งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการสอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการสอน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการสอน
เรื่อง “เทคนิคและวิธีการสอน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุชนาฎ ผ่องพุฒิและคณะ

2 ขอบเขตเนื้อหา เทคนิคการสอน วิธีการสอน พื้นฐานการสอนในอาชีพครู
การสอนแนวใหม่ตามพรบ. 2542 วิธีการสอน การจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนแบบกระบวนการ

3 พื้นฐานการสอนในอาชีพครู
ฉันทะ พื้นฐานการสอน กัลยาณมิตร เมตตา การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พร้อมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย เป็นสิ่งบ่งบอกว่าต่อไปนี้ สังคม องค์การ หน่วยงาน และหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ “ครูมืออาชีพ” มิใช่เพียงแต่มี “อาชีพครู” เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งตามทัศนะของผู้เขียนแล้ว “ครูมืออาชีพ” จักต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ 1.       ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน 2.       ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ 3.       ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ ครูมืออาชีพ

4 “ทุกหมวดมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน”
การสอนแนวใหม่ตาม พรบ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษาผู้เรียนสำคัญที่สุด หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา หมวด 3 ระบบการศึกษา หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา “ทุกหมวดมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน”

5 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านกระบวน การเรียนรู้ ด้านหลักสูตร ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ 8 สาระ ประเมินตามสภาพจริง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ 1.   ด้านหลักสูตร กล่าวถึงการปฏิรูปหลักสูตรให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง มีความสมดุลในเนื้อหาสาระ ทั้งที่เป็นวิชาการ วิชาชีพ และวิชาว่าด้วยความเป็นมนุษย์ และให้มีการบูรณาการเนื้อหาหลากหลายที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ 1.1  เนื้อหาเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม 1.2  เนื้อหาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.3  เนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย 1.4  เนื้อหาความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง 1.5  เนื้อหาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข 2.   ด้านกระบวนการเรียนรู้ กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังข้อมูลที่ระบุไว้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาที่สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2543) ได้สรุปถึงลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้ในสาระของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไว้ดังนี้ 2.1  มีการจัดเนื้อหาที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน 2.2  ให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์และฝึกนิสัยรักการอ่าน 2.3  จัดให้มีการฝึกทักษะกระบวนการและการจัดการ 2.4  มีการผสมผสานเนื้อหาสาระด้านต่างๆ อย่างสมดุล ปลูกฝังคุณธรรม 2.5  จัดการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และรอบรู้ 2.6  จัดให้มีการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้วย 3.   ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นสำคัญ จะต้องประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง โดยการใช้วิธีการประเมินผู้เรียนหลายๆ วิธี ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการร่วมกิจกรรม การใช้แฟ้มสะสมงาน การทดสอบ การสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีโอกาสแสดงผลการเรียนรู้ได้หลายแบบ ไม่เพียงแต่ความสามารถทางผลสัมฤทธิ์การเรียนซึ่งวัดได้โดยแบบทดสอบเท่านั้น การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้แบบนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างอันเกิดจากผลการพัฒนาตนเองของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้จะได้กล่าวในตอนต่อไป

6 สาเหตุที่ต้องมีการปฏิรูปการเรียนการสอน
ขาดการพัฒนาคนให้มีคุณสมบัติมองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน ชำนาญชีวิต วิธีการเรียนการสอนไม่เน้นกระบวนการให้ผู้เรียนได้พัฒนา การคิดวิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กระบวนการเรียนรู้เป็นความทุกข์ การสอนและคะแนนสอบเป็นตัวพิพากษาความสำเร็จ

7 สาเหตุที่ต้องมีการปฏิรูปการเรียนการสอน
โรงเรียนไม่สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ขาดการฝึกปฏิบัติ ฝึกคิด การอบรมบ่มนิสัย ไม่ได้รับการปลูกผังความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ ขาดการบ่มเพาะทางด้านคุณธรรม

8 วัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการเรียนการสอน
เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย เพื่อให้การจัดกระบวนการเรียนรู้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ครู พ่อแม่ ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

