งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พลังงานทดแทน Alternative Energy

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พลังงานทดแทน Alternative Energy"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พลังงานทดแทน Alternative Energy
โดย นาวาเอก ประพนธ์ อู่ศิริจันทร์ ประจำกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ

2 พลังงานทดแทน หมายถึงพลังงานใดๆที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทดแทนแหล่งพลังงาน ซึ่งมีการสะสมตามธรรมชาติและใช้หมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ยูเรเนียม ฯ

3 พลังงานทดแทน พลังงานทดแทนมีมากมายหลายอย่าง เช่น พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานชีวมวล, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานไฮโดรเจน ฯลฯ

4 พลังงานลม คือการแปลงพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกล และนำพลังงานกลมาใช้เพื่อสูบน้ำโดยตรงหรือผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

5 ศักยภาพพลังงานลม ในประเทศไทย
แผนที่แสดงพลังงานลม ในประเทศไทย (หน่วย : วัตต์/ตารางเมตร)

6 สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต
ในปี พ.ศ กฟผ.ได้จัดตั้งสถานีทดลองการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม ที่บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 5 เมตรต่อวินาทีโดยติดตั้งกังหันลมขนาดเล็กเพื่อทดสอบการใช้งานจำนวน 6 ชุด

7 สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต(ต่อ)
ในปี พ.ศ ได้ติดตั้งกังหันลมขนาดกำลังผลิต 10 กิโลวัตต์ เพิ่มอีก 2 ชุด ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 42 กิโลวัตต์ ในปี พ.ศ ติดตั้งกังหันลม ขนาดกำลังผลิต 150 กิโลวัตต์ พ้อมกับยกเลิกการใช้งานกังหันลมขนาดเล็กที่ต้องซ่อมบำรุงบ่อยและชำรุดเสียหาย ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมรวม 170 กิโลวัตต์ ในปี พ.ศ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มเติม ทำให้มีกำลังผลิตรวมทั้งสิ้น กิโลวัตต์

8 พลังงานน้ำ พลังงานจากทะเลและมหาสมุทรมี หลายประเภทได้แก่ พลังงานจากน้ำขึ้น-น้ำลง พลังงานจากคลื่น พลังงานจากอุณหภูมิของน้ำทะเล เป็นต้น   ประเทศไทยมีแหล่งน้ำที่มีศักยภาพสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทั้งสิ้นประมาณ 25,500 เมกะวัตต์

9 เขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย
เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เขื่อนวชิราลงกรณ จังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ เขื่อนท่าทุ่งนา จังหวัดกาญจนบุรี เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เขื่อนน้ำพุง จังหวัดสกลนคร เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัด กาญจนบุรี เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ้

10 พลังงานความร้อนใต้พิภพ
กฟผ. ได้สร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพฝาง ขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีหลักการ ทำงาน คือนำน้ำร้อนไปถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงาน (Working fluid) ที่มีจุดเดือดต่ำจนกระทั่ง เดือดเป็นไอแล้ว นำไอนี้ไปหมุนกังหัน เพื่อขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าออกมา

11 พลังงานแสงอาทิตย์ มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในหลายรูปแบบเช่น
การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การผลิตพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์

12 การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์
แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ  เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ

13 การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์(ต่อ)
2. เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า

14 การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์(ต่อ)
3. เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system) เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ

15 การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ  การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ เป็นการผลิตน้ำร้อนชนิดที่มีถังเก็บอยู่สูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์ ใช้หลักการหมุนเวียนตามธรรมชาติ

16 การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์(ต่อ)
2. การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน เหมาะสำหรับการใช้ผลิตน้ำร้อนจำนวนมาก และมีการใช้อย่างต่อเนื่อง 3. การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์มาผสมผสานกับความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็น หรือเครื่องปรับอากาศโดยผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน

17 การผลิตพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์
มีการใช้งาน 3 ลักษณะ คือ  การอบแห้งระบบ Passive เป็นระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน 2. การอบแห้งระบบ Active เป็นระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการ เช่น มีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบ

