งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวโน้มประเด็นสำคัญของ การจัดการทรัพยากรมนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวโน้มประเด็นสำคัญของ การจัดการทรัพยากรมนุษย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวโน้มประเด็นสำคัญของ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
บทที่ 10. ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ มีนคร

2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคการแข่งขัน
การหันมาให้ความสนใจกับเรื่องทรัพยากรมนุษย์ในองค์การมีส่วนสำคัญต่อความมีประสิทธิภาพและความสำเร็จขององค์กร เป็นสิ่งที่บ่งชี้หรือสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพและศักยภาพของทรัพยากรบุคคลขององค์การอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ข้อเท็จจริงที่รับรู้กันก็คือ บุคลากรกลายเป็นทรัพยากรสำคัญส่วนหนึ่งขององค์การที่เป็นตัวกำหนดทั้งความสำเร็จ ทั้งในลักษณะของระดับความรู้ ความสามารถในการทำงาน และทักษะในการปฏิบัติงาน รวมตลอดจนถึงทัศนคติที่มีต่อองค์กร

3 แนวโน้มของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
มนุษย์ในฐานะเป็น “ บุคคล” ที่ปฏิบัติงานให้กับองค์การ ซึ่งมีค่าตอบแทนจากองค์การ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงจากบุคคลไปเป็น “ ทรัพยากรมนุษย์ ”

4 การแปลงโฉมงานด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
การพิจารณาถึงบริบทธุรกิจ จากความต้องการและแนวทางการบริหารธุรกิจ ผลลัพธ์ของการแปลงรูป คือ องค์การได้รับจากการแปลงโฉมงานด้านทรัพยากรมนุษย์ เช่น การลดค่าใช้จ่าย การออกแบบระบบทรัพยากรมนุษย์ใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงาน การแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในงานด้านทรัพยากรมนุษย์ มีการแบ่งความรับผิดชอบ

5 ความหมายต่าง ๆ ของการบริหารความเสี่ยง
เหตุการณ์ (Event) หมายถึง เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งมีผลกระทบต่อองค์กรทางด้านลบ หรือทางด้านบวก หรือทั้งสองอย่าง ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง เหตุการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นที่มีผลทางด้านลบ ซึ่งทำให้องค์กรไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โอกาส (Opportunity) หมายถึง เหตุการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นที่มีผลทางด้านบวก โอกาสยังอาจเป็นช่องทางใหม่ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งฝ่ายบริหารควรยึดฉวยโอกาสที่มองเห็นนี้ ในการกำหนดกลยุทธ์หรือในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการวางแผนงาน

6 การบริหารความเสี่ยง คือ กระบวนการที่ปฏิบัติโดย คณะกรรมการ ฝ่ายบริหารระดับสูง หัวหน้าหน่วยงาน นักบริหาร และบุคลากรทุกคนในองค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์และดำเนินงาน โดยกระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร และสามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับ เพื่อให้ได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรกำหนดไว้

7 การบริหารความเสี่ยงองค์กร
การบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม หมายถึง การบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม รวมทั้งกระบวนการปฏิบัติงานต่างๆ โดยต้องลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่จะทำให้องค์กรเสียหาย การทำให้ระดับความเสี่ยงและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (การแก้ไขปัญหาความไม่เพียงพอในทรัพยากรที่จะเกิดอันตราย) ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย และการไปสู่วิสัยทัศน์ขององค์กรเป็นสำคัญ

8 องค์ประกอบของการควบคุมภายใน
กรอบการควบคุมภายในที่เป็นที่รู้จักกันในระดับสากล ซึ่งกำหนดโดย The Committee of Sponsoring Organisations ในปี1992 แนวทางที่โดยทั่วไปเรียกว่า หลักการของ “COSO” นี้เป็นพื้นฐานหลักที่สนับสนุนแนวความคิดของการควบคุมภายใน การประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม การดำเนินงาน รายงานทางการเงิน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ หน่วยงาน ก หน่วยงาน ข กิจกรรม 1 กิจกรรม 2 สภาพแวดล้อมของการควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร การติดตามประเมินผล

9 แนวคิดการควบคุมภายในของ ERM COSO, 2004
สภาพแวดล้อมการควบคุม(Control Environment) การกำหนดวัตถุประสงค์(Objective Setting) การระบุเหตุการณ์(Event Identification) การประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment) การตอบสนองความเสี่ยง(Risk Responses) กิจกรรมการควบคุม(Control Activities) สารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication การติดตามและการประเมินผล(Monitoring)

