งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)
การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕) ประสาทพร สมิตะมาน ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพืช

2 รายละเอียดรายวิชา เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นแนวทางการบริหารจัดการรายวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับรายละเอียดของหลักสูตร ประกอบด้วย ๗ องค์ประกอบ ๑. ข้อมูลทั่วไป ๒. จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของวิชา ๓. ลักษณะการดำเนินการ  ๔. การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา  ๕. แผนการสอน และ การประเมินผลรายวิชา ๖. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน ๗. การประเมินและการปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา  04/04/62

3 การจัดทำเอกสารควรที่จะต้องคำนึงถึง
หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา (course description) รายงานผลการดำเนินการรายวิชา (course report) มคอ. ๕ ข้อสำคัญ “ข้อคิดเห็นจากกลุ่มผู้สอน และความเห็นของสาขาวิชา” “ข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการ หรือ ผู้ใช้บัณฑิต” “ข้อคิดเห็นจากบัณฑิต” “ข้อคิดเห็นจากนักศึกษาปัจจุบันที่ผ่านการเรียนวิชานั้น ๆ แล้ว” หลักใหญ่คือ “การพัฒนารายวิชาให้เหมาะสมกับคุณวุฒิที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รู้ และนำไปปฏิบัติได้ เป็นที่ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต” 04/04/62

4 (ต้องนำข้อมูลเดิมมาเปรียบเทียบ และชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิม)
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ๒.๑ จุดมุ่งหมายของรายวิชา ระบุว่าต้องการให้ผู้เรียน เรียนอะไรบ้าง เมื่อเรียนแล้วพัฒนาทักษะอะไร ได้ผลการเรียนรู้อะไร นำความรู้/ทักษะที่พัฒนาไปใช้อะไร ๒.๒ ระบุวัตถุประสงค์ในการพัฒนารายวิชาซึ่งกำลังดำเนินการ หรือ การเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่เกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอน หรือการนำงานวิจัยมาใช้ในการสอน (ต้องนำข้อมูลเดิมมาเปรียบเทียบ และชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิม) 04/04/62

5 ๒.๑ จุดมุ่งหมายของรายวิชา
- เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและตระหนักถึงหลักจริยธรรมในการทำวิจัยและพัฒนา การดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานงานวิจัย ความสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองและใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากงานวิจัยของตนเองและบุคคลอื่น การพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพเพื่อการวิจัยและเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้งานวิจัยเพื่อธุรกิจ ทั้งของประเทศไทยและที่เป็นสากล ๒.๒ วัตถุประสงค์ในการพัฒนารายวิชาซึ่งกำลังดำเนินการ หรือ การเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่มี เทคโนโลยีชีวภาพเป็นกระบวนการ เทคนิค และอุตสาหกรรมที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้มีคุณสมบัติใหม่ซึ่งเกิดจากการค้นคว้าวิจัย จึงมีความจำเป็นที่นักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด กฎหมาย และจริยธรรมในการค้นคว้าวิจัย การประยุกต์ใช้งานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้น

6 ลักษณะการดำเนินการ ๓.๑ ส่วนประกอบของรายวิชา (รวมจำนวนชั่วโมงที่เข้าเรียน) ผู้สอน: รศ. ดร. เพชรเอก ชิตะประเสริฐ ผู้สอนพิเศษ: ดร. ตุลย์ ธรรมโฆษ การฝึกปฏิบัติ/งาน ภาคสนาม/การ ฝึกงาน: ดูงานโรงงานและ แปลงที่ใช้ GMOs อื่นๆ: ทำรายงานกรณีศึกษา ๓.๒ การเรียนส่วนตัวเพิ่มเติม / ชั่วโมงเรียนที่คาดหวังสำหรับนักศึกษา - เรียนส่วนตัวเพิ่ม ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ๓.๓ การเตรียมการเพื่อจัดเวลาว่างของอาจารย์ให้นักศึกษาได้เข้ามาปรึกษาและให้คำแนะนำทางวิชาการเป็นรายบุคคล (รวมทั้งจำนวนชั่วโมงที่คณาจารย์มีเวลาว่างในแต่ละสัปดาห์) - จำนวนเวลาให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่สอน ๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 04/04/62

