ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDeniz Hacıoğlu ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ
พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ เน้นเรื่องการบังคับจำนอง
2
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ที่จะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกัน และผู้จำนอง ซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น โดยข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติปรากฏว่าเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักจะอาศัยอำนาจต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบในทางการเงินกำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ถูกฟ้องล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ ผู้ค้ำประกัน และ ผู้จำนอง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
3
กรณีที่บังคับจำนองได้เงินต่ำกว่าหนี้
มาตรา ๗๓๓ ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคา ทรัพย์สินนั้น มีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้าง ชำระกันอยู่ก็ดี หรือ ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนอง ออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิ น้อยกว่า จำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ในเงินนั้น
4
ทำข้อตกลงยกเว้น ให้ผู้จำนองหรือลูกหนี้
รับผิดชำระในส่วนที่ขาดได้หรือไม่ มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการ พ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ มาตรา 151 การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ
5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8260/2550...แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง
จะเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้รับจำนองและจำเลยผู้จำนองตกลงกันเป็นประการพิเศษนอกเหนือจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติไว้มาตรา 733 แห่ง ป.พ.พ. เป็นบทบัญญัติสันนิษฐานถึงเจตนาของคู่กรณีโดยเฉพาะ และมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณี ของสังคม จึงไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์อาจตกลงกับจำเลยเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่ มาตรา 733 บัญญัติไว้ได้ ดังนั้น ในกรณีที่โจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอใช้หนี้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์อื่นของจำเลยในฐานะผู้จำนองเป็นประกันมาใช้หนี้จนครบ
6
ถ้าไม่ได้ทำข้อตกลงยกเว้นไว้
จะฟ้องบังคับให้ลูกหนี้รับผิดในส่วนที่ขาดได้หรือไม่ คำพิพากษาฎีกาที่ 3535/2550 จำเลย ที่ 1 ค้างชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ จึงยื่นคำร้องขอ ผ่อนชำระภาษีอากรค้างและได้รับอนุมัติให้ผ่อนชำระได้โดยมีจำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดิน เพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ผ่อนชำระตามงวดหลายครั้ง โจทก์จึงมีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองและฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระขอให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบ
7
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ถ้าได้เงินจำนวนสุทธิไม่พอชำระหนี้ จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังขาดจำนวนแก่โจทก์ คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า หากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 แล้วได้เงินสุทธิไม่พอชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่หรือไม่
8
ศาลฎีกาโดยมติของที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 บัญญัติว่า “ ... ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น ” คดีนี้ สัญญาจำนองที่ดินทั้ง 30 แปลง ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่า ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกัน เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในเงินนั้น กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับแห่ง บทบัญญัติของ มาตรา 733 ดังกล่าว คือ หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด
9
