ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประวัติศาสตร์อารยธรรมอินเดีย Indian Civilization
AJ.2 : Satit UP
2
อารยธรรมสินธุ-คงคา(Indus-Ganges Civilization) หรือ อารยธรรมอินเดีย(Indian Civilization)
3
ชนกลุ่มสำคัญที่สร้างสรรค์อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ-คงคา(Indus-Ganges Civilization) หรือ อารยธรรมอินเดีย แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ 1) พวกดราวิเดียน(Dravidian) หรือ ทราวิฑ คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำสินธุราว 4,000 ปีมาแล้ว พวกนี้มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำและจมูกแบน คล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกปัจจุบัน 2) พวกอารยัน(Aryan) หรือ อินโด-อารยัน(Indo-Aryan) เป็นพวกที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลาง (ทางตะวันตกของเอเชียใต้)ลงมายังตอนใต้กระจายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่างๆซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่า พวกอารยันส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำสินธุและขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปทางตอนใต้หรือจับตัวเป็นทาส พวกอารยันมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว จมูกโด่ง (ชาวอินเดียที่อยู่ทางตอนเหนือปัจจุบันนี้) พวกอารยันเหล่านี้รับวัฒนธรรมชนพื้นเมืองของชาวดารวิเดียน แล้วนำมาผสมผสานเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและสร้างอารยธรรมของตนมาในยุคต่อมา
4
ประวัติศาสตร์อินเดียและเอเชียใต้
ประวัติศาสตร์อินเดียและเอเชียใต้ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดียตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ที่มีอิทธิพลเหนืออินเดียขณะนั้น 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโลหะของอินเดียเริ่มเมื่อผู้คนรู้จักใช้ทองแดงและสำริด เมื่อประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และรู้จักใช้เหล็กในเวลาต่อมา โดยพบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ 2. สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด–อารยัน (Indo – Aryan) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา สมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้ 1) เมืองโมเฮนโจ ดาโร (Mohenjo Daro) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน 2) เมืองฮารับปา (Harappa) ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราณ ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่
5
แหล่งอารยธรรมอินเดีย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ 1.1 เมืองโมเฮนโจ – ดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถานในปัจจุบัน 1.2 เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน 2. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค 2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษรยุคแรกใช้ในอินเดียจนถึงสิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, เชน และพุทธ ได้ถือกำเนิดแล้ว 2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย 2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
6
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย
2. สมัยประวัติศาสตร์ อินเดียเข้าสู่ “สมัยประวัติศาสตร์” เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ประมาณ 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยชนเผ่าอินโด–อารยัน (Indo – Aryan) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำคงคา สมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียแบ่งเป็น 3 ยุค ดังนี้ 2.1 ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การถือกำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า “บรามิ ลิปิ” (Brahmi lipi) เมื่อประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดในราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์คุปตะ(Gupta) เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ศาสนาเชน และศาสนาพุทธ ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว 2.2 ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง เริ่มตั้งแต่เมื่อราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์มุสลิมสถาปนาราชวงศ์โมกุล (Mughul) และเข้าปกครองอินเดีย 2.3 ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ต้นราชวงศ์โมกุล ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1947
7
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียสมัยย่อย ๆ 1
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ของอินเดียสมัยย่อย ๆ 1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อน ค.ศ.) 2. สมัยพระเวท (ประมาณ 1, ปีก่อน ค.ศ.) 3. สมัยพุทธกาล หรือ สมัยก่อนเมารยะ(Maurya) ประมาณ ปีก่อน ค.ศ.) 4. สมัยเมารยะ (Maurya) (ประมาณ ปี ก่อน ค.ศ.) 5. สมัยกุษาณะ (ประมาณ 200 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 320) 6. สมัยคุปตะ (Gupta) (ประมาณ ค.ศ ) 7. สมัยหลังคุปตะ หรือ ยุคกลางของอินเดีย (ค.ศ. 550 – 1206) 8. สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรือ อาณาจักรเดลฮี (สมัยปลายยุคกลาง) (ค.ศ ) 9. สมัยโมกุล (Mughul) (ประมาณ ค.ศ – 1858) 10. ยุคอาณานิคม (ประมาณ ค.ศ – 1947) 11. ยุคได้เอกราช (ค.ศ – ปัจจุบัน) สมัยก่อนปวศ. สมัยโบราณ สมัยประวัติศาสตร์ สมัยกลาง สมัยใหม่
