งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยง และกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยง และกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราว"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยง และกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราว

2

3 การจัดการความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง ลดความเสี่ยง ควบคุมความเสียหาย

4 ยกเว้นความผิดร้ายแรง
ประเมินผลและปรับแบบ จำคุกไม่เกิน ๕ ปี ยกเว้นความผิดร้ายแรง ทุกคดี

5

6

7 1. สอบถามข้อมูล โครงการทดลองใช้กับคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๕ ปี และจำกัดการทดลองเฉพาะกรณีผู้ต้องหามาศาลเพื่อการฝากขังครั้งแรก และจำเลยมาศาลครั้งแรกเพื่อถูกฟ้องโดยไม่เคยผ่านการฝากขังมาก่อน เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลและคดีเข้าข่ายโครงการทดลอง เจ้าหน้าที่ศาลจะต้องลงไปสอบถามทุกครั้ง โดยในเบื้องต้นจะต้องอธิบายโครงการให้ทราบโดยย้ำว่าประวัติส่วนตัวที่จะสอบถามเป็นไปเพื่อใช้เป็นข้อมูลให้ผู้พิพากษาพิจารณาปล่อยชั่วคราวซึ่งตามโครงการนี้จะไม่ทำแม้แต่สัญญาประกัน แต่จะใช้วิธีกำกับดูแลหลังปล่อยแทน ผู้ต้องหามีสิทธิจะไม่ตอบคำถามหรือไม่ให้ประวัติก็ได้ ทุกอย่างขึ้นกับความสมัครใจ ถ้ามีทนายก็ขอปรึกษาทนายได้ แต่ไม่ว่าอย่างไร ข้อมูลจะถูกรักษาไว้เป็นความลับ จะไม่นำไปใช้เป็นผลร้ายในระหว่างพิจารณาเว้นแต่เป็นข้อมูลที่รัฐทราบอยู่แล้ว และการให้ข้อมูลเท็จเป็นความผิดอาญาด้วย เมื่ออธิบายเสร็จแล้วก็สอบถามว่าผู้ต้องหา/จำเลยยินดีจะเข้าร่วมโครงการโดนยินยอมให้ประวัติส่วนตัวหรือไม่ โดยมีแบบฟอร์มให้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้การดำเนินการรวดเร็วยิ่งขึ้น ศาลควรประสานกับตำรวจและอัยการล่วงหน้าเพื่อทราบว่าในวันรุ่งขึ้นมีคดีที่เข้าข่ายโครงการทดลองกี่คดี และถ้าประสานขอความร่วมมือให้ตำรวจกับอัยการช่วยคัดกรองรายที่เข้าข่ายตามโครงการมาด้วยเลยยิ่งดี เมือมาถึงศาลแล้ว เจ้าหน้าที่อาจอ่านบันทึกแจ้งสิทธิกับกลุ่มผู้ต้องหา/จำเลยที่เข้าข่ายโครงการไปทีเดียว แล้วจึงต่อยสอบประวัติรายที่ยอมเข้าร่วมโครงการไปทีละคน ส่วนคนที่ไม่ยินยอมเข้าโครงการก็แนะนำว่าเขายังมีสิทธิยื่นหลักประกันตามระบบปกติ ทั้งนี้การสอบประวัติผู้ต้องหา/จำเลยสามารถทำไปได้เลยโดยไม่ต้องรอให้ศาลสั่งฝากขังให้เสร็จก่อน