18 การผลิตพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์(ต่อ)
3. การอบแห้งระบบ Hybrid เป็นระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และยังต้องอาศัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอ หรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้น

19 ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย
กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดทำแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ พบว่า14.3% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ได้รับรังสีดวงอาทิตย์เลี่ยนทั้งปี MJ/m2 -day และ 50.2% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ได้รับรังสีดวงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปี ในช่วง MJ/m2 -day จากการคำนวณรังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีของพื้นที่ทั่วประเทศพบว่ามีค่าเท่ากับ 18.2MJ/m2 -day จากผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง

20 การใช้ประโยชน์เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย
ปัจจุบันมีการติดตั้งการใช้งานระบบไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ประมาณ 5,000 กิโลวัตต์ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง กิจกรรมที่นำเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้งานมากที่สุด ได้แก่ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม รองลงมาเป็นระบบประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบสูบน้ำ

21 พลังงานนิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เป็นทางเลือกของประเทศไทย ที่จะแก้ปัญหาด้านพลังงานในระยะยาวได้ ซึ่งในปี 2548 ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ดำเนินการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ถึง 439 โรง มีกำลังผลิต 336,331 GW(e) และอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างอีก 25 โรง ในประเทศอินเดีย  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้ สวีเดน เยอรมันและปากีสถาน

22 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เด่น ๆ มีอยู่ 3 แบบใหญ่ ๆ คือ 
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor PWR) โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor BWR) โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบใช้ Heavy Water (Canadian Uranium Deuterium : CANDU)

23

24

25

26 เซลล์เชื้อเพลิง คือ อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี-ไฟฟ้า ระหว่างออกซิเจนกับไฮโดรเจนซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงพลังงานของเชื้อเพลิง ไปเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านการเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงนี้ไม่ก่อมลภาวะทางอากาศ ทั้งยังมีประสิทธิภาพสูงกว่า เครื่องยนต์เผาไหม้ 1-3 เท่า ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์เชื้อเพลิง และชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้  

27 เซลล์เชื้อเพลิง(ต่อ)
เซลล์เชื้อเพลิงมีลักษณะคล้ายกับแบตเตอรี่มากในด้านที่สามารถอัดประจุใหม่ได้เรื่อยๆ เซลล์เชื้อเพลิงยังไม่เป็นที่นิยมใช้ทั่ว เพราะต้นทุนการผลิตอุปกรณ์สูงและยังมีอันตรายที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะ ควบคุมหลายประการ แต่ในปัจจุบันได้นำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิดเช่น โทรศัพท์มือถือ ปาล์ม notebook

28 แก๊สโซฮอล์ แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เราสามารถผลิตเอทานอลได้จากพืชที่ปลูกในประเทศ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง รวมทั้งธัญพืช เช่นข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น ได้

29 เอทานอล เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการหมักพืช เพื่อเปลี่ยนแป้งจากพืชเป็นน้ำตาลแล้วเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95%     โดยการกลั่น จะเรียกว่า เอทานอล (Ethanol) เอทานอลที่นำไปผสมในน้ำมันเพื่อใช้เติมเครื่องยนต์เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 99.5% โดยปริมาตร ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

30 ความเป็นมาของการใช้แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย
การผลิตแก๊สโซฮอล์ ในประเทศไทยนั้นเกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2528 โดยโครงการส่วนพระองค์ ได้ศึกษาการผลิตแก๊สโซฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยผลิตเอทานอลจากอ้อย หลังจากนั้นก็เกิดความตื่นตัวทั้งจากภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาและนำไปทดสอบกับเครื่องยนต์          

