งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อาจารย์ไชยรัตน์ ศิรินคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อาจารย์ไชยรัตน์ ศิรินคร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อาจารย์ไชยรัตน์ ศิรินคร
ปัญหาสังคมไทย Social Problems อาจารย์ไชยรัตน์ ศิรินคร

2 ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาสังคม
โลกมีการเปลี่ยนแปลง ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการ การพยายามเอาชนะธรรมชาติ สิ่งอำนวยความสะดวก เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สมดุลกัน ปัญหาสังคม (Social Problems)

3

4 ความหมายของปัญหาสังคมตามทัศนะนักวิชาการ ด้านสังคมศาสตร์
ความหมายของปัญหาสังคมตามทัศนะนักวิชาการ ด้านสังคมศาสตร์ Paul B. Horton and Gerald R.Leslie ได้อธิบายความหมายของปัญหาสังคมไว้ว่า “ปัญหาสังคมถือภาวะที่มีผลกระทบกระเทือนต่อบุคคลที่มีจำนวนมากพอและภาวะดังกล่าวไปเป็นที่พึงปรารถนาของปวงชน และควรจะมีการกระทำร่วมกันบางประการ เพื่อแก้ไขสภาวะที่เกิดขึ้นนั้น” Earl Raab and Gertrude J.Selznick ได้อธิบายว่า “ปัญหาสังคมเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนาขั้นพื้นฐานอันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ถ้าหากสังคมไม่สามารถจัดบริการเหล่านี้ได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง จะทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น”

5 สรุปความหมายของปัญหา
“ปัญหาสังคมเป็นสภาวการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อบุคคลจำนวนหนึ่งซึ่งมากพอสมควรในสังคม บุคคลเหล่านี้ไม่ต้องการให้เกิดภาวการณ์เช่นนี้ หากว่ามีสภาวการณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นแล้วมีความรู้สึกว่าควรแก้ไขในรูปของการกระทำร่วมกันทางสังคม เพื่อให้ปัญหานั้นหมดไป”

6 ลักษณะของปัญหาสังคม เป็นสถานการณ์ / ภาวะการณ์ที่มีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก
สภาวการณ์นั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่พึงปรารถนา บุคคลจำนวนหนึ่งซึ่งมีจำนวนมากพอเกิดความรู้สึกว่าควรจะมีการกระทำบางอย่างเพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงหรือคิดว่ามีทางที่พอจะแก้ไขได้ การแสดงออกในรูปของการกระทำร่วมกันทางสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาให้บรรเทาเบาบางลงหรือดีขึ้น

7 จุดประสงค์ในการศึกษาปัญหาสังคม
การตระหนัก (Awareness) รู้ข้อเท็จจริงของปัญหา (Factual Knowledge) เข้าใจสภาพของสังคมที่เป็นปัญหา (Understanding of Sociology of Social Problems) ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ (Relations of Theory and Practice) การมองปัญหาอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม รู้จักใช้ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม การอบรมเป็นรายบุคคล

8 การตระหนักถึง (Awareness)
การตระหนักถึงปัญหาสังคมจะช่วยให้สมาชิกของสังคมเห็นความสำคัญ ความจำเป็นของการศึกษาปัญหาสังคมเพื่อจะได้สามารถตัดสินปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างมีเหตุผลยิ่งขึ้น ดังนั้น ก่อนที่จะตระหนักถึงปัญหาสังคมก็ควรจะรู้ว่าอะไรเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญ ๆ เสียก่อน เพราะการทราบปัญหาอย่างน้อยจะช่วยให้เกิดความสังเกต ซึ่งแต่เดิมอาจจะมองข้ามไป จากการสังเกตทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาและสามารถตัดสินใจได้

9 รู้ข้อเท็จจริงของปัญหา (Factual Knowledge)
จุดประสงค์อีกประการหนึ่งของการศึกษาปัญหาสังคม คือ การรู้ข้อเท็จจริงของปัญหา เพราะการรู้ข้อเท็จจริงของปัญหาที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาสังคมได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและมีเหตุผล

10 เข้าใจสภาพของสังคมที่เป็นปัญหา (Understanding of Sociology of Social Problems)
การศึกษาปัญหาสังคมก็เพื่อให้เข้าใจสภาพของสังคมที่เป็นปัญหาว่าโดยทั่วไปแล้วปัญหานั้นเกิดจากอะไร มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมคนบางกลุ่มจึงได้รับความกระทบกระเทือน มีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ความรู้ทั่วไปเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจได้ดีว่า ควรจะเก็บรวบรวมข้อมูลใดและช่วยให้แปลความหมายของข้อมูลได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น ทำให้เป็นผู้ที่มีความคิดทันต่อเหตุการณ์แม้ข้อมูลที่ได้มาจะไม่มีประโยชน์ในเวลาต่อมา แต่ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจสภาพของสังคมที่เป็นปัญหาก็ไม่เป็นการยากที่จะตีความหมายของข้อมูลใหม่ และเข้าใจถึงวัฒนาการที่เกิดขึ้นใหม่