8 2. ตรวจสอบข้อมูล บุคคลอ้างอิง 3 คน ฐานข้อมูลต่างๆ
หลังสอบถามประวัติแล้ว เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบก่อนว่าข้อมูลจากปากคำผู้ต้องหา/จำเลยน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งด้วยวัตถุประสงค์ของการประเมินความเสี่ยงคือดูแค่ว่ามีความเสี่ยงจะหนีหรือกระทำความผิดซ้ำ มิใช่การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูหรือกำหนดอัตราโทษที่เหมาะสม การตรวจสอบจึงไม่จำเป็นต้องละเอียดถึงขนาดลงพื้นที่ไปตรวจสอบอย่างคุมประพฤติ และด้วยธรรมเนียมปฏิบัติของศาลที่ต้องสั่งปล่อยชั่วคราวโดยเร็ว จึงทำให้วิธีการตรวจสอบยืนยันทำได้ ๒ วิธีคือ ถ้าเป็นประวัติส่วนตัวมากๆที่ฐานข้อมูลของรัฐไม่มี เช่น อาชีพ การศึกษา หรือครอบครัว ต้องตรวจสอบจากบุคคลอ้างอิงที่ผู้ต้องหา/จำเลยอ้างว่ารู้จักดี ในที่นี้ขออย่างมาก ๓ ชื่อ อาจเป็นญาติ เพื่อน ครู หรือผู้นำชุมชน แต่หากทราบน้อยกว่านั้นหรือไม่ทราบเลยก็ไม่เป็นไร เจ้าหน้าที่เพียงแต่บันทึกไว้ แต่ก็ใช่ว่ากรณีแบบนี้จะตรวจสอบไม่ได้ ศาลอาจขอความร่วมมือจากผู้นำชุมชนในแต่ละท้องที่ขอทราบเบอร์โทรติดต่อเพื่อสอบถามประวัติลูกบ้านเท่าที่พอทราบก็ได้ แต่ถ้าเป็นประวัติที่มีในฐานข้อมูลของรัฐ เช่น ประวัติอาชญากรรม การเคยถูกออกหมายจับ หรือเรื่องทั่วไปที่มีในทะเบียนราษฎร์ เจ้าหน้าที่เข้าไปดูในฐานข้อมูลได้ทันที ในเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติอาชญากรรม เนื่องจากศาลยังไม่อาจเชื่อมโยงข้อมูลข้ามศาลได้ จึงคงต้องเช็คเฉพาะข้อมูลของศาลนั้นๆเองก่อน เพราะถึงอย่างไรคนที่กระทำผิดซ้ำซากก็น่าจะเป็นบุคคลในท้องที่นั้นเองอยุ่แล้ว นอกจากนี้ ภาค ๒ ยังมีนวัตกรรมเชื่อมโยงฐานข้อมูลของจำเลยในภาค ๒ ได้แล้วอีกด้วย ในอนาคตการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของศาลทั้งหมดจึงน่าจะเป็นไปได้ นอกจากนี้ ตำรวจกับอัยการยังมีบทบาทช่วยได้มาก เนื่องจากมีเวลาสอบผู้ต้องหา/จำเลยมากกว่าศาล และตำรวจยังอาจดึงประวัติอาชญากรรมเบื้องต้นแนบมากับคำร้องขอฝากขังได้อีกด้วย (โดยไม่ต้องคอยผลการพิมพ์ลายนิ้วมือ) ตำรวจกับอัยการยังควรสอบถามผู้เสียหายหรือพยานปากสำคัญว่ามีความเกรงกลัวหรือไม่หากปล่อยผู้ต้องหา/จำเลยออกมา และรายงานศาลในประเด็นนี้ ในแง่นี้ตำรวจกับอัยกรยังมีบทบาทมากในการช่วยให้ข้อมูลและให้ข้อแนะนำศาลว่าควรปล่อยผู้ต้องหารายนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด และหากปล่อยควรใช้มาตรการกำกับดูแลใด โดยลำพังเหตุผลว่าไม่ควรปล่อยเพราะข้อหาอัตราโทษสูงเกรงว่าจะหลบหนี ไม่เป็นประโยชน์ แต่ควรให้รายละเอียดพฤติกรรมที่เคยปรากฏในประวัติมากกว่าเช่นเป็นผู้กระทำผิดซ้ำซาก หรือพฤติการณ์การจับว่าต้องใช้เวลาและความเสี่ยงมากแค่ไหนถึงจะจับผู้ต้องหารายนี้ได้เป็นต้น ฐานข้อมูลต่างๆ