31 ความเป็นมาของการใช้แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย(ต่อ)
          ในปี 2543 ปตท.ดำเนินการทดสอบการใช้แก๊สโซฮอล์ในรถยนต์ พบว่า ช่วยลดมลพิษ ประหยัดน้ำมัน และไม่มีผลต่อสมรรถนะ และได้มีการผลิตแอลกอฮอล์จากหัวมันสด โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ซึ่งจะส่งให้โรงกลั่นของบางจากผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งได้ทดลองจำหน่ายเมื่อปี 2544 ในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก 5 แห่งในเขตกรุงเทพฯ โดยมีราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 เล็กน้อย ซึ่งก็ได้ผลตอบรับที่น่าพอใจ

32 ศักยภาพพลังงานแก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย
ปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอทานอลที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติให้ผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งสิ้น 24 โรง มีกำลังการผลิตรวม 4,210,000 ลิตร/วัน ปัจจุบันมีโรงงานเดินระบบแล้ว 3 โรง คือ บริษัท พรวิไลอินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป เทรดดิ้ง จำกัด กำลังการ ผลิต 25,000 ลิตร/วัน บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จำกัด (มหาชน) กำลังการผลิต 100,000 ลิตร/วัน และบริษัทไทยอะโกรเอนเนอร์จี จำกัด กำลังการผลิต 150,000 ลิตร/วัน 

33 ข้อดีของการใช้แก๊สโซฮอล์
ผลดีต่อเครื่องยนต์ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะการใช้งานและอัตราการเร่งดีกว่าหรือไม่แตกต่าง จากน้ำมันเบนซิน 95 ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปรับแต่งเครื่องยนต์ สามารถเติมผสมกับน้ำมันที่เหลืออยู่ในถังได้เลย โดยไม่ต้องรอให้น้ำมันในถังหมด

34 ข้อดีของการใช้แก๊สโซฮอล์
ผลดีต่อประเทศ ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ลดการขาดดุลทางการค้า ใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรสูงสุดและยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร เครื่องยนต์มีการเผาไหม้ที่ดีขึ้นทำให้ช่วยลดมลพิษไอเสียทางอากาศและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนอกไซด์ลง 20-25%ทำให้ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนในประเทศ ทำให้เกิดการลงทุนที่หลากหลายทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม

35 ไบโอดีเซล คือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตมาจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ โดยผ่านขบวนการที่ทำให้โมเลกุลเล็กลง ให้อยู่ในรูปของ เอทิลเอสเตอร์ (Ethyl esters) หรือ เมทิลเอสเตอร์ (Methyl esters) ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้โดยตรง      

36 ดีเซลปาล์มบริสุทธิ์ เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมันในภาวะราคาน้ำมันแพง จึงทรงดำริให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ร่วมดำเนินการวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และเอกชน ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจดสิทธิบัตรการใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ผสมกับน้ำมันดีเซล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว

37 ข้อดีของการใช้ดีเซลปาล์มบริสุทธิ์
สามารถช่วยลดปริมาณมลพิษจากท่อไอเสีย โดยสามารถลดปริมาณควันดำลงได้อย่างมี นัยสำคัญ น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิงสะอาด มีปริมาณกำมะถันน้อยมาก เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล เมื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงในเมืองใหญ่และพื้นที่ที่มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จะช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้ ผู้ที่ใช้ดีเซลปาล์มบริสุทธิ์ เติมในรถยนต์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์

38 10 บัญญัติ ประหยัดน้ำมัน
1. ขับรถไม่เกิน 90 ก.ม./ชม. ความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทางธรรมดา 90 กม./ชม. ทางด่วน 110 กม./ชม. มอเตอร์เวย์ 120 กม./ชม. 2. จอดรถไว้บ้านโดยสารสาธารณะ ถ้าผู้ใช้รถยนต์ร้อยละ 1 จากจำนวน 5 ล้านคัน หันมาใช้บริการรถสาธารณะด้วยระยะทาง 48 กม./วัน ใน 1 ปี (260 วันทำงาน) จะประหยัดน้ำมัน 52 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 780 ล้านบาท

