ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กฎหมายกับจารีตประเพณี
ทบทวน: ในที่นี้ พิจารณากฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับจารีตประเพณี ในลักษณะต่างๆกัน ที่อาจมองได้เป็น 3 ทาง : กฎหมายพัฒนามาจากจารีตประเพณี กฎหมายส่งเสริมจารีตประเพณี กฎหมายลบล้าง/จำกัดจารีตประเพณี Law and Tradition 2
2
กฎหมายที่จำกัดจารีตประเพณี
บางครั้งจารีตประเพณีก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งโหดร้ายในสังคมปัจจุบัน กฎหมายจึงเข้าไปห้ามการปฏิบัตินั้น 1. Sati Law and Tradition 2
3
กฎหมายที่จำกัดจารีตประเพณี
บางครั้งจารีตประเพณีก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งโหดร้ายในสังคมปัจจุบัน กฎหมายจึงเข้าไปห้ามการปฏิบัตินั้น 2. Honor Killing End here ^^ Law and Tradition 2
4
กฎหมายที่จำกัดจารีตประเพณี
บางครั้งจารีตประเพณีก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งโหดร้ายในสังคมปัจจุบัน กฎหมายจึงเข้าไปห้ามการปฏิบัตินั้น 3. Circumcision & Female genital mutilation (FGM) Law and Tradition 2
5
จารีตประเพณีบางอย่าง ที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด
เช่น การผลิตเหล้าพื้นบ้าน Law and Tradition 2
6
จากเดิมชาวบ้านต้มเหล้า ในงานเลี้ยงฉลองของชุมชน ปัจจุบัน
ทำไมในสังคมสมัยใหม่จึงมีการออกกฎหมายจำกัดการผลิตเหล้าพื้นบ้าน – ห้ามต้มเหล้าเถื่อน! จากเดิมชาวบ้านต้มเหล้า ในงานเลี้ยงฉลองของชุมชน ปัจจุบัน รัฐออกกฎหมายมาควบคุมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเก็บภาษี ต้องไปจดทะเบียนว่าจะผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ต้องขออนุญาต) ควบคุมอายุผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุมการ โฆษณา ทำไม? คุ้มครองสังคม เพื่อสุขภาพของผู้ดื่ม? คุ้มครองสังคม จากการมัวเมาในอบายมุข? Law and Tradition 2
7
จารีตประเพณีบางอย่างที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด: น้ำ
การจัดการระบบชลประทาน การตีฝายตามวิถึท้องถิ่น Law and Tradition 2
8
จารีตประเพณีบางอย่างที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด: ป่า
การจัดการป่า/ทรัพยากร Law and Tradition 2
9
รัฐเข้ามาจัดการทรัพยากรธรรมชาติ – ดิน น้ำ ป่า
จากเดิมชาวบ้านสามารถเข้ามาจัดการทรัพยากรในชุมชนของตัวเอง ปัจจุบัน รัฐออกกฎหมายกำหนดพื้นที่คุ้มครองประเภทต่างๆ เช่น ป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ รัฐออกกฎหมายกำหนดจัดการที่ดินและน้ำ ทำไม? รักษาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมเพื่อทุกคนในสังคม และคนในรุ่นต่อไป ประชากรมากขึ้นในโลกใบเดิม จึงต้องมีคนเข้ามาจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม คำถาม – ใครควรเป็นผู้จัดการ ผู้จัดสรร? Law and Tradition 2
10
จารีตประเพณีบางอย่างที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด: ช้าง
คนเลี้ยงช้าง ประเพณีของชาวกุ่ย ที่สุรินทร์ การคล้องช้าง ช้างบ้าน = สัตว์พาหนะ ช้างป่า = สัตว์ป่าคุ้มครอง รัฐเข้ามาแทรกแซง ห้ามนำช้างมาเดินในเมือง ทำไม? คุ้มครองช้าง คุ้มครองคน คำถาม – แล้วคนเลี้ยงช้าง จะอยู่ได้อย่างไร? Law and Tradition 2
11
จารีตประเพณีบางอย่าง ที่ถูกกฎหมายของรัฐจำกัด : เป็ดไล่ทุ่ง
การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง Law and Tradition 2
12
การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง – ประเพณีของคนภาคกลาง
ค่ำไหน นอนนั่น ประหยัดค่าอาหารเป็ด ชาวนาได้ตัวช่วยกำจัดหอยเชอร์รี่ ช่วงไข้หวัดนกระบาด รัฐสั่งห้ามเลี้ยงสัตว์ปีกแบบปล่อย (ต้องเลี้ยงในโรงเรือนปิด) จัดระเบียบการเลี้ยงสัตว์ปีก ทำไม? รักษาสุขภาพ อนามัยของคนในสังคม ปัญหา คนเลี้ยงเป็ดจะไปหาที่ดินที่ไหนมาสร้างโรงเลี้ยง จะหาเงินที่ไหนมาซื้ออาหารให้เป็ดกิน ชาวนาขาดระบบกำจัดศัตรูพืชตามธรรมชาติ Law and Tradition 2
13
(ตัวอย่างที่ยกมานี้ เป็นประเพณีแล้วแต่บางพื้นที่)
ประเพณีบางอย่างไม่สอดคล้องกับกฎหมายปัจจุบัน เช่น การรับมรดก ที่จารีตของการสืบทอดทรัพย์สินของคนทางเหนือ ส่วนใหญ่สืบทอดทางลูกผู้หญิง เพราะเป็นผู้เลี้ยงดูพ่อแม่ แต่กฎหมายของรัฐสมัยใหม่ กำหนดให้มีการแบ่งมรดกเท่าๆกันในระหว่างทายาท การดำเนินตามประเพณีส่วนใหญ่ของภาคเหนือ เป็นผู้หญิงที่เป็นผู้สืบทอด เช่นประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า (ตัวอย่างที่ยกมานี้ เป็นประเพณีแล้วแต่บางพื้นที่) Law and Tradition 2
14
ทำไมจึงต้องมีการเข้ามาจำกัด/เปลี่ยนแปลงจารีตประเพณี?