9 มาตรการกำกับดูแลตามระดับความเสี่ยง ความเสี่ยงต่ำมาก ถึงต่ำ
สาบานตัวและปล่อย ความเสี่ยงต่ำมาก ถึงต่ำ รายงานตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่ศาล ความเสี่ยง ปานกลาง สมาร์ทโฟน ความเสี่ยงสูง กำไลข้อมือ/ ข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ กรณีที่รายงานประเมินความเสี่ยงน่าเชื่อถือหมด ผู้พิพากษาก็มีทางเลือกว่าจะปล่อยหรือขัง โดยหากจะปล่อยท่านก็มีดุลพินิจที่จะสั่งตามโครงการนี้ก็ได้คือไม่ทำสัญญาประกันเลย แต่จะใช้มาตรการกำกับดูแลแทนหรือหากท่านเห็นควรให้ทำสัญญาประกัน ไม่ว่าจะเรียกหลักประกันด้วยหรือไม่ก็เป็นดุลพินิจของท่านซึ่งก็จะทำให้คดีกลับเข้าสู่ระบบประกันตามปกติ แต่หากท่านเห็นควรปล่อยโดยไม่ทำสัญญาประกัน แต่ใช้มาตรการกำกับดูแลแทน มาตรการที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงเป็นไปตามสไลด์ โดยสำหรับผู้มีความเสี่ยงต่ำมาก ศาลอาจทำแบบคดีแขวงที่หากไม่มีเหตุหนึหรือกระทำผิดซ้ำ ศาลอาจปล่อยไปโดยเพียงให้สาบานตัวก็ได้เพราะไม่มีเหตุขังตามกฎหมาย แต่หากยังกำกับดูแลสักหน่อย อาจให้มารายงานตัวก็ได้ เราออกแบบการรายงานตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ศาลเลย หรือหากเสี่ยงต่ำจริงๆ ผู้ต้องหามีสมาร์ทโฟนที่วิดีโอคอลล์ได้ และไม่สะดวกมาศาล ก็อาจรายงานตัวผ่านทางวิดีโอคอลล์ได้ ส่วนการกำกับผ่านแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนนั้นไว้จะกล่าวถึงต่อไป แต่หากเสี่ยงสูงมากจึงค่อยใช้ EM เพราะ EM ในเบื้องต้นมีจำนวนจำกัดและมีราคาแพงจึงไม่ควรนำมาใช้พร่ำเพรื่อกับคนที่ความเสี่ยงต่ำซึ่งใช้มาตรการอื่นที่ประหยัดกว่าก็ได้อยู่แล้ว และสำหรับคนที่เสี่ยงสูงมากจริงๆนั้น ก็ต้องขังไว้สถานเดียว ความเสี่ยง สูงมาก ขัง

10 มาตรการให้ความช่วยเหลือพิเศษ
จิตสังคม ให้คำปรึกษา บำบัดรักษาปัญหาสุขภาพ/ การติดสารเสพติด การให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ การศึกษา อาชีพ ที่พักอาศัยชั่วคราว อื่นๆ นอกจากมาตรการกำกับดูแลตามระดับความเสี่ยงแล้ว ยังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือพิเศษในทำนองเดียวกับ “คลินิกจิตสังคม” ที่ทดลองไปแล้วในศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ศาลจังหวัดนนทบุรี ศาลจังหวัดปทุมธานี ศาลจังหวัดตลิ่งชัน หลักการคร่าวๆคือ มีผู้ต้องหาในระหว่างปล่อยชั่วคราวบางรายจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำปรึกษาหรือรักษาตัวเบื้องต้นเพื่อช่วยให้เขามาศาลตามนัดและไม่กระทำผิดซ้ำ เช่นรายที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต หรือปัญหาการติดยาเสพติด องค์ประกอบสำคัญของคลินิกจิตสังคมคือนักจิตวิทยาและผู้ประนีประนอมที่ผ่านการอบรมแล้ว ตลอดจนผู้พิพากษาที่ใส่ใจจะมีบทบาทเชิงรุกมากยิ่งกว่าแค่นั่งตัดสินคดีบนบัลลังก์ และผลจากการดำเนินการที่ศาลอาญาธนบุรีมา ๘ ปี ล่าสุดพบว่าอัตราคนหลบหนีเป็นศูนย์ ทั้งที่ผู้เข้าคลินิกเป็นผู้มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งสิ้น

