ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
SSC 351 ผศ.ดร.ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล/กฎหมายแรงงาน กฎหมายแรงงาน Labour Law หัวข้อ การกระทำอันไม่เป็นธรรม (Unfair Labour Practice)
2
การกระทำอันไม่เป็นธรรม
SSC 351 การกระทำอันไม่เป็นธรรม หมายถึงการกระทำที่ไม่สมควรและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฏหมายและนโยบายของรัฐในทางแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งให้ความ คุ้มครองลูกจ้าง ให้ได้รับการรับรองและคุ้มครองการใช้สิทธิ ต่างๆของตนในทางแรงงานโดยปราศจากการแทรกแซง/กดดัน /บีบบังคับจากบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง องค์การนายจ้าง ลูกจ้างอื่น หรือองค์การลูกจ้าง
3
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
ข้อสังเกต SSC 351 การกระทำอันไม่เป็นธรรม เป็นคนละกรณีกับการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม (unfair dismissal) เพราะการกระทำอันไม่เป็นธรรมมุ่งประสงค์คุ้มครองลูกจ้างที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงาน การยื่น ข้อเรียกร้อง และการใช้สิทธิในทางแรงงานสัมพันธ์ ไม่ให้ถูกนายจ้าง ใช้อำนาจกลั่นแกล้งหรือสกัดกั้นการใช้สิทธิของลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ ส่วนการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมให้ความคุ้มครองลูกจ้างโดยทั่วไป ที่ไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุที่สมควรและเพียงพอ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ มาตรา 49
4
การกระทำอันไม่เป็นธรรม
SSC 351 กฎหมายแรงงาน แบ่งออกเป็นกรณีใหญ่ๆได้ 2 กรณีคือ การกระทำอันไม่เป็นธรรม 1. การกระทำอันไม่เป็นธรรมที่เกิดจากตัวนายจ้าง เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย โดยนายจ้างเป็นผู้กระทำ มีลักษณะเป็นการแก้แค้น ทดแทน ตอบโต้ เนื่องจากไม่พอใจที่ลูกจ้างไปใช้สิทธิหรือละเว้นการใช้สิทธิของตนในทางแรงงาน การกระทำอันไม่เป็นธรรมที่เกิดจากสหภาพแรงงาน เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เนื่องจากมีการแทรกแซงทั้งทางตรงและทางอ้อมขององค์กรลูกจ้างต่อการตัดสินใจของลูกจ้างใน การที่จะใช้สิทธิหรือไม่ใช้สิทธิตามกฏหมายแรงงาน
5
หลักเกณฑ์การกระทำอันไม่เป็นธรรม
SSC 351 กฎหมายแรงงาน หลักเกณฑ์การกระทำอันไม่เป็นธรรม การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ แบ่งได้เป็น 3 กรณีคือ 1. การกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 ประกอบด้วย นายจ้างเลิกจ้างหรือกระทำการใดๆ ที่มีผลทำให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้เพราะลูกจ้างนัดชุมนุม ทำคำร้อง ยื่นข้อเรียกร้องฯลฯ ตามมาตรา 121 (1) ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
6
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน นายจ้างจะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งคือ (ก) เลิกจ้าง (ข) กระทำการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เช่นกลั่นแกล้งโยกย้ายสถานที่ทำงานให้อยู่ห่างไกลจากภูมิลำเนาของลูกจ้าง ไม่มอบงานในหน้าที่ให้ทำแต่ยังคงจ่ายค่าจ้างเพื่อให้ลูกจ้างละอายแก่ใจลาออกจากงานไปเอง ฯลฯ กระทำต่อลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการสหภาพแรงงาน หรือกรรมการสหพันธ์แรงงาน มีสาเหตุจากการที่ลูกจ้างได้นัดชุมนุม ทำคำร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา ดำเนินการฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน
7
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน นายจ้างเลิกจ้างหรือกระทำการใดๆ อันอาจมีผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้ เพราะเหตุเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตามมาตรา 121 (2) นายจ้างขัดขวางการเป็นสมาชิกหรือออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตามมาตรา 121 (3) นายจ้างขัดขวางการดำเนินงานของสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน หรือขัดขวางการใช้สิทธิลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตามมาตรา 121 (4) นายจ้างเข้าแทรกแซงการดำเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานโดยไม่มีอำนาจตามกฏหมาย ตามมาตรา 121 (5)
8
