ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การประเมินบุคคลและผลงาน
กองการเจ้าหน้าที่ กรมส่งเสริมการเกษตร มกราคม 2556
2
การประเมินผลงาน ตามบทเฉพาะกาลแห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติในระหว่างที่ยังมิได้ ตราพระราชกฤษฎีกาหรือออกกฎ ก.พ. ข้อบังคับหรือระเบียบ อื่นใด ให้นำพระราชกฤษฎีกา กฎ ก.พ. ข้อบังคับหรือระเบียบ ที่กำหนดไว้แล้วซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับ พ.ร.บ.นี้ กรณี การเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการและระดับชำนาญการพิเศษ ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดในหนังสือสำนักงาน ก.พ ที่ นร 1006/ว 10 ลงวันที่ 15 กันยายน 2548
3
สาระสำคัญของหนังสือเวียน ว 10/2548
* กำหนดให้มีการคัดเลือกบุคคลก่อนเข้ารับการประเมินผลงาน * ให้มีการประกาศผลการพิจารณาคัดเลือก อย่างเปิดเผย โปร่งใส และมีการทักท้วงได้
4
1. ผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 2. ข้อเสนอแนวคิด วิธีการ
การส่งผลงานต้องส่ง 2 ส่วน คือ 1. ผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 2. ข้อเสนอแนวคิด วิธีการ เพื่อปรับปรุงงาน หรือพัฒนา งานให้มีประสิทธิภาพ
5
1. ผลงาน เป็นผลงานที่ดำเนินการมาแล้วไม่เกิน 3 ปี เป็นผลสำเร็จของงาน ให้นำเสนอในรูปแบบการสรุปวิเคราะห์ถึง ผลที่เกิดขึ้น ระบุผลสำเร็จของงาน ประโยชน์ที่เกิดจากผลงานนั้น หรือการนำผลงานไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหางาน ใช้เสริมยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มิใช่เป็นเพียงการรวบรวม ผลงานย้อนหลัง
6
2. ข้อเสนอแนวคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือ ปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อเสนอ แนวคิด วิธีการ เพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรเป็นแนวคิด วิสัยทัศน์ หรือแผนงานที่จะทำในอนาคตเพื่อพัฒนางานในตำแหน่ง ที่จะได้รับการแต่งตั้งและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน รวมทั้งควรเป็นแนวคิดที่สามารถ นำไป ปฏิบัติได้จริง
7
การคัดเลือกบุคคลตาม ว 10/2548
มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และคุณสมบัติอื่น ที่ อ.ก.พ.กรม กำหนดเพิ่มเติม เป็นผู้ดำรงตำแหน่งที่ขอประเมิน หรือบุคคลอื่นที่มีความประสงค์ จะขอมาดำรงตำแหน่ง เปิดโอกาสให้มีการเสนอผลงานเพื่อเข้ารับการคัดเลือก โดยจัดทำแบบประเมินบุคคล พร้อมแนบสรุปผลงานและข้อเสนอปรับปรุงงาน (ไม่เกิน 2 หน้า กระดาษ A4) ส่งกองการเจ้าหน้าที่ ตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด มีการประกาศผลการคัดเลือกให้ทราบโดยทั่วกัน และให้มีการทักท้วงได้ ภายใน 30 วัน
8
ขั้นตอนการคัดเลือกบุคคลเพื่อปรับระดับสูงขึ้น
1. กองการเจ้าหน้าที่ สำรวจตำแหน่งและผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เพื่อเสนออธิบดี พิจารณาประกาศให้มีการคัดเลือก กรณีที่ส่งผลงานเข้ารับการคัดเลือกหลายตำแหน่ง จะต้องส่งเอกสารตามจำนวนตำแหน่งที่ขอรับการคัดเลือก 2. ผู้ขอประเมินฯ จัดทำเอกสารประกอบการคัดเลือก ได้แก่ ข้อมูลบุคคล แบบประเมินคุณลักษณะ สรุปผลงานและข้อเสนอปรับปรุงงาน 3. ส่งให้กองการเจ้าหน้าที่ ภายในระยะเวลาที่กำหนด 6. ประกาศผลการคัดเลือก และให้มีการทักท้วง ภายใน 30 วัน 4. นำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณา 5. เสนอกรมฯ ให้ความเห็นชอบ
9
ขั้นตอนการนำเสนอผลงานเพื่อปรับระดับสูงขึ้นในระดับชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ
1. ผู้ขอประเมินฯ จัดทำผลงานและข้อเสนอ ปรับปรุงงาน จำนวน 6 ชุด (ภายใน 60 วันนับจากวันที่ประกาศผลการคัดเลือก) ส่วนภูมิภาค (เฉพาะเกษตรอำเภอและ นวส. ชำนาญการ) ส่วนกลาง 2. ส่งให้กองการเจ้าหน้าที่ 2. ส่งให้ฝ่ายบริหารทั่วไป สสข. 3. นำเสนอคณะกรรมการพิจารณาผลงาน 3. นำเสนอคณะกรรมการพิจารณาผลงาน 4. กรณีที่ผ่านการประเมินให้จัดทำเอกสาร 1 ชุด พร้อม CD จำนวน 1 แผ่น ส่งฝ่ายเลขานุการ ภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่มีมติให้ผ่าน 4. กรณีที่ผ่านการประเมินให้จัดทำเอกสาร 1 ชุด พร้อม CD จำนวน 1 แผ่น ส่ง สสข. ภายในระยะเวลา 30 วัน เพื่อรายงานผลการพิจารณา ไปที่ กกจ. กรณีที่แก้ไข ให้จัดทำเอกสาร จำนวน 6 ชุดส่งฝ่ายเลขานุการ ภายในระยะเวลา 60 วัน นับจากวันที่มีมติให้แก้ไข
10
5. กองการเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการแก้ไขผลงานตามข้อสังเกตฯ
5. สสข. ตรวจสอบ การแก้ไขผลงาน แล้วส่ง กองการเจ้าหน้าที่ 6. กองการเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง 6. เสนอกระทรวงฯ ให้ความเห็นชอบ (เฉพาะชำนาญการพิเศษ) 7. เสนอกระทรวงฯ ให้ความเห็นชอบ (เฉพาะชำนาญการพิเศษ) 7. เสนอ กรมฯ ออกคำสั่งแต่งตั้ง 8. เสนอ กรมฯ ออกคำสั่งแต่งตั้ง ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการ จะแจ้งผลการพิจารณาของคณะ กรรมการฯ ให้ผู้ขอประเมินทราบ ภายใน 3 วันทำการ
11
ผลงานย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี (แบบฟอร์มคัดเลือก)
1. ชื่อผลงาน (ระบุปี) 2. สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินงาน - หลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน 3. ระยะเวลาในการดำเนินงาน 4. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ /เชิงคุณภาพ) 5. การนำไปใช้ประโยชน์ 6. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ 7. ผู้ร่วมดำเนินการ (ถ้ามี) (ไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4)
12
ข้อเสนอแนวความคิด (แบบฟอร์มคัดเลือก)
1. ชื่อเรื่อง (ระบุสถานที่ ที่จะดำเนินการให้ตรงกับตำแหน่งที่ขอรับการคัดเลือก) 2. บทวิเคราะห์/แนวความคิด 3. ข้อเสนอเพื่อพัฒนางาน 1) 2) 4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 5. ตัวชี้วัดความสำเร็จ (ไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4)
13
รูปแบบการเขียนผลงาน และข้อเสนอ แนวความคิดเพื่อพัฒนางาน (ฉบับเต็ม)
14
การเขียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
ปกนอกและปกใน ตามรูปแบบที่กำหนด คำนำ กล่าวถึงความเป็นมาโดยย่อของงาน ทำขึ้นเพื่ออะไร ประโยชน์ที่คาดว่า จะได้รับ และขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ (ถ้ามี) สารบัญ ชื่อเรื่อง ชื่อผลงาน ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร (ตรงตามที่ส่งคัดเลือก) ความรู้ทางวิชาการหรือแนวความคิดที่ใช้ในการดำเนินการ • ย่อหน้าแรกกล่าวนำ เนื้อหาประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง • เนื้อหาประกอบด้วยแนวความคิด ทฤษฏี องค์ ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ในการดำเนินงาน โดยสรุปหรือนำมาเฉพาะ ประเด็นที่มีความสอดคล้องหรือ เป็นประโยชน์กับงานที่นำเสนอ หากเรื่อง เดียวกันมีการอ้างอิงมากกว่า 1 คน
15
การเขียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ต่อ)
ให้สรุปเป็นภาษาที่สละสลวยและเข้าใจง่าย โดยยังคงเนื้อหาของเจ้าของวรรณกรรมที่ได้ ทบทวนมานั้น สรุปสาระและขั้นตอนการดำเนินการ แบ่งเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้ 1. หลักการและเหตุผล ระบุความเป็นมา สถานการณ์ ของเรื่องที่ดำเนินการ 2. วัตถุประสงค์ ระบุวัตถุประสงค์ของงาน หรือกิจกรรมที่ผู้ขอประเมินดำเนินการโดย เชื่อมโยงกับหลักการและเหตุผล ทุกวัตถุประสงค์ต้องมีคำตอบในผลสำเร็จของงาน 3. เป้าหมาย ทำอะไรกับใคร ที่ไหน จำนวนเท่าไร 4. ขั้นตอนการดำเนินการ ระบุขั้นตอนการดำเนินงาน/ โครงการ หรืองานศึกษาวิจัย (หากเป็นโครงการ ให้เสนอเฉพาะส่วนที่ผู้เขียนดำเนินการ ไม่ใช่ขั้นตอน ทั้งหมดของโครงการใหญ่) โดยเนื้อหาจะสอดคล้องกับ ระยะเวลาของกิจกรรมหรือโครงการ ที่ดำเนินการ