11 พิสูจน์ทางสถิติว่าช่วยลดอัตราการไม่มาศาลได้มาก
การแจ้งเตือนวันนัด พิสูจน์ทางสถิติว่าช่วยลดอัตราการไม่มาศาลได้มาก การแจ้งเตือนวันนัดเป็นมาตรการที่สะดวก ประหยัดแต่มีประสิทธิภาพมากในการตามให้ผู้ต้องหา/จำเลยมาศาล เพราะข้ออ้างยอดนิยมในต่างประเทศและเมืองไทยก็คงเช่นกันคือ ลืมวันนัด หรือติดธุระอยู่ที่อื่น โดยไม่ทราบผลร้ายของการไม่มาศาล ซึ่งในต่างประเทศรวมถึงในคลินิกจิตสังคมของไทยก็ใช้มาตรการแจ้งเตือนวันนัดเช่นกันและพิสูจน์แล้วว่าทำให้คนมาศาลเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ในเบื้องต้นวางแผนว่าจะใช้ระบบการแจ้งเตือนที่ทั้งศาลและผู้ต้องหาสะดวก โดยในแบบสอบถามประวัติผู้ต้องหามีช่องให้ติ๊กแล้วว่าหากผู้ต้องหาสะดวกช่องทางติดต่อใด ก็จะถือว่าการที่ศาลติดต่อผ่านช่องทางนั้นเป็นอันว่าผู้ต้องหารับทราบแล้ว จะมาอ้างว่าไม่ทราบไม่ได้

12 การรับรายงานตัว ในส่วนการรับรายงานตัว ในเบื้องต้นเนื่องจากระบบวิดีโอคอลล์ยังไม่พร้อม ก็จะขอเน้นเฉพาะการมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งการรายงานตัวนั้น หากผู้ต้องหามีนัดต้องมาศาลอยู่แล้ว เช่นมาศาลทุกครบรอบฝากขัง ๑๒ วัน ก็กำหนดให้มารายงานตัวในวันเดียวกัน แต่หากหลังฟ้องมีการนัดสืบพยานแล้วแต่อยู่ระหว่างรอวันสืบ หากมีระยะเวลายาวนานเกินไป เช่น ๔ เดือนก็ยังไม่ถึงวันนัด ศาลอาจต้องนัดให้มารายงานตัสสักครั้งสองครั้ง และในการรายงานตัวนั้น เจ้าหน้าที่ต้องขอดูบัตรประชาชนหรือสอบถามเลขรหัสหรือข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันจริง จากนั้นก็บันทึกลงในสมุดคุม อย่างไรก็ดี ขณะนี้สนง.ศาลกำลังพัฒนาโปรแกรมกำกับดูแลซึ่งรวมถึงการรับรายงานตัวด้วย โดยเมื่อผู้ต้องหา/จำเลยเข้ารับการ “ปฐมนิเทศ” ก็จะต้องลงทะเบียนในโปรแกรมนี้ก่อน และเมื่อถึงวันนัดรายงานตัว เมื่อกรอกรหัสหรือเลขบัตรประชาชนแล้ว หน้าจอของผู้ต้องหาคนนั้นก็จะปรากฏขึ้นมาทันที พร้อมประวัติการรายงานตัวที่ผ่านๆมา สิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องทำก็แค่บันทึกวันเวลาที่มารายงานตัวครั้งนี้ลงไป โปรแกรมนี้คิดถึงขนาดว่าหากในวันใดมีผู้ไม่มารายงานตัวเท่าไร โปรแกรมจะป๊อปอัพที่หน้าจอเตือนให้เจ้าหน้าที่รู้ว่ามีใครไม่มารายงานตัวบ้างและรวมทั้งสิ้นกี่คน