การรับเอาอิทธิพลของแนวคิดที่นิยมจารีตประเพณีจากผู้อื่น เช่น เรื่องกฎหมายครอบครัว การที่สังคมมีการศึกษาด้านต่างๆมากขึ้น/เหตุที่เข้ามาแทรกแซงการปฏิบัติตามประเพณี เช่น สุขภาพ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม แล้วนำมาปรับ Law and Tradition 2
15
กฎหมายกำหนดกรอบเรื่องเหล่านี้อย่างไร?
สิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่จะทำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อ กฎหมาย และ “ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี” ปัญหา – เมื่อกฎหมายละเมิดสิทธิของคนกลุ่มหนึ่งในสังคม? ปัญหา – ใครกำหนดว่าอะไรคือความสงบ อะไรคือ ศีลธรรมอันดี? Law and Tradition 2
16
การปะทะกันของสิทธิ: สิทธิในชีวิตร่างกาย
ตัวอย่าง เช่น FGM เมื่อแม่ ต้องการจะให้ลูกสาวของตนทำเหมือนที่ตัวเองทำ และภูมิใจในการทำเช่นนั้น เราควรจะพิจารณาอย่างไร ในแง่มุมของกฎหมาย มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้ กับสิทธิที่จะปฏิบัติตามจารีตประเพณีดั้งเดิมของตนเอง มาตรา 66 ในรัฐธรรมนูญ “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” Law and Tradition 2
17
การปะทะกันของสิทธิ: ห้ามผู้หญิงเข้าพระธาตุ
ในส่วนของ พิธี Sati, Honor Killing, หรือ FGM ที่อาจมองได้ว่าเป็นการกระทบต่อสิทธิในเนื้อตัว ร่างกาย ซึ่งเป็นสิทธิที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้ หากเป็นการกระทบต่อสิทธิในด้านความเชื่อ เราจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร เช่นกรณีการห้ามผู้หญิงเข้าพระธาตุ ของจารีตประเพณีของบางท้องที่ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุหริภูญชัย หรือพระธาตุลำปางหลวง กับความเชื่อที่ว่า เพราะผู้หญิงมีประจำเดือนได้ เมื่อประจำเดือนเป็นสิ่งที่จะทำให้ของขลัง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆเสื่อม วัดที่มีการฝังพระธาตุอยู่ที่ใต้ฐาน ก็จะห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้า Law and Tradition 2
18
การปะทะกันของสิทธิ: ห้ามผู้หญิงเข้าพระธาตุ
กรณีตัวอย่างที่สว.ระเบียบรัตน์ (ในขณะนั้น) ตั้งคำถามต่อคณะกรรมการวัดพระธาตุดอยสุเทพ ให้ชี้แจงว่าทำไมจึงห้ามเช่นนี้ ซึ่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญในสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิง-ชาย กลุ่มทางศาสนาออกมาวิพากษ์ว่าเรื่องนี้ “ไม่ใช่พุทธ” กลุ่มจารีตประเพณีออกมาโต้ ว่าเป็นความเชื่อ และการปฏิบัติที่มีการฝังพระธาตุไว้ที่ฐาน การปฏิบัติจึงต่างจากวัดที่ภาคอื่น กลุ่มแม่ญิงล้านนา สาวเหนือทั้งหลายต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ว่าเข้ามาก้าวล่วงสิทธิของคนท้องถิ่น นักสิทธิสตรีพยายามอธิบายถึงอคติทางเพศที่ครอบงำสังคม และอธิบายว่าประจำเดือนไม่ใช่สิ่งเสียหาย คำถาม – การที่ไม่ได้เข้าในเขตพระธาตุ เป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่? ในเมื่อก็ไม่ได้กระทบต่อเนื้อตัวร่างกาย ข้อคิด – สำหรับคนบางคน ความเชื่อ ศาสนา อาจเป็นสิ่งที่กินไม่ได้ แต่สำหรับบางคนแล้ว ความเชื่อ กลับเป็นสิ่งที่สูงสุด ที่อาจแลกมาด้วยชีวิตก็ได้ Law and Tradition 2
19
หลักการที่เข้ามาอธิบาย สิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง Self Determination
คำถามสำคัญ คือ ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าควรจะอนุญาตให้มีการปฏิบัติตามประเพณีต่อไปหรือไม่? หลักการที่เข้ามาอธิบาย สิทธิในการกำหนดอนาคตของตนเอง Self Determination สิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง Rights of Indigenous Peoples พหุนิยมทางกฎหมาย Legal pluralism จบ ☃ Law and Tradition 2
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.