11 ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ (Relations of Theory and Practice)
โดยปกติแล้วทฤษฎีและการปฏิบัติจะแยกจากกันไม่ได้ นโยบายในการปฏิบัติทุกนโยบายมักจะมาจากทฤษฎีบางทฤษฎี และในแต่ละทฤษฎีก็มีทั้งการควบคุมและการบำบัดบางอย่างในตัวของมันเอง ในการที่จะนำเอาทฤษฎีมาใช้ต้องศึกษาทฤษฎีนั้นให้ละเอียดเพื่อทราบข้อเท็จจริง ตลอดจนวิธีการปฏิบัติว่าควรจะออกมาในรูปใด หากจะนำเอาไปใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นจะเหมาะสมหรือไม่ ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจหรือไม่ เป็นต้น

12 การมองปัญหาอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม
ได้แก่การมองปัญหาอย่างลึกซึ้งตามความเป็นจริง ไม่มองจนเกินความเป็นจริง หรือมองข้ามไปหรือบิดเบือนความเป็นจริง จนทำให้เกิดความหลงผิดในการมองปัญหาอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมนี้ จะต้องอาศัยแนวโน้มในอดีตและปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนวิธีการที่ทำให้สถานการณ์นั้นดีขึ้นกว่าเดิม

13 รู้จักใช้ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม
ในการศึกษาปัญหาสังคม ผู้ศึกษาควรจะได้รู้จักใช้ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม ตรงกับสาขาวิชาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เพราะในสังคมสมัยใหม่จะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เช่น จิตแพทย์ ศัลยแพทย์ กุมารแพทย์ วิศวกร สถาปนิก ทนายความ ครู อาจารย์ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะให้แนวทางว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้ผลตามที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งในบางครั้งผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะผิดพลาดได้ แต่โดยทั่วไปแล้วผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำอธิบาย ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาได้ถูกต้อง ใกล้เคียงและได้ผลมากกว่าความคิดของคนทั่ว ๆ ไป หรือด้วยการเดา

14 การอบรมเป็นรายบุคคล เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างระหว่างบุคคลบางคนอาจจะมองเห็นว่าปัญหาสังคมเป็นเรื่องเศร้า แต่บางคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทำให้ความคิดอ่านหรือความกล้าที่จะทำอะไรบางสิ่งบางอย่าง ส่วนมากคนมักจะเชื่อว่าคนคนเดียวจะจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ ตามความเป็นจริงแล้วเขาต้องยอมรับว่าเราไม่ได้อยู่ในสังคมแต่เพียงคนเดียว การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็เกิดจากความคิดของคนส่วนใหญ่ แม้ว่าคนคนเดียวจะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงนี้เพียงส่วนน้อยก็ตาม แต่ความรู้สึกว่าตนอยู่ข้างที่ถูก อย่างน้อยก็ช่วยให้มีกำลังใจในการพัฒนาสังคม

15 ความเข้าใจผิดกับปัญหาสังคม

16 เป็นสิ่งที่ประชาชนเห็นว่าเป็นปัญหา
เป็นการมองผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าจะพูดถึงสภาวะว่าทำไมเป็นอย่างนั้นเท่ากับคนมองผลเป็นปัญหาแทนที่จะมองสภาวะเป็นปัญหา เช่น ปัญหาการว่างงานเป็นปัญหาแต่ในสายตาของคนบางคน เช่น นายจ้างอาจจะเห็นว่ามีการว่างงานไว้บ้างก็ดี คนงานที่หัวแข็งจะได้ไม่กล้าแข็งข้อหรือปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยพวกนักจัดสรรหมู่บ้านอาจจะเห็นว่าดี เขาจะขายบ้านได้ มนุษย์จึงมักมองอะไรไม่เหมือนกัน แม้คนจำนวนมากจะมองเห็นเป็นปัญหาแต่ในขณะเดียวกันคนอีกจำนวนหนึ่งอาจจะไม่เห็นด้วยจึงเป็นข้อขัดแย้งไม่มีสิ้นสุด

17 ปัญหาสังคมเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติเลี่ยงไม่ได้
เป็นการมองปัญหาสังคมในแง่ของกฎธรรมชาติที่ว่าคนแข็งแรงที่สุดเท่านั้นจึงอยู่รอด คนอ่อนแอจะต้องพ่ายแพ้ไป ซึ่งกฎของการอยู่รอดเหมาะที่จะใช้กับสิ่งที่มีชีวิตอื่น แต่ไม่เหมาะกับมนุษย์ เพราะคนที่แข็งแรงกว่าอาจมีอำนาจน้อยกว่าคนอ่อนแอ ประเทศที่ใหญ่โตไม่จำเป็นต้องชนะหรือมีอำนาจเหนือประเทศเล็กกว่าเสมอไป เช่น สหรัฐอเมริกา กับ เวียดนาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะ มนุษย์มีเรื่องวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี สถาบัน ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการอยู่รอด ในปัจจุบัน คือการทำตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและยิ่งมนุษย์ ฉลาดมากเท่าใดกระบวนการอยู่รอดจะสับสนมากขึ้นเท่านั้น