9 ลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์
คนเก่ง ลักษณะที่พึงประสงค์ คนมีความสุข คนดี เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา และแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่นและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีความสุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ภูมิใจในตนเอง พึงพอใจในชีวิต และมีความสงบทางใจ

10 วิธีการสอน วิธีการสอน การจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT
การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ การจัดการเรียนการสอนแบบกระบวนการ

11 การจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT

12 การจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT
4 MAT ของ Bernice mccarthy การจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนกับการพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีก อย่างสมดุล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ

13 หน้าที่การทำงานของสมอง

14 สมองสามส่วน (The Triune Theory)
ความเชื่อเกี่ยวกับสมอง สมองสามส่วน (The Triune Theory) Cerebrum (ส่วนของความคิด) Brain stem (สัญชาตญาณระบบอัตโนมัติ) Limbic (ส่วนควบคุมอารมณ์)

15 Brain stem (สัญชาตญาณระบบอัตโนมัติ)
เป็นสมองที่เก่าแก่ที่สุด เชื่อว่า ไม่ต่ำกว่า 200 ล้านปี มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมพื้นฐาน เช่น การหายใจ การเคลื่อนไหว

16 Limbic (ส่วนควบคุมอารมณ์)
เป็นศูนย์ควบคุมความรู้สึก อารมณ์ (Emotional Center) และเมื่อหลายล้านปีของการวิวัฒนาการผ่านไป Limbic ได้สร้างเครื่องมือสำหรับการ “เรียนรู้” และ “จำ” ขึ้นมาเป็นสมองส่วนคิด

17 Cerebrum (ส่วนของความคิด)

18 ความหมายของ 4MAT SYSTEM

19 ผู้เรียนแบบที่ 1 (Active Experimentation) จะเรียนรู้ได้ดีและเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ก็ต่อเมื่อเขาได้ลงมือกระทำ มือไม้แขนขาได้สัมผัสและเรียนรู้ควบคู่ไปกับสมองทั้งสองด้านสั่งการเรียกว่าเป็นการเรียนรู้ทั้งเนื้อทั้งตัวที่ต้องผ่านประสาทสัมผัสอื่นๆประกอบกัน

20 ผู้เรียนแบบที่ 2 (Reflective Observation) จะเรียนรู้โดยการผ่านจิตสำนึกจากการเฝ้ามองแล้วค่อยๆ ตอบสนอง

21 ผู้เรียนแบบที่ 3 (Abstract Conceptualization) จะเรียนรู้โดยใช้สัญญาณหยั่งรู้มองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นรูปธรรมแล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์จากการรับรู้ที่ได้มาเป็นองค์ความรู้

22 ผู้เรียนแบบที่ 4 (Concrete Experience) จะเรียนรู้ได้ดีต่อเมื่อผ่านการวิเคราะห์ การประเมินสิ่งต่างๆ โดยการเอาตัวเองเข้าไปพิสูจน์หรือโดยการใช้หลักเกณฑ์แห่งเหตุผล ทั้ง 4 กลุ่ม ต่างมีจุดดีจุดเด่นคนละแบบ ซึ่งเป็นโครงสร้างทางกลไกทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีอยู่จริงในทุกโรงเรียนทั่วโลก ดังนั้นหน้าที่ของผู้เป็นครูย่อมต้องพยายามหาหนทางที่จะทำให้เกิดสภาวะสมดุลทางการเรียนรู้ให้ได้

23 แกนการรับรู้และแกนกระบวนการทั้งสองตัดกันทำให้เกิดพื้นที่ 4 ส่วน ดังนี้

24 สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา ในการเรียนตามแบบ 4 MAT ผู้เรียนแต่ละแบบต้องใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาสลับกันไป ดังนั้น กระบวนการทั้งหมดของ 4 MAT จึงประกอบด้วยกิจกรรมสำหรับพัฒนาสมองทั้งสองซีกสลับกันไป ขั้นตอน

25 ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ (กระตุ้นสมองซีกขวา)
ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ (กระตุ้นสมองซีกขวา) สร้างประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมแก่ผู้เรียน การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา โดยครูสร้างประสบการณ์จำลอง ให้เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสร้างเป็นความหมายเฉพาะของตนเอง