39 4. ทางเดียวกันไปด้วยกัน
3. ไม่ขับก็ดับเครื่อง 4. ทางเดียวกันไปด้วยกัน ถ้าขับรถยนต์ 5 คัน ไปทางเดียวกัน ที่หมายใกล้กัน ระยะทาง 48 กม./คัน (ไป-กลับ) ใน 1 ปี (260 วันทำงาน) จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 5,200 ลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 78,000 บาท ถ้าร้อยละ 1 ของรถยนต์ 5 ล้านคัน ใช้ Car Pool สลับขับ 5 คน ต่อรถ 1 คัน ใน 1 ปี จะประหยัดน้ำมันได้ 41.6 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 624 ล้านบาท การติดเครื่องยนต์จอดอยู่เฉยๆ เป็นเวลา 5 นาที สิ้นเปลืองน้ำมันโดยเปล่าประโยชน์ 500 ซีซี

40 5. หลีกเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วน
ถ้ารถติดเพียงร้อยละ 1 ของ จำนวนรถยนต์ 5 ล้านคัน ในวันทำงานทุกวันและในบางเสาร์-อาทิตย์ ใน 1 ปี (330 วัน/ปี) จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 12.4 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 186 ล้านบาท 6. ใช้โทรศัพท์-โทรสารเลี่ยงรถติด ใช้อุปกรณ์สื่อสารแทนการเดินทาง เช่น ส่งหนังสือระหว่างหน่วยงาน หากเร่งด่วนก็ใช้วิธีส่งทางโทรสาร หากเป็นเอกสารสำคัญก็ใช้วิธีรวบรวมเอกสารแล้วส่งพร้อมกัน หนังสือเวียนที่ไม่สำคัญก็ใช้วิธีส่ง หรือส่งไปรษณีย์

41 8. ลมยางต้องพอดีไส้กรองต้องสะอาด 7. วางแผนก่อนเดินทาง
ความดันลมยางอ่อนกว่ามาตรฐาน ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ถ้าขับทุกวันเฉลี่ยวันละ 48 กม. ใน 1 เดือน รถยนต์ สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.4 ลิตร รถจักรยานยนต์ สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 1.2 ลิตร รถบรรทุก สิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 4.2 ลิตร ถ้าร้อยละ 30 ของรถแต่ละประเภท ละเลยเช่นนี้บ่อยๆ รวมเป็น 30 วัน/ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น 5.8 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน 87 ล้านบาท ถ้าไส้กรองสะอาด จะช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมันวันละ 65 ซีซี ควรทำความสะอาดทุก 2,500 กม. ควรเปลี่ยนทุก 20,000 กม. ถ้าไม่ศึกษาเส้นทางก่อนเดินทาง และขับรถหลงทาง 10 นาที จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 500 ซีซี คิดเป็นค่าน้ำมัน 7.50 บาท ถ้ารถยนต์ 5 ล้านคัน ขับหลงทาง เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ใน 1 ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 30 ล้านลิตร คิดเป็นค่าน้ำมัน 450 ล้านบาท

42 9. ไม่บรรทุกของเกินจำเป็น 10. ตรวจเช็คเครื่องยนต์เป็นประจำ
หากขับรถโดยบรรทุกของที่ไม่จำเป็น ประมาณ 10 ก.ก. เป็นระยะทาง 25 ก.ม. สิ้นเปลืองน้ำมัน 40 ซีซี ถ้าร้อยละ 10 ของรถยนต์ทั่วประเทศ 5 ล้านคัน ขับรถโดยบรรทุกสิ่งของที่ไม่จำเป็น ใน 1 ปี จะสิ้นเปลืองน้ำมัน 7.3 ล้านลิตร คิดเป็นเงิน ล้านบาท เปลี่ยนไส้กรองตามกำหนด เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุก 5,000 กม. ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำในแบตเตอรี่ ตรวจสอบระดับน้ำป้อนหม้อน้ำ ปรับปรุงสมรรถนะรถยนต์ให้ดีตลอดเวลา ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ ร้อยละ 3- 9

43 ช่วยกันประหยัดพลังงานก่อนที่จะไม่มีหลังงานให้ประหยัด
สวัสดีครับ


ดาวน์โหลด ppt พลังงานทดแทน Alternative Energy

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google