7 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
หัวข้อนนี้จะต่างไปจากการจัดทำรายละเอียดรายวิชาที่เคยทำมาก่อน เนื่องจากต้องระบุถึงทักษะที่ต้องการพัฒนา วิธีการสอน วิธีการใช้เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ตามทักษะทั้ง ๕ ด้าน ๑. คุณธรรม จริยธรรม ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 04/04/62

8 ๔.๑ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
๔.๑ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (๑) คำอธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะพัฒนา การนำยีนเทคโนโลยี มาใช้เพื่อการสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม การทำ recombinant DNA การปลดปล่อยจุลินทรีย์ หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก หรือการนำเข้า ส่งออก ผลิตภัณฑ์สืบเนื่องจากการใช้พืช จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมจะต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ จำนวนมาก เริ่มจาก กฎหมายลิขสิทธิ์ของเทคโนโลยี กฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ CBD กฎหมายระหว่างประเทศ ฯ ความรับผิดชอบ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ ที่ต้องเน้นเป็นพิเศษเนื่องจากมีผลต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม จริยธรรมที่ควรตระหนัก ในการทำวิจัยและพัฒนา และการใช้ประโยชน์งานวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 04/04/62

9 (๒) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้นั้นๆ ๑. การบรรยายประกอบสื่อ
(๒) กลยุทธ์การสอนที่จะใช้พัฒนาการเรียนรู้นั้นๆ ๑. การบรรยายประกอบสื่อ การจำลองเหตุการณ์ในสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม จนถึงการปล่อยสู่ธรรมชาติ หรือการใช้ GMOs ที่อาจเป็นรูปแบบ role play หรือ การแบ่งกลุ่มอภิปราย ๓. มอบหมายให้จัดทำโครงงานเป็นกลุ่มและมีการนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม ( ๓) วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ๑. ผลจากคะแนนการประเมินโครงงานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่ม ๒. การแสดงความเห็นในชั้นต่อกรณีศึกษาที่นำมาเป็นตัวอย่าง ๓. การสอบเพื่อวัดความรู้ 04/04/62

10 แผนการสอนและการประเมินผล
ให้ระบุหัวข้อที่สอน ซึ่งต้องพิจารณาลำดับของหัวข้อให้เหมาะกับการพัฒนาการเรียนรู้และให้เสริมความเข้าใจของผู้เรียน จำนวนชั่วโมงการสอน วิธีการสอน กิจกรรมประกอบ สื่อที่ใช้ ให้ชัดเจน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ ให้ระบุวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละทักษะ ช่วงเวลาที่จะประเมิน และสัดส่วนของการประเมิน 04/04/62

11 แผนการสอนและการประเมินผล
ให้ระบุหัวข้อที่สอน ซึ่งต้องพิจารณาลำดับของหัวข้อให้เหมาะกับการพัฒนาการเรียนรู้และให้เสริมความเข้าใจของผู้เรียน จำนวนชั่วโมงการสอน วิธีการสอน กิจกรรมประกอบ สื่อที่ใช้ ให้ชัดเจน แผนการประเมินผลการเรียนรู้ ให้ระบุวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละทักษะ ช่วงเวลาที่จะประเมิน และสัดส่วนของการประเมิน 04/04/62

12 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
หัวข้อที่สอน เวลาที่ใช้ (ชม.) กลยุทธ์การสอน วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ ๗. การทดสอบภาคสนามของพืชดัดแปลงพันธุกรรม : ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทดสองภาคสนาม มาตรฐานการจัดรูปแบบของแปลงทดลอง การประเมินความเสี่ยงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อควรระวังอื่น ๆ การบรรยายประกอบสื่อทั้งที่เป็น power point slides, Film strips มอบหมายงานให้ค้นคว้าและทำรายงานประกอบ การนำเสนองานกลุ่ม การทัศน์ศึกษาที่หน่วยงานที่มีการทดลองภาคสนาม การสอบข้อเขียนที่เป็นข้อสอบผสมทั้งปรนัยและอัตนัย ผลการเสนองานกลุ่ม การซักถามและการตอบคำถาม รายงานการค้นคว้า การแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมในการเสนองาน และการอภิปราย 04/04/62