26 ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ประสบการณ์ (กระตุ้นสมองซีกซ้าย)
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ประสบการณ์ (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) วิเคราะห์ไตร่ตรองประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย โดยครูให้นักเรียนคิดไตร่ตรอง วิเคราะห์ประสบการณ์จำลองจากกิจกรรม ขั้นที่ 1

27 ขั้นที่ 3 ปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (กระตุ้นสมองซีกขวา)
ขั้นที่ 3 ปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (กระตุ้นสมองซีกขวา) สะท้อนประสบการณ์เป็นแนวคิด การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา โดยครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้รวบรวมประสบการณ์และความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานของแนวคิด หรือความคิดรวบยอดอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง

28 ขั้นที่ 4 มุ่งสู่หลักการ (กระตุ้นสมองซีกซ้าย)
ขั้นที่ 4 มุ่งสู่หลักการ (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) พัฒนาทฤษฎีและแนวคิด การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย ครูให้นักเรียนวิเคราะห์และไตร่ตรองแนวคิดที่ได้จากขั้นที่ 3 และถ่ายทอดเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดที่ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวคิดนั้นๆ ต่อไป พยายามสร้างกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

29 ขั้นที่ 5 ลงมือปฏิบัติตามหลักการ (กระตุ้นสมองซีกซ้าย)
ขั้นที่ 5 ลงมือปฏิบัติตามหลักการ (กระตุ้นสมองซีกซ้าย) ดำเนินตามแนวคิด และลงมือปฏิบัติหรือทดลอง การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมพัฒนาสมองซีกซ้าย เช่นเดียวกับขั้นที่ 4 นักเรียนเรียนรู้จากการใช้สามัญสำนึก ซึ่งได้จากแนวคิดพื้นฐาน จากนั้นนำมาสร้างเป็นประสบการณ์ตรง

30 ขั้นที่ 6 สร้างผลงานตามความถนัด (กระตุ้นสมองซีกขวา)
ขั้นที่ 6 สร้างผลงานตามความถนัด (กระตุ้นสมองซีกขวา) ต่อเติมเสริมแต่ง และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา นักเรียนเรียนรู้ด้วยวิธีการลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง

31 ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ชิ้นงานและแนวทางใน การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (กระตุ้นสมองซีกซ้าย)
วิเคราะห์แนวทางที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และเป็นแนวทางสำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติมต่อไป การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกซ้าย นักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ โดยนักเรียนเป็นผู้วิเคราะห์และเลือกทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย

32 ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ (กระตุ้นสมองซีกขวา)
ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ (กระตุ้นสมองซีกขวา) ลงมือปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้เกิดจากการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองซีกขวา นักเรียนคิดค้นความรู้ด้วยตนเองอย่างสลับซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นความคิดที่สร้างสรรค์ จากนั้นนำมาเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

33 สรุปลำดับขั้นการสอนแบบ 4MAT 8 ขั้นตอน
R R นำเสนอและแลกเปลี่ยน สร้างประสบการณ์ วิเคราะห์ประสบการณ์ วิเคราะห์ชิ้นงาน 8 1 L 2 7 L 6 3 วางแผนและสร้างผลงาน ปรับประสบการณ์สู่ความคิดรวบยอด 5 4 R ทบทวนฝึกปฏิบัติ ทฤษฎีความคิดรวบยอด R L L

34 บทบาทของผู้สอนในการสอนและ ผู้เรียนในการเรียน
กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด จินตนาการ วิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ และครูมีหน้าที่เป็นช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อเด็กต้องการ ผู้สอน ตอบคำถามของครูโดยการอภิปรายและระดมสมอง ผู้เรียน

35 บทบาทของผู้สอนในการสอนและ ผู้เรียนในการเรียน
เป็นผู้ประเมิน คอยเสนอแนะ ให้คำปรึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน และเป็นผู้ซ่อมเสริมความรู้ที่ขาดไปให้แก่ผู้เรียน ผู้สอน ค้นคว้าหาความรู้และลงมือปฏิบัติกิจกรรม ค้นหาแนวทางนำความรู้ไปใช้จริง ผู้เรียน

