งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

PATIENT IDENTIFICATION

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "PATIENT IDENTIFICATION"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 PATIENT IDENTIFICATION
การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดที่ เกิดขึ้นในตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ตึกอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน

2 การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดที่เกิดขึ้นในตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
หน่วยงาน ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน ผู้รับผิดชอบ น.ส.เมธาวี ตันติวรานุรักษ์ นายวัฒนา ศิลปศุภร น.ส.จารุณี พรหมแก้ว

3 หลักการและเหตุผล การระบุตัวผู้ป่วย (Patient Inditification) เป็นส่วนสำคัญในการ จัดการระบบการบริการให้มีคุณภาพ ถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของ Patient safety goal ซึ่งในการประชุม HA national forum ครั้งที่ 7 เมื่อปี พรพ.ได้นำเสนอ Patient safety goal (PSG) เพื่อให้ รพ. ที่พัฒนา คุณภาพมีความตระหนักร่วมกันถึงโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ สำคัญ และในการประชุม HA national forum ครั้งที่ 9 เมื่อปี พรพ. ได้ปรับโครงสร้างของ PSG โดยเพิ่มแนวคิด SIMPLE โดยมี เป้าหมายให้รองรับประเด็นความปลอดภัยของผู้ป่วยและส่งเสริมให้ นำไปปฏิบัติจริง

4 หลักการและเหตุผล ( ต่อ )
โรงพยาบาลลำพูน ได้ขานรับนโยบายของ พรพ. Patient safety goals โดยใช้แนวคิด Patient safety goal โดยใช้ แนวคิด SIMPLE มา ปฏิบัติเพื่อพัฒนากระบวนการคุณภาพในการให้บริการตึกอุบัติเหตุและ ฉุกเฉินเป็นหน่วยงานด่านหน้าที่ปฏิบัติตามแนวคิดของ SIMPLE โดย เน้นในกระบวนการของ Patient Care Processes คือ Patient Identification (การระบุตัวผู้ป่วย) โดยมุ่งเน้นการติดป้ายข้างเตียง และการติดป้ายข้อมือ แก่ผู้ป่วยทุกรายที่มารับบริการ และนอนโรงพยาบาลเพื่อลดอัตราเสี่ยง และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วย

5 หลักการและเหตุผล ( ต่อ )
จากการรายงานของศูนย์เปลพบว่า ในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่นอน โรงพยาบาลไม่ได้รับการติดป้ายข้อมือจากเจ้าหน้าที่จำนวน 45 คน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วย นอกจากนี้ สถานการณ์ในปัจจุบันจากการสังเกตยังพบว่ามีผู้มารับ บริการและผู้ป่วยที่ได้นอน รพ. ยังไม่ได้รับการติดป้ายข้างเตียงและ ป้ายข้อมือจากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ปฏิบัติตาม แนวทาง Patient Care Processes

6 หลักการและเหตุผล ( ต่อ )
คณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการ Identify ของผู้ป่วย และให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของการ Identify เพื่อแก้ไข ปรับปรุง ให้ลดอัตราความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการ และให้การพยาบาล การ รักษาอย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลตามแนวทางของ Patient safety goal ต่อไป

7 วัตถุประสงค์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินปฏิบัติตามแนว ทางการ Identification ของหน่วยงาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่เปลไม่นำผู้ป่วย admit ผิดคน เพื่อป้องกันการตรวจรักษาและการทำหัตถการผิดพลาดกับตัวบุคคล เพื่อลดอัตราเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนอันเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เพื่อเชื่อมโยงสื่อสารข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลได้ ถูกต้อง

8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉินเห็นความสำคัญในการ ติดป้ายข้างเตียงและป้ายข้อมือ เจ้าหน้าที่ในกลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินปฏิบัติตามแนวทางการ Identify ในหน่วยงาน แพทย์และพยาบาลได้ให้การรักษาและการพยาบาลถูกคน ลดอัตราเสี่ยงและอันตรายที่จะเกิดแก่ตัวผู้ป่วย จากการรักษาและการ พยาบาลผิดพลาด

9 รูปแบบการศึกษา สถานที่ เชิงพรรณนา
กลุ่มงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน

10 กลุ่มตัวอย่าง ผู้รับบริการโรงพยาบาลลำพูน ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม 2553 ผู้ป่วยที่ได้นอนโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม 2553 พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานจริง ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม 2553

