักจิตวิทยาคลินิก นำคู่มือฯไปทดสอบเด็กที่ สงสัยว่าจะมีปัญหาการเรียนหรือเชาวน์ปัญญาต่ำ เป็นการ บริการเข้าถึงชุมชน ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้รับการตรวจวินิจฉัย และคำแนะนำช่วยเหลือเสียแต่ต้นมือ วัตถุประสงค์ในการสร้างคู่มือฯ
4
ขอบเขตการใช้คู่มือฯ 1. ใช้ทดสอบเด็กอายุ 2-15 ปี (2 ปี 0 เดือน - 15 ปี 11 เดือน) เป็นรายบุคคล 2. เป็นวิธีการทดสอบโดยสังเขปเท่านั้น ในกรณีที่ต้องการศึกษาให้ละเอียดควรให้นักจิตวิทยาคลินิกทดสอบต่อไป 3. ผู้ใช้คู่มือฯ นี้ควรมีพื้นฐานความรู้เรื่องพัฒนาการเด็กปกติและจิตวิทยาทั่วไปบ้างพอสมควร และใช้คู่มือฯ อย่างระมัดระวังร่วมไปกับการสังเกตพฤติกรรมของเด็กขณะทำการทดสอบด้วย
5
4. การแปลผลจากคู่มือฯนี้จะได้ประโยชน์มากขึ้น หากผู้ใช้จะถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ปกครองของเด็กเพื่อนำมาประกอบการสรุปผลการทดสอบ เช่น ประวัติพัฒนาการ หรือ คะแนนการสอบของเด็กที่เข้าโรงเรียนแล้วตั้งแต่เริ่มเรียนจนถึงปัจจุบันและพฤติกรรมโดยทั่วไปของเด็ก 5. ก่อนใช้คู่มือฯเพื่อการทดสอบ ควรศึกษารายละเอียดทั้งหมดให้เข้าใจอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามคำแนะนำที่กำหนดไว้ ห้ามเปลี่ยนวิธีการทดสอบหรือการให้คะแนนตามความสะดวกของผู้ทดสอบ ไม่ว่าจะทดสอบเด็กปกติหรือเด็กที่มีปัญหาก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่เชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน
6
6. ผู้ที่จะใช้คู่มือฯนี้ต้องผ่านการอบรมการใช้คู่มือฯจากนักจิตวิทยาคลินิก หรือติดต่อขอคำปรึกษาโดยตรงจาก สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 7. ห้ามคัดลอก ห้ามถ่ายเอกสาร
7
ขอบเขตในการประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา
8
ใช้ประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาในด้านต่างๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการรู้จัก เข้าใจความหมายและเหตุผลทางด้านภาษาในระดับง่าย 2. ความสามารถในด้านความจำจากการเห็นและการได้ยิน 3. ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบและเกี่ยวโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน และการเข้าใจความหมายที่เป็นตัวเลขสัญลักษณ์หรือนามธรรม
9
4.ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว หยิบจับ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจจากการมองเห็นและแสดงออกในการแก้ปัญหาต่างๆด้วยการกระทำอย่างรวดเร็ว เหมาะสม 5. ความสามารถในการเรียนรู้ สังเกตจากสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์
10
ลักษณะของคู่มือฯ คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเด็กอายุ 2-15 ปี
ประกอบด้วย 1. รายละเอียดเกี่ยวกับข้อทดสอบและวิธีใช้ 2. การแบ่งระดับเชาวน์ปัญญาและตารางแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างข้อทดสอบกับความสามารถด้านต่างๆ
11
3. ตารางสำหรับเทียบระดับเชาวน์ปัญญา
4. ข้อทดสอบแบ่งตามช่วงอายุตั้งแต่2-15 ปี โดยแบ่งช่วงอายุละ 1 ปี เช่น ระดับอายุ 2 ปี ใช้ได้กับเด็กอายุ 2 ปี - 2 ปี 11 เดือน และระดับอายุ 3 ปี ใช้ได้กับเด็กอายุ 3 ปี ถึง 3 ปี 11 เดือน