13 ทรัพยากรประกอบการเรียนและการประเมินผล
ระบุ ตำราและเอกสารหลัก เอกสารและข้อมูลสำคัญ (หนังสือ วารสาร สื่อชนิดต่าง ๆ กฎหมาย ระเบียบ ฯ ทีผู้เรียนต้องศึกษาเพิ่มเติม เอกสารข้อมูลแนะนำ เป็นเอกสารอ่านประกอบเพื่อเสริมทักษะต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร รายงาน สื่อ ฯ รวมทั้งแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ 04/04/62

14 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
การประเมินโดยนักศึกษา : วิธีการในการประเมิน กลยุทธ์การประเมินการสอน ให้ระบุทุกวิธีที่ใช้ : การสอบ การสังเกต การนำเสนองาน ฯ ซึ่งจะเป็นการประเมินร่วมกันหลายฝ่าย ผู้สอน ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ 04/04/62

15 การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การปรับปรุงการสอน ให้ระบุวิธีการในการปรับปรุง กลไกในการปรับปรุง มีการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมหารือเพื่อการปรับปรุง การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน พิจารณาจากข้อสอบ รายงาน ความเห็นจากบุคคลอื่น ฯ การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงรายวิชา ระบุวิธีการนำข้อมูลจากการประเมิน การทวนสอบมาใช้เพื่อการปรับปรุงรายวิชา 04/04/62

16 การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา
มคอ. ๕

17 รายงานผลรายวิชาเป็นรายงานที่ต้องทำหลังจากเสร็จสิ้นการประเมินการสอนแต่ละรายวิชาแล้ว โดยต้องนำข้อมูลจาก ๑. ข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชา มาใช้เป็นหลักในการจัดทำรายงาน ๒. ใช้ข้อมูลจากส่วนของการประเมินผลการเรียนรู้ตลอดภาคการศึกษาได้ปฏิบัติจริง รวมทั้งการประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้จัดในระหว่างภาคการศึกษามาประกอบ

18 ๓. ข้อมูลจากการประเมินผลการสอน/อาจารย์ โดยนักศึกษา
๔. ผลการทวนสอบจากคณาจารย์อื่นภายในภาควิชา ๕. ผลการประเมินหรือความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอื่นที่อาจเป็นบุคคลภายนอก

19 องค์ประกอบของรายงาน มี ๖ องค์ประกอบหลัก
หมวดที่ ๑ ลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไปของรายวิชา หมวดที่ ๒ การจัดการเรียนการสอนของรายวิชา หมวดที่ ๓ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา หมวดที่ ๔ อุปสรรค ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ หมวดที่ ๕ การประเมินรายวิชา หมวดที่ ๖ แผนการปรับปรุง

20 รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา
ตัวอย่างรายงานผลการดำเนินงานรายวิชา รายงานผลการดำเนินการของรายวิชา ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสันติคีรี วิทยาลัย/คณะ/ ภาควิชา คณะพรรณพฤกษชาติ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

21 หมวดที่ ๑ ลักษณะและข้อมูลโดยทั่วไปของรายวิชา
1. รหัสและชื่อรายวิชา จริยธรรม กฎหมายและระเบียบข้อบังคับด้านชีวภาพ (Bioethics, Law and Regulations) 2. รายวิชาที่ต้องเรียนก่อนรายวิชานี้ (ถ้ามี) ไม่มี 3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและกลุ่มเรียน (section) (ให้รายงานเป็นรายกลุ่ม) รศ. ดร. เพชรเอก ชิตะประเสริฐ ตอนที่ 1 4. ภาคการศึกษา/ปีการศึกษาที่เปิดสอนรายวิชา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551 5. สถานที่เรียน (ให้ระบุสถานที่ในกรณีที่ไม่เปิดสอนในที่ตั้งหลักของสถาบันหรือเปิดสอนหลายวิทยาเขต) คณะพรรณพฤกษชาติ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