10 การบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม
คือ กระบวนการที่ปฏิบัติโดย คณะกรรมการ ฝ่ายบริหารระดับสูง หัวหน้าหน่วยงาน นักบริหาร และบุคลากรทุกคนในองค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์และดำเนินงาน โดยกระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ขององค์กรและสามารถจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับ เพื่อให้ได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรกำหนดไว้

11 การบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม
เน้นการบริหารเพื่อวัตถุประสงค์ กลยุทธ์(Strategic) การปฏิบัติงาน(Operation) การรายงาน(Reporting) การปฏิบัติตามกฏระเบียบ(Compliance) เน้นให้มีการปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร ระดับองค์กร(Entity – level) ระดับDivision-Business Unit-Subsidiary

12 การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ กลยุทธ์ การรายงาน การปฏิบัติงาน
สภาพแวดล้อมภายใน การกำหนดวัตถุประสงค์ หน่วยงานย่อย การระบุเหตุการณ์ หน่วยธุรกิจ หน่วยงาน การประเมินความเสี่ยง ระดับกิจการ การตอบสนองความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร การติดตามและประเมินผล

13 การแบ่งประเภทความเสี่ยง ( Risk classification scheme)
1 การเงิน (Financial) ตลาดเงิน / ตลาดทุน (Markets) สภาพคล่อง/ Credit Risk (Liquidity / Credit ) โครงสร้างการเงิน/ทุน (Capital structure) การรายงานทางด้านการบัญชีและการเงิน (Reporting)

14 2.การปฏิบัติงาน (Operational)
กระบวนงาน ( Process ) การนวัตกรรม ( Innovation ) เทคโนโลยี ( Technology )

15 3.กลยุทธ์ ( Strategic) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ( Business environment )
การบริหารการดำเนินงานธุรกิจ ( Transaction ) ผู้ถือหุ้น ( Investor relations ) ผู้มีส่วนได้เสีย ( Stakeholders )

16 4. การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ กฏหมาย (Compliance)
กฎ (Rules ) กฎหมาย ( Law ) ระเบียบ ( Code ) กฏเกณฑ์เฉพาะธุรกิจ ( Regulation )

17 ปัจจัยภายในที่จะทำลายความมั่งคงและความต่อเนื่องของธุรกิจ
People ทรัพยากรมนุษย์ Process กระบวนการทำงาน System/Technology ระบบ/เทคโนโลยี Business Strategy กลยุทธ์ธุรกิจ

18 สรุปผลการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO
1) การควบคุมภายในเป็นเรื่องของระบบหรือกระบวนการที่ต้องทำ 2) การควบคุมภายในจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับคน 3) ให้ความสำคัญกับการควบคุมภายในในเรื่องจริยธรรมและคุณภาพของคนเน้น Soft Control มากกว่า Hard Control 4) การควบคุมภายในที่ดีไม่ใช่เป็นหลักประกันว่า องค์กรจะไม่ได้รับ ผลกระทบจากความเสียหาย หรือ ความเสี่ยงใด ๆ ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง เพียงแต่ให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าองค์กรจะบรรลุวัตถุประสงค์การควบคุม

19 การบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม
ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดโดยหน่วยงาน / องค์กร เพื่อให้เป็นมาตรฐานตามแนวการกำกับดูแลกิจการที่ดี - กระทรวงการคลัง - คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน - ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - ธนาคารแห่งประเทศไทย - สถาบันกำกับดูแลอื่น เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่ทำให้เชื่อมั่นว่าองค์กรจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม ยุคการค้าเสรี ที่ต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขัน เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ / การสื่อสารที่ซับซ้อนมากขึ้น บทเรียนการล้มละลาย จากกรณีทุจริต และขาดการป้องกันภัยในด้านต่าง ๆ ที่เพียงพอ

20 “R-I-S-K” คำถามที่สำคัญสำหรับองค์กรเกี่ยวกับ ERM
I = Immunization ภูมิคุ้มกัน การควบคุมที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถช่วยลดทอนความเสียหายจากความเสี่ยงได้หรือไม่ K= Knowledge องค์ความรู้ องค์กรมีบุคลากร ทักษะ วัฒนธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างประสิทธิผลหรือไม่ S= Systems ระบบ องค์กรมีระบบที่ใช้วัดหรือจัดการกับความเสี่ยงหรือไม่ ผลตอบแทนที่ได้รับเหมาะสมกับ ความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญ หรือไม่ R = Return ผลตอบแทน

21 กิจกรรม - การปฏิบัติงาน
ผลลัพธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ผลผลิต จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ กิจกรรม - การปฏิบัติงาน

22 กรอบความคิดเรื่องการวัดผลสัมฤทธิ์ และความเสี่ยง
ค ว า ม เ สี่ ย ง ผลสัมฤทธิ์ Results วัตถุประสงค์ Objective ปัจจัยนำเข้า Inputs กิจกรรม Processes ผลผลิต Outputs ผลลัพธ์ Outcomes ความประหยัด ความมีประสิทธิภาพ ความมีประสิทธิผล