18 ปัญหาสังคมเป็นเรื่องของความผิดปกติ
ในความเป็นจริงเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับสังคมต่าง ๆ เช่น เรื่องชุมชนแออัดเป็นของธรรมดาหรือเป็นผลิตผลของความเป็นเมืองที่ต้องมีศูนย์การค้า สวนสาธารณะ มีการแย่งกันทำมาหากินหรือการติดยาเสพติด พิษสุราเรื้อรัง โรคจิตเป็นของธรรมดาในสังคมที่มีความกดดัน การแข่งขัน เห็นแก่ตัว ขาดความมั่นคง ความคาดหวังสูง มนุษย์จึงเกิดความกระวนกระวาย หาทางออกด้วยวิธีดังกล่าว ไม่มากก็น้อยจะเห็นได้ว่าสังคมยิ่งซับซ้อน อัตราการหย่าร้างยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ปัญหาสังคมจึงเป็นเรื่องของเหตุผลพอจะเข้าใจได้เป็นผลผลิตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของค่านิยมและการปฏิบัติในสังคมปัจจุบัน บางทีเราแม้จะเข้าใจ แต่ก็อาจจะทำอะไรไม่ได้

19 ปัญหาสังคมเกิดจากคนเลว
เป็นการเข้าใจผิดอย่างมาก หากคนเรามองปัญหาในแง่ของความดีกับความเลว เป็นการมองอาการหรือผลมากกว่าสาเหตุ เช่น คนมันเลวถึงได้เป็นโจร คนมันไม่ดีจึงต้องสอบตก เป็นต้น ถ้าเป็นนิทาน/ นิยาย พระเอกต้องชนะผู้ร้าย จึงทำให้เรามองแต่ความดีกับความเลว ซึ่งเป็นผล ควรดูสาเหตุมากกว่าและแก้ที่สาเหตุ อย่าสรุปที่ผล เช่น คนเมาสุราและตกงาน บางคนอาจจะคิดว่า เพราะดื่มสุราจึงตกงานแทนที่จะมองว่าเพราะเขาว่างงานจึงดื่มสุรา

20 ปัญหาสังคมเกิดจากการพูดถึง
ปัญหาสังคมเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เกิดจากการพูดลอย ๆ เช่น ปัญหาความยากจน โสเภณี มลพิษและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การพูดเรื่อย ๆ นั้นจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะคนเรามักจะพูดอะไรเกินความจริง ทำให้เกิดความตื่นเต้น ปกติมนุษย์มีสัญชาตญาณที่สนใจเรื่องบันเทิงมากกว่าปัญหาสังคมหรือความยากแค้นต่าง ๆ และพูดลอยๆ ให้ใครเชื่อได้นั้นยากมาก นอกจากปัญหานั้นจะกระทบกระเทือนบุคคลอย่างจริงจังหรือขัดกับความเชื่อหรือค่านิยมของเขาและกลุ่ม เรื่องนั้นจะกลายเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป เพราะคนส่วนใหญ่ไม่สนใจปัญหาสังคมเท่าไรนัก จึงไม่อยากจะพูดอะไรที่ไม่เกี่ยวกับตัวหรือบางคนไม่อยากพูด แม้รู้ว่าเป็นปัญหาก็เพราะไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลง ไม่อยากให้มีการแก้ปัญหาเพาะตนได้ประโยชน์อยู่แล้วจึงวางเฉย

21 ทุกคนอยากให้มีการแก้ปัญหา
เป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะเหมือนกันจึงต้องดูจำนวนมากที่ต้องการให้แก้ปัญหา และปัญหาบางอย่างถ้าดูให้ถ่องแท้แล้ว จะมีคนจำนวนน้อยที่อยากให้แก้ปัญหา ไม่พอใจที่จะแก้ปัญหานั้น เพราะตนได้หรือเสียประโยชน์ เช่น ปัญหารถประจำทางไม่พอ คนบางกลุ่มอยากให้มีสภาพนี้เพราะตนได้รายได้โดยไม่ต้องเสียภาษี หรือขอสัมปทาน เป็นต้น

22 ปัญหานั้นจะแก้ได้ด้วยตนเอง
ปัญหาส่วนใหญ่จะแก้ด้วยตนเองไม่ได้ เป็นการให้รู้จักอดทนหรือเป็นข้ออ้างเพื่อจะได้ไม่ต้องทำอะไรเลย หรือปล่อยให้ตนเอง เป็นการเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหลักที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับ เช่น ปัญหาการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศของไทยหากไม่มีมาตรการแก้ไขดุลการค้าที่เหมาะสม ดุลการค้าจะได้ดุลในตัวของมันเองยากมากเราคงเสียเปรียบมากขึ้นหรือปัญหาการจราจรติดขัด ถ้าปล่อยให้มีการแก้ด้วยตัวของมันเอง การจราจรก็จะติดขัดมากขึ้น หากไม่มีการปรับถนนให้พอกับจำนวนรถ การคิดว่าปัญหาแก้ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นการมองปัญหาแบบไม่ยอมรับความเป็นจริงและไม่บังเกิดผล ซึ่งบางปัญหาหากทิ้งไว้โดยไม่แก้ไข นาน ๆ เข้าอาจทำให้ปัญหานั้นเลวร้ายลงได้ เช่น ปัญหาการเพิ่มประชากร ปัญหามลพิษ ปัญหาอาชญกรรม เป็นต้น