16
การเขียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ต่อ)
ความยุ่งยากในการดำเนินการ เป็นความยุ่งยากของงานหรือปัญหาทางวิชาการ โดยให้ระบุว่าความยุ่งยาก คืออะไรและได้แก้ไขไปแล้วอย่างไร ระยะเวลาที่ดำเนินการ ประกอบด้วย 2 หัวข้อย่อย คือ 1) ระยะเวลาของกิจกรรมหรือโครงการที่ดำเนินการ (เนื้อหาสอดคล้องกับ ขั้นตอนการดำเนินการ ระบุเดือน ปี) 2) ระยะเวลาที่จัดทำผลงานเพื่อประเมินเลื่อนระดับสูงขึ้น (ระบุเดือน ปี)
17
การเขียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ต่อ)
ผลสำเร็จของงาน ผลสำเร็จของงานเชิงปริมาณ คือ ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ผลสำเร็จ ที่เกิดขึ้นตามขั้นตอนการดำเนินงาน ผลสำเร็จของงานเชิงคุณภาพ คือ ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองวัตถุประสงค์ แนวคิด ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล จังหวัด และกรม แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้....บาท/ไร่ ตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้าผู้รับบริการ การจ้างงานมากขึ้น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม...
18
การเขียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ต่อ)
การนำไปใช้ประโยชน์ แสดงประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงาน ผู้เกี่ยวข้อง และเกษตรกร หรือการเป็นต้นแบบนำไปต่อยอดใช้ในพื้นที่อื่น ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 2 หัวข้อย่อย คือ 1. ปัญหาอุปสรรค เป็นปัญหาอุปสรรคระหว่างดำเนินการ ระบุถึงสาเหตุ และปัจจัย ที่เกี่ยวข้องที่ทำให้การปฏิบัติงาน ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง 2. ข้อเสนอแนะ เสนอแนวทางการป้องกันและการแก้ไขปัญหา รวมถึงข้อแนะนำ ถ้าจะนำไปขยายผล หรือดำเนินการในพื้นที่อื่น ๆ ทั้งนี้ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะต้องสอดคล้องกัน ผู้ร่วมดำเนินการ (ถ้ามี) ให้ระบุชื่อ ตำแหน่ง สังกัด และสัดส่วนร้อยละ ในการจัดทำผลงาน
19
การเขียนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ต่อ)
ส่วนของงานที่ผู้เสนอเป็นผู้ปฏิบัติ ให้ระบุกิจกรรมและสัดส่วนที่ดำเนินการ ถ้าดำเนินการคนเดียว 100% ไม่ต้องระบุกิจกรรม (หากไม่มีผู้ร่วมดำเนินการ ไม่ต้องเขียนหัวข้อนี้) เอกสารอ้างอิง ให้ระบุชื่อเอกสารวิชาการ บทความ ผลงานวิจัย หนังสือราชการ ที่นำมาใช้ประกอบการเขียนผลงาน โดยใช้รูปแบบตามคู่มือการเขียนรายงานการวิจัยของกรม การรับรองผลงาน ลงชื่อ ผู้จัดทำผลงาน/ผู้ร่วมดำเนินการ (ถ้ามี) และผู้บังคับบัญชา ที่ควบคุมการดำเนินการ หลักฐานอ้างอิง/ภาคผนวก (ถ้ามี) ได้แก่ รายละเอียดผลการดำเนินงาน ภาพถ่ายผลงาน ตารางการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ หมายเหตุ หากนำผลงานวิจัยมาส่งประเมิน ต้องส่งรายงานฉบับเต็มด้วย
20
การเขียนข้อเสนอแนวความคิดเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
ปกนอกและปกใน ตามรูปแบบที่กำหนด คำนำ กล่าวถึงที่มา ทำไมจึงเสนอเรื่องนี้ งานที่ผ่านมามีปัญหาอะไร จึงจะต้องพัฒนา สารบัญ ชื่อเรื่อง ต้องเสนอให้ตรงกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง เป็นแนวคิดที่จะปรับปรุงพัฒนางาน วิธีการ รูปแบบ ไม่ใช่การปฏิบัติงาน ประจำ หลักการเหตุผล อธิบายถึงเหตุผลความจำเป็น สาเหตุที่นำเสนอแนวความคิด วิธีการเพื่อพัฒนางาน มีเหตุจูงใจอย่างไร และจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร (ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ)
21
การเขียนข้อเสนอแนวความคิดเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ (ต่อ)