11 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นชุดแบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เป็นแบบสอบถามที่ ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา แบบสำรวจผู้มารับบริการที่ไม่ได้รับการติดป้ายข้างเตียง / ป้ายข้อมือ ส่วนที่ 2 แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับเหตุผลที่ไม่ได้ติดป้ายข้างเตียง / ป้าย ข้อมือ

12 วิธีการเก็บข้อมูล เก็บข้อมูลตัวอย่างจากผู้ที่มารับบริการที่ตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม 2553 เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม 2553

13 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติการคิดค่าร้อยละ

14 ผลการศึกษา ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของผู้รับบริการและพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงาน ที่ตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม จำแนกตาม เพศ สถานภาพสมรส วุฒิ การศึกษา ข้อมูลส่วนบุคคล ผู้มารับบริการ ( N = 1208 ) พยาบาลวิชาชีพ ( N = 23 ) จำนวน ( คน ) ร้อยละ เพศ ชาย หญิง สถานภาพสมรส โสด คู่ หม้าย / หย่า วุฒิการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปริญญา 587 621 328 602 278 735 375 98 48.59 51.41 27.15 49.83 23.02 60.84 31.04 8.12 3 20 13 9 1 - 23 13.04 86.96 56.5 39.2 4.3 100

15 ผลการศึกษา ( ต่อ ) จากตารางที่ 1 ให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วน บุคคลดังนี้ ผู้ที่มารับบริการที่ตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ รองลงมาเป็น เพศชาย ร้อยละ สถานภาพสมรสส่วนใหญ่เป็น สถานภาพคู่ คิดเป็นร้อยละ รองลงมาเป็นสถานภาพ โสด ร้อยละ น้อยที่สุดสถานภาพหม้าย / หย่า ร้อยละ วุฒิการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถม คิด เป็นร้อยละ รองลงมาระดับมัธยม ร้อยละ น้อย ที่สุดระดับปริญญา ร้อยละ 8.12

16 ผลการศึกษา ( ต่อ ) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่ตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาล ลำพูน ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ รองลงมาเป็นเพศชาย ร้อยละ สถานภาพ สมรสส่วนใหญ่เป็นสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ รองลงมา เป็นสถานภาพคู่ ร้อยละ น้อยที่สุดสถานภาพหม้าย / หย่า ร้อย ละ 4.30 วุฒิการศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาทั้งหมด

17 จำนวนผู้รับบริการทั้งหมด จำนวนผู้รับบริการที่ไม่ได้ติดป้ายข้างเตียง
ผลการศึกษา ( ต่อ ) ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของผู้รับบริการที่ตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูนที่ ไม่ได้รับการติดป้ายข้างเตียง ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม 2553 จากตารางที่ 2 ให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลดังนี้ ผู้ที่มา รับบริการที่ตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูนที่ไม่ได้รับการติด ป้ายข้างเตียง ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 7.28 จำนวนผู้รับบริการทั้งหมด จำนวนผู้รับบริการที่ไม่ได้ติดป้ายข้างเตียง ร้อยละ 1208 88 7.28

18 จำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดป้ายข้อมือ
ผลการศึกษา ( ต่อ ) ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของผู้ป่วยที่ได้นอนโรงพยาบาลในตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูนที่ไม่ได้รับการติดป้ายข้อมือ ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม 2553 จากตารางที่ 3 ให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลดังนี้ ผู้ป่วยที่ได้นอนโรงพยาบาลในตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาล ลำพูนที่ไม่ได้รับการติดป้ายข้อมือ ระหว่างวันที่ 22 – 31 กรกฎาคม จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 2.92 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด จำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดป้ายข้อมือ ร้อยละ 445 13 2.92

19 ผลการศึกษา ( ต่อ ) แบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน โดย ใช้คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับเหตุผลที่ไม่ติดป้ายข้างเตียง / ข้อมือ กับผู้มา รับบริการ โดยได้คำตอบ ดังนี้ เจ้าหน้าที่ลืม คิดเป็นร้อยละ ขณะนั้นมีผู้มารับบริการมาก หรือมีผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องการรับการรักษา อย่างเร่งด่วนจึงไม่ได้ติดป้ายข้างเตียง คิดเป็นร้อยละ เจ้าหน้าที่คาดว่าจะมีเจ้าหน้าที่คนอื่นไปติดแทน คิดเป็นร้อยละ ป้ายข้างเตียงที่ติดไว้หลุดหาย ตกหาย คิดเป็นร้อยละ 3.40