8
ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราณ
ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกฑราวิท หรือ ดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดีย นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเริ่มสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียที่แท้จริง มีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ ( ปีก่อนคริสต์ศักราช) ระยะเวลานี้เป็นเวลาที่อินเดียเปิดเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอก จากพวกกรีกและพวกกุษาณะ รยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)
9
ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง
อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมือง และการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิม สมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดีย สมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526)
10
ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่
พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ จนถึง ค.ศ อินเดียจึงได้รับเอกราชจากรปะเทศอังกฤษ ภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดีย ขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้น และเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947) อย่างไรก็ตามสมัยที่วัฒนธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมอินเดียเรียกรวมว่า สมัยมุสลิม (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1858) หมายถึง รวมสมัยสุลต่านแห่งเดลฮีกับสมัยราชวงศ์โมกุล
11
สรุปประวัติศาสตร์ในเอเชียใต้ ในยุคต่างๆ
12
อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
สมัยพระเวท สมัยพุทธกาล สมัยราชวงศ์เมารยะ สมัยราชวงศ์กุษาณะ สมัยราชวงศ์คุปตะ สมัยจักรวรรดิโมกุล สมัยอาณานิคมอังกฤษ สมัยเอกราช - เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมือง คือ ชาวดราวิเดียน (ชนพื้นเมืองดั้งเดิม) - ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮนโจดาโร(Mohenodaro)และเมืองฮารับปา(Harappa)(แหล่งโบราณคดีที่ขุดค้นพบ) - เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน ที่เข้ายึดครองชาวดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้ - ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และ ระบบวรรณะ (Caste System) - วรรณกรรมสำคัญในยุคนี้ ได้แก่ - คัมภีร์พระเวท เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ ใช้วิธีท่องจำต่อๆกันมา ประกอบด้วย 4 คัมภีร์คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท และ อาถรรพเวท - มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่าแสดงถึงการต่อสู้ระหว่างชาวอารยัน(พระราม) กับชาวทราวิฑ หรือชาวดารวิเดียน (ทศกัณฑ์) แต่งโดยฤษีวาลมิกิ - มหากาพย์มหาภารตยุทธ ว่าด้วยการต่อสู้ของพี่น้องสองตระกูล (ปานฑพ-เการพ) - คัมภีร์ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งกฎหมาย ศาสนบัญญัติ จารีตประเพณี หลักศีลธรรม - เกิดศาสนาพุทธ และ มีการใช้ภาษาบาลี (มคธ) - เกิดศาสนาเชน ผู้ก่อตั้งคือ มหาวีระ - กษัตริย์จันทรคุปต์ ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่นเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่มีอาณาเขตกว้างขวางได้ครั้งแรก ในชมพูทวีป - เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง - สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ - หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น - พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ - ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ - ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและทิเบต - กษัตริย์จันทรคุปต์ที่ 1 ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง - เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง ปรัชญา ศาสนา
13
อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
สมัยพระเวท สมัยพุทธกาล สมัยราชวงศ์เมารยะ สมัยราชวงศ์กุษาณะ สมัยราชวงศ์คุปตะ สมัยจักรวรรดิโมกุล สมัยอาณานิคมอังกฤษ สมัยเอกราช - กษัตริย์บาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม - เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย - กษัตริย์อักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ - กษัตริย์ซาร์ เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้าง สุสานทัชมาฮาล ที่งดงาม - ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง - เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย - ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ - สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ - รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา - การศาล การศึกษา - ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูหลังจากที่สามีตาย) - หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี (Mahatma Gandhi) และ ยาวาหะราล เนห์รู (Jawaharlal Nehru) เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช - มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ - หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย - แต่จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้องแตกแยกเป็นอีก 2 ประเทศคือ ปากีสถาน(เดิมคือปากีสถานตะวันตก)และบังคลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.