22 หมวดที่ ๒ การจัดการเรียนการสอนของรายวิชา
(นำข้อมูลจาก ข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชา มาใช้โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลจากการปฏิบัติจริง) 1. แผนการสอน หัวข้อ จำนวนชั่วโมงตามแผนการสอน จำนวนชั่วโมงที่ได้สอนจริง ระบุสาเหตุที่การสอนจริงต่างจากแผนการสอนหากมีความแตกต่างเกิน 25% 1. นโยบาย แนวโน้มของการวิจัย พัฒนาและธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ 2 - 2. จริยธรรมในการทำวิจัยด้านชีวภาพและธุรกิจ 3 ย้ายชั่วโมงไปเพิ่มในข้อ 10 3. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety regulations) 4 5 เพิ่มชั่วโมงเนื่องจากพื้นฐานนักศึกษายังขาดบางบริบท

23 2. การสอนที่ไม่ครอบคลุมตามแผน
ให้ระบุหัวข้อและผลกระทบที่สำคัญของหัวข้อที่สอนไม่ครอบคลุมตามแผนว่ามีผลต่อการเรียนรู้ของรายวิชานี้อย่างไร โดยให้ระบุวิธีแก้ไขที่ได้ดำเนินการไปแล้วและที่ต้องดำเนินการต่อไป หัวข้อที่ทำการสอนไม่ครอบคลุมทั้งหมดหรือไม่ได้สอน (ถ้ามี) ผลต่อผลการเรียนรู้ของรายวิชานี้ วิธีแก้ไข 1. จริยธรรมในการทำวิจัยด้านชีวภาพและธุรกิจ (ลด 1 ชั่วโมง) การเพิ่ม/ลดชั่วโมงในแต่ละหัวข้อไม่มีผลต่อเนื้อหา เนื่องจากเป็นการสอนของผู้สอนคนเดียวกัน สามารถที่จะย้ายบางหัวข้อมาเพิ่มให้เหมาะสมกับหัวข้อที่เพิ่มขึ้น โดยให้เนื้อเนื้อความต่อเนื่องกันดีขึ้น รวมทั้งง่ายต่อการเข้าใจของนักศึกษา ได้ประชุมหารือกับอาจารย์ผู้สอนทั้งหมดแล้ว มีความเห็นว่า การปรับชั่วโมงทำให้เนื้อหากระชับมากขึ้น รวมทั้งได้เพิ่มเนื้อหาในบางบริบทให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น ผลจากการประเมินผลการเรียนรู้ นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อน 2. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดในด้านการใช้ประโยชน์จากพืช

24 3. ประสิทธิผลของกลยุทธ์การเรียนการสอนที่ทำให้เกิดผลการเรียนรู้ตามที่ระบุตามรายละเอียดของรายวิชา
มาตรฐาน ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนที่ระบุในรายละเอียดรายวิชา ประสิทธิผล อุปสรรคของการใช้กลยุทธ์ (ถ้ามี) พร้อมข้อเสนอแนะในการแก้ไข มี ไม่มี คุณธรรม จริยธรรม ใช้กรณีศึกษา เช่น การปล่อยน้ำเสียของโรงงานกระดาษบริเวณแม่น้ำพอง เป็นตัวอย่างให้นักศึกษานำมาวิเคราะห์และมี Role play ให้เป็นเจ้าของกิจการ ประชาชนที่อยู่โดยรอบโรงงาน ประชาชนบริเวณอื่น เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นายอำเภอ โดยกำหนดให้แต่ละบทบาทต้องหาคำอธิบายในการดำเนินงานของตนเอง / ใช้เวลาในการนำเสนอค่อนข้างนาน ได้แก้ไขให้เป็นงานแสดงงเสริมนอกเวลา ซึ่งได้รับความสนใจ และมีผลการตอบสนองจากนักศึกษาในชั้นเรียนที่ดี นอกจากนี้ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีอื่นที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ทำให้เกิดการวิพากษ์ในแต่ละบทบาทในวงกว้าง ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งหมด เข้าใจคุณธรรม และ จริยธรรมในวิชาชีพ

