งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ICCPR โดย ผศ. วิชัย ศรีรัตน์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ICCPR โดย ผศ. วิชัย ศรีรัตน์."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ICCPR โดย ผศ. วิชัย ศรีรัตน์

2 ข้อ 1 ICCPR คืออะไร ? เป็นสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ
ก่อพันธกรณีระหว่างประเทศ มีผลผูกพันกับรัฐที่เป็นภาคี ปฏิญญาฯ เป็นการแสดงเจตจำนงค์ทางการเมืองไม่มีผลผูกพัน แต่เนื้อหาของปฏิญญาฯ อาจก่อสนธิสัญญาตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

3 ข้อ 2 สิทธิใน ICCPR ต่างจากสิทธิมนุษยชนใน UDHR อย่างไร?
UDHR รับรอง Human Rights ครอบคลุมทุกด้าน (all human rights) ICCPR รับรองเฉพาะบางส่วน (ครึ่งเดียวของ UDHR) สิทธิพลเมืง “civil”ต้องการ “อิสระจากรัฐ” “from state” สิทธิทางการเมือง political ต้องการ “เข้าสู่ /เป็นส่วนหนึ่ง”ของสังคมรัฐ “to state” อีกครึ่งหนึ่งของสิทธิใน UDHR รับรองโดย ICESCR เปรียบUDHRเป็นแม่มีลูกแฝดหญิง/ชายแฝดคนละฝา

4 ข้อ 3 ในเมื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ทำไมจึงต้องมีสองกติกา ?
เป็นผลมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมือง โลกเสรี (ตะวันตก) สนับสนุนสิทธิพลเมือง/ทางการเมือง (เสรีภาพในการชุมนุม การเลือกตั้ง การเดินทาง) โลกสังคมนิยม สนับสนุนสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การมีอาหาร โรงเรียน (โดยคอมมูน) การมีเสื้อผ้า สวัสดิการโดยรัฐ ในความเป็นจริง ไม่มีประเทศใดในโลกที่ปฏิบัติด้านเดียว ตัวอย่างเช่น สหรัฐฯ มีระบบสงเคราะห์คนตกงาน ใน USSR มีบทบัญญัติเรื่องห้ามจับกุมคุมขังโดยพลการ ในการปรับใช้ การตีความ ต้องสัมพันธ์และพึ่งพิงกัน (Vienna Conference on Human Rights)

5 ข้อ 4 ที่กล่าวว่า ICCPR ก่อพันธกรณีเป็นอย่างไร ?
พันธกรณีหรือ Obligation คือ หน้าที่เปรียบเสมือนกับกฎหมายภายใน “หนี้” เมื่อมีหน้าที่/หนี้ แล้วต้องทำตาม พันธกรณีโดยรัฐในฐานะองค์รวมเป็นความผูกพันของรัฐต่อคู่ภาคีอื่น ๆ รัฐบาลในฐานะเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนภาครัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องรับผิดชอบในกรณีที่ไม่เป็นไปตามสัญญา แม้กระทำโดยเอกชน ดังนั้นรัฐต้องมีมาตรการทำให้มั่นใจว่าองค์กรต่าง ๆ ทั้งฝ่ายบริหาร (ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ฝ่ายตุลาการ (ผู้พิพากษา) ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา/สภาท้องถิ่น/หรือองค์กรวิชาชีพที่ออกกฎระเบียบ) จะดำเนินการสอดคล้องกับพันธกรณีตาม ICCPR

6 ข้อ 5 พันธกรณีของรัฐตาม ICCPR มีอย่างไร ?
ตามข้อ (บทบัญญัติ) รัฐภาคีต้องมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิ (Respect) และทำให้มั่นใจว่าบุคคลจะได้มีและสามารถใช้สิทธิได้จริง (Ensure) เมื่อถูกละเมิดจะได้รับการเยียวยาแก้ไขการละเมิด (Remedy) เมื่อแปลงข้อบทมาสู่การปฏิบัติ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเห็นว่าพันธกรณีของรัฐในด้านสิทธิมนุษยชนมี 3 มิติ คือ หน้าที่ในการเคารพ (Respect) หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง (Protect) หน้าที่ในการทำให้เกิดขึ้นจริง (Fulfil) พันธะหน้าที่นี้เป็นหน้าที่ที่ใช้กับกติกาหรืออนุสัญญาสิทธิมนุษยชนทุกฉบับ เช่น ICESCR CAT CED ฯลฯ

