งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์ อ.โสภณ มหาเจริญ บทที่ 5 เรื่อง อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า

2 วัตถุประสงค์ 5.1 เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักเครื่องมือช่างไฟฟ้า
5.2 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และสามารถใช้เครื่องมือช่างไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม          1. ใช้เครื่องมือช่างไฟฟ้าได้          2. ใช้ อุปกรณ์และวัสดุได้

3 อุปกรณ์และเครื่องมือ 

4 การติดตั้งไฟฟ้าโดยทั่วไปจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือ  อุปกรณ์และวัสดุหลายชนิดร่วมกันจึงจะสามารถทำงานสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ถ้าหากขาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์บางอย่าง อาจจะไม่สามารถทำงานได้เลย  ตัวอย่างเช่น ไม่มีฟิสเทป (fish tape) การร้อยสายเข้าในท่อจะทำได้ลำบากมาก ดังนั้น ในบทนี้จะกล่าวถึงเครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุต่างๆ ที่ช่างไฟฟ้าจะต้องใช้งานในโอกาสต่อไป                          

5 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 3.1.1 เครื่องมือสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย                  1.  ไขควง ได้แก่ ไขควงเทสไฟและไขควงที่ใช้ขันกรูทั่วไป ดังรูป ไขควงแบบถอดด้ามได้ ไขควงแบนและไขควงแฉก

6 เครื่องมือช่างไฟฟ้า คีม ได้แก่ คีมตัด  คีมปากแหลม  คีมรวม   คีมปอกสาย  คีมย้ำหางปลา คีมล็อค ดังรูป คีมล๊อค คีมย้ำและคีมปอก คีมปอกสายไฟ คีมตัด คีมปลายแหลม คีมรวม

7 เครื่องมือช่างไฟฟ้า            3. มีดปอกสาย ลักษณะดังรูป แต่ราคาแพงที่นิยมใช้ทั่วไปคือ คัทเตอร์ ชนิดเปลี่ยน ใบมีดได้ มีดปอกสายไฟ มีดคัทเตอร์

8 เครื่องมือช่างไฟฟ้า           4.  ค้อนเดินสายไฟฟ้า  ขนาดกระชับมือ บริเวณหัวค้อนจะออกแบบ ให้แหลมมน เพื่อใช้ตอกตะปูในบริเวณแคบ ๆ ดังรูป

9 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 5. บิดหล่า  ใช้สำหรับเจาะแผงไม้ต่าง ๆ เช่นใช้ เจาะรูก่อนที่จะติดตั้งคัทเอ้าท์ ดังรูป

10 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 6. บักเต้า  ใช้สำหรับตีเส้นให้ตรงหรือได้ระดับก่อนที่จะตอกตะปูเดินสายไฟฟ้าวิธีใช้งาน

11 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 7. สว่าน  ปัจจุบันนิยมใช้สว่านไฟฟ้า  ประกอบด้วยสว่านเจาะไม้เหล็ก  และ สว่านกระแทก ใช้เจาะปูน, คอนกรีต สำหรับงานเจาะคอนกรีตส่วนใหญ่จะนิยมใช้สว่านโรตารี่  ขนาดของสว่านไฟฟ้า จะเรียกตาม  ขนาดของหัวจับ  เช่น ขนาด 3 หุน, 4 หุน  เป็นต้น สว่านเจาะไม้/เหล็ก สว่านเจาะปูน

12 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 8.  ตลับเมตร  ระดับน้ำและลูกดิ่ง     ตลับเมตร  ใช้วัดระยะ  มีหน่วยเป็นเซนติเมตร (cm)  และเป็นนิ้ว (inch)  ระดับน้ำ     ใช้ตรวจสอบความเที่ยงตรงในงานเดินสายไฟฟ้าและการดัดท่อ  ลูกดิ่ง        ใช้จับระดับในแนวตั้ง  น้ำหนักขนาด  400  กรัม          

13 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 9. เหล็กนำศูนย์และเหล็กส่ง                เหล็กนำศูนย์    :    ผลิตจากเหล็กแข็งใช้สำหรับตอกนำบนอาคารฉาบด้วยปูนซีเมนต์เพื่อป้องกันตะปูงอ  ซึ่งจะทำให้เสียเวลาในการปฏิบัติงาน  ในทางปฏิบัติจะใช้ ตะปูคอนกรีตโดยการเจียรปลายให้แหลม                 เหล็กส่ง            :     ใช้สำหรับตอกตะปูในที่แคบ  ไม่สามารถใช้ค้อนตอกหัวตะปูได้โดยตรง

14 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 10.  สิ่ว  ใช้บากแป้นไม้รองสวิตช์  หรือแผงคัดเอ้าท์  เพื่อให้สามารถสอดสายเข้าไปได้ที่ใช้งานทั่วไปคือ  สิ่วปากบางและสิ่วเดือย 

15 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 11. เลื่อย ใช้ตัดไม้ขนาดต่างๆ เลื่อยฉลุ
11.  เลื่อย  ใช้ตัดไม้ขนาดต่างๆ  เลื่อยฉลุ เลื่อยลันดา

16 เครื่องมือช่างไฟฟ้า 12.  มัลติมิเตอร์  เป็นเครื่องมือวัดเอนกประสงค์  เพื่อตรวจสอบสภาพสายไฟฟ้าอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าอุปกรณ์และวัสดุทุกชิ้นที่จะนำไปติดตั้งอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานด้วยความปลอดภัย

