ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยLídia Vörös ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) โดย นายปรีชา รุ่งรัตน์
2
หลักการและความเป็นมา
หัวข้อการบรรยาย หลักการและความเป็นมา การดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ประโยชน์ของอุตสาหกรรมสีเขียว
3
หลักการและความเป็นมา
5
แนวโน้มกระแสสีเขียว นโยบายรัฐบาลและของประเทศ เรื่อง Green GDP / Green Economy ปฏิญญาโจฮันเนสเบิร์ก ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน(Johannesburg Declaration on Sustainable Development) [ปี 2545] ปฏิญญามะนิลา ว่าด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว (Manila Declaration on Green Industry in Asia) [ปี2552]
7
กรอบวิสัยทัศน์และเป้าหมาย(ร่าง)แผน ฯ 12 มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ก่อนที่จะกล่าวถึงวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ขอกล่าวถึงกรอบแนวคิดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 12 ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคมปี 2559 โดยที่แผน 12 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่บอกว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” โดยหากถอดรหัสจากกรอบวิสัยทัศน์ของแผน 12 จะเห็นว่า รัฐบาลต้องการเห็นประเทศไทยมีการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ก็รับนโยบายและแนวคิดดังกล่าวมาปฏิบัติแล้วเช่นกัน จะเห็นได้จาก การปรับขั้นตอนการอนุญาตโรงงาน เหมืองแร่ และการมาตรฐาน ให้สะดวกรวดเร็ว เป็นการอำนวยความสะดวกต่อประชาชนและนักลงทุน นอกจากนี้ยังปรับแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่เน้นเพิ่มนวัตกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ และใส่ใจต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาดและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมของไทย แหล่งข้อมูล : สศช. (2558)
9
“อุตสาหกรรมสีเขียว หมายถึง อุตสาหกรรมที่ยึดมั่น
“อุตสาหกรรมสีเขียว หมายถึง อุตสาหกรรมที่ยึดมั่น ในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความรับผิดชอบ ต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน”
10
นิยามและหลักการ Green Industry Continuous Improvement
Quality & Efficiency Continuous Improvement Sustainable Development Green Industry Corporate Social Responsibility Sufficiency Economy & Environmental Concern Social Concerns
11
ลำดับขั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว โรงงานแสดงหลักฐานยืนยันตนเอง
ตรวจประเมิน โรงงานแสดงหลักฐานยืนยันตนเอง เครือข่ายสีเขียว : เป็นไปตามข้อกำหนด ในระดับที่ 4 : สานสัมพันธ์ครอบคลุม ทั้งห่วงโซ่อุปทาน : จัดทำรายงานและเผยแพร่สานสัมพันธ์ ด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมสีเขียว : เป็นไปตามข้อกำหนดในระดับที่ 3 : สร้างวัฒนธรรมด้านสิ่งแวดล้อม : รายงานผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมต่อสาธารณะ ระบบสีเขียว : นโยบายสิ่งแวดล้อม : การวางแผน (P) : การนำไปปฏิบัติ (D) : การติดตาม ประเมินผล (C) : การทบทวนและรักษาระบบ (A) ปฏิบัติการสีเขียว : กำหนดนโยบาย : จัดทำแผนงาน : นำแผนงานไป ปฏิบัติให้เกิด ประสิทธิผล ความมุ่งมั่นสีเขียว : กำหนดนโยบาย ด้านสิ่งแวดล้อม
12
การดำเนินงาน ของกระทรวงอุตสาหกรรม
13
การบูรณาการโครงการต่างๆ ของ อก.
CSR for beginner (กรอ.) การบูรณาการโครงการต่างๆ ของ อก. Green Logistic (กพร.) ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว (สมอ.) ประชาสัมพันธ์ ธงขาวดาวเขียว (กนอ.) CSR-DIW (กรอ.) ตรวจประเมิน สร้างเครือข่าย Lean Manufacuring (กสอ.) โรงงานดีเด่นด้านสิ่งแวดล้อม/พลังงาน ตรวจประเมิน Green Supply Chain ลงนาม ความตกลงร่วม ES for SE (กรอ.) EMS for SME ขั้นที่ 2 (กรอ.) CSR (ตามแนวทาง ISO 26000) Clean Technology (กรอ.) ส่งเสริมใช้น้ำอ้อย น้ำเชื่อม ผลิตเอทานอล (สอน.) ใบรับรอง ISO 14001 พัฒนา เทคฯ การจัดการของเสีย รง.อาหารสัตว์ (กรอ.) ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ ความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้ ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือ การแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวรวมตลอดถึงการได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียกับโรงงาน (Stakeholder) MOU รักแม่รักษ์แม่น้ำ (สปอ.)
14
25,946 เป้าหมายการพัฒนาสถานประกอบการ สู่อุตสาหกรรมสีเขียว
สถานการณ์การพัฒนาสถานประกอบการ สู่อุตสาหกรรมสีเขียว 37 25,946 285 4,350 5,705 15,078 ที่มา : ข้อมูลจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นข้อมูลปีงบประมาณ เช่น ปี 2560 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ 2559 – 30 กันยายน พ.ศ 2560 14 * 50% ของจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
15
เป้าหมายการพัฒนาสถานประกอบการ สู่อุตสาหกรรมสีเขียว
สถานการณ์อุตสาหกรรมสีเขียวของ จังหวัดระยอง 18 1,391 86 616 313 358 ที่มา : ข้อมูลจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง (ธันวาคม 2560)
16
ประโยชน์ของอุตสาหกรรมสีเขียว
17
ประโยชน์ที่ได้รับ ลดข้อร้องเรียนจากผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงาน
ลดความเสี่ยงในการรับผิดชอบในอนาคต เกิดภาพลักษณ์ และทัศนคติที่ดีต่ออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ดีและการยอมรับระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนที่อยู่โดยรอบ คนงานมีความปลอดภัยและมีความสุขกับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดี ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ประหยัดต้นทุน สร้างโอกาสในการแข่งขัน เพิ่มการยอมรับสินค้าของไทยในตลาดต่างประเทศ สร้างโอกาสทางการตลาด โดยเน้นประเด็น “สีเขียว” ของผลิตภัณฑ์และกระบวน การผลิต ทำให้เกิดธุรกิจใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อม
18
สิทธิประโยชน์ ทางอ้อม สิทธิประโยชน์ ในอนาคต
การประชาสัมพันธ์ความสำเร็จ ในการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว การใช้ตราสัญลักษณ์ Green Industry Mark เชิงการค้า การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ต่อการจัดทำนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานเครือข่าย Green Loan กู้เงินดอกเบี้ยต่ำ Green Directory จักทำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Product) Green Procurement กระตุ้นให้เกิดตลอดสำหรับสินค้าสีเขียว Green Consumption ส่งเสริมการบริโภคสินค้าสีเขียว สิทธิประโยชน์ ในอนาคต
19
Thank you for your attention
จบการนำเสนอ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ………………………………………. Thank you for your attention โครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2559
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.