23 การได้ข้อเท็จจริงจะช่วยแก้ปัญหา การได้ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็น หลักประกันว่าอาจแก้ปัญหาได้
ถึงแก้ได้ก็น้อยมาก เพราะแต่ละคนยึดค่านิยมคนละอย่างและได้รับผลประโยชน์ต่างกัน เราต้องยอมรับว่าถ้าไม่มีข้อเท็จจริงก็แก้ปัญหาได้ยาก และข้อเท็จจริงจะมีความหมายต่อเมื่อมีการแปลให้ตรงกับค่านิยม ถ้าค่านิยมตรงกันเหมือนกัน ข้อเท็จจริงก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้แต่สังคมที่มีค่านิยมต่างกันหรือขัดกัน ข้อเท็จจริงก็ไม่มีความหมาย สรุป การได้ข้อเท็จจริงมีประโยชน์ เพราะช่วยให้เข้าใจ ปัญหาได้ดีขึ้นหรือช่วยแก้ปัญหาได้ หากเรามีการรวบรวมข้อเท็จจริงอย่างระมัดระวัง เช่น การรวบรวมสถิติเกี่ยวกับนักเรียนที่ไม่มีอาหารกลางวันสถิติการให้ความช่วยเหลือของกรมประชาสงเคราะห์ สภาสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ จะทำให้ได้ข้อเท็จจริงว่า คนยากจนมีจำนวนมากในกรุงเทพฯ และรัฐ ควรจะให้ความช่วยเหลืออย่างไร

24 ปัญหานั้นขจัดได้โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนสถาบันบางอย่าง
ปัญหาสังคมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอันขาด ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถาบันสังคมบางอย่างหรือมีการเปลี่ยนแปลงด้านปฏิบัติ ถ้าเราเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาไม่มีเปลี่ยนแปลงสถาบันก็เหมือนกับว่าเราอยากไปต่างประเทศแต่เราไม่เคยออกนอกประเทศเลย อยากมีงานทำแต่ไม่ยอมทำงาน ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงสถาบัน เปลี่ยนการปฏิบัติในปัจจุบันเช่นปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง จะต้องแก้เรื่องค่านิยมเงินเดือน การแก้ปัญหาการว่างงานจะต้องแก้เรื่องบรรยากาศในการลงทุน การผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของตลาด การแก้ปัญหาความมักง่ายเห็นแก่ตัว ต้องแก้ที่สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว เป็นต้น

25 สาเหตุของปัญหาสังคม ปัญหาสังคมเกิดจากปัจจัยหลายอย่างการที่จะเข้าใจถึงปัญหาสังคมเราจะสนใจเฉพาะปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้ จะต้องตรวจสอบหลายๆ ปัจจัย ในการพิจารณาสาเหตุของปัญหาสังคมอาจพิจารณาได้ดังนี้คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเสียระเบียบของสังคมหรือภาวะสังคมพิการ บุคลิกภาพ

26 ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม

27 ประชากรเพิ่ม การที่ประชากรเพิ่มขึ้นเช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมาทั้งด้านครอบครัว สังคมและส่วนตัวเด็กเอง เช่นหากพิจารณาในแง่ของครอบครัว เมื่อครอบครัวมีบุตรเพิ่มขึ้น บิดามารดาก็จะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจึงต้องหารายได้มาให้พอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น หากพิจารณาด้านสังคม สังคมจะต้องหาสถานที่ศึกษาเล่าเรียนให้กับผู้เยาว์ที่มีจำนวนมาก จะต้องผลิตครูเพิ่มขึ้น ถ้าหากมีไม่พอผู้เยาว์/เด็กที่เพิ่มก็จะขาดโอกาสในการศึกษา กลายเป็นคนด้อยการศึกษา ขาดความรู้ ความสามารถ คิดไม่เป็น ทำไม่เป็นและแก้ปัญหาไม่เป็น อาจรวมกลุ่มกันกระทำความผิดหรือก่อความเดือดร้อนแก่ตัวเอง ครอบครัวและสังคมได้

28 การกลายเป็นอุตสาหกรรม
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการและวิธีการผลิต การเปลี่ยนแปลงเรื่องความเป็นเจ้าของและการควบคุมโดยการรวมทุนเข้าเป็นรูปบริษัท

29 การอพยพเคลื่อนย้าย ได้มีผู้คนอพยพเคลื่อนย้ายจากถิ่นที่อยู่เดิมไปยังที่อยู่ใหม่ โดยเฉพาะผู้คนจำนวนมากที่อพยพจากชนบทเข้ามาทำงานในเมืองและนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมมีมากขึ้น ทางด้านการเกษตรได้เริ่มนำเครื่องจักรกลมาใช้แทนคนทำให้คนส่วนหนึ่งว่างงาน ต้องอพยพเข้ามาทำงานในโรงงานแทน