12
5. ในแต่ละระดับอายุจะมีข้อทดสอบ 3 ข้อ พร้อมทั้งตัวอย่างคำตอบที่ถูกและหลักเกณฑ์การให้คะแนน
6. ตัวอย่างแบบบันทึกคำตอบ
13
การเตรียมการทดสอบ 1. จัดเตรียมอุปกรณ์การทดสอบ
ดินสอที่มียางลบสำหรับผู้ถูกทดสอบ ปากกา หรือดินสอสำหรับผู้ทดสอบบันทึกคำตอบ คู่มือประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา แบบบันทึกคำตอบที่จัดพิมพ์ตามแบบในคู่มือฯ นาฬิกาจับเวลาหรือนาฬิกาที่มีเข็มวินาที
14
ตัวอย่างอุปกรณ์การทดสอบ
15
2. คิดอายุจริง
16
3 ขั้นตอนการทดสอบ 1.สร้างสัมพันธภาพ
ผู้ทดสอบควรทำความคุ้นเคยกับเด็กก่อนทำการทดสอบ เพื่อเด็กจะได้ไม่ประหม่ากลัวและให้ความร่วมมือเต็มที่ สำหรับเด็กเล็กผู้ทดสอบควรพูดคุยหรือชักชวนใน ลักษณะที่คล้ายเป็นการเล่น สำหรับเด็กโตควรอธิบายให้ ทราบว่า เป็นการทดสอบเพื่อดูความสามารถในด้านต่างๆ
17
2. เริ่มการทดสอบ ในการทดสอบไม่จำเป็นต้องทำทุกระดับอายุ แต่ควรปฏิบัติดังนี้
เริ่มทำ ในระดับอายุที่ต่ำกว่าอายุจริงของเด็กประมาณ 1-2 ปี เมื่อตั้งต้นทำที่ระดับอายุใดก็ให้ทำจนครบทุกข้อ ถ้าทำได้หมดในระดับอายุนั้นเรียกว่าคะแนนพื้นฐาน และให้ทำต่อไปในระดับอายุสูงขึ้นตามลำดับ แม้จะทำได้ไม่ครบทุกข้อก็ตาม เลิกทำ เมื่อเด็กทำข้อทดสอบในระดับอายุนั้นผิดหมดทั้ง 3ข้อ
18
3.ในกรณีที่เริ่มทำในระดับอายุใดอายุหนึ่งแล้ว เด็กไม่สามารถทำได้หมดทั้ง 3 ข้อให้ย้อนกลับไปทำในระดับอายุที่ต่ำลงไปตามลำกับจนกว่าจะถึงระดับอายุที่เด็กทำได้หมดทั้ง 3 ข้อ แล้วกลับมาทำต่อในระดับอายุที่ทำค้างไว้ตอนแรกและทำต่อไปเรื่อย ๆ จนทำข้อทดสอบทั้ง 3 ข้อผิดหมดในระดับอายุเดียวกันจึงเลิกทำ 4. สำหรับเด็กที่ไม่สามารถทำข้อทดสอบในระดับอายุ 2 ปีได้เลย ถ้าต้องการทราบระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ควรส่งต่อนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อทดสอบด้วยเครื่องมืออื่นที่สามารถประเมินระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กได้
19
5. ในการทดสอบอาจมีเด็กที่สามารถทำข้อทดสอบจนถึงระดับอายุ 15 ปี ถ้าต้องการทราบระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ควรส่งต่อนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อทดสอบด้วยเครื่องมืออื่นที่สามารถประเมินระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กได้ 6. ในระหว่างการทดสอบ ผู้ทดสอบอาจถามซ้ำเมื่อเด็กตอบไม่ได้หรือได้ยินคำสั่งไม่ชัดเจนยกเว้นในบางข้อทดสอบที่กำหนดให้อ่านเพียงครั้งเดียวหรือสองครั้ง ก็ให้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด แต่ไม่ควรถามนำหรือบอกทำนองชี้แนะคำตอบแก่เด็ก
20
7. ในข้อที่ให้เด็กตอบโดยใช้คำพูด ผู้ทดสอบควรจดคำตอบของเด็กไว้ตามที่เด็กพูดแบบคำต่อคำเท่าที่สามารถจะทำได้และไม่ควรใช้วิธีสรุปคำพูดของเด็กตามความเข้าใจของผู้ทดสอบ ทั้งนี้เพื่อความความสะดวกและความถูกต้องในการให้คะแนนภายหลัง ไม่ควรให้คะแนนทันทีขณะทำการทดสอบ
21
8. ในกรณีที่มีการจับเวลา ให้ปฏิบัติตามที่ระบุไว้โดยเคร่งครัด