ที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 จะหลุดพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อได้ชำระค่าภาษีอากรค้างเสร็จสิ้น แล้ว และคดีนี้มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินของตนเองมาจำนอง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 733 นั้น เห็นว่าบทบัญญัติแห่งมาตรา 733 หาได้มีข้อจำกัดการใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ลูกหนี้จำนองทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เนื่องจากมิได้เป็นลูกหนี้ร่วมแต่เป็นผู้จำนองที่ดินประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
10
ถ้าไม่ได้ทำข้อตกลงยกเว้นไว้ จะฟ้องบังคับอย่างลูกหนี้สามัญได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2550 การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้โดยมีหนี้ประธานและจำนอง อันเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น ซึ่งอาจแยกออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ คือ บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรือจะบังคับจำนอง คือ ใช้บุริมสิทธิ์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 728 ก็ได้
11
ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าในกรณีซึ่งเป็นหนี้จำนองแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับลูกหนี้อย่างหนี้สามัญตามมาตรา 214 ไม่ได้ เป็นแต่เพียงกฎหมายบังคับว่า ในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบังคับจำนองสิทธิของโจทก์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 733 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้แต่เฉพาะที่ดินที่จดทะเบียนจำนองเป็นประกัน หนี้เงินกู้เท่านั้น
12
ข้อควรระวังในการบรรยายฟ้อง
การฟ้องบังคับให้ลูกหนี้รับผิดอย่างลูกหนี้สามัญ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2551โจทก์ บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 4,200,000 บาท โดยนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจำนองไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้เงิน ต่อมาจำเลยกู้เงินโจทก์อีกโดยได้ทำบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนองครั้งที่ 1 เป็นเงิน 3,500,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองและบังคับจำนอง โดยคำขอท้ายฟ้องระบุว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำนองออกขายทอดตลาดนำ เงินมาชำระหนี้ให้โจทก์
13
แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองโดยประสงค์จะบังคับคดี เอาจากทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวไม่มีข้อความว่า หากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง โจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำ พิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
14
กรณีที่สมาชิกจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของตนอง
แบบพิมพ์สัญญาจำนอง กรณีที่สมาชิกจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของตนอง ใช้แบบที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตกลงกับกรมที่ดิน
15
กรณีที่ผู้อื่นจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของสมาชิก
แบบพิมพ์สัญญาจำนอง กรณีที่ผู้อื่นจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ของสมาชิก ใช้แบบที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตกลงกับกรมที่ดิน
16
กรณีที่ผู้อื่นผู้จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้
จะทำข้อตกลงให้ผู้จำนองรับผิดชำระในส่วนที่ขาดได้หรือไม่ “มาตรา ๗๒๗/๑ ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้จำนองซึ่งจำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้อันบุคคลอื่นจะต้องชำระ ไม่ต้องรับผิดในหนี้นั้นเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนองหรือเอาทรัพย์จำนองหลุด ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้จำนองรับผิดเกินที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง หรือให้ผู้จำนองรับผิดอย่างผู้ค้ำประกัน ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะมีอยู่ในสัญญาจำนองหรือทำเป็นข้อตกลงต่างหาก”
17
การบอกกล่าวบังคับจำนอง (มาตรา ๗๒๘)
กรณีลูกหนี้จำนองทรัพย์ของตนเพื่อประกันหนี้ของตน ๑. มีหนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน นับแต่วันได้รับคำบอกกล่าว ๒. ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่บอกกล่าวจึงจะฟ้องศาลได้ กรณีมีบุคคลอื่นจำนองทรัพย์เพื่อประกันหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระ ๒. ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ตามข้อ ๑. ให้ส่ง หนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จำนองให้ชำระหนี้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า ๖๐ วันนับแต่วันได้รับคำบอกกล่าว