25 ความรู้ 1. การบรรยายประกอบสื่อเป็นหลัก 2. การมอบหมายให้ค้นหัวข้อบางเรื่องในเชิงลึก แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3. การนำชมสถานประกอบการ / 1. นักศึกษาจากต่างคณะที่มาเรียน ต้องใช้เวลาในการเพิ่มความรู้พื้นฐานให้บางบริบท เพื่อให้ทันกับนักศึกษาของสาขา ทางแก้ไข ให้เวลาเพิ่มกับนักศึกษากลุ่มที่ตามไม่ทัน โดยการจัดชั้นเรียนพิเศษเพิ่มจากชั่วโมงเรียนปกติ ทักษะทางปัญญา การยกตัวอย่างและให้วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ในการใช้ยีน นักศึกษายังขาดประสบการณ์ในการค้นหา patent materials ทางแก้ไข แสดงวิธีการค้นหา patent จาก อเมริกา และมอบงาน

26 4. ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การปรับปรุงกลยุทธ์การสอน ซึ่งมีผลต่อการประเมินตามตารางในหัวข้อ 3 หมวดที่ 2 (ให้ยกตัวอย่างวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาในระหว่างเรียน เพื่อให้มีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนรู้ดีขึ้น) การใช้ Role play เป็นตัวอย่างที่ดีในการเรียนเฉพาะเรื่อง นักศึกษาสนใจและเข้าใจบทสมมุติที่ได้รับ แสดงให้สมบทบาท เช่น เจ้าของกิจการที่ขาดความรับผิดชอบ เกษตรกรเลี้ยงปลากระชัง นักสิ่งแวดล้อม สำหรับปัญหา คือใช้เวลาค่อนข้างมาก แต่ในภาพรวมจะคุ้มกับเลาที่ใช้อย่างมาก การบรรยายประกอบสื่อ หากมีการใช้ video clip จะช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เพราะช่วยให้เห็นภาพเหตุการณ์จริงที่ต้องพบในการทำงานเมื่อจบการศึกษา การนำชมสถานประกอบการ ช่วยในการฝึกการสื่อสารกับผู้อื่น เพราะต้องไปหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และ ผู้ปฏิบัติงานอื่นในสถานประกอบการ รวมทั้งประชาคมที่อยู่รอบ ๆ สถานประกอบการทำให้เกิดทักษะหลายด้าน การฝึกเขียนรายงานเชิงวิเคราะห์ ปัญหาของนักศึกษา ไม่คุ้นกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสังคมศาสตร์ การใช้ภาษาที่ต้องรัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางกฎหมายได้ ข้อเสนอแนะหากเป็นไปได้น่าที่จะเพิ่มเป็นรายวิชาอีก 1 รายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดทักษะในการเขียนเชิงวิเคราะห์ให้มากขึ้น

27 หมวดที่ ๓ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา
หมวดที่ ๓ สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา ระบุจำนวนนักศึกษาที่เรียน และที่สอบผ่าน นักศึกษาที่ลงทะเบียน ๑๒๖ คน สอบผ่าน ๑๑๕ คน การกระจายตัวของลำดับคะแนน ดูในตารางประกอบ การคลาดเคลื่อนของคะแนน พร้อมทั้งระบุสาเหตุ การกระจายตัวของคะแนนเป็นไปตามปกติ การทวนสอบจากคณาจารย์ในภาควิชา

28 การกระจายตัวของลำดับคะแนน
ลำดับขั้น จำนวน A 5 B+ 12 B 18 C+ 24 C 36 D+ 13 D 7 F 3 V 8 รวม 126 การให้ลำดับขั้นใช้วิธีตาม T-score ไม่พบความผิดปกติของการให้ลำดับขั้น และการกระจายตัวของคะแนน