7 ข้อ 6 ถ้ารัฐไม่ทำตามจะบังคับกันอย่างไร ?
สภาพบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศต่างจากการบังคับตามกฎหมายภายใน กฎหมายระหว่างประเทศ มีสภาพบังคับที่อ่อน ต้องอาศัยเจตจำนงค์เป็นส่วนใหญ่ นั่นคือ รัฐต้องมีความรับผิดชอบ “Responsibility” สภาพบังคับอาจแยกเป็นสองระดับ ระดับในรัฐ เป็นความรับผิดชอบต่อพลเมือง ประชาชน ต้องอาศัยกลไกในรัฐ รวมทั้งประชาสังคม สอดส่อง (เช่น การทำรายงานการปฏิบัติตามสนธิสัญญา)

8 ข้อ 6 ถ้ารัฐไม่ทำตามจะบังคับกันอย่างไร ? (ต่อ)
ระดับเหนือรัฐ ความรับผิดชอบต่อรัฐอื่น ๆ (คู่สัญญา) มีระบบสองส่องผ่านกลไกสนธิสัญญา UN มีการร้องเรียนว่าไม่ทำตามพันธะ (แต่ยังไม่เคยมี) แต่ในระดับภูมิภาคมีฟ้องแล้ว มีคณะกรรมการสนธิสัญญา เน้นลักษณะของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนทุกฉบับ เพื่อเป็นองค์กรดูแลให้รัฐปฏิบัติตามสนธิสัญญา กลไกตามกฎบัตร เกี่ยวข้องตาม UN Charter สัมพันธ์กันเพราะ ICCPR เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตร UN ปัจจุบันมีคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนและอื่น ๆ ติดตาม สอดส่อง

9 ข้อ 7 พันธกรณีของรัฐ - ถ้าเช่นนั้นปัจเจกชน กลุ่มหรือองค์กรธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหรือไม่ ?
สนธิสัญญาเป็นความผูกพันระหว่างรัฐกับรัฐ รัฐประกอบด้วยพลเมือง สถาบันทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ อยู่ภายในรัฐ รัฐมีอธิปไตยหรือยู่ในฐานะที่ใช้อำนาจรัฐ ทำให้บุคคล สถาบันต่าง ๆ ภายในรัฐเคารพสิทธิหรือทำให้สอดคล้องกับพันธกรณี วิธีการทางกฎหมาย คือ การทำให้เป็นกฎหมายภายใน ทำให้เป็นสิทธิตามกฎหมาย (Transform) จากสิทธิระหว่างประเทศเป็นกฎหมายภายในประเทศ เป็นสิทธิทางกฎหมาย

10 ข้อ 7 พันธกรณีของรัฐ ถ้าเช่นนั้นปัจเจกชน กลุ่มหรือองค์กรธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหรือไม่ ? (ต่อ)
วิธีการนี้ใช้กันทั่วไป ดังนั้น การรับรองสิทธิในรัฐธรรมนูญ เช่น หมวดว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ มีผลผูกพันทุกองค์กร การรับรองไว้ในกฎหมายอื่น ๆ เช่น กฎหมายอาญา (ฆ่า ทำร้าย ลักทรัพย์ หมิ่นประมาท ล่วงรู้ความลับ) กฎหมายแพ่ง เช่น การสมรส สภาพบุคคล ละเมิด (ชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง เสรีภาพ) กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง และระเบียบที่ออกโดยองค์กรวิชาชีพ (เช่น การแสดงเครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ โดนปรับ หรือห้ามแข่ง) ปัจจุบันระดับระหว่างประเทศมีการยกร่างความรับผิดของภาคธุรกิจในการรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน