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน 2. การกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 122 การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา จะเกิดขึ้นต่อเมื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ก) บังคับขู่เข็ญโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้ลูกจ้างต้องเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหรือต้องออกจากสมาชิกสหภาพแรงงาน (ข) กระทำการใดๆ อันอาจเป็นผลให้นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 121
9
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน 3. การกระทำอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 123 การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 นี้มุ่งประสงค์ ให้ความคุ้มครองลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในการแจ้งข้อเรียกร้องทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (คำพิพากษาฏีกา 1573 /2524) ไม่ให้ถูกนายจ้างแก้แค้นด้วยการเลิกจ้างภายหลัง มีองค์ประกอบของกฎหมายดังนี้ ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้าง
10
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน 3.3 ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน กรรมการ อนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง อย่างไรก็ดี หากเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 123 (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้ แม้จะอยู่ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมีผลใช้บังคับก็ตาม ได้แก่ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
11
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น ต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง หรือ (4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (5) กระทำการใดๆ เป็นการยุยง สนับสนุนหรือชักชวนให้มีการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาด
12
ผลของการกระทำอันไม่เป็นธรรม
SSC 351 เมื่อมีการฝ่าฝืนมาตรา ผู้เสียหายมีสิทธิดำเนินคดี ทั้งในส่วนแพ่งและอาญา ดังนี้ การดำเนินคดีในส่วนแพ่ง เมื่อมีการกระทำอันไม่เป็นธรรม ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายใน 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน เมื่อได้รับข้อกล่าวหาแล้ว คณะกรรมการแรงานสัมพันธ์จะต้องวินิจฉัยและมีคำสั่งภายใน 90 วัน หากไม่ทัน รัฐมนตรีมีอำนาจขยายระยะเวลาออกไปได้ตามที่เห็นสมควร (มาตรา 125)
13
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน ในกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่า เป็นการกระทำ อันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้จ่ายค่าเสียหายหรือให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหรือไม่ปฎิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรได้ (พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 41 (4) ) หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าไม่เป็นการกระทำอัน ไม่เป็นธรรม ก็จะสั่งยกคำร้อง เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดแล้วนายจ้าง ลูกจ้าง มีสิทธิฟ้องเพิกถอนคำสั่งต่อศาลแรงงานได้
14
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน หมายเหตุ ลูกจ้างที่เห็นว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรม จะข้าม ขั้นตอนโดยยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานทันทีไม่ได้ จะต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เสียก่อน 2. การดำเนินคดีทางอาญา นายจ้างผู้ฝ่าฝืนมาตรา 121 และ จะมีความผิดและ ได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ มาตรา 158
15
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน ส่วนผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ มาตรา ผู้เสียหายจึงมีสิทธิดำเนินคดีอาญากับผู้ฝ่าฝืน กฏหมายได้ อย่างไรก็ดีผู้เสียหายจะต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานเสียก่อน จึงจะดำเนินคดีอาญาได้ (พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 127)
16
SSC 351 http://arts.kmutt.ac.th/sscri/
กฎหมายแรงงาน เมื่อผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายในเวลาที่กำหนด การดำเนินคดีอาญาย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป (พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 126) อย่างไรก็ดีการที่นายจ้างยอมปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หามีผลทำให้สิทธิในการฟ้องคดีในทางแพ่งขอเพิกถอนคำสั่งระงับสิ้นไปไม่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.