36 บทบาทของผู้สอนในการสอนและ ผู้เรียนในการเรียน
เป็นแหล่งข้อมูล เมื่อเด็กต้องการความช่วยเหลือ ผู้สอน ไตร่ตรองสะท้อนข้อมูล ผู้เรียน

37 ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT
เรื่อง การเพาะเห็ด ขั้นตอน แนวทางการจัดการเรียนการสอน ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ ให้นักเรียนวาดภาพเห็ด ร้องเพลงเห็นหรือต่อภาพเห็ด (Jigsaw) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ประสบการณ์ ให้นักเรียนอภิปรายประโยชน์ของเห็ดและวิเคราะห์ความสำคัญของการเพาะเห็ดได้เอง ขั้นที่ 3 ปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด ให้นักเรียนไปชมแปลงเพาะเห็ด สัมภาษณ์เกษตรกรผู้เพาะเห็ด ดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับขั้นตอนการเพาะเห็ด และเข้ากลุ่มศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

38 ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนแบบ 4MAT
ขั้นตอน แนวทางการจัดการเรียนการสอน ขั้นที่ 4 สรปุเป็นทฤษฎีหลักการสาระความรู้ ให้นักเรียนเข้ากลุ่มศึกษาเพิ่มเติม แล้วเขียนสรุปหลักการและขั้นตอนการเพาะเห็นออกเป็นแผนภูมิ หรือให้นักเรียนทำ Mind Mapping ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเห็ดและการเพาะเห็ด ขั้นที่ 5 ทำตามแนวคิดที่กำหนด ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนงานและทดลองเพาะเห็นตามขั้นตอนที่ได้ศึกษาไว้ ขั้นที่ 6 สร้างชิ้นงานตามความถนัด ให้นักเรียนแต่ละคนคิดทำโครงงานตามความสนใจที่เกี่ยวกับเห็ด เช่น การเพาะเห็นชนิดอื่น ๆ การทำอาหารจากเห็ด การถนอมอาหารประเภทเห็ด ฯลฯ

39 ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT
ขั้นตอน แนวทางการจัดการเรียนการสอน ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ชิ้นงานและประยุกต์ใช้ ให้นักเรียนนำเสนอผลงาน วิเคราะห์ผลงาน (ปริมาณและคุณภาพของเห็ดที่เพาะบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่) ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้นักเรียนจัดนิทรรศการแสดงผลงานการเพาะเห็ด จัดป้ายนิเทศให้ความรู้วิธีการเพาะเห็ด จัดตลาดนัดขายผลิตผลจากเห็ด ฯลฯ

40 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1
การจัดกิจกรรมการเรียนแบบ 4MAT ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

41 Where Maths grows on Trees : ปลูกคณิตในสวนมะกอก ที่โมร็อคโค
ตัวอย่างวิดีโอ Where Maths grows on Trees : ปลูกคณิตในสวนมะกอก ที่โมร็อคโค

42 Where Maths grows on Trees

43 การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

44 การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในวิชาต่างๆ มากกว่าหนึ่งวิชาขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้  ความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด ประสบการณ์ ความสามารถ และทักษะต่างๆ ในเวลาเดียวกัน ทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจลักษณะองค์รวม

45 เหตุผลที่จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
เกิดการถ่ายโอนความรู้ (นำไปใช้ได้จริง) ชีวิตจริงในศาสตร์หลากหลาย ไม่ใช่กลุ่มวิชาใดโดยเฉพาะ เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย รู้ลึกซึ้งไม่รู้ผิวเผิน ขจัดความซับซ้อนของเน้อหา

46 รูปแบบการสอนแบบบูรณาการ
ภายในรายวิชา ระหว่างวิชา การบูรณาการ การบูรณาการภายในวิชา  เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันกันเข้าด้วยกัน การบูรณาการระหว่างวิชา มี 4 รูปแบบ คือ 2.1 การบูรณาการแบบสอดแทรก 2.2 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน 2.3 การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ 2.4 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา

47 การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก
ครู เป็นการสอนในลักษณะที่ครูผู้สอนในวิชาหนึ่ง สอดแทรกเนื้อหาวิชาอื่นๆ ในการสอนของตน สอน ในวิชา / ต่างวิชา แบบข้ามระดับ / ข้ามวิชา นักเรียน - สอดแทรกเนื้อหาสาระการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ เข้ามาในการเรียนการสอนของตน - ใช้ผู้สอนคนเดียว จุดอ่อนไม่มีผู้สอนเรื่องที่เชียวชาญในทุกสาขาวิชา งาน /โครงการ

48 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน
  เป็นการสอนโดยครูตั้งแต่สองคนขึ้นไปวางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน

49 การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน
ครู ข. ประจำรายวิชานั้น วางแผนร่วมกัน วางแผนร่วมกัน ครู ก. สอน ในวิชา ครู จ. นักเรียน สอนหน่วยการเรียน ที่เกี่ยวข้องกัน แต่ต่างวิชากัน สอนหน่วยการเรียน ที่เกี่ยวข้องกัน แต่ต่างวิชากัน งาน / โครงการ ต่างกัน ของครูแต่ละคน

50 การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ
เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน

51 การสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ
ครู ข. ประจำรายวิชานั้น วางแผนร่วมกัน วางแผนร่วมกัน ครู ก. สอน ในวิชา ครู จ. นักเรียน สอนหน่วยการเรียน ที่เกี่ยวข้องกัน แต่ต่างวิชากัน สอนหน่วยการเรียน ที่เกี่ยวข้องกัน แต่ต่างวิชากัน งาน / โครงการ ต่างกัน ของครูแต่ละคน หลอมรวมเป็นงาน / โครงการเดียวกัน

52 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือสอนเป็นคณะ
เป็นการสอนที่ครูผู้สอนวิชาต่างๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม มีการวางแผน ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอดหรือปัญหาร่วมกัน แล้วร่วมกันสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกัน

53 การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือสอนเป็นคณะ
ครู ข. ประจำรายวิชานั้น วางแผนร่วมกัน วางแผนร่วมกัน ครู ก. สอน ในวิชา ครู จ. นักเรียน สอนหน่วยการเรียน ที่เกี่ยวข้องกัน แต่ต่างวิชากัน สอนหน่วยการเรียน ที่เกี่ยวข้องกัน แต่ต่างวิชากัน งาน / โครงการ เดียวกัน

54 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
6. การประเมินปรับปรุงและพัฒนาการสอน 1. กำหนดเนื้อเรื่องที่จะสอน ขั้นตอนการเรียน การสอนแบบบูรณาการ 2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 5. ปฏิบัติการสอน 3. กำหนดเนื้อหาย่อย 4. วางแผนการสอน

55 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
1. กำหนดเรื่องที่จะสอน โดยการศึกษาหลักสูตรและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน  เพื่อนำมากำหนดเป็นเรื่องหรือปัญหาหรือความคิดรวบยอดในการสอน

56 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยการศึกษาจุดประสงค์ของวิชาหลักและวิชารองที่จะนำมาบูรณาการและกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ในการสอน สำหรับหัวเรื่องนั้น ๆ เพื่อการวัดและประเมินผล

57 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
3. กำหนดเนื้อหาย่อย     เป็นการกำหนดเนื้อหาหรือหัวเรื่องย่อย ๆ สำหรับการเรียนการสอนให้สนองจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้     

58 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
4. วางแผนการสอน       เป็นการกำหนดรายละเอียดของการสอนตั้งแต่ต้นจนจบ โดยการเขียนแผนการสอน/แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกับแผนการสอนทั่วไป คือ สาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล

59 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
5. ปฏิบัติการสอน         เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการสอน รวมทั้งมีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ความสอดคล้อง สัมพันธ์กันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ผลสำเร็จของการสอนตามจุดประสงค์ ฯลฯ  โดยมีการบันทึกจุดเด่น จุดด้อย ไว้สำหรับการปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

60 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
6. การประเมินปรับปรุงและพัฒนาการสอน           เป็นการนำผลที่ได้บันทึก รวบรวมไว้ในขณะปฏิบัติการสอน มาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการสอนแบบบูรณาการการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