13 Smartphone Monitoring (SM)
นี่คือหน้าตาของแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนที่ทดลองใช้จริงแล้วในรัฐโคโลราโด สหรัฐฯ หลักการที่พัฒนาเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาเพราะกำไล EM ซึ่งปกติสวมที่ข้อเท้าสะดุดตาเกินไป เป็นตราบาปโดยเฉพาะกับคนที่ศาลยังไม่ติดสินว่าผิด ในขณะที่ปัจจุบันสมาร์ทโฟนตอนนี้ทำได้หลายอย่างไม่ต่างจากกำไล EM และสะดุดตาน้อยกว่า ทั้งหากใช้เครื่องของผู้ต้องหาเองก็จะประหยัดเงินหลวงในการจัดหาอุปกรณ์ให้ ปัจจุบัน สนง.ศาลพัฒนาซอฟต์แวร์เสร็จแล้ว โดยวางแผนจะให้ผู้มีความเสี่ยงปานกลางดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นนี้ลงไปในสมาร์ทโฟนของผู้ต้องหาเอง ซึ่งแอปนี้จะแจ้งเตือนให้รายงานตัวเป็นระยะๆ ผู้ต้องหาก็จะต้องยืนยันตัวบุคคลด้วยการสแกนลายพิมพ์นิ้วมือในเครื่อง (Touch ID) ถ้าผ่านก็จะมีกล้องให้ถ่ายภาพเซลฟี่ส่งสัญญาณมายังศูนย์ควบคุมซึ่งจะรับแจ้งพิกัดที่อยู่ตามสัญญาณ GPS อีกด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาประเด็นเรื่องการเชื่อมต่อสัญญาณและจัดซื้อจัดจ้างแต่น่าจะได้อย่างช้าพร้อมกับกำไล EM

14 Electronic Monitoring
กำไล EM ด้านซ้ายมือเป็นรูปแบบปกติที่เห็นกันทั่วไปและค่อนข้างสะดุดตา แต่ด้านขวามือออกแนวนาฬิกาอัจฉริยะหรือ smartwatch ซึ่งสวมใส่ได้ตามปกติไม่ดูผิดปกติ ปัจจุบันมีผู้ผลิตกำไลในลักษณะนี้แล้ว มีความแข็งแรงคงทน ถอดทำลายยาก สนง.ศาลกำลังอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้างเช่นกัน แต่ในเบื้องต้นเนื่องจากราคาค่อนข้างสูง ของมีจำกัด ดังนั้นการใช้ EM จึงเหมาะแต่กับเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีแนวโน้มสูงจะไปก่ออันตรายแก่ผู้เสียหายหรือพยานปากสำคัญเท่านั้น

15

16 ประเทศไทย สังคมแห่งความเหลื่อมล้ำ
อันดับ ๓ ของประเทศ ที่มีความเหลื่อมล้ำ ที่สุดในโลก คนรวยที่สุดร้อยละ ๑ มีทรัพย์สินรวมกัน ร้อยละ ๕๖ ของประเทศ คนไทย ๓ ใน ๔ ไม่เป็นเจ้าของที่ดินเลย *Oxfam Thailand

17 สถิติคดีการขอปล่อยชั่วคราว ปี พ.ศ. 2555 - 2557
สถิติคดีการขอปล่อยชั่วคราว ปี พ.ศ ปี พ.ศ. จำนวนคดีอาญาทั้งหมด ของศาลชั้นต้น (คดี) จำนวนคำร้อง ขอปล่อยชั่วคราว (ร้อยละ) *เมื่อเทียบกับปริมาณคดีทั้งหมด จำนวนที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต จำนวนที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต (ร้อยละ) จำนวนผู้ต้องหาหรือจำเลย ที่หลบหนีหลังปล่อยชั่วคราว 2555 585,217 219,378 37.49 202,377 92.25 5,506 2.51 2556 645,676 239,075 37.03 222,856 93.21 5,569 2.33 2557 628,454 221,695 35.28 206,211 93.02 4,619 2.08

18 ระบบปัจจุบัน (คดีทั้งหมด ปี พ.ศ. 2558)
พิพากษาทันที ต้องขัง ปล่อยชั่วคราว หลบหนี ต้นทุนเรือนจำ 38,170 ต่อคน/ต่อปี ค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี x อัตราหลบหนี = ต้นทุนต่อหน่วยของการปล่อย 5,108 x 1.94 % = 99 ค่าเสียโอกาส 89,700 ต่อคน/ต่อปี จำนวนผู้ต้องขัง 66,424 คน จำนวนผู้ได้รับการปล่อย 188,247 คน รวม 8,493,636,880 บาท รวม 18,636,494 บาท รวมทั้งสิ้น 8,512,273,374 บาท

19 เป็นธรรมกว่า คุ้มค่ากว่า ถูกต้องกว่า

20

21


ดาวน์โหลด ppt การพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยง และกำกับดูแลในชั้นปล่อยชั่วคราว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google