23 ประเภทความเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง
ความเสี่ยง-ตลาดเงิน/ตลาดทุน ความเสี่ยง จากการทุจริต/ฉ้อฉล ความเสี่ยง-สภาพคล่อง ความเสี่ยง- ความหายนะ/ภัยร้ายแรง ความเสี่ยง-เครดิต ความเสี่ยง-ระบบสารสนเทศ ความเสี่ยง-โครงสร้าง การเงิน (ทุน) ประเภทความเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยง การตอบสนองความเสี่ยง ด้านการเงิน ด้านกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติงาน (และธุรกิจ) แผนบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยง-ชื่อเสียง/ภาพพจน์ ความเสี่ยง-การรายงานทาง ด้านการบัญชีและการเงิน ความเสี่ยง-พนักงาน ความเสี่ยง-สภาพแวดล้อม ทางธุรกิจ ความเสี่ยง-กระบวนการ ความเสี่ยง-การบริหาร รายการทางธุรกิจ ความเสี่ยงในด้านทรัพย์สิน และทรัพย์สินทางปัญญา ความเสี่ยง-ความสัมพันธ์ กับผู้มีส่วนได้เสีย ความเสี่ยง-การนวตกรรม ความเสี่ยงในการไม่มีแผน รักษาความมั่นคงของธุรกิจ

24 การสร้างบรรยากาศทางจริยธรรมขององค์การ
ผู้บริหารระดับสูง จะต้องใช้ฐานะความเป็นผู้นำรวมมิติทางจริยธรรมเข้าไว้ภายในค่านิยมที่องค์การให้ความสำคัญ ค่านิยมทางจริยธรรมจะต้องถูกรวมเข้าไว้ในถ้อยแถลงภารกิจขององค์การ ค่านิยมทางจริยธรรมจะต้องถูกทำตามผู้บริหารระดับสูง และแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนต่อความสำคัญของการยึดมั่นต่อ ค่านิยมวัฒนธรรมภายใต้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เช่นถ้ามีการละเมิดบรรทัดฐานทางจริยธรรมขององค์การ จะต้องถูกไล่ออก

25 ลักษณะคุณธรรม ศาสนธรรม จริยธรรม จรรยา
นิติธรรม (กฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ) หลักธรรมาภิบาล วัฒนธรรม ค่านิยม คุณธรรม / คำสอนประจำตระกูล

26 องค์ประกอบของจริยธรรม
สะท้อนความนึกคิดและจิตสำนึก เกิดการกระทำดี ไม่มุ่งให้เกิดผลร้าย สร้างผลดีแก่ตนเองและผู้อื่น

27 8 กระบวน คุณธรรมพื้นฐานสำหรับมนุษย์

28 ๑.ขยัน ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงาน
ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายาม ทำหน้าที่การงาน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทน ความขยันต้องปฏิบัติ ควบคู่กับการใช้สติ ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จ

29 ๒.ประหยัด ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน
ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควร พอประมาณ ให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย

30 ๓.ซื่อสัตย์ ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม
ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียง หรืออคติ 1. ลำเอียงเพราะชอบ 2. ลำเอียงเพราะชัง 3. ลำเอียงเพราะหลง 4. ลำเอียงเพราะกลัว

31 ๔. มีวินัย มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน
มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเอง และวินัยต่อสังคม

32 ๕. สุภาพ สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม
สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม กิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ( ย ว ท) ยิ้ม ไหว้ ทักทาย

33 ๖. สะอาด สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และ
สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และ สภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้ เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

34 ๗.สามัคคี สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกันความกลมเกลียวกัน
สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกันความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงาน ไม่ทะเลาะวิวาท

35 ๘. มีน้ำใจ มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเอง หรือ
มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเอง หรือ เรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้อเฟื้อเอื้ออาทร เกื้อกูลกันและกัน

36 ความรู้คู่คุณธรรม/คุณธรรมนำความรู้
คุณธรรม = สิ่งที่ควรมี จริยธรรม = สิ่งที่ควรประพฤติ อริสโตเติ้ล นักปราชญ์ชาวกรีก กล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม”

37 ถามตัวเอง/ตอบตัวเอง เราเป็นมนุษย์ประเภทไหน
เราเป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้วหรือยัง เราต้องการเห็นสังคมมนุษย์แบบไหน เราเป็นจะช่วยพัฒนาสังคมมนุษย์อย่างไร


ดาวน์โหลด ppt แนวโน้มประเด็นสำคัญของ การจัดการทรัพยากรมนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google