30 เมืองและสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมืองมีการแข่งขันกันสูงมาก ผู้คนต้องตื่นตัวและปรับตัว

31 ค่านิยม กระแสของสังคมทำให้ผู้คนยึดค่านิยมที่ผิด ๆ แตกต่างไปจากเดิม
ทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำสินค้าเลียนแบบหรือปลอมปน ค้าของผิดกฎหมาย เล่นการพนัน เป็นโสเภณี

32 ปัญหาที่เกิดจากเทคโนโลยี/เทคนิควิทยา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/เทคนิควิทยาได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนใน สังคมได้อย่างมาก ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ที่รุนแรงเนื่องจากความปรารถนาที่จะได้รับการบำบัดความต้องการของตนในด้านวัตถุ ปรากฏการณ์เช่นนี้กลายเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงสถาบันต่าง ๆ ในสังคมให้สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้บรรลุความต้องการของตนได้อย่างเหมาะสม

33 การเสียระเบียบสังคม หรือภาวะสังคมพิการ

34 ความหมาย : เสียระเบียบหรือภาวะสังคมพิการ
สังคมที่เสียระเบียบหรือภาวะสังคมพิการคือสังคมที่ไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกของสังคมให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของสังคมที่วางไว้ ความเป็นระเบียบที่ไม่ได้จากการใช้อำนาจแต่เป็นการยอมรับกฎเกณฑ์ร่วมกัน การเสียระเบียบของสังคมหรือภาวะสังคมพิการเกิดจาก ความล้มเหลวของกลุ่มจารีตประเพณี ความขัดแข้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหวัง

35 Robert K.Merton (Merton : 1971)
ได้กล่าวถึงโครงสร้างของสังคมบางอย่างที่ก่อให้เกิดความกดดันและความขัดแย้งต่อบุคคลในกลุ่มสังคม จนทำให้พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกมาไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสังคม ก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบในสังคม โดยมีตัวแปรที่สำคัญ 2 ตัว คือ 1. จุดหมายปลายทางทางวัฒนธรรม (Cultural Goals) ที่สังคมในขณะนั้นยึดมั่นและนำไปปฏิบัติร่วมกัน 2. วิธีการต่าง ๆ ที่สังคมได้กำหนดไว้ให้บุคคลได้ปฏิบัติตาม (Institutionalized Means)

36 แบบแผนการปรับตัว จุดหมายปลายทาง วิธีการ + - ±
การปฏิบัติตาม แหวกแนว เจ้าระเบียบพิธี หนีโลก ขัดขืนหรือท้าทาย + - ความหมายของสัญลักษณ์ + หมายถึง การยอมรับ - หมายถึง การปฏิเสธ / ไม่ยอมรับ ± หมายถึง การไม่ยอมรับสิ่งที่มีอยู่และใช้สิ่งใหม่แทน

37 บุคลิกภาพหรือพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
บุคลิกภาพจะเป็นไปในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น ส่วนบุคลิกภาพที่เป็นปัญหาคือ บุคลิกภาพที่ทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ซึ่งบุคลิกภาพที่แสดงออกมานั้น อาจจะเป็นการชดเชยหรือบำบัดความต้องการทางอารมณ์ของบุคคลนั้น

38 ลักษณะทั่วไปของปัญหาสังคม
ปัญหาสังคมมีเหตุมาได้หลายทาง สาเหตุของปัญหาสังคมนั้นอาจจะไม่รู้เลยก็ได้ หรือควบคุมไม่ได้เลยก็ได้ การแก้ไขหรือปรับปรุงปัญหาสังคมนั้น อาจทำให้เกิดผลได้หลายประการ บางทีเป็นผลที่ไม่คาดกันมาก่อนว่าจะเป็นได้เช่นนั้น ปัญหาสังคมมีส่วนสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ปัญหาสังคมย่อมมีผลแตกต่างกันไปถึงผู้คนในกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ปัญหาทั้งหลายทางสังคมนั้น มักคาบเกี่ยวกันเสมอ แยกไม่ได้เด็ดขาดว่าเป็นเรื่องนั้นเรื่องนี้โดยเฉพาะ ปัญหาสังคมอาจเกิดขึ้นด้วยวิธีควบคุมทางสังคม คนเราเพียงคนเดียวนั้น ไม่มีทางป้องกันตัวให้พ้นจากอิทธิพลของปัญหาสังคมได้

39 การวัดความรุนแรงของปัญหาสังคม
การวัดแบบวัตถุวิสัย (Objective approach) เป็นการวัดจากพฤติกรรมที่แสดงออกโดยไม่นำเอาความคิดหรือความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การวัดแบบจิตวิสัย (Subjective approach) เป็นการวัดโดยดูจากแนวความคิดของบุคคล ในบางครั้งเรามักจะวัดความรุนแรงของปัญหาสังคมด้วย การใช้ความรู้สึกและค่านิยมส่วนตัวเป็นหลัก มากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับการดูสถิติ

40 สภาพของปัญหาสังคมไทย

41 กระแสโลกที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย
กระแสการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและเสรีนิยม กระแสวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระแสข้อมูลข่าวสาร

