งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โดยอาจารย์ นิตยา ศรีจำนง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โดยอาจารย์ นิตยา ศรีจำนง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โดยอาจารย์ นิตยา ศรีจำนง
การพยาบาลผู้ที่มีการรับรู้ และพฤติกรรมผิดปกติ : Delusion, Hallucination, Illusion,, Withdrawal, Paraniod โดยอาจารย์ นิตยา ศรีจำนง

2 สาเหตุของอาการหลงผิด (Delusion) 1. ทางด้านร่างกาย
2. ทางด้านจิตใจ ผลของอาการหลงผิด ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความคิดในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เกิด ปัญหาพฤติกรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

3 การพยาบาลตามแบบแผนสุขภาพ
ควรดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้ - การประเมินสภาพ อาจประเมินได้ตาม  1. แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ (Cognitiver perceptual pattern) - ข้อมูลจากการซักประวัติ : ด้านเนื้อหาความคิด - ข้อมูลจากการสังเกตและการตรวจพบ : ลักษณะการพูด โต้ตอบและการสื่อสาร ลักษณะหน้าตา การแสดงออกถึง ความไม่สุขสบาย

4 ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
2. แบบแผนการเผชิญและความทนต่อความเครียด (Coping - stress tolerance pattern) - ข้อมูลจากการซักประวัติ : สิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ/กังวล/ กลัว/โกรธ/เครียด - ข้อมูลจากการสังเกตและการตรวจพบ : แสดงออกของ อารมณ์ที่บ่งชี้ว่าไม่สบายใจ : ผู้ป่วยพูดไปร้องไห้ไป ข้อวินิจฉัยการพยาบาล พยาบาลจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในทุกๆ แบบแผน กำหนดเป็นข้อวินิจฉัยการพยาบาล

5 เป้าหมายของการพยาบาล คือ
เป้าหมายของการพยาบาล คือ 1. เสริมสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด และความ ไว้วางใจ ใช้ความคงเส้นคงวา และชัดเจนในการ ติดต่อสื่อสาร 2. รักษาสมดุลด้านชีววิทยา 3. นำผู้ป่วยเข้าสู่ความเป็นจริง โดยการจัดให้มีกิจกรรม บำบัดที่เหมาะสม 4. ลดความวิตกกังวล 5. ระมัดระวังอันตรายที่เกิดกับผู้ป่วย และผู้ที่อยู่ ข้างเคียง ในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการ

6 กิจกรรมการพยาบาล 1. สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจตาม
หลักการพยาบาลจิตเวช 2. รับฟังความคิดของผู้ป่วยโดยไม่ตัดสินหรือตำหนิผู้ป่วย 3. ไม่ได้เถียงกับผู้ป่วย หรือให้เหตุผลว่าความเชื่อของ ผู้ป่วยนั้นผิด 4. จัดให้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้ ติดต่อกับสิ่งที่เป็นจริง

7 5. การสนทนากับผู้ป่วยที่มีความหลงผิด ควรนำเทคนิค
การสนทนา การให้คำปรึกษาต่าง ๆ มาใช้ 6. แก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลของความคิดหลงผิด การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการรับรู้ : อาการประสาทหลอน (Hallucination) สาเหตุของอาการประสาทหลอน 1. ทางด้านร่างกาย 2. ทางด้านจิตใจ

8 1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประสาทหลอน
มาตรฐานการพยาบาล 1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการประสาทหลอน - เกิดขึ้นอย่างไร เวลาไหน ความถี่ของการเกิด - สาเหตุนำหรือกระตุ้นก่อนเกิดอาการ - มีประสาทหลอนทางไหน - พฤติกรรมตอบสนองต่ออาการประสาทหลอน - เนื้อหาของประสาทหลอนเฉพาะที่อาจเป็นอันตราย ต่อผู้ป่วยและผู้อื่น

9 - ความสัมพันธ์ของประสาทหลอนกับสถานการณ์หรือ
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย - วิธีการต่อสู้ปัญหาของผู้ป่วย 2. ไม่โต้แย้ง ขำ หรือเห็นเป็นเรื่องตลก เกี่ยวกับอาการ ประสาทหลอนที่ผู้ป่วยบอก และบอกถึง สภาพความเป็นจริง (Present reality) 3. ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้และยอมรับความสัมพันธ์ระหว่าง สถานการณ์นำ และการเกิดอาการประสาทหลอน