18
๓. ถ้าลูกหนี้และผู้จำนองละเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่บอก กล่าวจึงจะฟ้องศาลได้
ถ้าผู้รับจำนองไม่ได้ดำเนินการบอกกล่าวไปยังผู้จำนอง(ซึ่ง จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อประกันหนี้ของบุคคลอื่น) ๑. ให้ผู้จำนองหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่า สินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพัน อันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ รายนั้น นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา ๑๕ วันดังกล่าว ( มาตรา ๗๒๘ วรรคสอง) ๒. แต่ลูกหนี้ยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพัน อันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น ตาม มาตรา ๗๑๕ แม้จะเรียกจากผู้ค้ำประกันไม่ได้
19
การเอาทรัพย์จำนองหลุด (มาตรา ๗๒๙)
๑. ไม่มีการจำนองรายอื่นในทรัพย์อันเดียวกัน ๒. ไม่มีบุริมสิทธิอื่น อันได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์นั้น เช่น บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์ หรือบุริมสิทธิจ้างทำของ เป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์ (มาตรา ๒๘๕, ๒๘๖) ที่ จดทะเบียนแล้ว ซึ่งใช้ได้ก่อนสิทธิจำนอง (มาตรา ๒๘๗) ๓. ลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาห้าปี ๔. ผู้รับจำนองมีหน้าที่แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์ นั้นน้อยกว่าจำนวนเงินค้างชำระ ( มาตรา ๗๒๙ (เดิม) กำหนด เป็นหน้าที่ผู้จำนองต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าราคาทรัพย์นั้นมากกว่า จำนวนเงินที่ค้างชำระ)
20
มาตรการพิเศษในการขายทอดตลอดทรัพย์ที่จำนองโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล (มาตรา ๗๒๙/๑)
๑. หนี้ถึงกำหนดชำระ ๒. ไม่มีการจำนองรายอื่นในทรัพย์อันเดียวกัน ๓. ไม่มีบุริมสิทธิอื่น อันได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์นั้น ๔. ผู้จำนอง (ทั้งจำนองประกันหนี้ของตนหรือจำนองประกันหนี้ ของผู้อื่น) มีหนังสือแจ้งไปยังผู้รับจำนองให้ผู้รับจำนอง ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนอง โดยไม่ต้องฟ้องศาล ๕. ผู้รับจำนองต้องดำเนินการภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รับหนังสือ แจ้ง
21
ผลของกรณีที่ผู้รับจำนองไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามกำหนด
- ให้ผู้จำนอง (ทั้งจำนองประกันหนี้ของตนหรือจำนองประกันหนี้ของผู้อื่น) หลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพัน อันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่ได้รับ หนังสือแจ้ง ( มาตรา ๗๒๙/๑ วรรคสอง) เมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองแล้ว ๑. ให้ผู้รับจำนองจัดสรรชำระหนี้และอุปกรณ์ ๒. ถ้าเงินเหลือส่งคืนแก่ผู้จำนอง ๓. ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนหนี้ ขาดอีกเท่าใดผู้จำนอง (กรณีจำนองประกันหนี้ของ ตน) ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา ๗๓๓ (สามารถทำสัญญายกเว้นได้) ๔. ถ้าขายทรัพย์สินที่จำนองได้เงินน้อยกว่าจำนวนหนี้ ผู้จำนอง(ประกันหนี้ของ บุคคลอื่น)ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์สิน ๕. กรณีนี้ถือว่าการจำนองย่อมระงับตาม มาตรา ๗๔๔ (๕)
22
การบอกกล่าวจำนองไปยังผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง (มาตรา ๗๓๕)
- ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินล่วงหน้าไม่ น้อยกว่า ๖๐ วัน ก่อน จึงจะบังคับจำนองได้ ( เดิมกำหนด ล่วงหน้า ๑ เดือนก่อนบังคับจำนอง) การไถ่จำนองของผู้รับโอน (มาตรา ๗๓๗) - ผู้รับโอนจะไถ่จำนองเมื่อใดก็ได้ - แต่ถ้าได้รับการบอกกล่าวบังคับจำนอง ต้องไถ่จำนองภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันได้รับคำบอกกล่าว (เดิมกำหนดต้องไถ่ภายใน ๑ เดือนนับแต่ได้รับคำบอกกล่าว)
23
การบังคับใช้กฎหมายค้ำประกันและจำนองที่แก้ไขใหม่
กฎหมายใหม่กำหนดใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ หลักเกณฑ์กฎหมายใหม่ไม่ใช้กับสัญญาที่ทำก่อนวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ยกเว้น ๑. แม้จะทำสัญญาค้ำประกันมาก่อน แต่หากลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ให้นำมาตรา ๖๘๖ ที่แก้ไขใหม่มาบังคับ คือ เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ให้เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกัน ภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการ ใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไป ถึงผู้ค้ำประกันมิได้ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ค้ำประกันที่จะชำระหนี้เมื่อหนี้ถึง กำหนดชำระ ( มาตรา ๖๘๖ วรรคหนึ่ง)