42 สภาพปัญหาสังคมของสังคมไทย
ฝ่ายสามีรู้สึกผิดหวังในตัวภรรยา เนื่องจาก ภรรยาชอบพูดจาค่อนแคะเปรียบเปรย ภรรยาชอบมีอำนาจเหนือ วางอำนาจ ไม่ให้เกียรติ ภรรยาเห็นแก่ตัว ไม่เอาใจใส่สามีและลูก ภรรยาขี้บ่น จู้จี้ ภรรยาชอบเจ้ากี้เจ้าการทั้งในเรื่องส่วนตัวและการงานของสามี ภรรยาสกปรก สะเพร่า ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นแม่บ้านที่ดี ภรรยาเจ้าอารมณ์ ภรรยาพูดจาไม่ไพเราะอ่อนหวาน ภรรยาไม่จริงใจ ไม่ซื่อ ชอบหลอกลวง ภรรยาเฉื่อยชาจนเกินไป ภรรยามีข้อบกพร่องในเรื่องเพศ

43 ฝ่ายภรรยารู้สึกผิดหวังในตัวสามี เนื่องจาก
สามีเห็นแก่ตัว สามีไม่ประสบผลสำเร็จในการงาน สามีไม่ซื่อ สามีไม่เอาใจใส่ในภรรยาและลูก สามีขี้บ่น สามีพูดไม่รู้เรื่อง เอาแต่ใจหรือนึกถึงแต่ตัวเอง สามีโกรธง่าย ใจน้อย ไม่ให้เกียรติ สามีพูดจาหยาบคาย ไม่ให้เกียรติ สามีไม่สนใจบ้าน สามีเฉยเกินไป จนไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไร สามีมีข้อบกพร่องในเรื่องเพศ

44 สาเหตุของความตึงเครียดในครอบครัว
บทบาทของคู่สมรส ชั้นของสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างเขยและสะใภ้ ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของภรรยา แบบของความประพฤติ

45 การขัดกันในครอบครัวเกิดจาก
การขัดกันโดยทางส่วนตัว การขัดกันด้านสังคม

46 ขยะมูลฝอย

47 ปัญหาขยะมูลฝอย “ขยะมูลฝอย” หมายถึง บรรดาสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของแข็ง จะเน่าเปื่อยได้หรือไม่ก็ตาม รวมตลอดถึง เถ้า ซากสัตว์ มูลสัตว์ ฝุ่นละอองและเศษวัสดุที่ทิ้งจากบ้านเรือน โรงงานอุตสาหกรรม ยกเว้นอุจจาระและปัสสาวะของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูลที่ต้องการเก็บและการกำจัดที่แตกต่างไปจากขยะมูลฝอย

48 ชนิดและแหล่งที่มาของขยะ

49 ขยะสด (Garbage)

50 ขยะมูลฝอยแห้ง หรือมูลฝอยที่เน่าเปื่อยได้ยาก (Rubbish)

51 เถ้า (Ashes)

52 แหล่งกำเนิดขยะ

53 แหล่งชุมชน

54 แหล่งอุตสาหกรรม

55 แหล่งเกษตรกรรม

56 ผลกระทบของขยะมูลฝอย

57 วิธีกำจัดขยะ การทำปุ๋ยหมัก การเผา การใช้เตาเผาแบบไร้ควัน วิธีฝังกลบ

58 ปัญหายาเสพติดให้โทษ

59 ความหมายของ “ยาเสพติด”
ความหมายของ “ยาเสพติด” องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษว่า “ยาเสพติดให้โทษ ได้แก่ ยาที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในการที่จะได้เสพต่อไปโดยไม่สามารถจะหยุดเสพได้ และจะเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจต่อไป”

60 ลักษณะของผู้ติดยาเสพติด
ผู้ติดยาเสพติด คือ ผู้ที่เริ่มเสพยาเสพติดแล้วติด เกิดความพึงพอใจที่จะเสพ ติดต่อกันและทำให้เกิดการดื้อยาขึ้น จำเป็นต้องใช้ยารุนแรงขึ้น เรื่อย ๆ จนกระทั่งร่างกาย จิตใจ ต้องตกเป็นทาสของมัน จะเลิกก็ไม่ได้ เพราะทุกข์ทรมานมาก จึงต้องพึ่งยาอยู่ตลอดเวลา ลักษณะของผู้ติดยาเสพติด มีความต้องการที่รุนแรง พยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้ยามา มีแนวโน้มที่จะเสพเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ อาจออกมาในรูปของการกิน ฉีด ดูด ทำให้จิตใจและร่างกายต้องพึ่งพายาเสพติด

61 ประเภทของยาเสพติด ยาเสพติดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
แบ่งตามฤทธิ์ของยาที่มีต่อระบบประสาท ยากดประสาท (Depressant) ยากระตุ้นประสาท (Stimulate) แบ่งตามแหล่งเกิดของยา ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural drugs) ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic drugs)

62 ยาเสพติดที่แพร่หลาย ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟทามีน
บาร์บิทูเรต ยาหลอนประสาท ยาบ้า ยาอี ยาอื่น ๆ เคทาวา ไนตรัสออกไซด์ ยาลดความอ้วน หรือ สปีด (Speed) เม็กซิกัน แวเลียม