9. ในการทดสอบควรเลือกสถานที่สำหรับทำการทดสอบโดยหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิในการทำข้อทดสอบเท่าที่จะทำได้
22
ตัวอย่างการเริ่มทำและเลิกทำการทดสอบ
ตัวอย่างที่ 1 เด็กอายุ 4 ปี 6 เดือน เริ่มทำ ข้อทดสอบระดับอายุ 3ปี 4ปี 5ปี 6ปี 1. 2. 3. คะแนนรวม ปี เดือน 4 เดือน 0 เดือน คะแนนขั้นพื้นฐานคือ 3 ปี ในตัวอย่างที่ 1 เริ่มทำที่ระดับอายุ 3 ปี ซึ่งทำได้ถูกทุกข้อ ให้ทำต่อที่อายุ 4 ปี ซึ่งถูก 2 ข้อทำต่อที่อายุ 5 ปี ถูก 1 ข้อ พออายุ 6 ปี เด็กทำผิดหมดทุกข้อ ให้เลิกทำ ดังนั้นคะแนนขั้นพื้นฐาน คือ 3 ปี
23
4. การให้คะแนน 1. ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในคู่มือฯ 2. ควรให้คะแนนหลังการ ทดสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว และหลีกเลี่ยงการให้คะแนนต่อหน้าเด็กขณะทดสอบถ้าไม่จำเป็น 3. การคิดคะแนนจะมีผลเทียบเท่ากับความสามารถตามระดับอายุเป็นปีและเดือน
24
4. คะแนนเต็มในแต่ละระดับอายุจะเท่ากับ 1 ปี (12 เดือน) หรือเทียบเท่าระดับอายุนั้น ๆ เช่น ถ้าทำข้อทดสอบได้ทุกข้อในระดับอายุ 3 ปี คะแนนที่ได้คือ 3 ปี (36 เดือน) แต่ถ้าทำข้อทดสอบได้บางข้อให้คิดคะแนนโดยเอาจำนวนข้อทดสอบคูณด้วยจำนวนเดือน ซึ่งกำหนดค่าไว้ดังนี้
25
ข้อทดสอบแต่ละข้อมีค่าเท่ากับ 4 เดือน ยกเว้นระดับอายุ 2 ปี
เมื่อทำได้ 1 ข้อทดสอบ มีค่าเท่ากับ ปี 4 เดือน 2 ข้อทดสอบ มีค่าเท่ากับ ปี 8 เดือน 3 ข้อทดสอบ มีค่าเท่ากับ ปี 12 เดือน หรือ 2 ปี
26
5. กรอกคะแนนที่ทำได้ของแต่ละระดับอายุในแบบบันทึกคำตอบที่เว้นช่องไว้ แล้วนำมาคิดคะแนน โดยกรอกรายละเอียดทั้งหมดลงในแผ่นรวมสำหรับคิดคะแนนและคำนวณหาระดับเชาวน์ปัญญา
27
6. การคิดคะแนนรวมทำโดยการบวกคะแนนในแต่ละระดับอายุที่เด็กทำข้อทดสอบได้เข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ระดับอายุที่เด็กทำข้อทดสอบได้หมดทั้ง 3 ข้อ เรียกว่า คะแนนขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงระดับอายุที่เด็กทำได้ก่อนระดับอายุที่ทำข้อทดสอบผิดหมดทุกข้อ
28
7. การหาระดับเชาวน์ปัญญา ทำโดยนำคะแนนรวมที่ได้ไปเปรียบเทียบกับระดับอายุจริงตามตารางที่ 3 ถึง ตารางที่ 16 หน้า 21-27
29
ในกรณีที่ต้องการทราบระดับเชาวน์ปัญญา (I.Q) ให้ใช้วิธีคำนวณตาม
ตัวอย่างข้างล่างนี้ I.Q. = X 100 อายุสมอง อายุจริง โดยอายุสมองและอายุจริงให้คิดเป็นเดือน
30
หมายเหตุ 1. อายุสมอง คือ คะแนนรวมที่เด็กทำได้จากการทดสอบ
2. ผลลัพธ์ที่มีจุดทศนิยมให้ใช้เพียงตำแหน่งเดียว และถ้าตัวเลขหลังจุดทศนิยมเท่ากับ 0.5 หรือต่ำกว่า 0.5 ให้ตัดทิ้งไป เป็น เป็น 100 แต่ถ้าเกิน 0.5 ให้ปัดเป็น 1 และรวมเข้ากับเลขหน้าจุด เช่น เป็น 101
31
จุดเด่น จุดด้อย จุดเด่น คือความสามารถในด้านที่เด็กทำได้สูงกว่าอายุจริง หาได้โดยดูว่าข้อใดที่เด็กทำได้ในช่วงอายุที่มากกว่าอายุจริง นำไปเปิดเทียบในตารางความสัมพันธ์หน้า 16 )
32
จุดด้อย คือ ความสามารถในด้านที่เด็กทำได้ต่ำกว่าอายุจริง
หาได้โดยดูว่าข้อใดที่เด็กทำไม่ได้ในช่วงอายุที่ต่ำกว่าอายุจริงหรือในช่วงอายุจริง นำไปเปิดเทียบในตารางความสัมพันธ์หน้า 16 )
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.