11 ภาพรวม ของ ICCPR 1-Preamble คำปรารภ / ปรัชญาเจตนารมณ์
2-General Provisions หลักการทั่วไปในการใช้ 3-เนื้อหาสิทธิ สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง 4-Human Rights Committee คณะกรรมการสิทธิ-ผู้ตัดสิน 5-กระบวนการพิธีการ- -ขั้นตอน

12 หลักการสำคัญ ของ ICCPR มีอะไรบ้าง
หลักการประกันสิทธิของรัฐ หลักเกี่ยวกับการไม่เลือกปฏิบัติ หลักเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพ

13 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเรื่อง การเลือกปฏิบัติมีอย่างไร
หลักการไม่เลือกปฏิบัติ “ความเท่าทียมของมนุษย์” ต้องไม่มีการปฏิบัติที่แตกต่างให้คนใดคนหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าอีกคน หรือ อีกกลุ่ม ไม่ว่าโดยกฎหมาย หรือโดยข้อเท็จจริง - ดูที่ผล การปฏิบัติที่แตกต่างนั้นไม่มีเหตุผลที่ชอบธรรม มาตรการพิเศษที่ใช้ “เพื่อ” ให้แก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้มี หรือได้ใช้สิทธิได้เท่าเทียมกับอื่น หรือกลุ่มอื่น ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ

14 หลักการเรื่องการจำกัดสิทธิที่ชอบธรรม
Rights and responsibilities เป็นของคู่กัน ย่อมมีข้อจำกัดอยู่ในตัว เช่น ข้อ 29 UDHR เกณฑ์การจำกัดสิทธิที่ชอบธรรม ชอบด้วยกฎหมาย - Legality กฎหมายนั้นมีความชอบธรรมเพื่อสอนองต่อเป้าหมายของสังคมประชาธิปไตย - Legitimacy มาตรการที่จำกัดสิทธินั้นต้องพอสมควรเก่เหตุ (ได้สัดส่วนระหว่างสิทธิที่จำกัดกับเป้าหมายของสังคมประชาธิปไตย Proportionality

15 ข้อยกเว้นของกติกา – การไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีชั่วคราวในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ข้อยกเว้นของกติกา – การไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีชั่วคราวในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการระงับใช้พันธกรณี ในสถานการณ์พิเศษ หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน Derogation ต่างจากการจำกัดสิทธิโดยชอบธรรม Legistimate Restriction เงื่อนไข “มีสถานการณ์” “จำเป็น” ต่อ “การดำรงอยู่ของรัฐ” - ปัญหาใครพิจารณา มาตรการที่ใช้ต้องพอสมควร – ชั่วคราว ไม่ใช่เพื่อเลี่ยงพันธกรณี – ไม่สอดคล้องพับพันธกรณีของ ICCPR วิธีการ มีการประกาศ ต้องแจ้งต่อเลขาธิการ UN สิทธิบางอย่างไม่สามารถระงับได้ (ข้อ4) เชน ชีวิต ทรมาน การลงโทษต้องผานกระบวนการทางศาล เสรีพทางความคิด

16 ภาพรวม ทั้งหมดของเนื้อหาสิทธิ (1)
สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง สิทธิในชีวิต ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตร่างกาย สิทธิที่จะไม่ถูกเอาตัวลงเป็นทาส มีสถานะทาส สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิที่จะมีสัญชาติ การเดินทางเคลื่อนไหว เลือกถิ่นที่อยู่ (ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ กับปัจเจกชน) สิทธิในคความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในความเชื่อ การนับถือศาสนา