24
ในกรณีที่เจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาตามวรรค หนึ่ง ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหม ทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพัน อันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น บรรดาที่ เกิดขึ้นภายภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ( มาตรา ๖๘๖ วรรค สอง) เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้หรือผู้ค้ำประกันมีสิทธิ ชำระหนี้ได้ตามวรรคหนึ่ง ผู้ค้ำประกันอาจชำระหนี้ทั้งหมดหรือใช้สิทธิชำระ หนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ที่ลูกหนี้มีอยู่กับเจ้าหนี้ก่อนการผิด นัดชำระหนี้ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ตนต้องรับผิดก็ได้ และให้นำความใน มาตรา ๗๐๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม (มาตรา ๖๘๖ วรรคสาม) ในระหว่างที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ตามเงื่อนไขและวิธีการในการชำระหนี้ ของลูกหนี้ตามวรรคสาม เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิด นัดในระหว่างนั้นมิได้ (มาตรา ๖๘๖ วรรคสี่)
25
๒. นับแต่วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เป็นต้นไป หาก เจ้าหนี้ลดจำนวนหนี้ที่มีการค้ำประกัน รวมทั้งดอกเบี้ย ค่า สินไหมทดแทน หรือภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้รายนั้น (๑) ถ้าลูกหนี้ได้ชำระหนี้ตามที่ได้ลดแล้วก็ดี (๒) ลูกหนี้ชำระหนี้ตามที่ได้ลดดังกล่าวไม่ครบถ้วนแต่ผู้ค้ำ ประกันได้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือนั้นแล้วก็ดี (๓) ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามที่ได้ลดดังกล่าวแต่ผู้ค้ำประกัน ได้ชำระหนี้ตามที่ได้ลดนั้นแล้วก็ดี ทั้งนี้ไม่ว่าจะล่วงเลยกำหนดเวลาชำระหนี้ตามที่ได้ลด ดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ตาม ให้ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากการ ค้ำประกัน (มาตรา ๖๙๑ วรรคหนึ่ง)
26
๓. สัญญาจำนองแม้จะทำก่อนวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ แต่มีผลบังคับ อยู่ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ให้นำมาตรา ๗๒๗ ที่แก้ไขใหม่มาบังคับ ด้วย(มาตรา ๗๒๗ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๙๑, มาตรา ๖๙๗, มาตรา ๗๐๐, มาตรา ๗๐๑ มาใช้บังคับกรณีที่บุคคลจำนองทรัพย์สินเพื่อประกันหนี้อัน บุคคลอื่นจะต้องชำระโดยอนุโลม) ๔. สัญญาจำนองแม้จะทำก่อนวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ แต่หากจะ บังคับจำนอง หรือบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์ซึ่งจำนอง ให้นำ มาตรา ๗๒๘ ที่แก้ไขใหม่ มาใช้ในการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วย คือ ๔.๑ กรณีลูกหนี้จำนองทรัพย์ของตนเพื่อประกันหนี้ของตน ๑. มีหนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน นับแต่วันได้รับคำบอกกล่าว ๒. ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่บอกกล่าวจึงจะฟ้องศาลได้
27
๔. ๒ กรณีมีบุคคลอื่นจำนองทรัพย์เพื่อประกันหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระ ๑
๔.๒ กรณีมีบุคคลอื่นจำนองทรัพย์เพื่อประกันหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระ ๑. มีหนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า ๖๐ วันนับแต่ วันได้รับคำบอกกล่าว ๒. ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ตามข้อ ๑. ให้ส่งหนังสือ บอกกล่าวไปยังผู้จำนองให้ชำระหนี้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า ๖๐ วันนับแต่วันได้ รับคำบอกกล่าว และนำมาตรา ๗๓๕ ที่แก้ไขใหม่ มาบังคับใช้กับการบอกกล่าวไปยัง ผู้รับโอนทรัพย์ที่จำนองด้วยคือ - ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ก่อน จึงจะบังคับจำนองได้ ๕. สัญญาจำนองแม้จะทำก่อนวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ แต่หากผู้รับ โอนทรัพย์ซึ่งจำนองจะไถ่ทรัพย์ที่โอน ต้องไถ่จำนองภายใน ๖๐ วัน นับแต่วัน รับคำบอกกล่าวบังคับจำนอง
28
สวัสดี มีความสุข ทุกท่านครับ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.