61

62 ตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ตามเอกสารที่แสดง แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นแกนกลางบูรณาการ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วันขึ้นปีใหม่ โรงเรียนบ้านกรูดหนองออก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1

63 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2
การจัดกิจกรรมการเรียนแบบบูรณาการตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

64 Great Lesson Ideas: Primary Cross Curriculum-Making Bags
ตัวอย่างวิดีโอ Great Lesson Ideas: Primary Cross Curriculum-Making Bags หลักสูตรผสมผสานระดับประถม-ประดิษฐ์กระเป๋า

65 Primary Cross Curriculum-Making Bags

66 การจัดการเรียนการสอน
แบบทักษะกระบวนการ

67 การจัดการเรียนการสอนแบบกระบวนการ
ทักษะกระบวนการ ทักษะพิสัย จิตพิสัย พุทธิพิสัย พุทธิพิสัย -มุ่งให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเนื้อหา ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด จิตพิสัย -มุ่งพัฒนาให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ทักษะพิสัย -มุ่งให้พัฒนาความสามารถ ด้านการปฏิบัติ การกระทำ การแสดงออก ทักษะกระบวนการ -มุ่งเน้นพัฒนาทักษะกระบวนการ วิธีดำเนินการต่างๆ เช่น กระบวนการทางสติปัญญา การสืบสอบความรู้ การคิดแบบต่างๆ

68 การจัดการ เรียนการสอน กระบวนการสร้าง ความคิดรวบยอด ทักษะกระบวนการ
กระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการ การเรียนการภาษา กระบวนการสร้าง ความตระหนัก การจัดการ เรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ และความเข้าใจ กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการสร้าง เจตคติ กระบวนการกลุ่ม

69 กระบวนการเรียนการสอน แบบการสร้างความคิดรวบยอด
สังเกต จำแนกความแตกต่าง หาลักษณะร่วม ระบุชื่อความคิดรวบยอด ทดสอบและนำไปใช้

70 กระบวนการเรียนการสอน แบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
สังเกต อธิบาย รับฟัง เชื่อมโยงความสัมพันธ์ วิจารณ์ สรุป

71 กระบวนการเรียนการสอน แบบการสร้างความตระหนัก
สังเกต วิจารณ์ สรุป

72 กระบวนการเรียนการสอน แบบการปฏิบัติ
สังเกต ทำตามแบบ ทำเองโดยไม่มีแบบ ฝึกให้ชำนาญ

73 กระบวนการเรียนการสอน แบบกระบวนการกลุ่ม
มีผู้นำกลุ่ม วางแผน กำหนดวัตถุประสงค์ วิธีการ รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคน แบ่งหน้าที่ ติดตามผลการปฎิบัติ และปรับปรุง ประเมินผลรวม และชื่นชมผลงานของคณะ

74 กระบวนการเรียนการสอน แบบการสร้างเจตคติ
สังเกต วิเคราะห์ สรุป

75 กระบวนการเรียนการสอน แบบการเรียนรู้ และความเข้าใจ
สังเกต และตระหนัก วางแผนปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติ พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ สรุป

76 กระบวนการเรียน การสอนแบบการเรียนภาษา
ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ สร้างความคิดรวบยอด สื่อความหมาย ความคิด พัฒนาความสามารถ

77 กระบวนการเรียนการสอน แบบทักษะกระบวนการ
ตระหนัก วิเคราะห์ปัญหา สร้างทางเลือก ประเมิน และเลือกทางเลือก กำหนด และลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติ ปฏิบัติด้วยความชื่นชม ประเมินระหว่างปฏิบัติ ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ประเมินผลรวม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ

78 กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3
การจัดกิจกรรมการเรียนแบบกระบวนการตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

79 KS3 Art and Design :The New Curriculum
ตัวอย่างวิดีโอ KS3 Art and Design :The New Curriculum มัธยมศึกษาตอนต้น ศิลปะและการออกแบบ หลักสูตรใหม่

80 KS3 Art and Design :The New Curriculum


ดาวน์โหลด ppt โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการสอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google