ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หลักการออกแบบ
2
หลักการออกแบบ 1. หลักการเบื้องต้น (primary principle) 2. หลักการสนับสนุน (support principle)
3
การสร้างลำดับความสำคัญ
เอกภาพ หลักการเบื้องต้น หลักการเบื้องต้น – เป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมภาพรวมของผลงานออกแบบ การสร้างลำดับความสำคัญ สัดส่วน
4
ความเป็นเอกภาพ (unity)
เป็นการจัดกลุ่มองค์ประกอบเพื่อแสดงแนวคิดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งโครงสร้างและเนื้อหา จากตัวอย่างจะเห็นว่าทั้งชื่อเรื่องและรูปภาพมีความหมายสนับสนุนกัน ในขณะที่การจัดวางมีทิศทางนำสายตาจากชื่อเรื่อง ภาพ ข้อความ และชื่อผู้แต่งตามลำดับ
5
การสร้างลำดับความสำคัญ (hierarchy)
เป็นการทำให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนตามลำดับ ควบคุมให้ผู้รับสารดูภาพก่อน แล้วจึงดูที่ชื่อเรื่อง และชื่อผู้แต่งตามลำดับ
6
สัดส่วน (proportion) เป็นหลักที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของตำแหน่ง ขนาด และรูปร่างขององค์ประกอบที่มีผลต่อภาพรวมของการออกแบบ ใช้ภาพ 2 ภาพวางคู่กันในสัดส่วนที่ต่างกัน
7
ทิศทางและการเคลื่อนไหว
ความสมดุล ขนาด ทิศทางและการเคลื่อนไหว หลักการสนับสนุน หลักการสนับสนุน เป็นหลักที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อยต่างๆ ภายในงานออกแบบ จังหวะ ลีลา และการซ้ำ ความขัดแย้ง
8
ขนาด (scale) โดยทั่วไปแล้วองค์ประกอบที่มีขนาดใหญ่กว่าย่อมได้รับความสนใจจากผู้รับสารก่อนองค์ประกอบที่มีขนาดเล็ก
9
ความสมดุล (balance) 1. สมดุลแบบสมมาตร 2. สมดุลแบบอสมมาตร
3. สมดุลแบบรัศมี
10
สมดุลแบบสมมาตร ด้านซ้ายกับด้านขวามีลักษณะเหมือนกันทั้ง 2 ด้าน
11
สมดุลแบบอสมมาตร ด้านซ้ายกับด้านขวามีลักษณะไม่เหมือนกัน แต่ก็ถ่วงน้ำหนักเท่ากัน
12
สมดุลแบบรัศมี เป็นการจัดวางให้องค์ประกอบแผ่ไปทุกด้านจากจุดศูนย์กลาง
13
ทิศทางและการเคลื่อนไหว (direction & movent)
หลักการเรื่องทิศทางและการเคลื่อนไหวเป็นหลักการที่ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปตามลำดับสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์
14
โดยทั่วไปหากไม่มีการสร้างจุดเด่นขึ้นมา สายตาของผู้รับสารจะมองดูหน้ากระดาษตามแรงโน้มถ่วง คือจากบนลงล่าง และจากมองจากด้านซ้ายไปด้านขวา เป็นรูปตัว Z คือจะมองจากซ้ายบนไปขวาบน แล้วลงมายังซ้ายล่างมาจบที่ขวาล่าง
15
ความขัดแย้ง (contrast)
16
ความขัดแย้งโดยขนาด
17
ความขัดแย้งโดยรูปร่าง
18
ความขัดแย้งโดยน้ำหนักหรือความเข้ม
19
ความขัดแย้งโดยทิศทาง
20
ความขัดแย้งโดยพื้นผิว
21
ความขัดแย้งโดยที่เว้นว่าง
22
จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (rhythm & repetition)
จังหวะ และลีลาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในการออกแบบมีอยู่ 3 ลักษณะคือ 1. แบบสม่ำเสมอ 2. แบบไม่สม่ำเสมอ 3. แบบพัฒนาการ
23
แบบสม่ำเสมอ เว้นช่องว่างสม่ำเสมอกัน