17 ภาพรวม ทั้งหมดของเนื้อหาสิทธิ – (2)
เสรีภาพในการแสดงความเห็น การรวมกลุ่มสมาคม และการชุมนุม (political domain) เสรีภาพในการแต่งงาน สิทธิเด็ก สิทธิที่มีส่วนร่วมในทางการเมือง สิทธิในความเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย สิทธิของบุคคลที่เป็นสมาชิกชนกลุ่มน้อย

18 เนื้อหาสิทธิเสรีภาพทีได้รับรองโดยICCPR :ปัญหาในทางปฏิบัติของประเทศไทย

19 สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง
สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองทางด้านการเมืองเศรษฐกิจของประชาชน สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเองของบุคคล ปัญหาเรื่องการแบ่งแยกดินแดน เรื่องการมีส่วนร่วมในการบริหารสาธารณะ

20 สิทธิในชีวิต (ข้อ 6) เหตุผล ? คุณค่าความสำคัญของชีวิตมนุษย์ – เหตุการณ์การทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ความหมาย การไม่พรากชีวิตโดยพลการ (รัฐ) และ โดยปัจเจกชน นโยบาย เช่น นาซี เขมรแดง การเพิกเฉยหรือยุยงให้มีการฆ่า การสังหาร โดยรวบรัด (ศาลเตี้ย - วิสามัญ) สังหารนอกกฎหมาย สังหารตามอำเภอใจไม่ว่าเป็นนโยบาย หรือ การเพิกเฉยต่อการฆาตกรรมของผู้ที่มีหน้าที่ ปัญหาเรื่องโทษประหารชีวิต การอุ้มหาย ปัญหาเรื่องหน้าที่ในการป้องกัน - เช่น อุบัติเหตุทางถนน การควบคุมสารพิษรั่วไหล การตายในทารก ป้องกันโรคระบาด

21 การไม่ถูกทรมาน ถูกลงโทษที่เป็นการทารุณโหดร้าย และย่ำยีความเป็นมนุษย์ (ข้อ 7)
เหตุผล ความหมายของการทรมาน จงใจ/ ก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง/ เพื่อให้สารภาพ หรือเพื่อลงโทษ หรือได้ข้อมูลข่าวสาร หรือ เลือกปฏิบัติ / กระทำโดย “อำนาจรัฐ” เจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่ได้รับความยินยอม ปัญหาฐานความผิดตามกฎหมายอาญาของไทย พันธกรณีของรัฐเมื่อเป็นภาคี อนุสัญญา CAT ประเด็นที่มีปัญหา – คำวินิจฉัยศาลปกครองเรื่องเครื่องพันธนาการ

22 สิทธิที่จะไม่ตกเป็นทาส- มีสภาพทาส (ข้อ8)
ทาสรูปแบบเดิม ทาสรูปแบบใหม่ การบังคับทำงาน เช่นเด็ก คนต่างด้าว การค้าหญิงและเด็ก การบังคับค้าประเวณี การบังคับขนยาเสพติด ตกเขียว (เอาเด็กมาขัดดอก) บังคับสมรสเพื่อลบหนี้ ภรรยาตกทอดเป็นมรดกของสามี เป็นสิทธิเด็ดขาดไม่สามารถผ่อนปรนได้ ปัญหาเรื่องเกณฑ์แรงงาน กับการลงโทษโดยให้ทำงานหนัก

23 สิทธิในความมั่นคงปลอดภัยในร่างกาย (ข้อ9)
ความหมายและสาระ “เสรีภาพ อิสระ และความมั่นคงปลอดภัย” หลักการเรื่องเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย ประเด็นปัญหา จับกุม คุมขัง ตรวจค้น แทรกแซงอิสรภาพ เกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศ จับกุมต้องได้รับการแจ้งเหตุผลและข้อหา นำตัวไปยังศาล หรือองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาความผิด “โดยพลัน” การได้รับการประกันตัว การเรียกให้มาปรากฏตัวโดยศาลเพื่อพิจารณาสาเหตุการถูกคุมขัง “หมายเรียกให้นำตัวมาศาล” ถ้าถูกจับกุมคุมขังโดยไม่ชอบมีสิทธิได้รับการเยียวยา