29 หมวดที่ ๔ อุปสรรค ปัญหาและผลกระทบต่อการดำเนินการ
๔.๑ ประเด็นด้านทรัพยากรประกอบการเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวก (1) อุปสรรคในการใช้แหล่งทรัพยากรประกอบ การเรียน (ถ้ามี) การไปดูงานนอกสถานที่ เนื่องจากเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่พอควร การใช้รถบัสที่จะนำนักศึกษาไปดูงานต้องใช้ถึง 2 คัน ทำให้งบประมาณไม่เพียงพอ 1. ผลกระทบ (ระบุผลกระทบจากอุปสรรค) สามารถจัดได้เพียง 1 ครั้ง จากแผนที่กำหนด 2 ครั้ง ที่จะได้ดูสถานประกอบการที่มีลักษณะแตกต่างกัน

30 ๔.๒ ประเด็นด้านการบริหารและองค์กร
(1) อุปสรรคด้านการบริหาร (ถ้ามี) การจัดสรรงบประมาณในแบบต่อรายวิชาโดยไม่ได้คำนึงถึงจำนวนนักศึกษามากนัก 1. ผลกระทบต่อผลการเรียนรู้ของรายวิชา (ระบุผลกระทบจากอุปสรรค) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อุปสรรคด้านองค์กร (ถ้ามี) ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมเสริมรายวิชา โดยคิดว่าการบรรยายเป็นหลักในการเรียนการสอน 2. ผลกระทบต่อการเรียนรู้ของรายวิชา นักศึกษาขาดโอกาสในการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ทำให้ต้องใช้จินตนาการว่า ลักษณะของงาน หรือ ปัญหาควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะเรียนรู้ได้ไม่ดีเท่าการสัมผัสโดยตรง

31 หมวดที่ ๕ การประเมินรายวิชา
1. ผลการประเมินรายวิชาโดยนิสิต/นักศึกษา (แนบเอกสาร) 1.1 ข้อวิพากษ์ที่สำคัญจากผลการประเมินโดยนิสิต/นักศึกษา ควรที่จะเสริมการเรียนรู้โดยการไปดูงานให้มากขึ้น การใช้ Role Play สนุก และได้ความรู้โดยไม่รู้ตัว ไม่น่าเบื่อเหมือนเรียนบรรยายอย่างเดียว อาจารย์ให้งานมาก โดยเฉพาะการเขียนรายงาน ทำให้ส่งงานไม่ทัน 1.2 ความเห็นของอาจารย์ผู้สอนต่อผลการประเมินตามข้อ 1.1 ได้นำเสนอในที่ประชุมภาควิชาในการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการจัดกิจกรรมด้วย รวมทั้งอาจต้องเก็บเงินจากนักศึกษาเพิ่มเพื่อจัดกิจกรรมเฉพาะเรื่อง จะใช้วิธีการสอนแบบนี้ต่อไป เมื่อมีผลดีกับนักศึกษา ได้ทำความเข้าใจกับนักศึกษาถึงความจำเป็น และผลดีต่อนักศึกษาแล้ว

32 2. ผลการประเมินรายวิชาโดยวิธีอื่น
ได้ส่งผลการวิเคราะห์สถานประกอบการให้กับผู้จัดการเพื่อขอความเห็น รายงานที่นักศึกษาร่วมกันจัดทำได้รับการตอบรับที่ดี โดยสถานประกอบการได้นำไปหารือในกลุ่ม และบางส่วนได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะ 2.1 ข้อวิพากษ์ที่สำคัญจากผลการประเมินโดยวิธีอื่น จากความเห็นที่ได้รับกลับ พบว่าข้อมูลในรายงานยังไม่ครอบคลุมครบถ้วน โดยเฉพาะในส่วนของสถานประกอบการเอง ที่ควรแก้ไขโดยการเพิ่มข้อมูลในส่วนของระบบการป้องกันความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับความเห็นต่อนักศึกษา พบว่าเป็นบวก 2.2 ความเห็นของอาจารย์ผู้สอนต่อผลการประเมินตามข้อ 2.1 1. การขาดข้อมูลในรายงาน เนื่องจากระดับความลับของข้อมูลที่นักศึกษาไม่สามารถเข้าถึง จึงไม่ได้เป็นจุดด้อยของรายงานแต่อย่างใด 2. ควรเพิ่มทักษะการเขียนข้อมูลเชิงวิเคราะห์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยอาจเพิ่มเป็นรายวิชา หรือ เป็นการจัดกิจกรรมทางวิชาการพิเศษให้กับนักศึกษา