24
แบบไม่สม่ำเสมอ เว้นช่องว่างไม่สม่ำเสมอกัน คาดเดาไม่ได้
25
แบบพัฒนาการ เว้นช่องว่างให้มีขนาดเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างสม่ำเสมอ
26
ระบบกริด
27
ระบบกริด (grid system)
ระบบกริด คือ การแบ่งซอยพื้นที่ของงานออกแบบออกเป็นพื้นที่ย่อยๆ ที่มีขนาดเล็กลงหลายๆ พื้นที่ โดยการใช้เส้นตรงในแนวตั้งและเส้นตรงในแนวนอนหลายๆ เส้นลากตัดกันเป็นมุมฉากเพื่อช่วยในการกำหนดตำแหน่งและขนาดขององค์ประกอบ
28
ทำไมต้องใช้ระบบกริด
29
ประโยชน์ของระบบกริด 1. ระบบกริดให้ความสะดวกในการทำงานซ้ำ ๆ 2. ระบบกริดให้ความสะดวกในการจัดองค์ประกอบ 3. ระบบกริดให้ความชัดเจนในการสื่อสาร
30
ส่วนประกอบในระบบกริด
ยูนิตกริด อัลลีย์ ส่วนประกอบในระบบกริด มาร์จิน กัตเตอร์
31
อัลลีย์ มาร์จิน กัตเตอร์ ยูนิตกริด
ยูนิตจะมีขนาดเท่ากันทั้งหมดหรือแตกต่างกันก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน / อัลลีย์ช่วยให้อ่านได้ง่าย / มาร์จิน คือ ส่วนประกอบที่เว้นว่างไว้โดยรอบกลุ่มยูนิตทั้งหมดโดยส่วนใหญ่จะไม่มีการวางองค์ประกอบใดๆ ในส่วนของมาร์จินนอกจากจะเป็นภาพตัดตก / กัตเตอร์ คือมาร์จินในส่วนที่เป็นที่เว้นว่างระหว่างหน้าซ้ายและหน้าขวาของสิ่งพิมพ์ มาร์จิน กัตเตอร์ ยูนิตกริด
32
ประเภทระบบกริด เมนูสคริปต์ กริด คอลัมน์ กริด โมดูลาร์ กริด
ไฮราชิเคิล กริด
33
เมนูสคริปต์ กริด (Manuscript Grid)
เป็นระบบ กริดที่มีโครงสร้างเรียบง่ายที่สุด โดยมีรูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมี ยูนิตกริดสี่เหลี่ยม 1 ยูนิต โดยมีขนาดเกือบเต็มหน้า และมีมาร์จินล้อมรอบ มักใช้กับสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาข้อความจำนวนมาก เช่น หนังสือ
34
คอลัมน์ กริด (Column Grid)
มีรูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมมากกว่า 1 ยูนิต โดยแบ่งพื้นที่ด้วยเส้นทางตั้งออกเป็นคอลัมน์ มีขนาดสูงเกือบเต็มหน้า โดยความกว้างอาจจะเท่ากันหรือไม่ก็ได้ มักใช้ในสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาข้อความมาก แต่ไม่มีความต่อเนื่องมากนัก เช่น หนังสือพิมพ์
35
โมดูลาร์ กริด (Modular Grid)
โมดูลาร์ กริด มีรูปแบบคือ ในหนึ่งหน้ากระดาษจะมียูนิตกริดสี่เหลี่ยมหลายยูนิต โดยแบ่งด้วยเส้นทั้งแนวตั้งและแนวนอน มักใช้กับสิ่งพิมพ์ที่มีทั้งองค์ประกอบที่เป็นตัวอักษรและภาพอยู่ด้วยกัน เช่น นิตยสาร
36
ไฮราชิเคิล กริด (Hierarchical Grid)
37
ข้อควรคำนึงในการใช้ระบบกริด
1. ระบบกริดที่มียูนิตมากเกินไป จะทำให้มีการวางองค์ประกอบอย่างสะเปะสะปะ สื่อสารภาพลักษณ์ออกมาไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ในขณะที่ระบบกริดที่มียูนิตน้อนเกินไปจะทำให้การจัดวางองค์ประกอบซ้ำซาก 2. แม้ระบบกริดจะเครื่องมือสำคัญในการกำหนดขนาดและการจัดวางตำแหน่งองค์ประกอบต่างๆ แต่เราไม่ควรคิดว่าระบบกริดเป็นกฎตายตัว
38
Adobe InDesign
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.