10 - ให้ผู้ป่วยได้พบปะกับบุคคลอื่น
4. หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะประสาทหลอนโดย - ให้ผู้ป่วยได้พบปะกับบุคคลอื่น - ให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดที่เหมาะสมกับอาการหรือ พฤติกรรมของผู้ป่วย - มอบหมายงานของตึกที่ผู้ป่วยสามารถช่วยทำได้ - จัดให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้วิธี การเผชิญความวิตกกังวลขณะที่อยู่ในสถานการณ์นั้น

11 3. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมหวาดระแวง (Paraniod)
ลักษณะของความหวาดระแวง 1. มีความคิดสงสัย ไม่แน่ใจ คอยสังเกตพฤติกรรม และการ กระทำของคนอื่น 2. ปฏิเสธการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น มองผู้อื่นในแง่ร้าย 3. ไม่ยืดหยุ่น ไม่สนใจต่อเหตุผลของผู้อื่น 4. ไวต่อการกระตุ้นและระมัดระวังตัวมาก

12 5. มีอารมณ์ก้าวร้าว ผลุนผลันและรุนแรง
6. ใช้กลไกทางจิตแบบ Denial และ Projection 7. มักมีความคิดหลงผิดว่าตนเองเป็นใหญ่ (Grandeur delusion) ร่วมด้วย 8. มักมีอาการประสาทหลอนทางหู (Auditory hallucination) ร่วมด้วย

13 การจำแนกความหวาดระแวง
1. บุคลิกภาพผิดปกติชนิดหวาดระแวง 2. โรคจิตหลงผิด (Delusional disorder) 3. โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง (Schizophrenia : paranoid) 4. กลุ่มอาการหลงผิดที่มีสาเหตุทางกาย (Organic delusional type) สาเหตุของหวาดหวาดระแวง 1. ทางด้านร่างกาย 2. ทางด้านจิตใจ

14 มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิด
ประสาทหลอน และพฤติกรรมหวาดระแวง 1. ผู้ป่วยสามารถปรับตัวอยู่ในสถานการณ์ของความ เป็นจริงได้อย่างถูกต้อง และปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ 2. ผู้ป่วยไม่มีอาการหลงผิด และประสาทหลอน 3. ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น 4. ลดความหวาดระแวงลง และไว้วางใจผู้อื่น 5. ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย ได้รับสารอาหาร น้ำ และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

15 3. ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีและไว้วางใจผู้อื่น
4. ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการด้านร่างกา ได้รับสารอาหาร น้ำ และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

16 ระดับของการแยกตัวเองหรือถอยหนี
4. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมผิดปกติ : พฤติกรรมแยกตนเองหรือถอยหนี (Withdrawal behavior ) ระดับของการแยกตัวเองหรือถอยหนี 1. การแยกตัวเองในระดับปกติ (Normal withdrawal) 2. การแยกตัวในระดับมีอาการทางจิตประสาท (Neurotic withdrawal) 3. บุคลิกภาพอ่อนแออ่อนไหวง่าย จากภาวะของข้อ 1 และ 2

17 - ลักษณะที่แสดงออกทางกาย
ลักษณะของพฤติกรรมแยกตัวเองหรือถอยหนี 1. Social Isolation Out of Reality 2. Autistic Thinking Impairment of Intelligence 3. Regression - ลักษณะที่แสดงออกทางกาย - ลักษณะที่แสดงออกทางจิตใจ ขาดความสามารถในการปรับตัวให้สมดุล (Diminished integrative capacity)

18 2. เสียความสามารถในการทดสอบความเป็นจริง
(Disturbance of the function of reality testing) 3. ทัศนคติและมาตรฐานทางสังคมเสียไป (Change in convention attitudes and moral standard) 4. ไม่สามารถควบคุมพลังผลักดันของความต้องการ พื้นฐาน (Unability to control basic impulses) 5. ไม่สามารถทำกิจกรรมอย่างเป็นชิ้นเป็นอันได้ (Disturbance of productive activity) 6. อารมณ์ไม่คงที่ (Unstability ofeniotion)