24 สิทธิของผู้ต้องขัง (ข้อ10)
ผู้ต้องขัง- บุคคลที่ถูกจำกัดอิสรภาพ – ผู้ต้องหา จำเลย นักโทษ รวมถึงทหาร ผิดวินัย เกณฑ์ มาตรฐาน ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม (สัมพันธ์กับข้อ 7) แยกระหว่างคนที่ยังไม่ผิด กับคนที่ผิด แยกเด็ก สตรี จากกลุ่มทั่วไป (ดูเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วยเช่น ศาสนา) พิจารณาดคีด้วยความรวดเร็ว ระบบราชทัณฑ์ ต้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูบุคคล ปัญหา

25 เสรีภาพในการเดินทาง (ข้อ12-13)
พลเมือง กับคนต่างด้าว หลัก การจำกัดทั่วไป การจำกัดสิทธิในกรณีฉุกเฉิน (พรบ ฉุกเฉิน ความมั่นคง อัยการศึก) ห้ามเนรเทศคนชาติ ห้ามไม่ให้เดินทางเข้าประเทศไม่ได้ การเนรเทศคนต่างด้าว

26 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม(ข้อ14)
ความเสมอภาคในทางคดี สิทธิในคดีอาญา ไต่สวนโดยศาลที่เป็นกลาง และมีอำนาจ - “ศาลที่เป็นกลาง เงื่อนไขที่เป็นกลาง” มีสิทธิในการอุทธรณ์ต่อศาลสูงขึ้นไป สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ สิทธิของจำเลยในคดี – ได้รับการแจ้งข้อหาทันที การพิจารณาคดีไม่ล่าช้า ซักถามพยานอีกฝ่าย มีทนายความ ไม่ถูกบังคับหรือหลอกลวง ให้สารภาพ มีล่าม

27 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (ข้อ14-ต่อ)
กระบวนวิธีพิจารณาผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็ก หรือ เยาวชน แยกจากผู้ใหญ่ สิทธิในการอุทธรณ์ – “ความผิดอาญา” “คณะตุลาการระดับเหนือขึ้นไป” กระบวนการพิจารณาคดีทีผิดพลาด มีสิทธิทีจะรื้อฟื้นคดี – สิทธิทีจะได้รับคาชดเชย ไม่ถูกลงโทษซ้ำ

28 ไมถูกลงโทษอาญาโดยไมเป็นธรรม (ข้อ 15)
ไม่มีกฎหมายไม่เป็นความผิด ไม่รับโทษมากกว่าที่กฎหมายบัญญัติ ยกเลิกความผิด ยกเลิกโทษ หลัก “ความผิดอาญาของมนุษยชาติ”

29 สิทธิที่จะไม่แทรกแซงความเป็นส่วนตัว (ข้อ17)
สิทธิที่จะไม่ถูกแทรกแซง ความเป็นอยู่ส่วนตัว (privacy life) ครอบครัว เคหสถาน การติดต่อสื่อสาร เกียรติ และชื่อเสียง ได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย ความชอบธรรมในการแทรกแซง ชือเสียงบุคคลสาธารณะ เพศทางเลือก บุหรี่ การดูแลเด็ก

30 สิทธิในความเชื่อ มโนธรรม และศาสนา (ข้อ18)
เสรีภาพในการมีหรือถือศาสนา หรือมีความเชื่อตามคตินิยมของตน เสรีภาพในการแสดงออกทางศาสนา หรือความเชื่อของตนโดยการสักการบูชา การปฏิบัติ การประกอบพิธีกรรม และการสอน ไม่ว่าจะโดยลำพังตัวเอง หรือในชุมชนร่วมกับผู้อื่น และไม่ว่าต่อสาธารณชน หรือเป็นการส่วนตัว