20 สรุป การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางการ Identify ของหน่วยงานตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โดยมีระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการและ ผู้ป่วยระหว่างวันที่ กรกฎาคม กลุ่มตัวอย่างจำแนกตาม จำนวนผู้มารับบริการทั้งหมด คน จำนวนผู้ป่วยที่นอน โรงพยาบาลทั้งหมด 445 คน พบว่าผู้มารับบริการที่ไม่ได้ติดป้ายข้าง เตียงมีจำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ และจำนวนผู้ป่วยที่นอน โรงพยาบาลที่ไม่ได้ติดป้ายข้อมือมีจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 2.92

21 สรุป ( ต่อ ) เจ้าหน้าที่ลืม คิดเป็นร้อยละ 35.48
จากการสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานโดยใช้คำถาม ปลายเปิดเกี่ยวกับเหตุผลที่ไม่ติดป้ายข้างเตียง / ข้อมือ กับผู้มารับบริการ โดยได้คำตอบ ดังนี้ เจ้าหน้าที่ลืม คิดเป็นร้อยละ ขณะนั้นมีผู้มารับบริการมาก หรือมีผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องการรับการรักษา อย่างเร่งด่วนจึงมาได้ติดป้ายข้างเตียง คิดเป็นร้อยละ เจ้าหน้าที่คาดว่าจะมีเจ้าหน้าที่คนอื่นไปติดแทน คิดเป็นร้อยละ ป้ายข้างเตียงที่ติดไว้หลุดหาย ตกหาย คิดเป็นร้อยละ 3.40

22 ข้อเสนอแนะ มีข้อเสนอแนะให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันภายใน ตึกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โดยนำแนวทาง Patient identify ของผู้ป่วย ในหน่วยงานตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉินมาทบทวนแนวทางการ ปฏิบัติ และขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ที่ซักประวัติตึกอุบัติเหตุ และฉุกเฉินได้ปฏิบัติตามแนวทาง Patient Identify ของ หน่วยงานทุกราย

23 ข้อเสนอแนะ ( ต่อ ) โดยนำแนวทาง Patient identify ของผู้ป่วยในหน่วยงานตึก อุบัติเหตุและฉุกเฉินมาทบทวนแนวทางการปฏิบัติ และขอความ ร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ที่ซักประวัติตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้ปฏิบัติตาม แนวทาง Patient Identify ของหน่วยงานทุกราย โดยสอบถามข้อมูล ชื่อ – สกุลของผู้ป่วยให้ชัดเจนตรงตามเวชระเบียน และสำรวจว่าป้าย ข้างเตียงติดแน่น ไม่เลื่อนหลุด

24 ข้อเสนอแนะ ( ต่อ ) ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ให้ผู้ป่วย / ญาติเซ็นยินยอมนอนโรงพยาบาล จะต้องติดป้ายข้อมือผู้ป่วย โดยต้องตรวจสอบชื่อ – สกุล อายุ เพศ HN และWard ที่ Admit ว่าถูกต้องตรงกับเวชระเบียนของผู้ป่วย การเลือก ป้ายข้อมือ ผู้หญิงใช้ป้ายข้อมือสีชมพู ผู้ชายจะใช้ป้ายข้อมือสีฟ้า การ เขียน / ติดสติ๊กเกอร์ ควรเขียน / แปะให้ชัดเจน ไม่เลอะเทอะ / เลื่อน หลุด เจ้าหน้าที่ที่จะติดป้ายข้อมือ ก่อนติดป้ายต้องมีการขออนุญาตผู้ป่วย อธิบายความสำคัญของการติดป้ายข้อมือ กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวต้อง สอบถามญาติก่อนติดป้ายข้อมือ โดยอ่านชื่อ – สกุล ให้ชัดเจน การ เลือกติดป้ายข้อมือในผู้ป่วยทั่วไปให้ติดข้อมือขวา แต่ผู้ป่วย Trauma ให้ ติดข้างที่มีพยาธิสภาพข้างนั้น

25 ข้อเสนอแนะ ( ต่อ ) การขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ศูนย์เปล ก่อนนำผู้ป่วยออก จากตึกอุบัติเหตุ – ฉุกเฉินให้ตรวจสอบเวชระเบียน ป้ายข้อมือ พร้อม สอบถามชื่อ – สกุล จากตัวผู้ป่วยเองหรือญาติทุกครั้ง เพื่อป้องกันการ นำผู้ป่วยไปผิดคน

26 จากตึกอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน
....ขอบคุณคะ.... จากตึกอุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน


ดาวน์โหลด ppt PATIENT IDENTIFICATION

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google