63 วิธีการสังเกตผู้ติดยา
สามารสังเกตได้ 2 อย่างคือ อาการทั่วไปของการติดยา จำแนกอาการติดยาเฉพาะอย่าง

64 สาเหตุของการติดยาเสพติดให้โทษ
สภาพสังคมและเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ด้านอารมณ์

65 ภัยของยาเสพติดให้โทษ

66

67

68

69

70

71

72 การบำบัด มีสถานที่รักษาเรื่องยาเสพติดโดยเฉพาะ และการแนะแนวและติดตามผล

73 การฉ้อราษฎร์บังหลวง (Corruption)

74 ความหมายของการฉ้อราษฎร์บังหลวง
การฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ อิทธิพล และอำนาจที่ตนมีอยู่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง รวมตลอดถึงการเลือกที่รักมักที่ชัง การสนิทสนมฉันญาติพี่น้อง กินสินบน การฉ้อราษฎร์บังหลวง การใช้ระบบอุปถัมภ์ และความยุติธรรมอื่นๆ ที่ข้าราชการหรือบุคคลอื่นใดใช้เป็นเครื่องมือในการลิดรอนความเป็นธรรมและความถูกต้องตามกฎหมายของสังคม

75 สาเหตุของการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ค่านิยม กล่าวคือ ยกย่องเงิน ยกย่องตำแหน่ง ยกย่องวัตถุ การรักพวกพ้อง

76 “การหยอดน้ำมัน” หรือ “ค่าน้ำร้อนน้ำชา”
ความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมกล่อมเกลา ความบกพร่องของผู้บังคับบัญชา กฎหมาย ประชาชนยินยอมพร้อมใจและความไม่เข้าใจของประชาชน “การหยอดน้ำมัน” หรือ “ค่าน้ำร้อนน้ำชา” อิทธิพลของหญิง ขาดมาตรการลงโทษการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือการคอร์รัปชันอย่างเด็ดขาด

77 ผลของการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือการคอร์รัปชัน
ผลของการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือการคอร์รัปชันอาจจะมองได้เป็น 3 ด้าน คือ ด้านรัฐ ด้านข้าราชการ ด้านประชาชน

78 ด้านรัฐ รัฐเสียผลประโยชน์ในหลายกรณี คือ
ด้านรัฐ รัฐเสียผลประโยชน์ในหลายกรณี คือ ไม่มีโอกาสเลือก เกิดระบบสมยอมและหลอกลวง กลุ่มผลประโยชน์ใช้สถานที่ราชการเป็นแหล่งแสวงหาประโยชน์อย่างเป็นทางการ เสื่อมเสียชื่อเสียง ทำลายความมั่นคงและการพัฒนาของประเทศ

79 ด้านข้าราชการ บั่นทอนกำลังใจข้าราชการที่ตั้งใจทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีข้าราชการที่ไม่พึงปรารถนา เกิดระบบทำงานแบบขอไปที

80 ด้านประชาชน เสื่อมศรัทธา เพิกเฉยหรือไม่สนใจ เสียประโยชน์
ไม่ได้รับความเป็นธรรม

81 การแก้ไขการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือการคอร์รัปชัน
ด้านกฎหมาย ด้านข้าราชการ มีระบบหมุนเวียนในการทำงาน มีระบบการกระจายอำนาจ ปรับปรุงเงินเดือนข้าราชการให้สูงขึ้น แสดงหลักฐานการมีทรัพย์สินก่อนเข้ารับราชการและเมื่อออกจากราชการ ให้การศึกษาและปลูกฝังค่านิยมที่ดีแก่ประชาชน ประชาชนและสื่อมวลชนไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตคอร์รัปชัน

82 อัตวินิบาตกรรม

83 การฆ่าตัวตายในทัศนะของสังคมวิทยา
เดอร์กไคม์ได้แบ่งการฆ่าตัวตายออกเป็น 3 ประเภท ฆ่าตัวตายเพราะผูกพันกับส่วนรวมหรือยึดกลุ่มอย่างเหนียวแน่น (Altruistic Suicide) การฆ่าตัวตายที่เกิดจากตัวเอง (Egoistic Suicide) การฆ่าตัวตายเพราะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร้ระเบียบ (Anomic Suicide)

84 แนวโน้มการฆ่าตัวตาย เพศ ศาสนา ครอบครัวแตกแยก สภาพเศรษฐกิจ
โรคภัยไข้เจ็บ อายุมาก ภาวะสงคราม

85 อาการที่ทำท่าอยากฆ่าตัวตาย
หดหู่ นิสัยเปลี่ยน ทำท่าหมดหวัง

86

87

88 ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์

89 เอดส์ มาจากคำว่า AIDS ซึ่งย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome

90 AIDS หมายถึง กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกาย เสื่อมหรือบกพร่อง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ชื่อ HIV (Human Immune-deficiency Virus) เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนแล้ว จะไปทำลายเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของบุคคลนั้นบกพร่อง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย รักษาไม่หาย เป็นโรคเรื้อรัง และในที่สุดก็ตายด้วยโรคเรื้อรังนั้น