17 เครื่องมือช่างไฟฟ้า เครื่องมือสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย เครื่องมือดัดท่อ  (bender) ปากกาจับที่  (pipe vise stands) เครื่องมือต๊าปเกลียว (pipe threader) เครื่องมือคว้านท่อ  (reamer)  ใช้สำหรับลบคมบริเวณปลายท่อ ลวดดึงสายไฟ  (fish tape) มีสองขนาดคือ  ยาว 25 ฟุต  และ 50  ฟุต น็อคเอ้าท์พันซ์  (knock out punch) ใช้ขยายรูในตู้โหลดเซนเตอร์ หรือ กล่องต่อสาย ต่าง ๆ เครื่องเจียร ประแจ  เช่น  ประแจเลื่อน  ประแจคอม้า  เป็นต้น ลักษณะของเครื่องมือต่างๆ

18 อุปกรณ์และวัสดุ อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย                                       1.  เข็มขัดรัดสาย  หรือที่เรียกทั่วไปว่า  คลิป  (clip)  หรือ กิ๊ป  ผลิตจากอะลูมิเนียมขึ้นรูปเป็นแผงบางๆแต่มีความเหนียว มีหลายขนาด  เช่น เบอร์ ¾, 0, 1, 1 1/2,  2,  2 1/2, 3, 4, 5 และเบอร์ 6 ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด   ตั่งแต่ เบอร์ 3 ถึง เบอร์ 6  จะมีขนาดสองรู  ขนาดอื่นๆ จะมีรูเดียว    2.  ตะปู  ขนาด 3/8  นิ้ว, 5/16 นิ้ว  ใช้ตอกบนอาคารฉาบปูน  และขนาด 1/2  นิ้ว สำหรับตอกบนอาคารที่เป็นไม้

19 อุปกรณ์และวัสดุ อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย                                      3.  พุก (fixer)  ใช้งานคู่กับสกรูเพื่อให้การจับยึดอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้าต่าง ๆ มีความแข็งแรง พุก ที่ใช้งานทั่ว มี 3 แบบ คือ         3.1 พุกพลาสติก  ใช้กับงานติดตั้งขนาดเล็ก  เช่น  ติดตั้งแป้นไม้ แผงคัทเอ้าท์  จะใช้พุกขนาด  M7 (เอ็ม-เจ็ด)  กล่าวคือ  ต้องใช้อดอกสว่านขนาด 7 มิล และใช้สกรูขนาด 5-6 มม.  นอกจากนี้ยังมีขนาดอื่นๆ เช่น M8 จะโตกว่า M7 3.2 พุกตะกั่ว  ใช้กับงานขนาดกลาง  เนื่องจากทนแรงกดและน้ำหนักได้ดีกว่า เช่น การติดตั้งตู้โหลดเซนเตอร์ 3.3 พุกเหล็ก  หรือที่เรียกว่า  โบลว์  (bolt) ใ ช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงทุก ประเภทเนื่องจากรับน้ำหนักได้ดี  แต่มีราคาแพง

20 อุปกรณ์และวัสดุ อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย                                       4. สกรู  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ตะปูเกลียวปล่อย  มีสองชนิดคือ  ชนิดหัวแฉกและชนิดหัวแบน 5. แป้นไม้  ใช้สำหรับรองรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาด อาทิ เช่น 4 × 6 นิ้ว 8 × 10  นิ้ว เป็นต้น ปัจจุบันมีการผลิตแป้นพลาสติกออกมาใช้งานควบคู่กับแป้นไม้ึ่งได้รับความนิยมใกล้เคียงกัน     6. สวิตช์  ใช้สำหรับปิด-เปิด  วงจรไฟฟ้าใด ๆ เช่น ใช้ปิด – เปิด วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์  คูณลักษณะของสวิตช์ขึ้นอยู่กับพิกัดกระแส  พิกัดแรงดันสวิตช์แบ่งได้เป็นสองชนิดตามลักษณะการทำงานและการติดตั้ง

21 อุปกรณ์และวัสดุ อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย                                    สวิตช์หนึ่งขาสับทางเดียว (Single pole single throw switch)  หรือ S.P.S.T. เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สวิตช์ทางเดียวใช้กับระบบไฟฟ้าเฟสเดียว  (single phase) สวิตช์สองขาสับขาเดียว (Double pole single throw switch) หรือ D.P.S.T. ใช้เป็นอุปกรณ์ตัดตอนในระบบเฟสเดียว ตัวอย่างเช่น คัทเอ้าท์ ที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป

22 อุปกรณ์และวัสดุ อุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย                                     สวิตช์สองขาสับสองทาง (Double pole double throw switch) หรือ D.P.D.T. สวิตช์สามขาสับทางเดียว (Triple pole single throw switch) หรือ T.P.S.T. ใช้เป็นอุปกรณ์ตัดตอนในระบบสามเฟส (Three phase) ตัวอย่างเช่น คัทเอ้าท์สามเฟส  สวิตช์สามขาสับสองทาง (Triple pole Double throw switch) หรือ T.P.D.T. ใช้กับระบบสามเฟส

23 สรุป เครื่องมือช่างทางด้านไฟฟ้าประกอบด้วยเครื่องมือหลากหลายประเภททั้งเครื่องมือทั่วไปและเครื่องมือแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือเฉพาะเจาะจงสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องมือทั่วไปเช่นการปอกสายไฟ หากเราใช้เพียงคัทเตอร์ในการปอกก็อาจจะทำให้สายทองแดงด้านในเกิคความเสียหายขึ้นได้

24 แบบฝึกหัด ให้ผู้เรียนสาธิตการใช้งานเครื่องมือช่างโดยการทำกิจกรรมต่อไปนี้ เดินสายไฟด้วยเข็มขัดรัดสายพร้อมต่อปลั๊กไฟและหลอดไฟจำนวน 1 ชุด แสดงเทคนิคการพันเทปสายไฟที่ถูกต้อง แสดงวิธีการใช้ไขควงแบบผิดวิธีมา 5 ตัวอย่าง


ดาวน์โหลด ppt รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google