31 เสรีภาพในความคิด การแสดงออก(ข้อ19)
สิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออกโดยปราศจากการแทรกแซง เสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก ข้อจำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจำเป็นต่อ (ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น (ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน เป็นของใคร? ข้าราชการ ทหาร –วิจารณ์ศาล – ศาสนา? หมิ่นสถาบัน? นักเรียน ต่อ ครู

32 ข้อยกเว้นสิทธิในการแสดงออก (ข้อ20)
ให้การกระทำต่อไปนี้เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการสงคราม สนับสนุนให้เกิดความเกลียดชัง หรือการเลือกปฏิบัติ ในชาติพันธุ์ เผ่าพันธุ์ ยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง

33 เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ (ข้อ21)
สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการรับรอง การจำกัดสิทธิ - จะกระทำมิได้นอกจากจะกำหนดโดยกฎหมาย และ เท่าที่จำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชนหรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น

34 เสรีภาพในการเข้าร่วมสมาคม (ข้อ22)
คุณค่าของสิทธิ เข้ารวมสมาคม และ สิทธิทีจะไมเข้าร่วมสมาคม การจำกัด ปัญหาบางประการ สหภาพแรงงาน กับสิทธิประโยชน์ กับ ปประเด็น Closed shop สมาคมวิชาชีพ สหภาพข้าราชการ การสังกัดพรรคการเมือง Neo-NAZI - กับ พรรคคอมมิวนิสต์แหงประเทศไทย

35 สิทธิในการสมรส ครอบครัว (ข้อ23)
“ชาย – หญิง” ในวัยที่สมรสได้ ยินยอมโดยสมัครใจ มีมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองเมื่อสิ้นสุดการสมรส คุ้มครองบุตร

36 สิทธิในการมีส่วนร่วม(ข้อ25)
สิทธิในการเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรสาธารณะ – สิทธิในประชาธิปไตย-สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิพลเมือง การเลือกตั้งทั่วไป – “free” and “Fair” election กับ การลงคะแนนแบบยูโรวิชั่น eurovision model กระบวนการตรวจสอบ –รูปแบบ เจตนารมณ์ และการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ เสียงส่วนใหญ่ กับทรราชโดยเสียงส่วนใหญ่ ความรับผิดชอบต่อผู้ใช้สิทิ การคุ้มครองคนส่วนน้อย due process of law

37 สิทธิของชนกลุ่มน้อย ข้อ27
Definition –ปัญหาของนิยามคำว่า “ชนกลุ่มน้อย minorities” เทียบ“indigenous population” ชนพื้นเมืองดั้งเดิม - ไทยไม่ยอมรับว่ามีชนกลุ่มน้อย Identities v Political Opinion – อัตลักษณ์ และ ความเห็นทางการเมือง Gender Minority ? –เพศ ? Separationist - การแบ่งแยกดินแดน (Semi)Self –Authority, Local Government and Self-Determination ปกครองตนเอง กึ่งปกครองตนเอง รัฐบาลท้องถิ่น กับสิทธิในการกำหนดตนเอง Affirmative Action- มาตรการเชิงยืนยันสิทธิ Racism VS Pluralism – การเหยียดผิว เผ่าพันธุ์ กับแนวคิดสังคมที่มีความหลากหลาย

38 บทส่งท้าย Divided Society – สังคมที่ถูกแบ่งเป็นฝ่ายอย่างแรง
Intolerance Society – สังคมที่ใจแคบไม่ยอมรับความแตกต่าง -คิดด้านเดียว Non Violence - การไม่ใช้ความรุนแรง Justice, Equality and Equity – ความยุติธรรม ความเสมอภาค และความเป็นธรรม Political Economy - เศรษฐศาสตร์การเมือง (การเมืองเกี่ยวกับผลประโยชน์การจัดสรรผลประโยชน์) Social and Political and economic Structure – ทางสังคมการเมือง Consciousness – rights and liberty การตระหนักนึก


ดาวน์โหลด ppt ICCPR โดย ผศ. วิชัย ศรีรัตน์.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google