91 โรคเอดส์ติดต่อกันได้อย่างไร

92 ทางการร่วมเพศ

93 ทางการถ่ายเลือด

94 ทางการใช้เข็ม และกระบอกฉีดยาร่วมกัน

95 ทางแม่หรือพ่อที่มีเชื้อไวรัสเอดส์ไปสู่ทารกในครรภ์

96 การเปลี่ยนอวัยวะต่าง ๆ

97 การผสมเทียมในรายที่มีลูกยาก

98 การสักผิวหนัง

99 บุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์
กลุ่มสำส่อนทางเพศ กลุ่มผู้ติดยาเสพติด กลุ่มผู้ป่วยโรคเลือด กลุ่มที่รับการถ่ายเลือด ทารกในครรภ์ กลุ่มนักโทษที่มีการร่วมเพศกันเอง ภรรยาหรือคู่นอนของผู้เป็นโรคเอดส์หรือมีเลือดบวกจากเชื้อเอดส์

100 ผลกระทบจากการแพร่กระจายของโรคเอดส์
ปัญหาเศรษฐกิจ ครอบครัวที่มีสมาชิกในวัยแรงงานต้องป่วย และเสียชีวิตด้วยเอดส์จะต้องรับภาระค่าใช้จ่าย ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก เมื่อสังคมและชุมชนใกล้เคียงรู้สึกรังเกียจ ไม่ยอมรับผู้ติดเชื้อ ส่งผลกระทบให้ลูกผู้ติดเชื้อพลอยถูกละเมิดสิทธิพื้นฐานที่เด็กควรจะได้รับ ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ

101 มาตรการป้องกันและแก้ไข
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีการวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาการรักษา ขยายบริการบำบัด รักษา และป้องกันผู้ติดเชื้อ พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร จัดระบบการประสานงานและการบริหารเพื่อการบำบัดรักษา

102 ด้านการศึกษาและสังคม
สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ควรจัดโปรแกรมการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างเร่งด้วนในเรื่องโรคเอดส์ ปรับทิศทางและเป้าหมายในการจัดการศึกษาให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความรู้และส่งเสริมบทบาทของสมาคมครู ผู้ปกครอง ครูแนะแนว และนักวิจัย ให้มีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสภาพเศรษฐกิจและสังคมในระดับครอบครัวให้ดีขึ้น พัฒนาประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคเอดส์ทั้งในด้านสาระและรูปแบบ

103 ด้านอื่น ๆ จัดให้มีการสื่อสารตรง เพื่อให้คำแนะนำ คำปรึกษา และการประสานงานเพื่อการบำบัด รักษา ควรจัดให้มีมาตรฐานการสุขภาพอนามัย จัดให้มีการกฎหมายสถานเริงรมย์ และสถานบริการต่าง ๆ

104 จุดจบของผู้ติดเชื้อเอดส์

105 สภาพภายในวัดอันร่มรื่น

106 บ้านพักหลังน้อยของผู้ป่วย เรียงเป็นแถวปานรีสอร์ท บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ ด้านหลังพิงภูเขา คนปกติแม้มีเงินก็หมดสิทธิ์ที่จะมาอ้อนวอนขอเข้าอยู่อาศัย ต้อนรับเฉพาะผู้ติดเชื้อไร้บ้านเท่านั้น

107 พิพิธภัณฑ์ชีวิต.. บางคนบอกเป็นสุสานที่ไม่มีดินกลบหน้า หลายคนไม่อยากเฉียดเ้ข้าไปใกล้ หลายคนบอกดูแล้วกินข้าวไม่ลง แต่หลายคนก็ได้แง่คิดติดกระเป๋ากลับบ้าน

108 ภาพแรกเป็นเด็กชายอายุเพียง 5 ขวบที่ติดเชื้อเอดส์จากแม่ ส่วนใหญ่ ผู้เป็นแม่จะตายก่อน เด็ก ๆ จะวิ่งเล่นในวัดได้นานหลายปี

109 ร่างนี้เป็นร่างของสาวประเภท 2
ร่างนี้เป็นร่างของสาวประเภท 2.. หน้าตา(เคย)ดี จากป้ายประวัติข้างตัวบอกว่าเป็นสาวบริการ..

110 คนนี้อดีตนักร้องสาวค่าเฟ่ และขายบริการเช่นกัน ป่านฉะนี้ ผู้ที่เคยใช้บริการกับเธอคงตามเธอไปเรียบร้อยแล้ว..

111 ภายในอาคาร กลิ่นยาโชยเข้าจมูก หลายคนนอนหมดแรงอยู่บนเตียง

112  คงมีสถานพยาบาลของวัดพระบาทน้ำพุเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ที่มีโลงศพวางกองอยู่หลังห้องผู้ป่วย

113 กองเถ้ากระดูกมนุษย์นับพันเพื่อรอคอยญาติมารับ และมีไม่ถึง 1% ที่ถูกนำกลับบ้าน.

114 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt อาจารย์ไชยรัตน์ ศิรินคร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google