ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยHartanti Hermanto ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว Plant Protection Sakaeo
ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืช กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว Plant Protection Sakaeo ฉบับที่ ๒ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๖๑ ไรแดงมันสำปะหลัง นายประจักร์ ประสงค์สุข เกษตรจังหวัดสระแก้ว แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เฝ้าระวังการระบาดของไรแดงในมันสำปะหลัง ซึ่งมักพบการระบาดในช่วงอากาศแห้งแล้ง และ ฝนทิ้งช่วง ซึ่งหากเกิดการระบาดรุนแรงจะทำลายผลผลิตมันสำปะหลังเสียหายกว่าร้อยละ ๓0 โดยไรแดง มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็มวัยมีสีแดงเข้ม มี 8 ขา กว้าง 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนขาไม่มีสี อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการทำลาย ไรแดงหม่อนดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่างและขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ไรแดงมันสำปะหลังดูดกิน น้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอดและขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบ ใบเหลืองขีด ม้วนงอ และร่วง การป้องกันกำจัด 1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ ด้วงเต่า และด้วงปีกสั้นซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติของไรแดง ๒. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อนจะกระทบแล้งนาน การตกของฝนสามารถลดการระบาดได้ ๓.หมั่นตรวจแปลง หากพบระบาดรุนแรงในระยะเป็นต้นอ่อน ให้พ่นสารป้องกันกำจัดอามีทราซ (20% อีซี) อัตราการใช้ 40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโคโฟล (18.5% อีซี) อัตราการใช้ ๕0 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะบริเวณที่มีไรแดงทำลาย เมื่อใบส่วนยอดของต้นอ่อนเริ่มแสดงอาการม้วนงอ และอยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้ง เป็นเวลานาน และหยุดใช้สารก่อนเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง 14 วัน ลักษณะของใบมันสำปะหลังที่ถูกไรแดงทำลาย ไรแดงและการทำลาย ที่มา: กรมวิชาการเกษตร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว เลขที่ 116 ม.21 ต.สระขวัญ อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว Tel
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.