33 หมวดที่ ๖ แผนการปรับปรุง
1. ความก้าวหน้าของการปรับปรุงการเรียนการสอนตามที่เสนอในรายงาน/รายวิชาที่ผ่านมา เสนอการปรับปรุงของภาคเรียน/ปีการศึกษาที่ผ่านมา ในภาคการศึกษานี้ ได้มีการปรับจำนวนชั่วโมงให้เหมาะกับเนื้อหารายวิชามากขึ้น ทำให้ลำดับของเนื้อหาดีกว่าเดิม ได้เพิ่มกิจกรรมเสริมความรู้พื้นฐานให้กับนักศึกษาต่างภาควิชา และนักศึกษาของภาควิชาที่สนใจ ผลการดำเนินการ (ระบุกิจกรรมตามแผนที่ได้ดำเนินการว่าส่งผลอย่างไร และถ้าไม่ได้ดำเนินการหรือไม่เสร็จสมบูรณ์ ให้ระบุเหตุผลประกอบ) 1. นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้นกว่าเดิม สามารถตามทันบทเรียนได้ง่ายขึ้น 2. ช่วยให้สามารถเรียนทันกลุ่มอื่นได้ และมีความสนุกกับบทเรียน

34 2. การดำเนินการอื่น ๆ ในการปรับปรุงรายวิชา
ระบุการปรับปรุงโดยย่อ เช่น ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนสำหรับภาคเรียนนี้ การใช้อุปกรณ์การสอนแบบใหม่ เป็นต้น 1. เพิ่มเวลากับการเรียนแบบ Role Play 2. การใช้ video clips มาประกอบการสอน แทนการใช้ power point

35 3. แผนการปรับปรุงรายวิชาสำหรับภาคเรียน/ปีการศึกษาต่อไป
กิจกรรมที่ต้องการ การจัดดูงานนอกสถานที่จาก 1 ครั้ง เป็น 2 หรือ 3 ครั้ง วันสิ้นสุดกิจกรรม สัปดาห์ที่ และ 12 หลังการเปิดเรียน ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ผู้สอน และนักวิทยาศาสตร์ที่ช่วยสอน

36 4. ข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา เสนอต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
1. จากผลการเรียนของนักศึกษาและผลการประเมินของนักศึกษา ภาควิชาควรที่จะจัดสรรงบประมาณเพื่อการเรียนเหมาะสม แทนการกำหนดงบประมาณรายวิชา เพราะแต่ละรายวิชาจะมีกิจกรรมเพื่อเสริมการเรียนรู้แตกต่างกัน 2. ควรหางบประมาณเพื่อจัดหา LCD มาทดแทนของเดิมที่หลอดเสื่อมสภาพ จนไม่น่าที่จะนำมาใช้งาน 3. วิธีการสอนที่เพิ่มกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน / การแสดงออกมีผลที่ชัดเจนต่อการพัฒนาทักษะตามสาระการเรียนรู้ทั้ง 5 สาระ ควรที่จะพิจารณาให้เป็นแนวปฏิบัติของภาควิชา

37 ฝากให้คิด “การทำรายงานผลรายวิชาจะไม่เป็นภาระงานที่ยาก หากจะรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จหลังจากที่มีการประเมินลำดับขั้น และได้รับข้อมูลประกอบการทำรายงานครบถ้วนแล้ว”


ดาวน์โหลด ppt การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google