บทวิเคราะห์และแนวความคิด ประกอบด้วย ทฤษฎี ความรู้ทางวิชาการ และสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง กล่าวนำก่อนเนื้อหาประกอบด้วยเรื่องอะไรบ้าง อ้างอิงทฤษฎีหรือความรู้ทางวิชาการที่นำมาใช้ประกอบหรือสนับสนุนแนวความคิด การวิเคราะห์ ใช้หลักการวิเคราะห์สถานการณ์ สภาพปัญหาโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ เช่น SWOT Analysis LOGFRAME หรือ Problem Tree แนวความคิดในการพัฒนางาน เป็นแนวความคิดของผู้เขียนที่ได้จากทฤษฎีและ ผลการวิเคราะห์ เป็นแนวความคิดกว้าง ๆ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอ
22
การเขียนข้อเสนอแนวความคิดเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ (ต่อ)
เขียนให้สอดคล้องกับแนวความคิดในการพัฒนางาน 1. เป็นข้อเสนอที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ให้เขียนเป็นข้อ ๆ หรือเป็นแผนปฏิบัติงาน 2. ข้อเสนอ ต้องดำเนินการได้ด้วยตนเอง จะดำเนินการหลังจากได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น และเป็นข้อเสนอที่ปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่ข้อเสนอ ให้ผู้อื่นดำเนินการ
23
การเขียนข้อเสนอแนวความคิดเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ (ต่อ)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ให้ระบุผลผลิต/ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามข้อเสนอ เช่น 1. ได้มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น สะดวก ประหยัด ลดขั้นตอน การทำงาน 2. ช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ตามเป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จ ให้ระบุตัวชี้วัดผลงานที่จะเกิดขึ้นตามข้อเสนอในแต่ละข้อ เช่น 1. จำนวนผลผลิต หรือร้อยละที่เพิ่มขึ้น 2. ระดับความก้าวหน้าหรือการพัฒนาที่ดีขึ้น ช่วยลดต้นทุน ลดระยะเวลาดำเนินการ 3. บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของหน่วยงานอย่างไร
24
การเขียนข้อเสนอแนวความคิดเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ (ต่อ)
เอกสารอ้างอิง ให้ระบุชื่อเอกสารวิชาการ บทความ ผลงานวิจัย หรือหนังสือราชการที่นำมาใช้ประกอบการเขียนข้อเสนอ โดยใช้รูปแบบ ตามคู่มือการเขียนรายงานการวิจัยของกรม
25
การส่งผลงาน ส่งที่กองการเจ้าหน้าที่ หรือสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขต แล้วแต่กรณี การแต่งตั้งจะแต่งตั้งในวันที่กองการเจ้าหน้าที่ หรือ ฝ่ายบริหารทั่วไปของ สสข. ได้รับเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ (หากคณะกรรมการฯ มีมติให้ผ่านการประเมิน) ผู้ขอประเมินฯ จะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสาร เช่น จำนวนเล่ม รูปแบบการพิมพ์ ตรวจคำผิด การลงชื่อรับรองผลงาน การรับรองของผู้บังคับบัญชา มีเนื้อหาครบตามคู่มือ หากเอกสาร ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ฝ่ายเลขานุการฯ จะส่งคืนให้ดำเนินการ จัดทำใหม่
26
เก็บตกจากการประเมินผลงาน
1. การเปลี่ยนชื่อผลงาน ผู้ขอประเมินไม่สามารถเปลี่ยนได้ด้วยตัวเอง นอกจากคณะกรรมการฯ เห็นสมควรให้เปลี่ยน แต่ทั้งนี้ชื่อเรื่องใหม่ ต้องไม่ผิดไปจากเจตนารมณ์เดิมของผู้ขอประเมิน 2. ปี พ.ศ. ที่ปกนอกและปกใน เป็นปี พ.ศ. ที่จัดทำผลงาน 3. การพิมพ์เครื่องหมาย “ๆ” ก่อนพิมพ์และหลังพิมพ์ให้เคาะ 1 เคาะ 4. การพิมพ์ตัดคำ เช่น พ.ศ ต้องพิมพ์อยู่บรรทัดเดียวกัน 5. ตรวจสอบ คำที่พิมพ์ผิด ให้มีน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย 6. รูปแบบในการพิมพ์ให้ดูตามคู่มือฯ หน้า 28
27
ชื่อกรรมการและหมายเลขโทรศัพท์
ผอ.ชฎารัตน ชุมพรัตน์ ผอ.อโณทัย นุตะศะริน ผอ.ฉลาด นันทโพธิเดช หน.นิธินันท์ Fax address:
28
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.