19 กลไกการเกิดพฤติกรรมแยกตัว :
เหตุส่งเสริมที่กระทบต่อบุคคล : 1. มีบุคลิกภาพเก็บตัว (Schizoid personality) และขาด ความมั่นคงทางจิตใจ 2. ได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัว แบบ 2.1 บิดามารดามีความขัดแย้งกัน 2.2 บิดามารดาปกป้องมากเกินไป 2.3 บิดามารดามีลักษณะแยกตนเอง

20 กลไกการเกิดพฤติกรรมแยกตัว : 1. ความรู้สึกไม่ปลอดภัย
มีผลทำให้เกิด : 1. ความรู้สึกไม่ปลอดภัย 2. ขาดความรักความอบอุ่น 3. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 4. มีปมด้อย ไม่มีคุณค่า กลไกทางจิตที่ใช้ในการเผชิญปัญหา : Withdrawal, Denial, Regression, Fantasy ผู้ป่วยปรับตัวไม่ได้ : หลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อม และแยก ตนเองจากความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง

21 ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1. ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีความคิดหลงผิด 2. มีโอกาสได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุและการทำร้าย ตนเอง หรือผู้อื่นเนื่องจากมีอาการหลงผิด 3. มีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคมเนื่องจากขาดความ มั่นใจในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นและมีอาการ ประสาทหลอนและหลงผิด 4. การดูแลตนเองบกพร่อง/หรือการปฏิวัติกิจวัตร ประจำวันบกพร่อง เนื่องจากการรับรู้และการ ตัดสินใจบกพร่อง

22 ความผิดปกติจากความเสื่อมด้านเชาวน์ปัญญา แบ่งตามลักษณะของการเกิดอาการ : 1. Delirium เนื่องจากสมองเสียการทำหน้าที่ : ทำให้มีการรรับรู้ไม่ดี สับสนงุนงง Disorientation อาจมีอาการกลัวหรือ อาการ Hallucination (มีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว/ชั่วคราว/สามารถรักษาให้หายได้) Dementia สาเหตุจากภาวะเสื่อมของสมอง : (มีอาการค่อยเป็นค่อยไป มีการสูญเสียด้านปัญญาอย่างถาวร รักษาไม่หาย)

23 Delirium : อาการและอาการแสดง
1. มีความผิดปกติด้านสติสัมปชัญญะและการรู้ตัว : - มีการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ไม่ดี - มีความผิดปกติด้านความสามารถในการสนใจสึ่งใด สิ่งหนึ่ง 2. มีอาการบ่งบอกความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา (Cognition) : - การรับรู้ (Perception) อาจมีอาการ ประสาทหลอน (Haiiucination)/ แปลสิ่งที่เห็นผิด(Illution)..เห็นเชือกเป็นงู ความคิด (Thinking) ไม่สามารถหาเหตุผลตัดสินใจได้

24 - ความจำ (Memory) : ความจำปัจจุบัน
1) การรับข้อมูล (register) 2) การเก็บจำข้อมูล ( retain) 3) การเรียกใช้ข้อมูล (recall information) 3. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย : ร่าเริงเกินไป โกรธ กลัว เกลียด เปลี่ยนได้โดยเฉียบพลันโดยที่ผู้อื่นไม่คิด 4. มีปัญหาการนอน : ไม่ยอมนอน นอนไม่หลับ หรือ หลับๆตื่นๆ

25 ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะ Delirium
1. ติดเชื้อในสมอง/กระแสเลือด 2. หยุดสิ่งเสพติดทันที : สุรา/สารเสพติด จากการใช้เป็น เวลานาน ทำให้เกิดอาการขาด…สุรา 3. ได้รับสารพิษ : ตะกั่ว ปรอท จากสัตว์ 4. พิษจากการเผาผลาญสารอาหารไม่หมด : เบาหวาน ที่น้ำตาลสูงมาก/ต่ำมาก/ภาวะอินซูลินมากเกินไป 5. ภาวะออกซิเจนต่ำ/เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ 6. ฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไป

26 7.ภาวะไม่สมดุลของสารเกลือแร่ในร่างกาย
8. ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือน 9. โรคลมชัก 10. เนื้องอกในสมอง : แผลในเนื้อสมอง ฝี เลือดออกใน ชั้นดูรา 11. ภาวะเลือดจางอย่างรุนแรง 12. การแพ้สารบางอย่างรุนแรง เช่น แพ้ซีรัม (Serum sickness)

27 ประเภทของ Delirium 1. Delirium due to a general medical condition
ภาวะเสื่อมด้านสติปัญญาเนื่องจากได้รับยาเพื่อการ รักษาโรค อาการแสดงออกมีดังนี้ : การรับรู้สับสน มีการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ไม่ดี ความสนใจสั้นลง การรับรู้เวลาไม่ดี 2. Substance-induced Delirium ภาวะเสื่อมทางปัญญาและการมีสติรู้ตัวน้อยจากการได้รับ สารบางชนิด : เสพสุรา แอมเฟตตามีน กัญญา โคเคน สารหลอนประสาทอื่น

28 3.Delirium due to multiple ethiologies
ภาวะการมีสติรู้ตัวน้อยจากหลายสาเหตุ : เกิดจากยา/ สมองได้รับการกระทบกระเทือนจากการเสพสุราเรื้อรัง ภาวะขาดสุราจากที่เคยใช้อยู่อย่างเรื้อรัง สมองเสื่อม(Dementia) สาเหตุจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง มีความเสื่อมด้านความจำ : มีอาการดังนี้อย่างน้อย 1 อาการ ของความเสื่อมด้าน ภาษา(Aphasia)/ การความคุม การเคลื่อนไหว (Apraxia)/การแยกแยะสิ่งของ(Agnosia)

29 Dementia of the Alzheimer,s Type
ภาวะสมองเสื่อมถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายได้ เกณฑ์การวินิจฉัย : Aphasia/Apraxia/Agnosia/Mnemonic disturbance (recent memory/remote memory) อาการแสดงออก : เดินเรื่อยเปื่อย ไม่มีจุดมุ่งหมาย มี พฤติกรรมซ้ำๆ รื้ค้นของ ซ่อนของ อยู่ไม่นิ่ง ทะเลาะ เบาะแว้ง ฉุนเฉียว แก้เสื้อผ้า พฤติกรรมทางเพศไม่ เหมาะสม memory

30 สาเหตุของสมองเสื่อม Alzheimer
พันธุกรรม ปัจจัยอื่นๆ : สมองได้รับความกระทบกระเทือน โรคไขข้ออักเสบ เพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย 2 เท่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มเป็นสมองเสื่อมน้อยกว่า การใช้สมองมากๆโอกาสสมองเสื่อมจะน้อย

31 ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมีการรับรู้ผิดปกติ มีความบกพร่องในการดูแลตนเองเนื่องจากมีอาการ สับสน วุ่นวาย นอนหลับได้ไม่เพียงพอมีอาการประสาทหลอนและแปล ภาพผิด อาจเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องจากควบคุม อารมณ์ไม่ได้จากการเสียหน้าที่ของสมอง ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีความจำเสื่อม

32 การพยาบาลผู้ที่มีความเสื่อมด้านเชาวน์ปัญญา
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ มีของใช้ เฉพาะที่จำเป็น เพื่อป้องกันอันตราย/อุบัติเหตุ ไม่เปลี่ยนผู้ดูแลบ่อยๆเพื่อลดอาการสับสน วุ่นวาย พูดคุยกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและให้ผู้ป่วยอยู่ใกล้กับ ผู้อื่นเพื่อกระตุ้นการรับรู้และป้องกันความเสื่อมของ เชาวน์ปัญญา

33 การพยาบาลผู้ที่มีความเสื่อมด้านเชาวน์ปัญญา
จัดให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย มีคนอยู่ใกล้ชิดพร้อม ที่จะให้การช่วยเหลือเพื่อป้องกันอันตราย/อุบัติเหตุ จัดให้มีคนช่วยเหลือในการดูแลตนเองในระยะแรกๆ และกระตุ้นให้ดูแลตนเองให้มากขึ้น

34 Thank you For attention


ดาวน์โหลด ppt โดยอาจารย์ นิตยา ศรีจำนง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google